สำนักติดตามประเมินผลการพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ติดตามสถานการณ์และรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำดัชนีชี้วัดความอยู่ดีมีสุขด้านการศึกษา เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินผลความสำเร็จของการพัฒนาศักยภาพของคนไทยซึ่งผลการติดตามดังกล่าวมีสาระที่น่าสนใจอย่างยิ่ง "ข่าวการพัฒนา" จึงขอนำมาเผยแพร่ให้ท่านผู้อ่านได้รับทราบ
การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้การพัฒนาคุณภาพคนบรรลุตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เนื่องจากระบบการศึกษาจะมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างโอกาสและพัฒนาสติปัญญาและกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนให้สามารถ "คิดเป็นทำเป็น เรียนรู้ที่จะพึ่งตนเอง และใช้ประสบการณ์ ศักยภาพ ทักษะ ตลอดจนความรู้ความสามารถของตนเองให้เป็นประโยชน์ต่อการปรับตัว และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้เต็มประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่ความอยู่ดีมีสุขของตนเองและสังคมโดยรวม
การประเมินความสำเร็จในการพัฒนาการศึกษา จึงมุ่งวัดผลการพัฒนาในด้านสติปัญญาและกระบวนการเรียนรู้ของคนให้สามารถปฏิบัติภารกิจในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาความรู้และทักษะความสามารถของคนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การสร้างความเสมอภาคและความเป็นธรรม รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพในระบบการศึกษา ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1.การจัดการศึกษามีความก้าวหน้าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตั้งแต่แผนพัฒนาฯฉบับที่ 1 (พ.ศ.2504-2509) จนถึงปี 2542 หรือปีที่สามของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) ได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่เศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างขวางและในขณะเดียวกันจำนวนประชากรก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 27.2 ล้านคน ในปี 2504 เป็น 61.8 ล้านคน ในปี 2542 การพัฒนาการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพของประชากรให้สูงขึ้นทั้งทางร่างกายและสติปัญญาจึงเป็นภารกิจที่สำคัญยิ่งตลอดมา โดยมีความก้าวหน้าในการจัดการศึกษาดังนี้
1.1 ประชากรวัยเรียนมีโอกาสได้เรียนหนังสือเพิ่มขึ้น การพัฒนาการศึกษาในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 รัฐสามารถจัดการเก็บศึกษาให้กับประชากรวัยเรียนได้เพิ่มขึ้นจาก 16.9 ล้านคน ในปี 2537 เป็น 18.46 ล้านคน ในปี 2542 หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29.9 ของประชากรทั้งหมด จำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นจะมีสามกลุ่ม คือนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ส่วนนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นมีแนวโน้มลดลงเฉลี่ยร้อยละ 1.6 ต่อปี ทั้งนี้เนื่องมาจากจำนวนประชากรในวัยเรียนมีแนวโน้มลดลง
1.2 ประชากรวัยหนุ่มสาวสามารถอ่านออกเขียนได้ถ้วนทั่วปี 2541 ประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีอัตราการรู้หนังสือเฉลี่ยทั้งประเทศสูงถึงร้อยละ 95.1 ซึ่งสูงขึ้นกว่าปี 2535 ที่มีอัตราเพียงร้อยละ 90.6 โดยเฉพาะกลุ่มประชากรที่มีอายุระหว่าง 15-39 ปี มีอัตราการรู้หนังสือสูงถึงร้อยละ 100 ซึ่งนับเป็นผลสำเร็จอย่างมาก และสะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
อย่างไรก็ตามอัตราการรู้หนังสือดังกล่าวยังมีความเหลื่อมล้ำระหว่างภาค กล่าวคือ ปี 2541 ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลมีอัตราการรู้หนังสือสูงที่สุดในประเทศ คือ เฉลี่ยร้อยละ 99.2 รองลงไปคือ ภาคกลางร้อยละ 97.3 ภาคเหนือร้อยละ 94.5 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 93.7 และภาคใต้ร้อยละ 92.8 และหากพิจารณาถึงประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและเขตชนบทแล้ว พบว่า คนที่อยู่ในเมืองมีอัตราการรู้หนังสือร้อยละ 99.4 สูงกว่าคนในชนบทที่มีสัดส่วนร้อยละ 94.4
