1 การติดตามประเมินผลในระยะ 3 ปี ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) เป็นแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศระยะปานกลางที่มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ระยะยาว โดยมีแนวคิดที่ยึด "คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา" พร้อมทั้งยึดหลัก "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ ขณะเดียวกันได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่สมดุล ทั้งด้านตัวคน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทยทุกคน
ในการผลักดันแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เฉพาะ ที่เป็นปัญหาเร่งด่วนของชาติ หรือ "วาระแห่งชาติ" ที่สำคัญรวม 4 เรื่อง คือ การแก้ไขปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การพัฒนาทุนทางสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งการผลักดันให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีขึ้นในสังคมไทย ซึ่งปัจจุบันการดำเนินงานภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ดังกล่าว ได้ผ่านพ้นมาแล้ว 3 ปี สศช. จึงดำเนินการให้มีการติดตามประเมินผลการพัฒนาในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 โดยให้ความสำคัญกับการติดตามผลการดำเนินงานใน 3 ประการ ดังนี้
ประการที่หนึ่ง : การวัดผลสัมฤทธิ์การพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เพื่อประเมินผลการพัฒนาตามเป้าหมายหลักของแผนฯ และประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา โดยอาศัยดัชนีชี้วัดที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อสามารถวัดผลกระทบจากการพัฒนาได้อย่างชัดเจน คือ ดัชนีชี้วัดความอยู่ดีมีสุข ดัชนีชี้วัดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน
ประการที่สอง : การติดตามผลการดำเนินงานที่ตอบสนองการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฉบับที่ 9 ภายใต้วาระแห่งชาติ 4 เรื่อง และยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดี ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของการดำเนินงานตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เพื่อเป็นแนวทางปรับปรุงการดำเนินงานในระยะต่อไปให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ประการที่สาม : การติดตามผลการพัฒนาภาคในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เพื่อประเมินสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของภาค พร้อมทั้งติดตามความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานที่สำคัญในพื้นที่ระดับภาค ว่าเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค กลุ่มจังหวัดและจังหวัดหรือไม่ เพียงใด เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาภาคในระยะต่อไปได้อย่างเหมาะสม
2 ผลสัมฤทธิ์การพัฒนาในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
2.1 ผลที่เกิดขึ้นตามเป้าหมายหลักของแผนฯ
การดำเนินงานในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้สร้างความเจริญก้าวหน้า ให้เศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างน่าพอใจ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยใช้ดัชนีชี้วัดการพัฒนา ทั้งดัชนีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ ดัชนีความอยู่ดีมีสุข และดัชนีการพัฒนาที่ยั่งยืน สะท้อนผลว่ายังอยู่ในระดับดีกว่าในช่วงปลายแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
(1) การประเมินเศรษฐกิจมหภาคในภาพรวม พบว่าในช่วง 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้นมากด้วยอัตราเฉลี่ยร้อยละ 6.1 ต่อปี สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ 9 เฉลี่ยร้อยละ 4-5 ต่อปี โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากอุปสงค์ภายในประเทศและการส่งออกที่ขยายตัวได้มากขึ้น ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีการขยายตัวสูงสุดในปี 2547 ส่งผลให้ภาวะการจ้างงานขยายตัวตามการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะที่ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล อัตราการว่างงานลดลง อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ การขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลเริ่มลดลง และขนาดหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่ลดลง ช่วยส่งเสริมให้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจไทย มีความมั่นคงและเข้มแข็งเพิ่มขึ้น
(2) การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การดำเนินงานตามแนวทางยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในภาพรวมปรับตัวสูงขึ้น โดยผลการจัดอันดับของสถาบันนานาชาติเพื่อพัฒนาการจัดการหรือ IMD ในปี 2547 ได้จัดให้ไทยอยู่ในอันดับที่ 29 ดีขึ้นจากอันดับที่ 30 ในปี 2546 และอันดับที่ 31 ในปี 2545 ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวขึ้นของปัจจัยด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจโดยรวม ขณะที่ ภาคการผลิตมีการปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเกินกว่าเป้าหมาย โดยขยายตัวร้อยละ 6.8 ในปี 2545 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10.3 ในปี 2546 และร้อยละ 8.3 ในปี 2547 สูงกว่าเป้าหมายเฉลี่ยกำหนดไว้ร้อยละ 4.5 ต่อปี นอกจากนี้ การส่งออกสินค้าขยายตัวอย่างมากจากร้อยละ 4.6 ในปี 2545 เพิ่มถึงร้อยละ 18.6 และร้อยละ 23.0 ในปี 2546 และ 2547 ตามลำดับสูงกว่าเป้าหมายเฉลี่ยที่กำหนดไว้ร้อยละ 6 ต่อปี อย่างไรก็ตามยังมีข้อด้อยในส่วนความสามารถในการแข่งขันด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะด้านศักยภาพของคนที่ยังมีปัญหาด้านความรู้และสุขภาพอนามัย ด้านการวิจัยและพัฒนาซึ่งยังทำได้น้อย และการเพิ่มประสิทธิภาพของรัฐยังมีความล่าช้า ซึ่งเป็นข้อจำกัดต่อการเพิ่มสมรรถนะการแข่งขันของประเทศ
(3) การแก้ไขปัญหาความยากจน ซึ่งสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 โดยจำนวนคนยากจนลดลงเป็นลำดับจนเหลือเพียง 7.5 ล้านคน หรือร้อยละ 12 ของประชากรทั้งหมดในปี 2547 ทั้งนี้เป็นผลจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าเป้าหมายและผลจากการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาความยากจนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นฐาน การเพิ่มศักยภาพขีดความสามารถและพัฒนาหลักประกันทางสังคมของคนยากจน โดยเฉพาะการดำเนินนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้ามีส่วนสำคัญในการสร้างงาน สร้างรายได้และสร้างโอกาสให้คนยากจนเข้าถึงแหล่งทุนและบริการต่างๆ ของรัฐอย่างทั่วถึง ทำให้คุณภาพชีวิตของคนยากจนดีขึ้น ส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ระหว่างคนจนและคนกลุ่มต่างๆ ลดลงจาก 13.2 เท่าในปี 2545 เหลือ 12.9 เท่าในปี 2547 อย่างไรก็ตาม ปัญหาความยากจนยังคงมีอยู่มากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ โดยส่วนใหญ่มีปัญหาหนี้สินและที่ดินทำกิน
