สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงข่าวผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสที่ 1/2544 ขยายตัวจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วเพียงร้อยละ 1.8 นับเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำที่สุดในรอบ 7 ไตรมาสที่ผ่านมา สาเหตุเพราะการลดลงของปริมาณการส่งออกสินค้า การลงทุนภาครัฐ และการใช้จ่ายของครัวเรือน แต่สาขาการเงินการธนาคารเริ่มปรับตัวเป็นบวกครั้งแรก นับตั้งแต่เกิดวิกฤตทางการเงินเมื่อกลางปี 2540 เป็นต้นมา
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แถลงข่าวเรื่อง สรุปภาวะเศรษฐกิจจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาสที่ 1/2544 แก่สื่อมวลชน ณ ห้องประชุม เดช สนิทวงศ์ สศช.เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2544 โดยเปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจวัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP ในไตรมาสแรกของปี 2544 ขยายตัวจากระยะเดียวกันของปีที่แล้ว และนับเป็นอัตราขยายตัวที่ต่ำสุดในรอบ 7 ไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทย ทั้งนี้เป็นผลมาจากทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน ที่สำคัญคือ ปริมาณการส่งออกสินค้าลดลงร้อยละ 3.5 การลงทุนภาครัฐลดลงร้อยละ 24.4 และการชะลอตัวของการใช้จ่ายของครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.1 อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่ยังทำให้เศรษฐกิจขยายตัวอยู่ได้คือรายจ่ายประจำของรัฐบาลที่ขยายตัวร้อยละ 0.9 และการลงทุนของภาคเอกชนที่ขยายตัวร้อยละ 10.7 สำหรับดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสูงขึ้นร้อยละ 2.4 เท่ากับในไตรมาสที่ 4 ของปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าดัชนีราคาผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 และใกล้เคียงกับดัชนีราคาผู้ผลิตที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8
เลขาธิการกล่าวต่อไปว่า ในด้านการผลิต ภาคเกษตร ขยายตัวร้อยละ 2.3 ต่ำกว่าร้อยละ 3.5 ในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว โดยเป็นการขยายตัวของหมวดพืชผลร้อยละ 0.4 หมวดปศุสัตว์ร้อยละ 8.8 และหมวดประมงร้อยละ 6.7 ทั้งนี้ส่วนที่เติบโตสูงได้แก่ปศุสัตว์ประเภทไก่และสุกร และกุ้งสดแช่แข็งตามสถานการณ์ที่ดีของตลาดส่งออก ส่วนพืชผลที่ลดลงค่อนข้างมาก คือ อ้อย เพราะเกิดปัญหาการระบาดของหนอนกอ และภาคนอกเกษตร ขยายตัวร้อยละ 1.7 ต่ำกว่าร้อยละ 3.1 ในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว โดยสาขาการผลิตที่ขยายตัวได้แก่ สาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 1.3 เป็นผลมาจากการส่งออกในอุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยีที่ชะลอลงตามเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญ ขณะที่อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นบางรายการเช่น เสื้อผ้าและเครื่องหนังส่งออกได้เพิ่มขึ้น เพราะผลจากการอ่อนตัวลงของค่าเงินบาท สาขาการเงินการธนาคาร เริ่มปรับตัวเป็นบวกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินเมื่อกลางปี 2540 เป็นต้นมา โดยสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 0.4 เทียบกับอัตราหดตัวร้อยละ 3.9 ในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว ทั้งนี้เพราะธนาคารพาณิชย์สามารถปรับลดค่าการใช้จ่ายลงได้ค่อนข้างมาก และสาขาการค้าส่งและค้าปลีกและสาขาคมนาคมและขนส่งขยายตัวร้อยละ 2.5 และ 3.6 ตามลำดับ สำหรับสาขาการผลิตที่ยังคงหดตัว ได้แก่ สาขาก่อสร้างยังคงลดลงร้อยละ 5.5 อย่างต่อเนื่อง สาขาเหมืองแร่และย่อยหินลดลงร้อยละ 7.0 และสาขาการศึกษาลดลงร้อยละ 3.8
ด้านการใช้จ่าย รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 3.1 เป็นอัตราที่ชะลอลงต่อเนื่องจากปีที่แล้ว โดยมีปัจจัยสำคัญคือราคาน้ำมันในประเทศยังอยู่ในระดับสูง ภาวะแนวโน้มซบเซาของเศรษฐกิจทั่วไปและเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และรายได้ของครัวเรือนโดยเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้หลักจากดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำ รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล มีมูลค่าที่แท้จริงเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.9 ทั้งนี้เป็นไปตามผลการดำเนินนโยบายปรับลดจำนวนข้าราชการตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด