2.3 ประมาณการเศรษฐกิจปี 2549: เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 4.7-5.7 อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 3.5-4.5 และดุลบัญชีเดิน
สะพัดขาดดุลร้อยละ 2.2-2.7 ของ GDP
ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.7-5.7 โดยที่การลงทุนรวมทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนจะเพิ่ม
ขึ้นมากและเป็นแรงสนับสนุนสำคัญสำหรับเศรษฐกิจในปี 2549ในขณะที่การใช้จ่ายครัวเรือนจะขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างทรงตัว และการใช้จ่ายภาครัฐมี
แนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยได้กำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายร้อยละ 93 สูงกว่าร้อยละ 90.9 ในปีงบประมาณ 2548 การส่งออกจะยังมีแนวโน้มขยายตัวได้
ในระดับที่น่าพอใจภายใต้เงื่อนไขการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 3.0 และปริมาณการค้าโลกขยายตัวร้อยละ 6-7
(1) กรณีการขยายตัวทางในกรณีสูงร้อยละ 5.7
เศรษฐกิจทั้งปี 2549 อาจจะขยายตัวได้ร้อยละ 5.7 ภายใต้เงื่อนไข (1) เร่งรัดการส่งออกทั้งปีให้ขยายตัวร้อยละ 17-18 จากแนว
โน้มการขยายตัวปกติร้อยละ 15-16 โดยต้องเร่งขยายการส่งออกสินค้าเกษตร ในกลุ่มยางพารา กุ้ง ไก่ ข้าว และอาหาร ทะเลกระป๋อง และสินค้า
อุตสาหกรรมกลุ่มประเภทของใช้ในบ้าน สบู่และเครื่องสำอาง รวมทั้งการส่งออกในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น(2) เร่งรัดส่งเสริมการท่องเที่ยว
ให้ได้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละประมาณร้อยละ 10 จากฐานจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2548 (3) เร่งรัดการเบิกจ่ายงบรัฐบาลและและงบลง
ทุนรัฐวิสาหกิจให้เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งรวมถึงการเบิกจ่ายของกองทุนเพื่อการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (กองทุน SML) และงบเพื่อ
ดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และ (4) ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีอยู่ในช่วง 50-52 ดอลลาร์ต่อบาเรล
2.4 กรณีการขยายตัวในกรณีต่ำร้อยละ 4.7
จะมีโอกาสเป็นไปได้ถ้าราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีจะสูงกว่าบาเรลละ 52 ดอลลาร์ สรอ. เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวมากกว่าที่คาดซึ่ง
จะกระทบการส่งออก และราคาน้ำมันเฉลี่ยทั้งปีที่สูงกว่าระดับ 52 ดอลลาร์จะทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงกว่าร้อยละ 4.0 แต่คาดว่าโอกาสที่ราคาน้ำมันดิบดู
ไบจะเพิ่มขึ้นสูงกว่าระดับนั้นมีความเป็นไปได้น้อย เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวจะลดแรงกดดันจากด้านความต้องการใช้ลงบ้าง อย่างไรก็ตามยังมี
เงื่อนไขอื่นๆ ที่อาจจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ต่ำกว่าค่ากลางของช่วงประมาณการร้อยละ 4.7-5.7 เช่น หากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวช้ากว่าที่
คาด หรือการเบิกจ่ายงบรัฐบาลและการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่มีความล่าช้า
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2548 (1/)
ข้อมูลเบื้องต้น ประมาณการ
ปี 2548 ปี2549
2546 2547 5 ก.ย. 6 ธ.ค. 6 ธ.ค.
