- ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนเป็นจำนวนมากในช่วงต้นและปลายสัปดาห์ ขณะที่การเตรียมสภาพคล่องเพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงสิ้นเดือนส่งผลให้ความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ แต่อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนทุกระยะไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่อัตราดอกเบี้ย Interbank สูงขึ้นเพียงเล็กน้อย
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน(Yield)ของพันธบัตรฯ ระยะสั้นปรับตัวลดลง ในขณะที่พันธบัตรฯ ระยะปานกลาง-ยาวปรับเพิ่มขึ้น ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับลดลง
- เงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงค่อนข้างมากตามค่าเงินในภูมิภาค ก่อนจะแข็งค่าขึ้นในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์เนื่องจากการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย และตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดี ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในช่วงขาขึ้น และผลกระทบจากพายุเฮอร์ริเคนต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีไม่มากนัก
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวอยู่ในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์เนื่องจากภาครัฐมีการนำฝากเงินเพื่อเตรียมจ่ายเงินเดือน สถาบันการเงินจึงมีความต้องการลงทุนเพิ่มสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน 7 วัน 14 วัน และ 1 เดือน ยังปิดตลาดในอัตราเดียวกับปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.1875 3.21875 3.25 และ 3.28125 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การเตรียมสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์เพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงสิ้นเดือน ส่งผลให้ความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ สภาพคล่องกลับมาทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยธนาคารพาณิชย์มีการลงทุนในตลาดเงินระยะสั้นเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนทุกระยะยังคงปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 3 -3.3 ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดสูงขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 3.18 ต่อปี ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 30,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 9,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 7 และ 14 ปี วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 และ 364 วัน วงเงินรวม 14,000 ล้านบาท โดยตราสารเกือบทุกประเภทมีอัตราผลตอบแทนลดลง ยกเว้นพันธบัตรรัฐบาล อายุ 7 ปี ที่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการประปานครหลวงอายุ 3 และ 5 ปี วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท ในสัปดาห์นี้มีพันธบัตรภาครัฐครบกำหนด 8,000 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 22,000 ล้านบาท
การซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 63,509 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 12,701.81 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.6 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 77 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ในช่วงต้นสัปดาห์ปรับตัวลดลง ก่อนที่จะปรับเพิ่มขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ โดยรวมในรอบสัปดาห์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุต่ำกว่า 2 ปี ปรับลดลง 1 - 12 basis points เนื่องจากยังคงมีความต้องการถือครองพันธบัตรฯ ระยะสั้นในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มสูงขึ้น ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรอายุ 3 ปีขึ้นไปปรับตัวเพิ่มขึ้น 4-7 basis points ดัชนีราคา(Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับลดลง 25 และ 5 basis points ตามลำดับ สำหรับ US Treasury Yield โดยรวมปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากนักลงทุนคาดว่า Fed จะยังคงปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นต่อไป เนื่องจากพายุเฮอริเคนไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯตามที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ US Treasury Yield ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 5-16 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2547 40.24
เฉลี่ยเดือน ก.ย. 48 41.01
เฉลี่ย 19 - 23 ก.ย. 48 41.02
26 ก.ย. 48 41.16
27 ก.ย. 48 41.23
28 ก.ย. 48 41.18
29 ก.ย. 48 41.06
30 ก.ย. 48 40.96
เฉลี่ย 26 -- 30 ก.ย. 48 41.12
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.12 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคงอ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 0.2 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าค่อนข้างมากตามค่าเงินในภูมิภาค โดยเฉพาะเงินเยนซึ่งถูกกดดันจากการปรับพอร์ตสินทรัพย์ของนักลงทุนก่อนปิดงวดครึ่งปี ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเป็นลำดับเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากนักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากพายุเฮอร์ริเคน ประกอบกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐฯ แสดงท่าทีสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทย และการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะต่อไป โดยเฉพาะหลังจากผู้บริหารระดับสูงของ ธปท. กล่าวเป็นนัยว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง นอกจากนี้ นักลงทุนยังมีการคาดการณ์ในเชิงบวกต่อการรายงานภาวะเศรษฐกิจของ ธปท. ที่จะประกาศในวันศุกร์ โดยเฉพาะตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีแนวโน้มดีขึ้น ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนสิงหาคมเกินดุลต่อเนื่องจากเดือนที่แล้วที่ระดับ 106
ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนค่าเงินบาทในช่วงปลายสัปดาห์
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน(Yield)ของพันธบัตรฯ ระยะสั้นปรับตัวลดลง ในขณะที่พันธบัตรฯ ระยะปานกลาง-ยาวปรับเพิ่มขึ้น ดัชนีราคาพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับลดลง
- เงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงค่อนข้างมากตามค่าเงินในภูมิภาค ก่อนจะแข็งค่าขึ้นในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์เนื่องจากการซื้อสุทธิของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหลักทรัพย์ไทย และตัวเลขเศรษฐกิจที่ออกมาดี ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในช่วงขาขึ้น และผลกระทบจากพายุเฮอร์ริเคนต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีไม่มากนัก
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวอยู่ในระดับสูงในช่วงต้นสัปดาห์เนื่องจากภาครัฐมีการนำฝากเงินเพื่อเตรียมจ่ายเงินเดือน สถาบันการเงินจึงมีความต้องการลงทุนเพิ่มสูงขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 วัน 7 วัน 14 วัน และ 1 เดือน ยังปิดตลาดในอัตราเดียวกับปลายสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 3.1875 3.21875 3.25 และ 3.28125 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การเตรียมสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์เพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้าในช่วงสิ้นเดือน ส่งผลให้ความต้องการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ สำหรับในช่วงปลายสัปดาห์ สภาพคล่องกลับมาทรงตัวอยู่ในระดับสูง โดยธนาคารพาณิชย์มีการลงทุนในตลาดเงินระยะสั้นเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนทุกระยะยังคงปิดตลาดในอัตราเดิมตลอดสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 3 -3.3 ไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดสูงขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 3.18 ต่อปี ในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 30,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 9,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลอายุ 3 7 และ 14 ปี วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 และ 364 วัน วงเงินรวม 14,000 ล้านบาท โดยตราสารเกือบทุกประเภทมีอัตราผลตอบแทนลดลง ยกเว้นพันธบัตรรัฐบาล อายุ 7 ปี ที่มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการประปานครหลวงอายุ 3 และ 5 ปี วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท ในสัปดาห์นี้มีพันธบัตรภาครัฐครบกำหนด 8,000 ล้านบาท จึงมีพันธบัตรหมุนเวียนในตลาดเพิ่มขึ้น 22,000 ล้านบาท
การซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองมีมูลค่า 63,509 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 12,701.81 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.6 โดยเป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 77 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ในช่วงต้นสัปดาห์ปรับตัวลดลง ก่อนที่จะปรับเพิ่มขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ โดยรวมในรอบสัปดาห์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุต่ำกว่า 2 ปี ปรับลดลง 1 - 12 basis points เนื่องจากยังคงมีความต้องการถือครองพันธบัตรฯ ระยะสั้นในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มสูงขึ้น ในขณะที่อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรอายุ 3 ปีขึ้นไปปรับตัวเพิ่มขึ้น 4-7 basis points ดัชนีราคา(Clean price index) ของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับลดลง 25 และ 5 basis points ตามลำดับ สำหรับ US Treasury Yield โดยรวมปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากนักลงทุนคาดว่า Fed จะยังคงปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นต่อไป เนื่องจากพายุเฮอริเคนไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯตามที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์ US Treasury Yield ทุกช่วงอายุปรับตัวเพิ่มขึ้น 5-16 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยน บาท/ดอลลาร์
เฉลี่ยปี 2547 40.24
เฉลี่ยเดือน ก.ย. 48 41.01
เฉลี่ย 19 - 23 ก.ย. 48 41.02
26 ก.ย. 48 41.16
27 ก.ย. 48 41.23
28 ก.ย. 48 41.18
29 ก.ย. 48 41.06
30 ก.ย. 48 40.96
เฉลี่ย 26 -- 30 ก.ย. 48 41.12
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.12 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคงอ่อนค่าลงเล็กน้อยร้อยละ 0.2 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าค่อนข้างมากตามค่าเงินในภูมิภาค โดยเฉพาะเงินเยนซึ่งถูกกดดันจากการปรับพอร์ตสินทรัพย์ของนักลงทุนก่อนปิดงวดครึ่งปี ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเป็นลำดับเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากนักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากพายุเฮอร์ริเคน ประกอบกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐฯ แสดงท่าทีสนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม เงินบาทมีทิศทางแข็งค่าขึ้นในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศเพื่อลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทย และการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะต่อไป โดยเฉพาะหลังจากผู้บริหารระดับสูงของ ธปท. กล่าวเป็นนัยว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง นอกจากนี้ นักลงทุนยังมีการคาดการณ์ในเชิงบวกต่อการรายงานภาวะเศรษฐกิจของ ธปท. ที่จะประกาศในวันศุกร์ โดยเฉพาะตัวเลขดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีแนวโน้มดีขึ้น ทั้งนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือนสิงหาคมเกินดุลต่อเนื่องจากเดือนที่แล้วที่ระดับ 106
ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนค่าเงินบาทในช่วงปลายสัปดาห์
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-