(4) การยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย ซึ่งบรรลุเป้าหมายด้านการขยายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยคนไทยสามารถเข้าถึงหลักประกันสุขภาพในทุกรูปแบบเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 96 ของประชากรทั้งสิ้น แต่แนวโน้มการเจ็บป่วยยังคงเพิ่มขึ้นเนื่องจากขาดความตระหนักและขาดความรู้ในการดูแลที่ถูกต้อง ส่วนในด้านการพัฒนาการศึกษาสามารถขยายการศึกษาสู่ประชาชนทุกกลุ่มเพิ่มสูงขึ้น ทำให้อัตราส่วนนักเรียนต่อประชากรในระบบโรงเรียน และการศึกษาของกำลังแรงงานที่มีการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมีสัดส่วนที่สูงขึ้น แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของคนไทยยังไม่ดีนัก โดยมีจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยเพียง 8.1 ปี ในปี 2547 ซึ่งยังห่างจากเป้าหมายที่กำหนดไว้เฉลี่ย 9 ปีในปี 2549 โดยปัญหาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังไม่ได้รับการแก้ไขเท่าที่ควร
สำหรับการพัฒนาระบบการคุ้มครองทางสังคมมีความก้าวหน้ามากขึ้น โดยขยายความคุ้มครองรวมถึงลูกจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ทำให้ในปี 2547 ระบบประกันสังคมให้ความคุ้มครองประชาชนได้กว่า 7 ล้านคนหรือประมาณร้อยละ 21.9 ของกำลังแรงงาน แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมแรงงานนอกระบบซึ่งยังมีอยู่มากถึงร้อยละ 70 ของกำลังแรงงานทั้งหมด ขณะที่การดำเนินงานในส่วนนี้ยังไม่คืบหน้าเท่าที่ควร
(5) การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ส่งผลให้สถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มดีขึ้น อย่างไรก็ตามการดำเนินงานส่วนใหญ่ยังมีความล่าช้า ทั้งการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติตลอดจนสิ่งแวดล้อม อาทิ การเพิ่มพื้นที่ป่าอนุรักษ์ การลดปัญหาการพังทลายของดินและการฟื้นฟูบำรุง การแก้ปัญหามลพิษทางน้ำ ทางอากาศ การจัดการขยะมูลฝอยและกากของเสีย ส่งผลให้การบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีความเป็นไปได้น้อย เนื่องจากการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีเพิ่มขึ้นทุกขณะตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและกระแสบริโภคนิยมของสังคมไทย ขณะที่การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังไม่สามารถดำเนินการได้ทันสถานการณ์ เนื่องด้วยยังมีข้อจำกัดที่กลไกบริหารจัดการโดยเฉพาะในระดับท้องถิ่นยังไม่เข้มแข็ง การปรับแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องยังมีความล่าช้า ประกอบกับการมีส่วนร่วมของภาคีต่างๆ ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังเกิดขึ้นไม่มากเท่าที่ควร
(6) การบริหารจัดการที่ดีของสังคมไทย ได้มีการผลักดันและส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีในทุกภาคส่วน ส่งผลให้ภาพลักษณ์การบริหารจัดการที่ดีของประเทศไทยดีขึ้นในช่วงปี 2544-2547 โดยในส่วนของภาคราชการนั้นได้มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย ส่วนภาคเอกชนได้มีแนวทางและมาตรการเสริมสร้างบรรษัทภิบาลที่ดี ประกอบกับรัฐธรรมนูญปี 2540 ได้วางกลไกตรวจสอบถ่วงดุลภาคราชการและให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นอย่างมาก จึงทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามในส่วนของปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ยังต้องให้ความสำคัญในการตรวจสอบมากขึ้น
2.2 ผลกระทบของการพัฒนา
(1) เศรษฐกิจไทยมีความเข้มแข็งมากขึ้น จากการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพและมีภูมิคุ้มกันอยู่ในเกณฑ์ดี โดยความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจได้เปลี่ยนระดับการพัฒนาจากที่ต้องปรับปรุงในปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มาเป็นระดับดีในช่วง 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราสูงเฉลี่ยร้อยละ 6.1 และเป็นการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ นอกจากนี้เศรษฐกิจไทยมีภูมิคุ้มกันอยู่ในเกณฑ์ดี จากการเกินดุลการคลังของภาครัฐและความสามารถในการชำระหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยสัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ลดลงจากร้อยละ 58.4 ในปี 2544 เหลือร้อยละ 30.8 ในปี 2547 ตลอดจนความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกดีขึ้น จากการที่ส่วนแบ่งตลาดส่งออกของไทยเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการกระจายการพัฒนาที่เสมอภาคและเป็นธรรมมากขึ้น ขณะที่การพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจลดลง เนื่องจากการขยายตัวของการนำเข้าวัตถุดิบ สินค้าทุน และพลังงานเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 จะยังอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ในปี 2547 หลายปัจจัยที่สนับสนุนความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวในทิศทางที่ไม่เป็นผลดี อาทิ การขยายตัวทางเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวลดลง อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และมีการพึ่งพิงวัตถุดิบ ทุน และพลังงานจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะเป็นข้อจำกัดในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน
(2) ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 จากการที่เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจรากหญ้าของรัฐ ที่มุ่งสร้างงาน เพิ่มรายได้ และลดรายจ่าย ส่งผลให้คนมีงานทำมากขึ้น อัตราการว่างงานลดลงมากจากร้อยละ 3.23 ในปี 2544 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เหลือร้อยละ 1.98 ในปี 2547 ขณะที่ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น และการกระจายรายได้โดยรวมปรับตัวดีขึ้น ทำให้ความรุนแรงของปัญหาความยากจนได้ลดลง จนบรรลุตามเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ที่กำหนดให้สัดส่วนคนจนลดลงเหลือไม่เกินร้อยละ 12.0 ของประชากรในปี 2549
รวมทั้งคนไทยมีระดับความรู้เพิ่มขึ้น และมีสภาพแวดล้อมในการดำรงชีวิตดีขึ้นจากปัญหายาเสพติดที่ลดลง อย่างไรก็ตามความอยู่ดีมีสุขของคนไทย ยังมีปัญหาหลายเรื่องที่ต้องการปรับปรุงอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทั้งในด้านปัญหาการเจ็บป่วยจากโรคที่สามารถป้องกันได้ คุณภาพการศึกษา สภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม ครอบครัวไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ และปัญหาด้านความโปร่งใสและการมีคุณธรรมในการบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐ
(3) การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง (ระดับการพัฒนาต่ำกว่า 3) โดยมิติเศรษฐกิจเป็นมิติที่ได้รับผลสำเร็จในการพัฒนามากกว่ามิติอื่น เฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการเสริมสร้างเสถียรภาพความมั่นคงทางเศรษฐกิจส่วนรวมและการดำเนินนโยบายเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้าและขจัดปัญหาความยากจน ที่ผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย แต่มีประเด็นด้านคุณภาพของการพัฒนาและประสิทธิภาพการผลิตที่ถดถอยลงจากช่วงก่อนหน้า เนื่องจากสัดส่วนการใช้พลังงานต่อผลผลิตที่ผลิตได้ของประเทศเพิ่มขึ้น มีการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศมากขึ้นและใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นสัดส่วนน้อย