ทำให้ยอดการเบิกจ่ายเงินเดือนชะลอตัวประกอบกับการเบิกจ่ายเงินกู้ตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมีมูลค่าลดลงมากเนื่องจากเป็นระยะใกล้สิ้นสุดการดำเนินงาน การลงทุนลดลงร้อยละ 5.0 โดยการลงทุนภาครัฐมีสัดส่วนร้อยละ 35.5 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 24.4 สาเหตุสำคัญมาจากความล่าช้าของการลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่สำคัญหลายแห่ง เช่น งานก่อสร้างระบบจ่ายไฟฟ้า งานก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย งานก่อสร้างท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ การออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้าเครื่องกลขององค์การรถไฟฟ้ามหานคร เป็นต้น ส่วนการลงทุนภาคเอกชนมีสัดส่วนร้อยละ 64.5 ขยายตัวร้อยละ 10.7 โดยเป็นการขยายตัวด้านเครื่องมือเครื่องจักรร้อยละ 11.3 และการลงทุนด้านก่อสร้างร้อยละ 8.4 โดยเฉพาะการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ในเขตเทศบาลและเขตองค์การบริหารส่วนตำบลที่ยังคงขยายตัวอยู่บ้าง
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กล่าวต่อไปว่า สำหรับภาคต่างประเทศ รายรับจากการส่งออกสินค้า ผู้ส่งออกได้รับประโยชน์จากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกในราคาที่แท้จริงลดลงร้อยละ 3.5 ส่วนรายรับจากบริการ มีมูลค่า 141,356 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ทั้งนี้ส่วนที่เพิ่มขึ้นมากคือรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ และรายรับจากบริการการขนส่ง สำหรับรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้านำเข้า มีมูลค่าการนำเข้าในราคาที่แท้จริงลดลงร้อยละ 6.0 ส่วนค่าใช้จ่ายในการซื้อบริการจากต่างประเทศ มีมูลค่า 88,407 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.1 เนื่องมาจากค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศของคนไทย และค่าใช้จ่ายในการซื้อบริการอื่นที่เพิ่มขึ้น ด้านดุลการค้าและบริการ ดุลการค้าเกินดุล 2,811 ล้านบาท ลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้วที่เกินดุล 72,180 ล้านบาท ทั้งนี้เนื่องมาจากปัญหาความสามารถในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ และปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจในประเทศ ส่วนด้านดุลบริการเกินดุล 52,949 ล้านบาท ลดลงจากที่เกินดุล 58,390 ล้านบาท ในไตรมาสแรกของปีที่แล้ว สาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือ รายจ่ายด้านการเดินทางไปต่างประเทศของคนไทย เพิ่มขึ้นในอัตราสูงกว่ารายได้เงินตราต่างประเทศจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งโดยรวม ดุลการค้าและบริการเกินดุล 55,760 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 4.4 ของ GDP ลดลงจากที่เกินดุล 130,570 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.7 ของ GDP ในระยะเดียวกันของปีที่แล้ว
นอกจากนี้ เลขาธิการฯ ยังกล่าวถึงแนวโน้มของเศรษฐกิจในปี 2544 ว่า ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2543 มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวอย่างต่อเนื่องในปี 2544 โดยคาดว่า การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 4.5 ในปี 2543 การลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 14.2 ในปี 2543 การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาครัฐบาลจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 การลงทุนภาครัฐจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 การส่งออกจะลดลงร้อยละ 2.0 การนำเข้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มเกินดุลร้อยละ 3.7 ของจีดีพี ลดลงจากการเกินดุลร้อยละ 3.2 สูงกว่าร้อยละ 1.6 ในปี 2543 เนื่องจากต้นทุนค่าน้ำมัน ค่าไฟ และก๊าซหุงต้มที่สูงขึ้น รวมทั้งราคาพืชผลบางชนิดที่ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตามอุปสงค์ภายในประเทศยังคงอ่อนตัวอยู่ ทำให้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังไม่น่าเป็นห่วงและยังคงอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ
จากการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจดังกล่าว สศช. จึงได้ปรับลดประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2544 จากร้อยละ 3.5-4.0 ในการประมาณการ ณ วันที่ 19 มีนาคม 2544 เป็นร้อยละ 2.0-3.0 โดยการปรับประมาณการหลักๆ ประกอบด้วย การปรับลดแนวโน้มการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกและการนำเข้า รวมทั้งปรับลดอัตราการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนที่คาดว่าจะไม่สามารถขยายตัวได้มากในกรณีที่การส่งออกลดลง อย่างไรก็ตาม หากดำเนินการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังได้ผลตามเป้าหมาย จะช่วยให้การลงทุนภาคเอกชนขยายและเป็นปัจจัยผลักดันเศรษฐกิจที่สำคัญ
