เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2542 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ดร.สาวิตต์ โพธิวิหค ได้แถลงข่าวแก่สื่อมวลชน เรื่อง "การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ" ณ ห้องประชุมรัฐสภา
ดร.สาวิตต์ โพธิวิหค แถลงว่าตามที่รัฐธรรมนูญมาตราที่ 89 ได้บัญญัติให้มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติขึ้น โดยมีหน้าที่ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะไม่ได้กำหนดเวลาจัดตั้งสภาที่ปรึกษาฯ ไว้ แต่รัฐบาลเห็นว่า "การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการประเทศ" เป็นเรื่องสำคัญ จึงได้มอบให้คณะกรรมการชุดหนึ่งจัดทำร่างพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รัฐบาลถือว่าร่างพระราชบัญญัตินี้เป็น "ร่างในรูปแบบหนึ่ง" ที่ประชาชนจะได้ใช้พิจารณากรอบความคิดที่ได้แปลงจากรัฐธรรมนูญ รวมทั้งได้ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะมาเพื่อใช้แก้ไขปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติฯ นี้ต่อไป
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปร่างพระราชบัญญัติฯ โดยย่อว่า โครงสร้างของร่างพระราชบัญญัติฯ ประกอบด้วย 39 มาตรา เป็นเรื่องขององค์ประกอบ และที่มา 15 มาตรา อำนาจหน้าที่ 8 มาตรา การดำเนินงาน 9 มาตรา และบทเฉพาะกาล 7 มาตรา
ทั้งนี้ได้เริ่มกระบวนการรับฟังความเห็นขั้นต้นไปแล้ว โดยได้นำหารือกับส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้รับข้อคิดและความเห็นที่หลากหลาย สำหรับประเด็นที่มีความเห็นแตกต่าง และเป็นเรื่องหลักที่ประชาชนน่าจะได้พิจารณาและให้ความเห็น มีดังนี้
1. เรื่องกรอบความคิดเรื่องสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ตามร่างพระราชบัญญัติ เน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้สภาฯ มีความเป็นอิสระจากราชการและรัฐบาลมีลักษณะของ "เวทีทางสังคม" เพื่อให้กลุ่มต่าง ๆ ที่ไม่มีเวทีอื่นได้มีโอกาสมาร่วมให้ความเห็นต่อการบริหารจัดการของประเทศ และเป็นคนละองค์กรกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
สำหรับฝ่ายที่มีความเห็นที่แตกต่างจากร่างพระราชบัญญัติฯ เห็นว่าการเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลนั้นควรมีตัวแทนรัฐบาลอยู่ด้วย เพื่อเป็นเวทีแห่งการเรียนรู้ร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงความเข้าใจในประเด็นหารือแก่รัฐบาล อันจะลดความขัดแย้งที่อาจจะมีขึ้นได้ นอกจากนี้ เห็นว่าควรเป็นองค์กรเดียวกับ สศช. เพราะมีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่รัฐบาลเช่นเดียวกัน และตั้งแต่การจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 สศช. ได้มีกระบวนการทำงานร่วมกับภาคประชาสังคมมาตลอด ทำให้มีความรู้ความเข้าใจ วิธีการและเครือข่ายการทำงานที่พร้อมอยู่แล้ว จึงควรเพิ่มหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของสภาที่ปรึกษาฯ ให้กับ สศช.อีกทางหนึ่ง
ดังนั้น ประเด็นเพื่อรับฟังความคิดเห็นคือ เห็นสมควรให้สภาที่ปรึกษาฯ เป็นองค์กรภาคประชาชนที่ปลอดจากการเมืองหรือภาครัฐบาลโดยสิ้นเชิงหรือไม่ หรือควรมีส่วนของภาครัฐบาลร่วมอยู่ด้วย
2. เรื่องสาระสำคัญในแต่ละหมวดของร่างพระราชบัญญัติฯ
หมวดที่ 1 องค์ประกอบและที่มาของสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ
ตามร่างพระราชบัญญติฯ ได้กำหนดให้สภาที่ปรึกษาเป็นสภาขนาดใหญ่ โดยมีสมาชิกจำนวน 100 คน แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ กลุ่มพื้นที่ 20 กลุ่ม จำนวน 40 คน กลุ่มอาชีพและกิจการ 20 กลุ่ม จำนวน 40 คน และกลุ่มความรู้และภูมิปัญญา จำนวน 20 คน โดยมีขั้นตอนการได้มาของสมาชิก ได้แก่ ประเภทกลุ่มพื้นที่มาจากการคัดเลือกโดยคณะกรรมการจังหวัดและเลือกกันเอง ประเภทกลุ่มอาชีพและกิจการมอบให้องค์กรคัดเลือกและส่งผู้แทนเข้ามา ประเภทกลุ่มความรู้และภูมิปัญญามาจากการเลือกสาขาโดยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (คณะกรรมการ สศช.) และการคัดเลือกตัวบุคคลโดยผู้แทนพื้นที่และผู้แทนอาชีพและกิจการ
สำหรับฝ่ายที่มีความเห็นที่แตกต่างจากร่างพระราชบัญญัติฯ เห็นว่าควรยึดหลักการของประสิทธิภาพจึงเห็นว่า สภาที่ปรึกษาฯ ควรมีขนาดเล็กลงเพื่อให้ข้อคิดเห็นว่า สภาที่ปรึกษาฯ ควรมีขนาดเล็กลงเพื่อใหข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ไม่กระจัดกระจายและมีน้ำหนักเป็นคำปรึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐบาล และหากจะตัดก็อาจตัดสมาชิกประเภทพื้นที่ เพราะเป็นสมาชิกที่มีเวทีอื่นที่จะให้ความเห็นอยู่แล้ว ทั้งในฐานะของ ส.ส. และส.ว.
สำหรับที่มานั้น ฝ่ายที่เห็นแตกต่างเห็นว่าสลับซับซ้อนเกินไป อาจถูกโจมตีได้ว่าเลือกปฏิบัติ ส่วนที่มาของประเภทพื้นที่ได้มีข้อเสนอแนะจากการหารือ 2 ประการ ได้แก่
1) เห็นควรปรับองค์ประกอบคณะกรรมการคัดเลือกระดับจังหวัดในมาตรา 6 (1) โดยคงผู้ว่าราชการจังหวัดไว้ แต่องค์ประกอบอื่นควรปรับเปลี่ยนให้เป็นผู้แทนที่มาจากองค์กรประชาสังคมที่มีความเข้าใจปัญหาในพื้นที่อย่างแท้จริง
2) ประเภทอาชีพและวงการในมาตรา 9 ควรพิจารณาให้องค์กรกลาง ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับราชการเป็นผู้เสนอสมาชิกประเภทอาชีพและกิจการ
