สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ (สศช.) กำหนดจัดการสัมมนาระดมความคิดเห็นจากประชาชนทุกกลุ่มอาชีพใน 75 จังหวัดและกรุงเทพมหานคร ภายในเดือนมกราคม 2543 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาฯ 2543 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 อันเป็นการสร้างความต่อเนื่องของกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในภูมิภาคและท้องถิ่นในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งจะมีการระดมความคิดอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่ากำหนดการสัมมนาสัญจรจัดทำแผนพัฒนา ฉบับที่ 9 ครั้งนี้ใช้ชื่อว่า "วิสัยทัศน์และแนวทางการพัฒนาของประชาชนในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 ระดับจังหวัด" สำหรับจังหวัดที่มีประชากรมากอาจจะจัดสมนามากกว่า 1 เวที โดยเวทีการสัมนานี้จะทยอยดำเนินการทั่วไปประเทศ รวมทั้งสิ้น 100 เวที ภายในระยะเวลา 1 เดือน (มกราคม 2543) โดยเวทีแรกจะเริ่มดำเนินการที่จังหวัดมุกดาหารในวันที่ 5 มกราคม 2543
สำหรับการบริหารจัดการสัมมนา สศช.ได้มอบหมายให้มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI) เป็นแกนกลางในการประสานงาน โดยใช้กลไกเครือข่ายของมูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนาที่เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน ซึ่งกระจายอยู่ในทุกจังหวัดรับผิดชอบดำเนินการ โดยจะใช้รูปแบบการสัมมนาที่เหมาะสมกับประชาชนในแต่ละพื้นที่
การสัมมนาระดับจังหวัดในแต่ละครั้งนั้น ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะประกอบด้วยผู้แทนจากกลุ่มประชาชนในแต่ละจังหวัด ตามสาขาอาชีพต่าง ๆ ได้แก่
1. ผู้แทนจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
2. ข้าราชการ จังหวัด 27 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการพัฒนาจังหวัด (กพจ.) 15 คน คณะกรรมการพัฒนาอำเภอ (กพอ.) 7 คน และคณะทำงานประสานการปฎิบัติงานระดับตำบล (คปต.) 5 คน
3. กลุ่มอาชีพต่าง ๆ
4. นักธุรกิจ
5. นักวิชาการ
6. ผู้ทรงวุฒิ
7. สื่อมวลชน
เลขาธิการฯ สศช.กล่าวในที่สุดว่า ภายหลังจากการจัดระดมความคิดเห็นในระดับจังหวัดแล้ว สศช. ยังได้กำหนดให้จัดสัมมนาระดมความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวในระดับอนุภาคภายในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2543 โดยแต่ละจังหวัดจะคัดเลือกตัวแทนเพื่อส่งเข้าร่วมสัมมนาระดับอนุภาครวมทั้งสิ้น 9 อนุภาค และกำหนดจัดการสัมมนาระดับชาติครั้งแรกในเดือนเมษายน 2543 และครั้งที่สองในเดือนกันยายน 2543
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 1/มกราคม 2543--
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่ากำหนดการสัมมนาสัญจรจัดทำแผนพัฒนา ฉบับที่ 9 ครั้งนี้ใช้ชื่อว่า "วิสัยทัศน์และแนวทางการพัฒนาของประชาชนในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 ระดับจังหวัด" สำหรับจังหวัดที่มีประชากรมากอาจจะจัดสมนามากกว่า 1 เวที โดยเวทีการสัมนานี้จะทยอยดำเนินการทั่วไปประเทศ รวมทั้งสิ้น 100 เวที ภายในระยะเวลา 1 เดือน (มกราคม 2543) โดยเวทีแรกจะเริ่มดำเนินการที่จังหวัดมุกดาหารในวันที่ 5 มกราคม 2543
สำหรับการบริหารจัดการสัมมนา สศช.ได้มอบหมายให้มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา (LDI) เป็นแกนกลางในการประสานงาน โดยใช้กลไกเครือข่ายของมูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนาที่เป็นองค์กรพัฒนาเอกชน ซึ่งกระจายอยู่ในทุกจังหวัดรับผิดชอบดำเนินการ โดยจะใช้รูปแบบการสัมมนาที่เหมาะสมกับประชาชนในแต่ละพื้นที่
การสัมมนาระดับจังหวัดในแต่ละครั้งนั้น ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะประกอบด้วยผู้แทนจากกลุ่มประชาชนในแต่ละจังหวัด ตามสาขาอาชีพต่าง ๆ ได้แก่
1. ผู้แทนจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
2. ข้าราชการ จังหวัด 27 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการพัฒนาจังหวัด (กพจ.) 15 คน คณะกรรมการพัฒนาอำเภอ (กพอ.) 7 คน และคณะทำงานประสานการปฎิบัติงานระดับตำบล (คปต.) 5 คน
3. กลุ่มอาชีพต่าง ๆ
4. นักธุรกิจ
5. นักวิชาการ
6. ผู้ทรงวุฒิ
7. สื่อมวลชน
เลขาธิการฯ สศช.กล่าวในที่สุดว่า ภายหลังจากการจัดระดมความคิดเห็นในระดับจังหวัดแล้ว สศช. ยังได้กำหนดให้จัดสัมมนาระดมความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวในระดับอนุภาคภายในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2543 โดยแต่ละจังหวัดจะคัดเลือกตัวแทนเพื่อส่งเข้าร่วมสัมมนาระดับอนุภาครวมทั้งสิ้น 9 อนุภาค และกำหนดจัดการสัมมนาระดับชาติครั้งแรกในเดือนเมษายน 2543 และครั้งที่สองในเดือนกันยายน 2543
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 1/มกราคม 2543--