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท) 5,929.0 6,503.5 7,142.4 7,101.8 7,790.7
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่, %) 7.0 6.2 3.8-4.3 4.7 4.7-5.7
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่, %) 12.1 13.8 11.0 11.1 12.8
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 17.7 16.3 9.5 11.0 12.0
ภาครัฐ (ณ ราคาคงที่, %) -0.7 6.8 15.3 11.5 15.0
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่, %) 5.8 5.7 4.9 5.8 5.0
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, 6.4 5.9 4.3 4.7 4.8
ภาครัฐบาล (ณ ราคาคงที่, %) 2.3 4.7 8.6 12.8 6.5
ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 7.0 9.6 3.8 4.3 5.5
มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 78.1 94.9 110.5 110.1 127.1
อัตราการขยายตัว (%) 18.2 21.6 15.0 16.0 15.5
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 9.5 8.4 4.0 4.3 4.6
ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 8.5 13.5 8.3 8.9 8.7
มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 74.3 93.7 118.2 117.7 138.3
อัตราการขยายตัว (%) 17.4 26.0 25.2 25.6 17.5
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 10.7 12.3 9.2 9.2 9.0
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 3.8 1.2 -7.7 -7.6 -11.1
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 8.0 6.6 -3.2 -3.2 -4.9
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) 5.6 4.1 -1.9 -1.8 - (2.2 - 2.7)
เงินเฟ้อ (%)
ดัชนีราคาผู้บริโภค 1.8 2.7 4.1 4.5 3.5-4.5
GDP Deflator 1.6 3.3 4.5 4.5 4.5
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 6 ธันวาคม 2548
หมายเหตุ (1/) ข้อมูลเบื้องต้นปี 2546 และ 2547 มีการปรับปรุงตามการปรับข้อมูลย้อนหลังของสำนักบัญชีประชาชาติ (ข้อมูล
รายได้ประชาชาติ) และธนาคารแห่งประเทศไทย (การนำเข้าและส่งออก)
4. การบริหารนโยบายเศรษฐกิจปี 2549
เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวมในปี 2549 ยังมีแนวโน้มชะลอตัว การบริหารเศรษฐกิจควรเร่งรัดการดำเนินการต่อไปในการสร้าง
รายได้จากการส่งออกและการท่องเที่ยว และมาตรการพลังงานทดแทน เพื่อดูแลการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด พร้อมกับการส่งเสริมการออมในประเทศ ใน
ขณะเดียวกัน ด้านการใช้จ่าย ควรส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชนและเร่งรัดการใช้งบประมาณของรัฐบาลโดยเฉพาะในส่วนที่สร้างรายได้ให้แก่เศรษฐกิจ
รากหญ้าและภาคเกษตร รวมถึงการเริ่มดำเนินการลงทุนในโครงการ Mega project เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ มาตรการที่
ควรต้องเร่งดำเนินการ ได้แก่
* การส่งเสริมการใช้ NGV และ Gasohol เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบ
* การส่งเสริมการลงทุนเอกชนให้เป็นแรงขับเคลื่อนหลักและรับช่วงการสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2549 ต่อจากการใช้
จ่ายครัวเรือนที่มีแนวโน้มชัดเจนว่าจะชะลอตัว
* การเร่งรัดการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ให้เป็นไปตามแผนซึ่งนอกจากจะช่วยสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจแล้วยังจะเป็นการสร้าง
ความเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจเอกชน ว่าแผนการลงทุนโครงการขนาดใหญ่มีความชัดเจน และสามารถคาดการณ์ถึงการมีบริการของโครงสร้างพื้นฐานที่จะ
เพิ่มขึ้นในอนาคตได้ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ภาคธุรกิจเอกชนใช้ประกอบการตัดสินใจในการดำเนินและการขยายธุรกิจ
* เร่งรัดการเบิกจ่ายงบกองทุนเพื่อพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านและชุมชน (กองทุน SML) ศูนย์ซ่อมสร้างระจำหมู่บ้านหรือชุมชน (Fix IT