สำหรับมิติด้านสังคมที่มีผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตอยู่เกณฑ์ที่ดีขึ้น แต่ยังมีจุดอ่อนในด้านการพัฒนาศักยภาพและปรับตัวไปสู่สังคมการเรียนรู้ ซึ่งฉุดรั้งให้ความสามารถการแข่งขันของประเทศลดลง ส่วนมิติด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มที่จะฟื้นฟูดีขึ้นจากความพยายามร่วมมือกันสงวนรักษาทรัพยากรที่มีอยู่มิให้เสื่อมโทรม อย่างไรก็ตามยังต้องเฝ้าระวังแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมทั้งด้านคุณภาพอากาศและแหล่งน้ำ ตลอดจนการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นเครื่องชี้ถึงการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจที่สนองต่อสังคมจนเกินขีดความสามารถรองรับของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสะท้อนความไม่สมดุลของมิติการพัฒนาที่จะนำไปสู่ความไม่ยั่งยืนได้ในอนาคต
3 ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
3.1 การเสริมสร้างระบบการบริหารการจัดการที่ดี
ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ที่ผ่านมา การผลักดันและส่งเสริมการสร้างระบบการบริหารจัดการที่ดีในทุกภาคส่วน มีความก้าวหน้าค่อนข้างมาก ประกอบกับรัฐธรรมนูญที่เปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาและกระบวนการตรวจสอบมากขึ้น ได้ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของการบริหารจัดการที่ดีของประเทศไทยทั้งภาครัฐและเอกชน ในช่วงปี 2544 -- 2547 ดีขึ้น และภาพลักษณ์การคอร์รัปชันลดลง โดยดัชนีชี้วัดธรรมาภิบาลของธนาคารโลก ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์การคอร์รัปชั้นของ Transparency International และของ World Economic Forum ให้ข้อสรุปที่สอดคล้องกันว่าประเทศไทยมีภาพลักษณ์การคอร์รัปชันหรือการรับสินบนลดลงในทุกรูปแบบ โดยผลการดำเนินงานที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
(1) ภาครัฐได้มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการเป็นกรอบทิศทางในการดำเนินการในตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งผลงานมีความก้าวหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะในส่วนของการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการทั้งในระดับกระทรวง กรม และหน่วยงาน ให้มีขีดสมรรถนะและคล่องตัวสูง การจัดให้มีระบบบริหารงานแบบบูรณาการในระดับจังหวัดและเอกอัครราชฑูต การจัดหน่วยบริการรูปแบบพิเศษที่มิใช่ราชการแต่ปฏิบัติภารกิจราชการ ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงาน โดยเน้นการกระจายอำนาจของผู้บริหาร การลดขั้นตอนการให้บริการ การจัดให้มีศูนย์บริการร่วม การปรับเปลี่ยนระบบการเงินงบประมาณ และการจัดซื้อจัดจ้างให้ทันสมัยสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการพัฒนาข้าราชการโดยการปรับปรุงค่าตอบแทนใหม่ การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม ค่านิยม และสร้างองค์ความรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ข้าราชการมีโอกาสพัฒนาตนเองมากขึ้น
(2) ภาคธุรกิจเอกชนนั้น รัฐบาลได้ประกาศอย่างเป็นทางการให้ปี 2545 เป็นปีเริ่มต้นแห่งการรณรงค์การมีบรรษัทภิบาลที่ดี และมอบหมายให้ ก.ล.ต. รับผิดชอบผลักดันให้สู่การปฏิบัติอย่างกว้างขวาง ซึ่ง ก.ล.ต. ก็ได้ดำเนินมาตรการต่างๆ หลากหลายรูปแบบ ทั้งการสร้างความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนการจัดให้มีการมอบรางวัลหลายรางวัลเพื่อจูงใจบริษัทจดทะเบียนที่มีผลงานด้าน ธรรมาภิบาลดีเด่น มีการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานและข้อมูลด้านการเงินให้แก่ผู้ลงทุนอย่างโปร่งใส เป็นต้น มาตรการดังกล่าวได้ส่งผลให้เกิดบรรษัทภิบาลเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง
(3) การกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังปรากฏว่ามีความล่าช้ากว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. กำหนดแผนขั้นตอนการกระจายอำนาจ ทั้งการถ่ายโอนภารกิจและการจัดสรรรายได้ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลงานต่ำกว่าเป้าหมายค่อนข้างมาก โดยภารกิจที่ยังไม่ได้ถ่ายโอนส่วนใหญ่เป็นงานด้านสาธารณูปโภคและการศึกษา อันเนื่องมาจากจะต้องมีการดำเนินการแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ รวมทั้งความไม่พร้อมที่จะรับภารกิจนั้นๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และความไม่พร้อมของส่วนราชการเจ้าภาพของภารกิจเดิม นอกจากนั้นยังรวมถึงการถ่ายโอน
บุคลากรที่มีปัญหาความไม่สมัครใจ ปัญหาทัศนคติ ปัญหาคุณสมบัติไม่ตรงกับความต้องการของท้องถิ่น และมาตรการจูงใจที่ยังไม่เพียงพอ
3.2 การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
การดำเนินงานในช่วง 3 ปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2547) ภายใต้ วาระแห่งชาติการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ได้มีส่วนผลักดันให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยมีการปรับตัวที่ดีขึ้น ตามผลการจัดอันดับของ IMD และ WEF โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญคือปัจจัยด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจโดยรวม และประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ โดยผลการดำเนินงานที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
(1) การวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจที่มั่นคง (Economic Development Platform) มีการดำเนินการภายใต้นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแบบคู่ขนาน (Dual Track Policy) ที่ใช้ทั้งมาตรการด้านการเงิน การคลัง การลงทุน โดยปรับปรุงโครงสร้างพิกัดศุลกากรเพื่อแก้ไขปัญหาความ ลักลั่นของโครงสร้างภาษีระหว่างอุสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจเงินร่วมลงทุน สนับสนุนการให้สินเชื่อและการค้ำประกันสินเชื่อแก่อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม การปรับมาตรการด้านการลงทุนเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปรับปรุงระบบโลจิสติกส์ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มความสะดวกรวดเร็วสำหรับการประกอบการ รวมทั้งการยกระดับและเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจฐานราก ทั้งในรูปของการทำเกษตรยั่งยืน และกิจกรรมต่อยอดเสริมภาคเกษตร โดยเฉพาะหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) เป็นต้น
(2) การมีบทบาทที่เข้มแข็งในเวทีระหว่างประเทศ (International Active Player) มีการดำเนินการภายใต้กรอบความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่สำคัญ ได้แก่ ความร่วมมือในกรอบ GMS IMT-GT ACMECS ACD และ JDS และความร่วมมือในกรอบภูมิภาค โดยเฉพาะในระดับทวิภาคีในรูปเขตการค้าเสรี (FTA) และการทำข้อตกลงกับประเทศต่างๆ เพื่อเป็นการสร้างและขยายโอกาสทางธุรกิจ ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีการพัฒนาตนเอง และใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้น