2.การพัฒนาด้านปริมาณต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 29.6 ปรัชญาการศึกษาของประเทศไทย กำหนดให้ผู้ที่จบการศึกษาในระดับชั้น ป.6 สามารถคิดคำนวณเบื้องต้นและใช้ความรู้ในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ การพัฒนาที่ผ่านมาถึงแม้จะช่วยเพิ่มจำนวนปีที่ได้รับการศึกษาของประชากรให้ถึง 7.8 ในปี 2543 โดยมีอัตราการเพิ่มระหว่าง พ.ศ.2535-2543 ร้อยละ 2.9 ต่อปี แต่ยังต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ ในทวีปเอเชีย เช่น เกาหลี ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ ที่มีจำนวนระหว่าง 9-11 ปี นอกจากนี้เมื่อพิจารณาจากอัตราการคงอยู่ของนักเรียนชั้น ป.1-ม.3 พบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 60.9 ในปี 2539 เป็นร้อยละ 70.4 ของประชากรในวัยนี้ทั้งหมด ในปี 2542 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ที่กำหนดให้เด็กในวัยเรียนทุกคนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 9 ปี
2.2 การพัฒนาด้านคุณภาพของนักเรียนได้คะแนนคาบเส้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ผ่านมาจะวัดจากสัดส่วนจำนวนนักเรียนต่อครู โดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูกำหนดเกณฑ์สัดส่วนที่เหมาะสมตามระดับการศึกษาคือ ระดับประถมศึกษาจำนวนนักเรียนต่อครูเท่ากับ 25:1 ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 17:1 และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 18:1 การเพิ่มจำนวนและกระจายครูระหว่าง พ.ศ.2535-2542 ทำให้สัดส่วนนักเรียนต่อครูในระดับประถมศึกษามีค่าเท่ากับ 20:1 ดีกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ส่วนระดับอื่น ๆ จะมีนักเรียนมากกว่าเกณฑ์ร้อยละ 28 อย่างไรก็ตามเมื่อประเมินผลด้านคุณภาพเมื่อปี 2540-2541 โดยใช้แบบทดสอบ 4 วิชาคือ ภาษาไทย อังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ พบว่า นักเรียนทุกระดับชั้นสอบได้คะแนนต่ำกว่าร้อยละ 60 และในระดับชั้นที่สูงขึ้นคะแนนการทดสอบที่ได้กลับยิ่งลดลง โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ นักเรียนจะทำคะแนนได้ต่ำมาก ผลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นสภาพปัญหาของการจัดการศึกษาของไทยได้เป็นอย่างดีว่า วิชาที่ต้องใช้ความคิด การคำนวณ และวิชาที่ต้องมีการปฏิบัติทดลอง รวมไปถึงการเรียนรู้ภาษาที่สองของนักเรียนไทยยังอ่อนมาก และปัญหาจะยิ่งรุนแรงขึ้นเมื่อระดับการศึกษาสูงขึ้น ดังนั้นการพัฒนาการศึกษาที่ยังขาดทั้งด้านปริมาณและคุณภาพจึงเป็นเครื่องชี้วัดที่ชัดเจนว่าการพัฒนาสติปัญญาของเยาวชนไทยให้รุ้จักคิดเป็นทำเป็นตามวัตถุประสงค์ของการพัฒนานั้นยังมีงานที่ต้องเร่งทำอีกมากมาย
3.ฐานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือนส่งผลกระทบต่อการเรียนต่อทุกระดับ การเข้าเรียนหนังสือในระดับประถมศึกษาของประชากรในวัยเรียนแสงดให้เห็นความก้าวหน้าและการเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง แต่การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นยังมีโอกาสน้อยเพราะฐานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือนไม่เอื้ออำนวยเท่าที่ควร ดังมีรายละเอียดโดยสรุปดังนี้