Centers) รวมทั้งการเบิกจ่ายงบประมาณในการดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด (งบผู้ว่า CEO)
* การสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและการส่งเสริมภาคการเกษตร
* การส่งเสริมการท่องเที่ยว และตั้งเป้าหมายเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวอย่างน้อยร้อยละ 10 รวมทั้งการส่งเสริมนักท่องเที่ยวจาก
ตลาดเฉพาะ
* การผลักดันการส่งออกให้ได้เป้าหมายขยายตัว ร้อยละ 17-18
* การส่งเสริมการออมอย่างเป็นระบบเพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและลดภาระค่าใช้จ่ายภาครัฐในอนาคต รวมทั้งเพื่อสนับสนุนสภาพ
คล่องภายในประเทศเพื่อการระดมทุน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
สะพัดขาดดุลร้อยละ 2.2-2.7 ของ GDP
ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าวคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.7-5.7 โดยที่การลงทุนรวมทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนจะเพิ่ม
ขึ้นมากและเป็นแรงสนับสนุนสำคัญสำหรับเศรษฐกิจในปี 2549ในขณะที่การใช้จ่ายครัวเรือนจะขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างทรงตัว และการใช้จ่ายภาครัฐมี
แนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยได้กำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายร้อยละ 93 สูงกว่าร้อยละ 90.9 ในปีงบประมาณ 2548 การส่งออกจะยังมีแนวโน้มขยายตัวได้
ในระดับที่น่าพอใจภายใต้เงื่อนไขการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 3.0 และปริมาณการค้าโลกขยายตัวร้อยละ 6-7
(1) กรณีการขยายตัวทางในกรณีสูงร้อยละ 5.7
เศรษฐกิจทั้งปี 2549 อาจจะขยายตัวได้ร้อยละ 5.7 ภายใต้เงื่อนไข (1) เร่งรัดการส่งออกทั้งปีให้ขยายตัวร้อยละ 17-18 จากแนว
โน้มการขยายตัวปกติร้อยละ 15-16 โดยต้องเร่งขยายการส่งออกสินค้าเกษตร ในกลุ่มยางพารา กุ้ง ไก่ ข้าว และอาหาร ทะเลกระป๋อง และสินค้า
อุตสาหกรรมกลุ่มประเภทของใช้ในบ้าน สบู่และเครื่องสำอาง รวมทั้งการส่งออกในกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น(2) เร่งรัดส่งเสริมการท่องเที่ยว
ให้ได้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละประมาณร้อยละ 10 จากฐานจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2548 (3) เร่งรัดการเบิกจ่ายงบรัฐบาลและและงบลง
ทุนรัฐวิสาหกิจให้เป็นไปตามเป้าหมาย ซึ่งรวมถึงการเบิกจ่ายของกองทุนเพื่อการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (กองทุน SML) และงบเพื่อ
ดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และ (4) ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีอยู่ในช่วง 50-52 ดอลลาร์ต่อบาเรล
2.4 กรณีการขยายตัวในกรณีต่ำร้อยละ 4.7
จะมีโอกาสเป็นไปได้ถ้าราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีจะสูงกว่าบาเรลละ 52 ดอลลาร์ สรอ. เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวมากกว่าที่คาดซึ่ง
จะกระทบการส่งออก และราคาน้ำมันเฉลี่ยทั้งปีที่สูงกว่าระดับ 52 ดอลลาร์จะทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงกว่าร้อยละ 4.0 แต่คาดว่าโอกาสที่ราคาน้ำมันดิบดู
ไบจะเพิ่มขึ้นสูงกว่าระดับนั้นมีความเป็นไปได้น้อย เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวจะลดแรงกดดันจากด้านความต้องการใช้ลงบ้าง อย่างไรก็ตามยังมี
เงื่อนไขอื่นๆ ที่อาจจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ต่ำกว่าค่ากลางของช่วงประมาณการร้อยละ 4.7-5.7 เช่น หากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวช้ากว่าที่
คาด หรือการเบิกจ่ายงบรัฐบาลและการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่มีความล่าช้า
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2548 (1/)
ข้อมูลเบื้องต้น ประมาณการ
ปี 2548 ปี2549
2546 2547 5 ก.ย. 6 ธ.ค. 6 ธ.ค.