(3) การเป็นประเทศที่มีความเป็นเลิศของบางกลุ่มสินค้าในตลาดโลก (World Leader in Niche Market) โดยมีการกำหนดอุตสาหกรรม/สินค้าที่ประเทศไทยมีศักยภาพโดยเปรียบเทียบ (Niche) และมีการดำเนินงานเชิงรุกเพื่อยกระดับ Value-added Chain ให้สูงขึ้น การนำ Cluster Approach มาปรับใช้ในกระบวนการพัฒนาร่วมกันของอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมแฟชั่น ได้แก่ โครงการกรุงเทพฯเมืองแฟชั่น โครงการพันธมิตรอุตสาหกรรมยานยนต์ โครงการศูนย์ทดสอบ วิจัย และพัฒนายานยนต์ เป็นต้น การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมอาหารไปสู่มาตรฐานความปลอดภัยและการสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างความเป็นเลิศของอุตสาหกรรมยางพาราโดยมีเป้าหมายสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ปลายน้ำและลิตภัณฑ์ใหม่ ตลอดจนการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
(4) ความสามารถทางนวัตกรรม (Innovative Nation with Learning Base) มีการจัดตั้งสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) บนพื้นฐานการสร้างโอกาสให้มีแหล่งเรียนรู้และพัฒนาตนเอง รวมทั้งสนับสนุนให้มีกิจกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวกในการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และการจดทะเบียนเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นในการขับเคลื่อนไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่สร้างมูลค่าเพิ่ม
(5) การเป็นสังคมผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Society) มีการจัดทำโครงการชุบชีวิตธุรกิจไทย การเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ การจัดระบบการบ่มเพาะที่มีบูรณาการ เพื่อส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การเพิ่มศักยภาพการผลิตของชุมชนด้วยการส่งเสริมให้เกษตรกรจัดทำแผนธุรกิจของตำบล การสนับสนุนการดำเนินธุรกิจชุมชนตามแผนวิสาหกิจชุมชน และการพัฒนาผู้ประกอบการเดิมและผู้ประกอบการใหม่ โดยผ่านระบบการบ่มเพาะ เป็นต้น
3.3 การแก้ไขปัญหาความยากจน
การดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคีการพัฒนาต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาความยากจนตามยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และตามนโยบายของรัฐบาล มีความก้าวหน้าและได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยคนจนลดลงเหลือ 7.5 ล้านคนหรือร้อยละ 12 ของประชากรในปี 2547 นับเป็นความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 นอกจากนี้ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ระหว่างกลุ่มร่ำรวยสุดกับกลุ่มยากจนสุดได้ลดลงด้วย โดยมีผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมสรุปได้ ดังนี้
(1) การเสริมสร้างโอกาสให้คนยากจนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างทั่วถึง โดยดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิต กระจายโอกาสทางการศึกษา และการได้รับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานอย่างเท่าเทียม อาทิ เด็กยากจนและเด็กด้อยโอกาสได้รับทุนการศึกษากว่า 479,000 คน เด็กยากจนได้เรียนต่อในระดับอุดมศึกษา (ทุน 1 อำเภอ 1 ทุน) ทั้งในและต่างประเทศ คนพิการและผู้ด้อยโอกาสได้รับบริการทางการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียนเพิ่มขึ้น และคนยากจนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขตามโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าร้อยละ 93.5 ของคนยากจนทั้งหมด
(2) สร้างโอกาสให้คนยากจนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ โดยจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรและออกเอกสารสิทธิ์ ส.ป.ก. 4-01 และ สปก.4-01ช. จัดที่ดินทำกินในเขตนิคมสหกรณ์และออกเอกสารสิทธิ์ กสน.3 รวมทั้งออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (กสน.5) นอกจากนี้ยังได้จัดที่ดินทำกินตัวอย่างในพื้นที่โครงการหลวง 28 ศูนย์ รวมทั้งพัฒนาแหล่งน้ำอุปโภคและบริโภค โดยขุดสระขนาด 1,260 ลบ.ม. เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์ พร้อมทั้งการจัดหาสาธารณูปโภคที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ ซึ่งได้ช่วยลดปัญหาความเดือดร้อนให้คนยากจนได้ระดับหนึ่ง
(3) พัฒนาโครงข่ายการคุ้มครองทางสังคมเพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิตแก่คนยากจน โดยสร้างหลักประกันสุขภาพให้แก่ลูกจ้างในสถานประกอบการเพิ่มขึ้น เป็น 8.32 ล้านคนในปี 2547 การดำเนินโครงการประกันอุบัติเหตุเอื้ออาทร ได้ช่วยให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยและนักเรียนเข้าถึงการประกันอุบัติเหตุกว่า 8 แสนคน นอกจากนี้ คนยากจนและผู้ด้อยโอกาสยังได้รับการสงเคราะห์ในรูปแบบต่างๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการและความเหมาะสมของช่วงวัยกว่า 1 ล้านคน ตลอดจนช่วยให้ผู้มีรายได้น้อยกว่า 1 แสนครัวเรือนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองตามโครงการบ้านเอื้ออาทร
(4) พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งเพื่อสร้างศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถให้คนยากจนสามารถก่อร่างสร้างตัวและพึ่งตนเองได้มากขึ้น โดยการดำเนินโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน มีเกษตรกรขึ้นทะเบียนโครงการแล้วกว่า 5 แสนคน และเข้าถึงแหล่งทุนในระบบแล้วเกือบ 3 หมื่นคน นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินโครงการต่อเนื่อง ได้แก่ โครงการกองทุนหมู่บ้าน
และชุมชนเมือง การฟื้นฟูอาชีพหลังพักชำระหนี้ให้แก่เกษตรกร อีกทั้งได้ดำเนินการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน โดยได้ให้คำปรึกษาแนะนำและถ่ายทอดความรู้ด้านกระบวนการผลิตการจัดการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนทั้งในและต่างประเทศ
(5) ปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้เอื้อต่อการสร้างโอกาสให้คนยากจน โดยจัดสรรงบประมาณไปสู่หมู่บ้าน/ชุมชนโดยตรง ตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน (SML)เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนนำไปแก้ไขปัญหาส่วนรวมเพื่อการประกอบอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืน มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) เพื่อเป็นกลไกการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ และมีกลไกภายใต้ ศตจ. รองรับการปฏิบัติงานทั้งในส่วนกลางและระดับพื้นที่ ทั้งนี้ การดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจนในระดับพื้นที่ เป็นการดำเนินการภายใต้ระบบการบริหารจังหวัดแบบบูรณาการ (Chief Executive Officer : CEO) ทุกจังหวัดทั่วประเทศ
3.4 การพัฒนาทุนทางสังคม
ในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 การพัฒนาทุนทางสังคมได้รับความสำคัญมากขึ้น และมีการขับเคลื่อนทั้งการพัฒนาทุนมนุษย์ ทุนทางสถาบัน และทุนทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ที่มีความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและการคุ้มครองทางสังคม ก่อให้เกิดการพัฒนาและใช้ประโยชน์ทุนทางสังคมอันนำไปสู่การยกระดับความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของคนในสังคมไทยให้ดีขึ้นโดยมีการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
(ยังมีต่อ)