ดังนั้น ในหมวดที่ 1 เรื่อง องค์ประกอบและที่มาของสมาชิกสภาที่ปรึกษาของร่างพระราชบัญญัติฯ นี้ จึงมีประเด็นรับฟังความคิดเห็น ดังนี้
- องค์ประกอบ เห็นควรเป็นสภาขนาดใหญ่ตามข้อเสนอในร่าง พ.ร.บ.หรือสภาขนาดเล็กลง โดยตัดกลุ่มสมาชิกประเภทพื้นที่ออกไป
- ที่มา ควรปรับคณะกรรมการคัดเลือกระดับจังหวัดตามข้อเสนอที่แตกต่างหรือไม่ หรือควรปรับองค์กรผู้เสนอสมาชิกประเภทอาชีพและกิจการจากส่วนราชการให้เป็นองค์กรใดบ้าง
หมวดที่ 2 อำนาจและหน้าที่
ตามร่างพระราชบัญญัติมีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้
1) ให้คำปรึกษาแก่รัฐบาลตามที่ขอปรึกษา
2) ให้คำปรึกษาเองตามที่เห็นสมควร (ม.22)
3) ให้ความเห็นแผนพัฒนาฯ และแผนอื่นที่มีกฎหมายรองรับ
สำหรับฝ่ายที่มีความเห็นที่แตกต่างจากร่างพระราชบัญญัติฯ เห็นว่าควรตัดมาตรา 22 คือ การให้ข้อเสนอแนะ (คำปรึกษาเองตามที่เห็นสมควร) ออกไป มิฉะนั้นอาจก่อให้เกิดปัญหาการขยายขอบเขตงานบุคลากรจนเป็นภาระกับงบประมาณ
นอกจากนี้ ควรเพิ่มหน้าที่ให้สภาที่ปรึกษาฯ ทำหน้าที่ติดตามผลการดำเนินงานของรัฐบาลตามนโยบายในรัฐธรรมนูญ มาตรา 88 และการดำเนินงานของรัฐบาลตามแผนพัฒนาฯ ด้วยการเพิ่มเติมในร่าง พ.ร.บ. มาตราที่ 20(2) รวมทั้ง ควรเพิ่มมาตรา "กำหนดกรอบงานให้ชัดเจน" เพื่อไม่ให้ "สภาที่ปรึกษาฯ" ก้าวล่วงไปสู่การเป็น "สภาทางการเมือง" (สภาที่สาม)
ดังนั้นในประเด็นเพื่อรับฟังความคิดเห็นคือ ควรปรับร่าง พ.ร.บ. โดยตัดมาตรา 22 ออก และเพิ่มมาตราในการกำหนดกรอบงานของสภาที่ปรึกษาฯ ให้ชัดเจนตามความเห็นที่แตกต่างกันหรือไม่ในประเด็นใด หมวดที่ 3 บทเฉพาะกาล : การดำเนินงาน
ตามร่างพระราชบัญญัติฯ ได้กำหนดให้ สศช.เป็นสำนักเลขานุการ (ภายใน 5 ปี) ในระยะต่อไปจึงแยกออกจาก สศช.
สำหรับฝ่ายที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างจากร่างพระราชบัญญัติฯ เห็นว่า สศช. ควรเป็นสำนักงานเลขานุการตลอดไป เพราะ สศช. มีความรู้และประสบการณ์กับการทำงานร่วมกับประชาสังคมมาแล้วตั้งแต่แผนฯ 8 ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินและการขาดประสิทธิภาพของการดำเนินงานกับองค์กรใหม่ที่จะตั้งขึ้น
สำหรับรูปแบบได้มีข้อเสนอใน 2 รูปแบบ คือ ให้ปรับเพิ่มเติมองค์ประกอบคณะกรรมการ สศช. เป็นสภาที่ปรึกษาฯ หรือมีทั้งคณะกรรมการ สศช. และสภาที่ปรึกษาฯ โดย สศช.ทำหน้าที่เลขานุการทั้ง 2 ชุด
ดังนั้น ประเด็นเพื่อรับฟังความคิดเห็น คือ ควรให้ สศช. เป็นสำนักเลขานุการถาวรหรือเพียงชั่วคราว ภายใน 5 ปี ตามร่าง พ.ร.บ.
