แท็ก
การส่งออก
ในขณะที่เครื่องชี้ทางด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ แสดงถึงแนวโน้มการฟื้นตัว แนวโน้มการขยายตัวในระยะต่อไปขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของอุปสงค์รวมภาคเอกชนภายในประเทศและการส่งออก ในขณะที่ภาระหนี้ภาครัฐอยู่ในระดับสูง ทำให้มีข้อจำกัดด้านงบประมาณมากขึ้น ประเด็นเชิงนโยบายที่สำคัญ คือการดำเนินมาตรการที่จะสนับสนุนการฟื้นตัวและการขยายตัวที่ยั่งยืนโดยต้องเร่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อให้เศรษฐกิจมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง ทั้งในด้านการตลาด การผลิต และการบริหารการจัดการซึ่งรวมถึงกฎระเบียบ กฎหมาย และโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนภาคเอกชน สร้างความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจไทย และความอ่อนไหวต่อปัจจัยภายนอก
อย่างไรก็ตามการปรับระบบเศรษฐกิจให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์เศรษฐกิจจะต้องมีความสามารถในการพัฒนาระบบบนพื้นฐานของข้อมูลและองค์ความรู้ (information and Knowledge Based Economy) ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเรื่องสำคัญ การเสริมสร้างเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ต้องเร่งดำเนินการดังนี้
- ด้านกฎหมายและกฎระเบียบ (Legal Infrastructure) กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี 2 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และพระราชบัญญัติลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ จึงต้องเร่งรัดกฎหมายอีก 4 ฉบับ (1) กฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 (เป็นการอุดช่องว่างระหว่างผู้ได้เปรียบจากการมีการใช้สารสนเทศกับผู้ด้อยโอกาส ซึ่งเกิดจากสาเหตุของความไม่ทั่วถึงทางภูมิศาสตร์ของระบบโทรศัพท์ ระบบโทรคมนาคม และการเข้าถึงข้อมูลระบบอินเตอร์เนต) (2) กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (3) กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ (4) กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีและนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา
- ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Physical Infrastructure) ได้แก่การพิจารณาลดค่าโทรศัพท์ทางไกลจากต่างจังหวัดสำหรับการใช้อินเตอร์เน็ต การพัฒนาคุณภาพและความเร็วของระบบสื่อสารลดราคาเครื่องโทรศัพท์สื่อสารเคลื่อนที่ เพื่อกระตุ้นให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น ทั้งในเชิงธุรกิจและเชิงการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6/มิถุนายน 2543--
อย่างไรก็ตามการปรับระบบเศรษฐกิจให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์เศรษฐกิจจะต้องมีความสามารถในการพัฒนาระบบบนพื้นฐานของข้อมูลและองค์ความรู้ (information and Knowledge Based Economy) ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเรื่องสำคัญ การเสริมสร้างเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ต้องเร่งดำเนินการดังนี้
- ด้านกฎหมายและกฎระเบียบ (Legal Infrastructure) กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี 2 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และพระราชบัญญัติลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ จึงต้องเร่งรัดกฎหมายอีก 4 ฉบับ (1) กฎหมายลำดับรองของรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 (เป็นการอุดช่องว่างระหว่างผู้ได้เปรียบจากการมีการใช้สารสนเทศกับผู้ด้อยโอกาส ซึ่งเกิดจากสาเหตุของความไม่ทั่วถึงทางภูมิศาสตร์ของระบบโทรศัพท์ ระบบโทรคมนาคม และการเข้าถึงข้อมูลระบบอินเตอร์เนต) (2) กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (3) กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ (4) กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีและนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา
- ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Physical Infrastructure) ได้แก่การพิจารณาลดค่าโทรศัพท์ทางไกลจากต่างจังหวัดสำหรับการใช้อินเตอร์เน็ต การพัฒนาคุณภาพและความเร็วของระบบสื่อสารลดราคาเครื่องโทรศัพท์สื่อสารเคลื่อนที่ เพื่อกระตุ้นให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น ทั้งในเชิงธุรกิจและเชิงการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 6/มิถุนายน 2543--