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) เป็นแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศระยะปานกลางที่มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ระยะยาว โดยมีแนวคิดที่ยึด "คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา" พร้อมทั้งยึดหลัก "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ ขณะเดียวกันได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่สมดุล ทั้งด้านตัวคน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทยทุกคน
ในการผลักดันแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เฉพาะ ที่เป็นปัญหาเร่งด่วนของชาติ หรือ "วาระแห่งชาติ" ที่สำคัญรวม 4 เรื่อง คือ การแก้ไขปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การพัฒนาทุนทางสังคม และการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งการผลักดันให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีขึ้นในสังคมไทย ซึ่งปัจจุบันการดำเนินงานภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ดังกล่าว ได้ผ่านพ้นมาแล้ว 3 ปี สศช. จึงดำเนินการให้มีการติดตามประเมินผลการพัฒนาในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 โดยให้ความสำคัญกับการติดตามผลการดำเนินงานใน 3 ประการ ดังนี้
ประการที่หนึ่ง : การวัดผลสัมฤทธิ์การพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เพื่อประเมินผลการพัฒนาตามเป้าหมายหลักของแผนฯ และประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการพัฒนา โดยอาศัยดัชนีชี้วัดที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อสามารถวัดผลกระทบจากการพัฒนาได้อย่างชัดเจน คือ ดัชนีชี้วัดความอยู่ดีมีสุข ดัชนีชี้วัดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และดัชนีชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน
ประการที่สอง : การติดตามผลการดำเนินงานที่ตอบสนองการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฉบับที่ 9 ภายใต้วาระแห่งชาติ 4 เรื่อง และยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดี ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อความสำเร็จและความล้มเหลวของการดำเนินงานตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เพื่อเป็นแนวทางปรับปรุงการดำเนินงานในระยะต่อไปให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ประการที่สาม : การติดตามผลการพัฒนาภาคในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เพื่อประเมินสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของภาค พร้อมทั้งติดตามความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานที่สำคัญในพื้นที่ระดับภาค ว่าเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค กลุ่มจังหวัดและจังหวัดหรือไม่ เพียงใด เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาภาคในระยะต่อไปได้อย่างเหมาะสม
2 ผลสัมฤทธิ์การพัฒนาในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
2.1 ผลที่เกิดขึ้นตามเป้าหมายหลักของแผนฯ
การดำเนินงานในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้สร้างความเจริญก้าวหน้า ให้เศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างน่าพอใจ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยใช้ดัชนีชี้วัดการพัฒนา ทั้งดัชนีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ ดัชนีความอยู่ดีมีสุข และดัชนีการพัฒนาที่ยั่งยืน สะท้อนผลว่ายังอยู่ในระดับดีกว่าในช่วงปลายแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
(1) การประเมินเศรษฐกิจมหภาคในภาพรวม พบว่าในช่วง 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้นมากด้วยอัตราเฉลี่ยร้อยละ 6.1 ต่อปี สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ 9 เฉลี่ยร้อยละ 4-5 ต่อปี โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากอุปสงค์ภายในประเทศและการส่งออกที่ขยายตัวได้มากขึ้น ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีการขยายตัวสูงสุดในปี 2547 ส่งผลให้ภาวะการจ้างงานขยายตัวตามการเติบโตทางเศรษฐกิจ ขณะที่ดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล อัตราการว่างงานลดลง อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ การขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลเริ่มลดลง และขนาดหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่ลดลง ช่วยส่งเสริมให้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจไทย มีความมั่นคงและเข้มแข็งเพิ่มขึ้น
(2) การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การดำเนินงานตามแนวทางยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในภาพรวมปรับตัวสูงขึ้น โดยผลการจัดอันดับของสถาบันนานาชาติเพื่อพัฒนาการจัดการหรือ IMD ในปี 2547 ได้จัดให้ไทยอยู่ในอันดับที่ 29 ดีขึ้นจากอันดับที่ 30 ในปี 2546 และอันดับที่ 31 ในปี 2545 ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวขึ้นของปัจจัยด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจโดยรวม ขณะที่ ภาคการผลิตมีการปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเกินกว่าเป้าหมาย โดยขยายตัวร้อยละ 6.8 ในปี 2545 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 10.3 ในปี 2546 และร้อยละ 8.3 ในปี 2547 สูงกว่าเป้าหมายเฉลี่ยกำหนดไว้ร้อยละ 4.5 ต่อปี นอกจากนี้ การส่งออกสินค้าขยายตัวอย่างมากจากร้อยละ 4.6 ในปี 2545 เพิ่มถึงร้อยละ 18.6 และร้อยละ 23.0 ในปี 2546 และ 2547 ตามลำดับสูงกว่าเป้าหมายเฉลี่ยที่กำหนดไว้ร้อยละ 6 ต่อปี อย่างไรก็ตามยังมีข้อด้อยในส่วนความสามารถในการแข่งขันด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะด้านศักยภาพของคนที่ยังมีปัญหาด้านความรู้และสุขภาพอนามัย ด้านการวิจัยและพัฒนาซึ่งยังทำได้น้อย และการเพิ่มประสิทธิภาพของรัฐยังมีความล่าช้า ซึ่งเป็นข้อจำกัดต่อการเพิ่มสมรรถนะการแข่งขันของประเทศ
(3) การแก้ไขปัญหาความยากจน ซึ่งสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 โดยจำนวนคนยากจนลดลงเป็นลำดับจนเหลือเพียง 7.5 ล้านคน หรือร้อยละ 12 ของประชากรทั้งหมดในปี 2547 ทั้งนี้เป็นผลจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าเป้าหมายและผลจากการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาความยากจนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นฐาน การเพิ่มศักยภาพขีดความสามารถและพัฒนาหลักประกันทางสังคมของคนยากจน โดยเฉพาะการดำเนินนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจระดับรากหญ้ามีส่วนสำคัญในการสร้างงาน สร้างรายได้และสร้างโอกาสให้คนยากจนเข้าถึงแหล่งทุนและบริการต่างๆ ของรัฐอย่างทั่วถึง ทำให้คุณภาพชีวิตของคนยากจนดีขึ้น ส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ระหว่างคนจนและคนกลุ่มต่างๆ ลดลงจาก 13.2 เท่าในปี 2545 เหลือ 12.9 เท่าในปี 2547 อย่างไรก็ตาม ปัญหาความยากจนยังคงมีอยู่มากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ โดยส่วนใหญ่มีปัญหาหนี้สินและที่ดินทำกิน