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 7 กรกฎาคม 2544--
-สส-
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แถลงข่าวเรื่อง สรุปภาวะเศรษฐกิจจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาสที่ 1/2544 แก่สื่อมวลชน ณ ห้องประชุม เดช สนิทวงศ์ สศช.เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2544 โดยเปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจวัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP ในไตรมาสแรกของปี 2544 ขยายตัวจากระยะเดียวกันของปีที่แล้ว และนับเป็นอัตราขยายตัวที่ต่ำสุดในรอบ 7 ไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทย ทั้งนี้เป็นผลมาจากทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน ที่สำคัญคือ ปริมาณการส่งออกสินค้าลดลงร้อยละ 3.5 การลงทุนภาครัฐลดลงร้อยละ 24.4 และการชะลอตัวของการใช้จ่ายของครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.1 อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่ยังทำให้เศรษฐกิจขยายตัวอยู่ได้คือรายจ่ายประจำของรัฐบาลที่ขยายตัวร้อยละ 0.9 และการลงทุนของภาคเอกชนที่ขยายตัวร้อยละ 10.7 สำหรับดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสูงขึ้นร้อยละ 2.4 เท่ากับในไตรมาสที่ 4 ของปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าดัชนีราคาผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 และใกล้เคียงกับดัชนีราคาผู้ผลิตที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8
เลขาธิการกล่าวต่อไปว่า ในด้านการผลิต ภาคเกษตร ขยายตัวร้อยละ 2.3 ต่ำกว่าร้อยละ 3.5 ในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว โดยเป็นการขยายตัวของหมวดพืชผลร้อยละ 0.4 หมวดปศุสัตว์ร้อยละ 8.8 และหมวดประมงร้อยละ 6.7 ทั้งนี้ส่วนที่เติบโตสูงได้แก่ปศุสัตว์ประเภทไก่และสุกร และกุ้งสดแช่แข็งตามสถานการณ์ที่ดีของตลาดส่งออก ส่วนพืชผลที่ลดลงค่อนข้างมาก คือ อ้อย เพราะเกิดปัญหาการระบาดของหนอนกอ และภาคนอกเกษตร ขยายตัวร้อยละ 1.7 ต่ำกว่าร้อยละ 3.1 ในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว โดยสาขาการผลิตที่ขยายตัวได้แก่ สาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 1.3 เป็นผลมาจากการส่งออกในอุตสาหกรรมสินค้าทุนและเทคโนโลยีที่ชะลอลงตามเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญ ขณะที่อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นบางรายการเช่น เสื้อผ้าและเครื่องหนังส่งออกได้เพิ่มขึ้น เพราะผลจากการอ่อนตัวลงของค่าเงินบาท สาขาการเงินการธนาคาร เริ่มปรับตัวเป็นบวกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินเมื่อกลางปี 2540 เป็นต้นมา โดยสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 0.4 เทียบกับอัตราหดตัวร้อยละ 3.9 ในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว ทั้งนี้เพราะธนาคารพาณิชย์สามารถปรับลดค่าการใช้จ่ายลงได้ค่อนข้างมาก และสาขาการค้าส่งและค้าปลีกและสาขาคมนาคมและขนส่งขยายตัวร้อยละ 2.5 และ 3.6 ตามลำดับ สำหรับสาขาการผลิตที่ยังคงหดตัว ได้แก่ สาขาก่อสร้างยังคงลดลงร้อยละ 5.5 อย่างต่อเนื่อง สาขาเหมืองแร่และย่อยหินลดลงร้อยละ 7.0 และสาขาการศึกษาลดลงร้อยละ 3.8
ด้านการใช้จ่าย รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 3.1 เป็นอัตราที่ชะลอลงต่อเนื่องจากปีที่แล้ว โดยมีปัจจัยสำคัญคือราคาน้ำมันในประเทศยังอยู่ในระดับสูง ภาวะแนวโน้มซบเซาของเศรษฐกิจทั่วไปและเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และรายได้ของครัวเรือนโดยเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้หลักจากดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับต่ำ รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล มีมูลค่าที่แท้จริงเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.9 ทั้งนี้เป็นไปตามผลการดำเนินนโยบายปรับลดจำนวนข้าราชการตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด ทำให้ยอดการเบิกจ่ายเงินเดือนชะลอตัวประกอบกับการเบิกจ่ายเงินกู้ตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจมีมูลค่าลดลงมากเนื่องจากเป็นระยะใกล้สิ้นสุดการดำเนินงาน การลงทุนลดลงร้อยละ 5.0 โดยการลงทุนภาครัฐมีสัดส่วนร้อยละ 35.5 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 24.4 