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท) 5,929.0 6,503.5 7,142.4 7,101.8 7,790.7
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่, %) 7.0 6.2 3.8-4.3 4.7 4.7-5.7
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่, %) 12.1 13.8 11.0 11.1 12.8
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 17.7 16.3 9.5 11.0 12.0
ภาครัฐ (ณ ราคาคงที่, %) -0.7 6.8 15.3 11.5 15.0
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่, %) 5.8 5.7 4.9 5.8 5.0
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, 6.4 5.9 4.3 4.7 4.8
ภาครัฐบาล (ณ ราคาคงที่, %) 2.3 4.7 8.6 12.8 6.5
ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 7.0 9.6 3.8 4.3 5.5
มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 78.1 94.9 110.5 110.1 127.1
อัตราการขยายตัว (%) 18.2 21.6 15.0 16.0 15.5
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 9.5 8.4 4.0 4.3 4.6
ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 8.5 13.5 8.3 8.9 8.7
มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 74.3 93.7 118.2 117.7 138.3
อัตราการขยายตัว (%) 17.4 26.0 25.2 25.6 17.5
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 10.7 12.3 9.2 9.2 9.0
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 3.8 1.2 -7.7 -7.6 -11.1
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 8.0 6.6 -3.2 -3.2 -4.9
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) 5.6 4.1 -1.9 -1.8 - (2.2 - 2.7)
เงินเฟ้อ (%)
ดัชนีราคาผู้บริโภค 1.8 2.7 4.1 4.5 3.5-4.5
GDP Deflator 1.6 3.3 4.5 4.5 4.5
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 6 ธันวาคม 2548
หมายเหตุ (1/) ข้อมูลเบื้องต้นปี 2546 และ 2547 มีการปรับปรุงตามการปรับข้อมูลย้อนหลังของสำนักบัญชีประชาชาติ (ข้อมูล
รายได้ประชาชาติ) และธนาคารแห่งประเทศไทย (การนำเข้าและส่งออก)
4. การบริหารนโยบายเศรษฐกิจปี 2549
เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวมในปี 2549 ยังมีแนวโน้มชะลอตัว การบริหารเศรษฐกิจควรเร่งรัดการดำเนินการต่อไปในการสร้าง
รายได้จากการส่งออกและการท่องเที่ยว และมาตรการพลังงานทดแทน เพื่อดูแลการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด พร้อมกับการส่งเสริมการออมในประเทศ ใน
ขณะเดียวกัน ด้านการใช้จ่าย ควรส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชนและเร่งรัดการใช้งบประมาณของรัฐบาลโดยเฉพาะในส่วนที่สร้างรายได้ให้แก่เศรษฐกิจ
รากหญ้าและภาคเกษตร รวมถึงการเริ่มดำเนินการลงทุนในโครงการ Mega project เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ มาตรการที่
ควรต้องเร่งดำเนินการ ได้แก่
* การส่งเสริมการใช้ NGV และ Gasohol เพื่อลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบ
* การส่งเสริมการลงทุนเอกชนให้เป็นแรงขับเคลื่อนหลักและรับช่วงการสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2549 ต่อจากการใช้
จ่ายครัวเรือนที่มีแนวโน้มชัดเจนว่าจะชะลอตัว
* การเร่งรัดการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ให้เป็นไปตามแผนซึ่งนอกจากจะช่วยสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจแล้วยังจะเป็นการสร้าง
ความเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจเอกชน ว่าแผนการลงทุนโครงการขนาดใหญ่มีความชัดเจน และสามารถคาดการณ์ถึงการมีบริการของโครงสร้างพื้นฐานที่จะ
เพิ่มขึ้นในอนาคตได้ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ภาคธุรกิจเอกชนใช้ประกอบการตัดสินใจในการดำเนินและการขยายธุรกิจ
* เร่งรัดการเบิกจ่ายงบกองทุนเพื่อพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านและชุมชน (กองทุน SML) ศูนย์ซ่อมสร้างระจำหมู่บ้านหรือชุมชน (Fix IT
Centers) รวมทั้งการเบิกจ่ายงบประมาณในการดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด (งบผู้ว่า CEO)
* การสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและการส่งเสริมภาคการเกษตร
* การส่งเสริมการท่องเที่ยว และตั้งเป้าหมายเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวอย่างน้อยร้อยละ 10 รวมทั้งการส่งเสริมนักท่องเที่ยวจาก
ตลาดเฉพาะ
* การผลักดันการส่งออกให้ได้เป้าหมายขยายตัว ร้อยละ 17-18
* การส่งเสริมการออมอย่างเป็นระบบเพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและลดภาระค่าใช้จ่ายภาครัฐในอนาคต รวมทั้งเพื่อสนับสนุนสภาพ
คล่องภายในประเทศเพื่อการระดมทุน
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-