(4) การยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย ซึ่งบรรลุเป้าหมายด้านการขยายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยคนไทยสามารถเข้าถึงหลักประกันสุขภาพในทุกรูปแบบเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 96 ของประชากรทั้งสิ้น แต่แนวโน้มการเจ็บป่วยยังคงเพิ่มขึ้นเนื่องจากขาดความตระหนักและขาดความรู้ในการดูแลที่ถูกต้อง ส่วนในด้านการพัฒนาการศึกษาสามารถขยายการศึกษาสู่ประชาชนทุกกลุ่มเพิ่มสูงขึ้น ทำให้อัตราส่วนนักเรียนต่อประชากรในระบบโรงเรียน และการศึกษาของกำลังแรงงานที่มีการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมีสัดส่วนที่สูงขึ้น แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของคนไทยยังไม่ดีนัก โดยมีจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยเพียง 8.1 ปี ในปี 2547 ซึ่งยังห่างจากเป้าหมายที่กำหนดไว้เฉลี่ย 9 ปีในปี 2549 โดยปัญหาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังไม่ได้รับการแก้ไขเท่าที่ควร
สำหรับการพัฒนาระบบการคุ้มครองทางสังคมมีความก้าวหน้ามากขึ้น โดยขยายความคุ้มครองรวมถึงลูกจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ทำให้ในปี 2547 ระบบประกันสังคมให้ความคุ้มครองประชาชนได้กว่า 7 ล้านคนหรือประมาณร้อยละ 21.9 ของกำลังแรงงาน แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมแรงงานนอกระบบซึ่งยังมีอยู่มากถึงร้อยละ 70 ของกำลังแรงงานทั้งหมด ขณะที่การดำเนินงานในส่วนนี้ยังไม่คืบหน้าเท่าที่ควร
(5) การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ส่งผลให้สถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มดีขึ้น อย่างไรก็ตามการดำเนินงานส่วนใหญ่ยังมีความล่าช้า ทั้งการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติตลอดจนสิ่งแวดล้อม อาทิ การเพิ่มพื้นที่ป่าอนุรักษ์ การลดปัญหาการพังทลายของดินและการฟื้นฟูบำรุง การแก้ปัญหามลพิษทางน้ำ ทางอากาศ การจัดการขยะมูลฝอยและกากของเสีย ส่งผลให้การบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีความเป็นไปได้น้อย เนื่องจากการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีเพิ่มขึ้นทุกขณะตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและกระแสบริโภคนิยมของสังคมไทย ขณะที่การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังไม่สามารถดำเนินการได้ทันสถานการณ์ เนื่องด้วยยังมีข้อจำกัดที่กลไกบริหารจัดการโดยเฉพาะในระดับท้องถิ่นยังไม่เข้มแข็ง การปรับแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องยังมีความล่าช้า ประกอบกับการมีส่วนร่วมของภาคีต่างๆ ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังเกิดขึ้นไม่มากเท่าที่ควร
(6) การบริหารจัดการที่ดีของสังคมไทย ได้มีการผลักดันและส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีในทุกภาคส่วน ส่งผลให้ภาพลักษณ์การบริหารจัดการที่ดีของประเทศไทยดีขึ้นในช่วงปี 2544-2547 โดยในส่วนของภาคราชการนั้นได้มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย ส่วนภาคเอกชนได้มีแนวทางและมาตรการเสริมสร้างบรรษัทภิบาลที่ดี ประกอบกับรัฐธรรมนูญปี 2540 ได้วางกลไกตรวจสอบถ่วงดุลภาคราชการและให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นอย่างมาก จึงทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างชัดเจน อย่างไรก็ตามในส่วนของปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ยังต้องให้ความสำคัญในการตรวจสอบมากขึ้น
2.2 ผลกระทบของการพัฒนา
(1) เศรษฐกิจไทยมีความเข้มแข็งมากขึ้น จากการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพและมีภูมิคุ้มกันอยู่ในเกณฑ์ดี โดยความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจได้เปลี่ยนระดับการพัฒนาจากที่ต้องปรับปรุงในปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 มาเป็นระดับดีในช่วง 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราสูงเฉลี่ยร้อยละ 6.1 และเป็นการขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ นอกจากนี้เศรษฐกิจไทยมีภูมิคุ้มกันอยู่ในเกณฑ์ดี จากการเกินดุลการคลังของภาครัฐและความสามารถในการชำระหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยสัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ลดลงจากร้อยละ 58.4 ในปี 2544 เหลือร้อยละ 30.8 ในปี 2547 ตลอดจนความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกดีขึ้น จากการที่ส่วนแบ่งตลาดส่งออกของไทยเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการกระจายการพัฒนาที่เสมอภาคและเป็นธรรมมากขึ้น ขณะที่การพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจลดลง เนื่องจากการขยายตัวของการนำเข้าวัตถุดิบ สินค้าทุน และพลังงานเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 จะยังอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ในปี 2547 หลายปัจจัยที่สนับสนุนความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวในทิศทางที่ไม่เป็นผลดี อาทิ การขยายตัวทางเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัวลดลง อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น และมีการพึ่งพิงวัตถุดิบ ทุน และพลังงานจากต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะเป็นข้อจำกัดในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน
(2) ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 จากการที่เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจรากหญ้าของรัฐ ที่มุ่งสร้างงาน เพิ่มรายได้ และลดรายจ่าย ส่งผลให้คนมีงานทำมากขึ้น อัตราการว่างงานลดลงมากจากร้อยละ 3.23 ในปี 2544 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เหลือร้อยละ 1.98 ในปี 2547 ขณะที่ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มสูงขึ้น และการกระจายรายได้โดยรวมปรับตัวดีขึ้น ทำให้ความรุนแรงของปัญหาความยากจนได้ลดลง จนบรรลุตามเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ที่กำหนดให้สัดส่วนคนจนลดลงเหลือไม่เกินร้อยละ 12.0 ของประชากรในปี 2549
รวมทั้งคนไทยมีระดับความรู้เพิ่มขึ้น และมีสภาพแวดล้อมในการดำรงชีวิตดีขึ้นจากปัญหายาเสพติดที่ลดลง อย่างไรก็ตามความอยู่ดีมีสุขของคนไทย ยังมีปัญหาหลายเรื่องที่ต้องการปรับปรุงอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทั้งในด้านปัญหาการเจ็บป่วยจากโรคที่สามารถป้องกันได้ คุณภาพการศึกษา สภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรม ครอบครัวไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ และปัญหาด้านความโปร่งใสและการมีคุณธรรมในการบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐ
(3) การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทยในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มีทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงอยู่ในระดับที่ต้องปรับปรุง (ระดับการพัฒนาต่ำกว่า 3) โดยมิติเศรษฐกิจเป็นมิติที่ได้รับผลสำเร็จในการพัฒนามากกว่ามิติอื่น เฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการเสริมสร้างเสถียรภาพความมั่นคงทางเศรษฐกิจส่วนรวมและการดำเนินนโยบายเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจรากหญ้าและขจัดปัญหาความยากจน ที่ผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย แต่มีประเด็นด้านคุณภาพของการพัฒนาและประสิทธิภาพการผลิตที่ถดถอยลงจากช่วงก่อนหน้า เนื่องจากสัดส่วนการใช้พลังงานต่อผลผลิตที่ผลิตได้ของประเทศเพิ่มขึ้น มีการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศมากขึ้นและใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นสัดส่วนน้อย