สาเหตุสำคัญมาจากความล่าช้าของการลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่สำคัญหลายแห่ง เช่น งานก่อสร้างระบบจ่ายไฟฟ้า งานก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย งานก่อสร้างท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ การออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้าเครื่องกลขององค์การรถไฟฟ้ามหานคร เป็นต้น ส่วนการลงทุนภาคเอกชนมีสัดส่วนร้อยละ 64.5 ขยายตัวร้อยละ 10.7 โดยเป็นการขยายตัวด้านเครื่องมือเครื่องจักรร้อยละ 11.3 และการลงทุนด้านก่อสร้างร้อยละ 8.4 โดยเฉพาะการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ในเขตเทศบาลและเขตองค์การบริหารส่วนตำบลที่ยังคงขยายตัวอยู่บ้าง
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กล่าวต่อไปว่า สำหรับภาคต่างประเทศ รายรับจากการส่งออกสินค้า ผู้ส่งออกได้รับประโยชน์จากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกในราคาที่แท้จริงลดลงร้อยละ 3.5 ส่วนรายรับจากบริการ มีมูลค่า 141,356 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ทั้งนี้ส่วนที่เพิ่มขึ้นมากคือรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ และรายรับจากบริการการขนส่ง สำหรับรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้านำเข้า มีมูลค่าการนำเข้าในราคาที่แท้จริงลดลงร้อยละ 6.0 ส่วนค่าใช้จ่ายในการซื้อบริการจากต่างประเทศ มีมูลค่า 88,407 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.1 เนื่องมาจากค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศของคนไทย และค่าใช้จ่ายในการซื้อบริการอื่นที่เพิ่มขึ้น ด้านดุลการค้าและบริการ ดุลการค้าเกินดุล 2,811 ล้านบาท ลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้วที่เกินดุล 72,180 ล้านบาท ทั้งนี้เนื่องมาจากปัญหาความสามารถในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ และปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจในประเทศ ส่วนด้านดุลบริการเกินดุล 52,949 ล้านบาท ลดลงจากที่เกินดุล 58,390 ล้านบาท ในไตรมาสแรกของปีที่แล้ว สาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือ รายจ่ายด้านการเดินทางไปต่างประเทศของคนไทย เพิ่มขึ้นในอัตราสูงกว่ารายได้เงินตราต่างประเทศจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งโดยรวม ดุลการค้าและบริการเกินดุล 55,760 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 4.4 ของ GDP ลดลงจากที่เกินดุล 130,570 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.7 ของ GDP ในระยะเดียวกันของปีที่แล้ว
นอกจากนี้ เลขาธิการฯ ยังกล่าวถึงแนวโน้มของเศรษฐกิจในปี 2544 ว่า ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2543 มีแนวโน้มที่จะชะลอตัวอย่างต่อเนื่องในปี 2544 โดยคาดว่า การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 4.5 ในปี 2543 การลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 14.2 ในปี 2543 การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาครัฐบาลจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 การลงทุนภาครัฐจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 การส่งออกจะลดลงร้อยละ 2.0 การนำเข้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มเกินดุลร้อยละ 3.7 ของจีดีพี ลดลงจากการเกินดุลร้อยละ 3.2 สูงกว่าร้อยละ 1.6 ในปี 2543 เนื่องจากต้นทุนค่าน้ำมัน ค่าไฟ และก๊าซหุงต้มที่สูงขึ้น รวมทั้งราคาพืชผลบางชนิดที่ปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตามอุปสงค์ภายในประเทศยังคงอ่อนตัวอยู่ ทำให้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังไม่น่าเป็นห่วงและยังคงอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ
จากการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจดังกล่าว สศช. จึงได้ปรับลดประมาณการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2544 จากร้อยละ 3.5-4.0 ในการประมาณการ ณ วันที่ 19 มีนาคม 2544 เป็นร้อยละ 2.0-3.0 โดยการปรับประมาณการหลักๆ ประกอบด้วย การปรับลดแนวโน้มการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกและการนำเข้า รวมทั้งปรับลดอัตราการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนที่คาดว่าจะไม่สามารถขยายตัวได้มากในกรณีที่การส่งออกลดลง อย่างไรก็ตาม หากดำเนินการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังได้ผลตามเป้าหมาย จะช่วยให้การลงทุนภาคเอกชนขยายและเป็นปัจจัยผลักดันเศรษฐกิจที่สำคัญ
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 7 กรกฎาคม 2544--
-สส-