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวในตอนท้ายว่า ตามที่ได้สรุปประเด็นที่ผ่านการหารือมาแจ้งให้ทราบ เพราะเห็นเป็นประเด็นหลักที่ประชาชนควรได้ร่วมกันตัดสินใจ ขั้นตอนต่อจากนี้จะเป็นการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั้งประเทศ ซึ่งเป็นข้อสังเกตในประเด็นที่แตกต่างจากร่างพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาฯ หรือหากมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นเพิ่มเติม ขอได้โปรดส่งความคิดเห็นมาได้ที่ ตู้ ป.ณ. 59 ปณฝ. ราชเทวี กรุงเทพฯ 10401 โทรสาร 216-5913 หรือ โทรศัพท์ 216-5912 เพื่อประมวลความคิดเห็นและนำเสนอในการสัมมนาอย่างเป็นทางการ จากนั้นจะนำความเห็นและข้อเสนอแนะทั้งหมดที่ได้รับมาแก้ไขให้เป็นร่างพระราชบัญญัติฯ ของประชาชนอย่างแท้จริง และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 8/สิงหาคม 2542--
ดร.สาวิตต์ โพธิวิหค แถลงว่าตามที่รัฐธรรมนูญมาตราที่ 89 ได้บัญญัติให้มีการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติขึ้น โดยมีหน้าที่ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคม แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะไม่ได้กำหนดเวลาจัดตั้งสภาที่ปรึกษาฯ ไว้ แต่รัฐบาลเห็นว่า "การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการประเทศ" เป็นเรื่องสำคัญ จึงได้มอบให้คณะกรรมการชุดหนึ่งจัดทำร่างพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รัฐบาลถือว่าร่างพระราชบัญญัตินี้เป็น "ร่างในรูปแบบหนึ่ง" ที่ประชาชนจะได้ใช้พิจารณากรอบความคิดที่ได้แปลงจากรัฐธรรมนูญ รวมทั้งได้ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะมาเพื่อใช้แก้ไขปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติฯ นี้ต่อไป
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปร่างพระราชบัญญัติฯ โดยย่อว่า โครงสร้างของร่างพระราชบัญญัติฯ ประกอบด้วย 39 มาตรา เป็นเรื่องขององค์ประกอบ และที่มา 15 มาตรา อำนาจหน้าที่ 8 มาตรา การดำเนินงาน 9 มาตรา และบทเฉพาะกาล 7 มาตรา
ทั้งนี้ได้เริ่มกระบวนการรับฟังความเห็นขั้นต้นไปแล้ว โดยได้นำหารือกับส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้รับข้อคิดและความเห็นที่หลากหลาย สำหรับประเด็นที่มีความเห็นแตกต่าง และเป็นเรื่องหลักที่ประชาชนน่าจะได้พิจารณาและให้ความเห็น มีดังนี้
1. เรื่องกรอบความคิดเรื่องสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ตามร่างพระราชบัญญัติ เน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนให้สภาฯ มีความเป็นอิสระจากราชการและรัฐบาลมีลักษณะของ "เวทีทางสังคม" เพื่อให้กลุ่มต่าง ๆ ที่ไม่มีเวทีอื่นได้มีโอกาสมาร่วมให้ความเห็นต่อการบริหารจัดการของประเทศ และเป็นคนละองค์กรกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