สำหรับมิติด้านสังคมที่มีผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตอยู่เกณฑ์ที่ดีขึ้น แต่ยังมีจุดอ่อนในด้านการพัฒนาศักยภาพและปรับตัวไปสู่สังคมการเรียนรู้ ซึ่งฉุดรั้งให้ความสามารถการแข่งขันของประเทศลดลง ส่วนมิติด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มที่จะฟื้นฟูดีขึ้นจากความพยายามร่วมมือกันสงวนรักษาทรัพยากรที่มีอยู่มิให้เสื่อมโทรม อย่างไรก็ตามยังต้องเฝ้าระวังแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมทั้งด้านคุณภาพอากาศและแหล่งน้ำ ตลอดจนการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นเครื่องชี้ถึงการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจที่สนองต่อสังคมจนเกินขีดความสามารถรองรับของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสะท้อนความไม่สมดุลของมิติการพัฒนาที่จะนำไปสู่ความไม่ยั่งยืนได้ในอนาคต
3 ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
3.1 การเสริมสร้างระบบการบริหารการจัดการที่ดี
ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ที่ผ่านมา การผลักดันและส่งเสริมการสร้างระบบการบริหารจัดการที่ดีในทุกภาคส่วน มีความก้าวหน้าค่อนข้างมาก ประกอบกับรัฐธรรมนูญที่เปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาและกระบวนการตรวจสอบมากขึ้น ได้ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของการบริหารจัดการที่ดีของประเทศไทยทั้งภาครัฐและเอกชน ในช่วงปี 2544 -- 2547 ดีขึ้น และภาพลักษณ์การคอร์รัปชันลดลง โดยดัชนีชี้วัดธรรมาภิบาลของธนาคารโลก ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์การคอร์รัปชั้นของ Transparency International และของ World Economic Forum ให้ข้อสรุปที่สอดคล้องกันว่าประเทศไทยมีภาพลักษณ์การคอร์รัปชันหรือการรับสินบนลดลงในทุกรูปแบบ โดยผลการดำเนินงานที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
(1) ภาครัฐได้มีการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการเป็นกรอบทิศทางในการดำเนินการในตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งผลงานมีความก้าวหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะในส่วนของการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการทั้งในระดับกระทรวง กรม และหน่วยงาน ให้มีขีดสมรรถนะและคล่องตัวสูง การจัดให้มีระบบบริหารงานแบบบูรณาการในระดับจังหวัดและเอกอัครราชฑูต การจัดหน่วยบริการรูปแบบพิเศษที่มิใช่ราชการแต่ปฏิบัติภารกิจราชการ ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงาน โดยเน้นการกระจายอำนาจของผู้บริหาร การลดขั้นตอนการให้บริการ การจัดให้มีศูนย์บริการร่วม การปรับเปลี่ยนระบบการเงินงบประมาณ และการจัดซื้อจัดจ้างให้ทันสมัยสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการพัฒนาข้าราชการโดยการปรับปรุงค่าตอบแทนใหม่ การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม ค่านิยม และสร้างองค์ความรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ข้าราชการมีโอกาสพัฒนาตนเองมากขึ้น
(2) ภาคธุรกิจเอกชนนั้น รัฐบาลได้ประกาศอย่างเป็นทางการให้ปี 2545 เป็นปีเริ่มต้นแห่งการรณรงค์การมีบรรษัทภิบาลที่ดี และมอบหมายให้ ก.ล.ต. รับผิดชอบผลักดันให้สู่การปฏิบัติอย่างกว้างขวาง ซึ่ง ก.ล.ต. ก็ได้ดำเนินมาตรการต่างๆ หลากหลายรูปแบบ ทั้งการสร้างความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนการจัดให้มีการมอบรางวัลหลายรางวัลเพื่อจูงใจบริษัทจดทะเบียนที่มีผลงานด้าน ธรรมาภิบาลดีเด่น มีการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานและข้อมูลด้านการเงินให้แก่ผู้ลงทุนอย่างโปร่งใส เป็นต้น มาตรการดังกล่าวได้ส่งผลให้เกิดบรรษัทภิบาลเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง
(3) การกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังปรากฏว่ามีความล่าช้ากว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. กำหนดแผนขั้นตอนการกระจายอำนาจ ทั้งการถ่ายโอนภารกิจและการจัดสรรรายได้ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้น ซึ่งมีผลงานต่ำกว่าเป้าหมายค่อนข้างมาก โดยภารกิจที่ยังไม่ได้ถ่ายโอนส่วนใหญ่เป็นงานด้านสาธารณูปโภคและการศึกษา อันเนื่องมาจากจะต้องมีการดำเนินการแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ รวมทั้งความไม่พร้อมที่จะรับภารกิจนั้นๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และความไม่พร้อมของส่วนราชการเจ้าภาพของภารกิจเดิม นอกจากนั้นยังรวมถึงการถ่ายโอน
บุคลากรที่มีปัญหาความไม่สมัครใจ ปัญหาทัศนคติ ปัญหาคุณสมบัติไม่ตรงกับความต้องการของท้องถิ่น และมาตรการจูงใจที่ยังไม่เพียงพอ
3.2 การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
การดำเนินงานในช่วง 3 ปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2547) ภายใต้ วาระแห่งชาติการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ได้มีส่วนผลักดันให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยมีการปรับตัวที่ดีขึ้น ตามผลการจัดอันดับของ IMD และ WEF โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญคือปัจจัยด้านสมรรถนะทางเศรษฐกิจโดยรวม และประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ โดยผลการดำเนินงานที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
(1) การวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจที่มั่นคง (Economic Development Platform) มีการดำเนินการภายใต้นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจแบบคู่ขนาน (Dual Track Policy) ที่ใช้ทั้งมาตรการด้านการเงิน การคลัง การลงทุน โดยปรับปรุงโครงสร้างพิกัดศุลกากรเพื่อแก้ไขปัญหาความ ลักลั่นของโครงสร้างภาษีระหว่างอุสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจเงินร่วมลงทุน สนับสนุนการให้สินเชื่อและการค้ำประกันสินเชื่อแก่อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม การปรับมาตรการด้านการลงทุนเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ปรับปรุงระบบโลจิสติกส์ เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มความสะดวกรวดเร็วสำหรับการประกอบการ รวมทั้งการยกระดับและเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจฐานราก ทั้งในรูปของการทำเกษตรยั่งยืน และกิจกรรมต่อยอดเสริมภาคเกษตร โดยเฉพาะหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) เป็นต้น
(2) การมีบทบาทที่เข้มแข็งในเวทีระหว่างประเทศ (International Active Player) มีการดำเนินการภายใต้กรอบความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่สำคัญ ได้แก่ ความร่วมมือในกรอบ GMS IMT-GT ACMECS ACD และ JDS และความร่วมมือในกรอบภูมิภาค โดยเฉพาะในระดับทวิภาคีในรูปเขตการค้าเสรี (FTA) และการทำข้อตกลงกับประเทศต่างๆ เพื่อเป็นการสร้างและขยายโอกาสทางธุรกิจ ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีการพัฒนาตนเอง และใช้ประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้น