สำหรับฝ่ายที่มีความเห็นที่แตกต่างจากร่างพระราชบัญญัติฯ เห็นว่าการเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลนั้นควรมีตัวแทนรัฐบาลอยู่ด้วย เพื่อเป็นเวทีแห่งการเรียนรู้ร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงความเข้าใจในประเด็นหารือแก่รัฐบาล อันจะลดความขัดแย้งที่อาจจะมีขึ้นได้ นอกจากนี้ เห็นว่าควรเป็นองค์กรเดียวกับ สศช. เพราะมีหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่รัฐบาลเช่นเดียวกัน และตั้งแต่การจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 สศช. ได้มีกระบวนการทำงานร่วมกับภาคประชาสังคมมาตลอด ทำให้มีความรู้ความเข้าใจ วิธีการและเครือข่ายการทำงานที่พร้อมอยู่แล้ว จึงควรเพิ่มหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของสภาที่ปรึกษาฯ ให้กับ สศช.อีกทางหนึ่ง
ดังนั้น ประเด็นเพื่อรับฟังความคิดเห็นคือ เห็นสมควรให้สภาที่ปรึกษาฯ เป็นองค์กรภาคประชาชนที่ปลอดจากการเมืองหรือภาครัฐบาลโดยสิ้นเชิงหรือไม่ หรือควรมีส่วนของภาครัฐบาลร่วมอยู่ด้วย
2. เรื่องสาระสำคัญในแต่ละหมวดของร่างพระราชบัญญัติฯ
หมวดที่ 1 องค์ประกอบและที่มาของสมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ
ตามร่างพระราชบัญญติฯ ได้กำหนดให้สภาที่ปรึกษาเป็นสภาขนาดใหญ่ โดยมีสมาชิกจำนวน 100 คน แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ กลุ่มพื้นที่ 20 กลุ่ม จำนวน 40 คน กลุ่มอาชีพและกิจการ 20 กลุ่ม จำนวน 40 คน และกลุ่มความรู้และภูมิปัญญา จำนวน 20 คน โดยมีขั้นตอนการได้มาของสมาชิก ได้แก่ ประเภทกลุ่มพื้นที่มาจากการคัดเลือกโดยคณะกรรมการจังหวัดและเลือกกันเอง ประเภทกลุ่มอาชีพและกิจการมอบให้องค์กรคัดเลือกและส่งผู้แทนเข้ามา ประเภทกลุ่มความรู้และภูมิปัญญามาจากการเลือกสาขาโดยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (คณะกรรมการ สศช.) และการคัดเลือกตัวบุคคลโดยผู้แทนพื้นที่และผู้แทนอาชีพและกิจการ
สำหรับฝ่ายที่มีความเห็นที่แตกต่างจากร่างพระราชบัญญัติฯ เห็นว่าควรยึดหลักการของประสิทธิภาพจึงเห็นว่า สภาที่ปรึกษาฯ ควรมีขนาดเล็กลงเพื่อให้ข้อคิดเห็นว่า สภาที่ปรึกษาฯ ควรมีขนาดเล็กลงเพื่อใหข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ไม่กระจัดกระจายและมีน้ำหนักเป็นคำปรึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐบาล และหากจะตัดก็อาจตัดสมาชิกประเภทพื้นที่ เพราะเป็นสมาชิกที่มีเวทีอื่นที่จะให้ความเห็นอยู่แล้ว ทั้งในฐานะของ ส.ส. และส.ว.
สำหรับที่มานั้น ฝ่ายที่เห็นแตกต่างเห็นว่าสลับซับซ้อนเกินไป อาจถูกโจมตีได้ว่าเลือกปฏิบัติ ส่วนที่มาของประเภทพื้นที่ได้มีข้อเสนอแนะจากการหารือ 2 ประการ ได้แก่
1) เห็นควรปรับองค์ประกอบคณะกรรมการคัดเลือกระดับจังหวัดในมาตรา 6 (1) โดยคงผู้ว่าราชการจังหวัดไว้ แต่องค์ประกอบอื่นควรปรับเปลี่ยนให้เป็นผู้แทนที่มาจากองค์กรประชาสังคมที่มีความเข้าใจปัญหาในพื้นที่อย่างแท้จริง
2) ประเภทอาชีพและวงการในมาตรา 9 ควรพิจารณาให้องค์กรกลาง ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับราชการเป็นผู้เสนอสมาชิกประเภทอาชีพและกิจการ
ดังนั้น ในหมวดที่ 1 เรื่อง องค์ประกอบและที่มาของสมาชิกสภาที่ปรึกษาของร่างพระราชบัญญัติฯ นี้ จึงมีประเด็นรับฟังความคิดเห็น ดังนี้
- องค์ประกอบ เห็นควรเป็นสภาขนาดใหญ่ตามข้อเสนอในร่าง พ.ร.บ.หรือสภาขนาดเล็กลง โดยตัดกลุ่มสมาชิกประเภทพื้นที่ออกไป
- ที่มา ควรปรับคณะกรรมการคัดเลือกระดับจังหวัดตามข้อเสนอที่แตกต่างหรือไม่ หรือควรปรับองค์กรผู้เสนอสมาชิกประเภทอาชีพและกิจการจากส่วนราชการให้เป็นองค์กรใดบ้าง
หมวดที่ 2 อำนาจและหน้าที่
ตามร่างพระราชบัญญัติมีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้
1) ให้คำปรึกษาแก่รัฐบาลตามที่ขอปรึกษา
2) ให้คำปรึกษาเองตามที่เห็นสมควร (ม.22)
3) ให้ความเห็นแผนพัฒนาฯ และแผนอื่นที่มีกฎหมายรองรับ
สำหรับฝ่ายที่มีความเห็นที่แตกต่างจากร่างพระราชบัญญัติฯ เห็นว่าควรตัดมาตรา 22 คือ การให้ข้อเสนอแนะ (คำปรึกษาเองตามที่เห็นสมควร) ออกไป มิฉะนั้นอาจก่อให้เกิดปัญหาการขยายขอบเขตงานบุคลากรจนเป็นภาระกับงบประมาณ
นอกจากนี้ ควรเพิ่มหน้าที่ให้สภาที่ปรึกษาฯ ทำหน้าที่ติดตามผลการดำเนินงานของรัฐบาลตามนโยบายในรัฐธรรมนูญ มาตรา 88 และการดำเนินงานของรัฐบาลตามแผนพัฒนาฯ ด้วยการเพิ่มเติมในร่าง พ.ร.บ. มาตราที่ 20(2) รวมทั้ง ควรเพิ่มมาตรา "กำหนดกรอบงานให้ชัดเจน" เพื่อไม่ให้ "สภาที่ปรึกษาฯ" ก้าวล่วงไปสู่การเป็น "สภาทางการเมือง" (สภาที่สาม)
ดังนั้นในประเด็นเพื่อรับฟังความคิดเห็นคือ ควรปรับร่าง พ.ร.บ. โดยตัดมาตรา 22 ออก และเพิ่มมาตราในการกำหนดกรอบงานของสภาที่ปรึกษาฯ ให้ชัดเจนตามความเห็นที่แตกต่างกันหรือไม่ในประเด็นใด หมวดที่ 3 บทเฉพาะกาล : การดำเนินงาน
ตามร่างพระราชบัญญัติฯ ได้กำหนดให้ สศช.เป็นสำนักเลขานุการ (ภายใน 5 ปี) ในระยะต่อไปจึงแยกออกจาก สศช.
สำหรับฝ่ายที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างจากร่างพระราชบัญญัติฯ เห็นว่า สศช. ควรเป็นสำนักงานเลขานุการตลอดไป เพราะ สศช. มีความรู้และประสบการณ์กับการทำงานร่วมกับประชาสังคมมาแล้วตั้งแต่แผนฯ 8 ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความสิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดินและการขาดประสิทธิภาพของการดำเนินงานกับองค์กรใหม่ที่จะตั้งขึ้น
สำหรับรูปแบบได้มีข้อเสนอใน 2 รูปแบบ คือ ให้ปรับเพิ่มเติมองค์ประกอบคณะกรรมการ สศช. เป็นสภาที่ปรึกษาฯ หรือมีทั้งคณะกรรมการ สศช. และสภาที่ปรึกษาฯ โดย สศช.ทำหน้าที่เลขานุการทั้ง 2 ชุด
ดังนั้น ประเด็นเพื่อรับฟังความคิดเห็น คือ ควรให้ สศช. เป็นสำนักเลขานุการถาวรหรือเพียงชั่วคราว ภายใน 5 ปี ตามร่าง พ.ร.บ.
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าวในตอนท้ายว่า ตามที่ได้สรุปประเด็นที่ผ่านการหารือมาแจ้งให้ทราบ เพราะเห็นเป็นประเด็นหลักที่ประชาชนควรได้ร่วมกันตัดสินใจ ขั้นตอนต่อจากนี้จะเป็นการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั้งประเทศ ซึ่งเป็นข้อสังเกตในประเด็นที่แตกต่างจากร่างพระราชบัญญัติสภาที่ปรึกษาฯ หรือหากมีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นเพิ่มเติม ขอได้โปรดส่งความคิดเห็นมาได้ที่ ตู้ ป.ณ. 59 ปณฝ. ราชเทวี กรุงเทพฯ 10401 โทรสาร 216-5913 หรือ โทรศัพท์ 216-5912 เพื่อประมวลความคิดเห็นและนำเสนอในการสัมมนาอย่างเป็นทางการ จากนั้นจะนำความเห็นและข้อเสนอแนะทั้งหมดที่ได้รับมาแก้ไขให้เป็นร่างพระราชบัญญัติฯ ของประชาชนอย่างแท้จริง และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 8/สิงหาคม 2542--