(3) การเป็นประเทศที่มีความเป็นเลิศของบางกลุ่มสินค้าในตลาดโลก (World Leader in Niche Market) โดยมีการกำหนดอุตสาหกรรม/สินค้าที่ประเทศไทยมีศักยภาพโดยเปรียบเทียบ (Niche) และมีการดำเนินงานเชิงรุกเพื่อยกระดับ Value-added Chain ให้สูงขึ้น การนำ Cluster Approach มาปรับใช้ในกระบวนการพัฒนาร่วมกันของอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมแฟชั่น ได้แก่ โครงการกรุงเทพฯเมืองแฟชั่น โครงการพันธมิตรอุตสาหกรรมยานยนต์ โครงการศูนย์ทดสอบ วิจัย และพัฒนายานยนต์ เป็นต้น การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมอาหารไปสู่มาตรฐานความปลอดภัยและการสร้างมูลค่าเพิ่ม การสร้างความเป็นเลิศของอุตสาหกรรมยางพาราโดยมีเป้าหมายสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ปลายน้ำและลิตภัณฑ์ใหม่ ตลอดจนการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
(4) ความสามารถทางนวัตกรรม (Innovative Nation with Learning Base) มีการจัดตั้งสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) บนพื้นฐานการสร้างโอกาสให้มีแหล่งเรียนรู้และพัฒนาตนเอง รวมทั้งสนับสนุนให้มีกิจกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวกในการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรม การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และการจดทะเบียนเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นในการขับเคลื่อนไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่สร้างมูลค่าเพิ่ม
(5) การเป็นสังคมผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Society) มีการจัดทำโครงการชุบชีวิตธุรกิจไทย การเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ การจัดระบบการบ่มเพาะที่มีบูรณาการ เพื่อส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การเพิ่มศักยภาพการผลิตของชุมชนด้วยการส่งเสริมให้เกษตรกรจัดทำแผนธุรกิจของตำบล การสนับสนุนการดำเนินธุรกิจชุมชนตามแผนวิสาหกิจชุมชน และการพัฒนาผู้ประกอบการเดิมและผู้ประกอบการใหม่ โดยผ่านระบบการบ่มเพาะ เป็นต้น
3.3 การแก้ไขปัญหาความยากจน
การดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคีการพัฒนาต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาความยากจนตามยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และตามนโยบายของรัฐบาล มีความก้าวหน้าและได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยคนจนลดลงเหลือ 7.5 ล้านคนหรือร้อยละ 12 ของประชากรในปี 2547 นับเป็นความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 นอกจากนี้ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ระหว่างกลุ่มร่ำรวยสุดกับกลุ่มยากจนสุดได้ลดลงด้วย โดยมีผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมสรุปได้ ดังนี้
(1) การเสริมสร้างโอกาสให้คนยากจนสามารถเข้าถึงบริการของรัฐได้อย่างทั่วถึง โดยดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิต กระจายโอกาสทางการศึกษา และการได้รับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานอย่างเท่าเทียม อาทิ เด็กยากจนและเด็กด้อยโอกาสได้รับทุนการศึกษากว่า 479,000 คน เด็กยากจนได้เรียนต่อในระดับอุดมศึกษา (ทุน 1 อำเภอ 1 ทุน) ทั้งในและต่างประเทศ คนพิการและผู้ด้อยโอกาสได้รับบริการทางการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียนเพิ่มขึ้น และคนยากจนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขตามโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าร้อยละ 93.5 ของคนยากจนทั้งหมด
(2) สร้างโอกาสให้คนยากจนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ โดยจัดสรรที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรและออกเอกสารสิทธิ์ ส.ป.ก. 4-01 และ สปก.4-01ช. จัดที่ดินทำกินในเขตนิคมสหกรณ์และออกเอกสารสิทธิ์ กสน.3 รวมทั้งออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (กสน.5) นอกจากนี้ยังได้จัดที่ดินทำกินตัวอย่างในพื้นที่โครงการหลวง 28 ศูนย์ รวมทั้งพัฒนาแหล่งน้ำอุปโภคและบริโภค โดยขุดสระขนาด 1,260 ลบ.ม. เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์ พร้อมทั้งการจัดหาสาธารณูปโภคที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ ซึ่งได้ช่วยลดปัญหาความเดือดร้อนให้คนยากจนได้ระดับหนึ่ง
(3) พัฒนาโครงข่ายการคุ้มครองทางสังคมเพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิตแก่คนยากจน โดยสร้างหลักประกันสุขภาพให้แก่ลูกจ้างในสถานประกอบการเพิ่มขึ้น เป็น 8.32 ล้านคนในปี 2547 การดำเนินโครงการประกันอุบัติเหตุเอื้ออาทร ได้ช่วยให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยและนักเรียนเข้าถึงการประกันอุบัติเหตุกว่า 8 แสนคน นอกจากนี้ คนยากจนและผู้ด้อยโอกาสยังได้รับการสงเคราะห์ในรูปแบบต่างๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการและความเหมาะสมของช่วงวัยกว่า 1 ล้านคน ตลอดจนช่วยให้ผู้มีรายได้น้อยกว่า 1 แสนครัวเรือนได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองตามโครงการบ้านเอื้ออาทร
(4) พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งเพื่อสร้างศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถให้คนยากจนสามารถก่อร่างสร้างตัวและพึ่งตนเองได้มากขึ้น โดยการดำเนินโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน มีเกษตรกรขึ้นทะเบียนโครงการแล้วกว่า 5 แสนคน และเข้าถึงแหล่งทุนในระบบแล้วเกือบ 3 หมื่นคน นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินโครงการต่อเนื่อง ได้แก่ โครงการกองทุนหมู่บ้าน
และชุมชนเมือง การฟื้นฟูอาชีพหลังพักชำระหนี้ให้แก่เกษตรกร อีกทั้งได้ดำเนินการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน โดยได้ให้คำปรึกษาแนะนำและถ่ายทอดความรู้ด้านกระบวนการผลิตการจัดการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนทั้งในและต่างประเทศ
(5) ปรับระบบการบริหารจัดการภาครัฐให้เอื้อต่อการสร้างโอกาสให้คนยากจน โดยจัดสรรงบประมาณไปสู่หมู่บ้าน/ชุมชนโดยตรง ตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน (SML)เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนนำไปแก้ไขปัญหาส่วนรวมเพื่อการประกอบอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืน มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) เพื่อเป็นกลไกการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ และมีกลไกภายใต้ ศตจ. รองรับการปฏิบัติงานทั้งในส่วนกลางและระดับพื้นที่ ทั้งนี้ การดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจนในระดับพื้นที่ เป็นการดำเนินการภายใต้ระบบการบริหารจังหวัดแบบบูรณาการ (Chief Executive Officer : CEO) ทุกจังหวัดทั่วประเทศ
3.4 การพัฒนาทุนทางสังคม
ในระยะ 3 ปีของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 การพัฒนาทุนทางสังคมได้รับความสำคัญมากขึ้น และมีการขับเคลื่อนทั้งการพัฒนาทุนมนุษย์ ทุนทางสถาบัน และทุนทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ที่มีความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาคนและการคุ้มครองทางสังคม ก่อให้เกิดการพัฒนาและใช้ประโยชน์ทุนทางสังคมอันนำไปสู่การยกระดับความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของคนในสังคมไทยให้ดีขึ้นโดยมีการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้
(ยังมีต่อ)