3.1 อัตราการเข้าเรียนหนังสือ การกระจายบริการทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องทำให้ประชากรในวัยเรียน (อายุ 3-21 ปี) สามารถเข้าเรียนหนังสือได้เพิ่มขึ้นทุกระดับชั้นจากร้อยละ 57.5 ในปี 2537 เป็นร้อยละ 73.1 ในปี 2542 โดยเด็กก่อนประถมศึกษาที่เดิมจะอยู่กับครอบครัวได้เข้าสู่ระบบโรงเรียนเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 64.6 เป็นร้อยละ 90.8 ในช่วงดังกล่าว ส่วนเด็กนักเรียนที่ต้องเข้าเรียนในระดับการศึกษาภาคบังคับ (ชั้น ป.1-ป.6) ก็มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 94 เป็นร้อยละ 102.6 ในปี 2541 และร้อยละ 103.6 ในปี 2542 ส่วนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับอุดมศึกษายังมีการเข้าเรียนเพียงร้อยละ 58.5 และร้อยละ 21.5 ในปี 2542 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้อัตราการเข้าเรียนของนักเรียนตั้งแต่ระดับก่อนชั้นประถมศึกษาจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ตาม แต่เมื่อวิเคราะห์อัตราการเข้าเรียนตามกลุ่มอายุแล้วกลับพบว่า เด็กนักเรียนที่เข้าเรียนผิดกลุ่มอายุทั้งผู้ที่มีอายุต่ำกว่าเกณฑ์และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดในแต่ละชั้นจะมีจำนวนมาก สำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานว่า ในปี 2540 ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจะมีนักเรียนที่ผิดกลุ่มอายุมากที่สุดถึงร้อยละ 36.5 รองลงมาได้แก่ ระดับก่อนประถมศึกษาร้อยละ 25.4 และประถมศึกษาร้อยละ 21.1 ข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษายังไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้เด็กที่ควรจะได้เข้าโรงเรียนเมื่อถึงเกณฑ์ไม่ได้เข้าเรียนตามกำหนด ซึ่งเป็นปัญหาต่อการเรียนการสอนหลายประการ เช่น ปัญหาเด็กโตที่ต้องเรียนร่วมกับเด็กเล็กและปัญหาความแออัดในห้องเรียน เป็นต้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขอย่างจริงจังต่อไป เพราะปัญหาดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษาของประเทศอย่างต่อเนื่อง
3.2 การเรียนต่ออยู่ในระดับต่ำและมุ่งสู่เมืองใหญ่ การประเมินผลการเรียนต่อของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา พบว่า นักเรียนจากต่างจังหวัดยังนิยมอพยพเข้ามาเรียนต่อในเขตกรุงเทพฯ จำนวนมากโดย
(1) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวนนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 เรียนต่อระดับมัธยมต้น (ม.1) ลดลงจากร้อยละ 90.2 ในปี 2539 เหลือร้อยละ 89.7 ในปี 2542 และเมื่อพิจารณาในระดับภาค พบว่า กรุงเทพฯและปริมณฑล เป็นภาคที่มีอัตราการเยนต่อสูงสุดถึงร้อยละ 96.1 ในขณะที่ภาคใต้มีอัตราการเรียนต่อต่ำสุดเพียงร้อยละ 74.2 เท่านั้น
(2) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อัตราการเรียนต่อของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษามัธยมปีที่ 3 เพิ่มขึ้นเล็กน้อย กล่าวคือ ปี 2542 ในภาพรวมระดับประเทศมีอัตราการเรียนต่อร้อยละ 90.2 เทียบกับร้อยละ 89.0 ในปี 2539 โดยกรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นภาคที่มีการเรียนต่อในระดับนี้สูงสุดถึงร้อยละ 153.1 ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการเรียนต่อต่ำสุดเพียงร้อยละ 71.1 ข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่ายังมีคามเหลื่อมล่ำในเรื่องของการให้บริการและโอกาสเข้าถึงการศึกษาระหว่างเด็กในรุงเทพฯและปริมณฑลกับเด็กในภูมิภาคอื่นๆ อยู่สูงมาก
3.3 ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวเป็นอุปสรรคการเรียนต่อ สำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจความต้องการเรียนต่อของเด็กและเยาวชนในปีที่ 6 ตอบว่าไม่ต้องการเรียนต่อชั้นมัธยมต้นเพราะขาดปัจจัยด้านการเงินถึงร้อยละ 70.4 เหตุผลรองลงไปเพราะต้องทำงานร้อยละ 2.9 และไม่สนใจที่จะเรียนต่อร้อยละ 12.1 ในขณะที่เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตอบว่าไม่เรียนต่อมัธยมปลายเพราะขาดปัจจัยด้านการเรียนร้อยละ 56.9 ต้องทำงานร้อยละ 14.3 ไม่สนใจที่จะเรียนต่อร้อยละ 12.5 และนักศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตอบว่าไม่เรียนต่อระดับอุดมศึกษาเพราะขาดปัจจัยด้านการเงินร้อยละ 45.1 ต้องการทำงานร้อยละ 29.1 และไม่สนใจที่จะเรียนร้อยละ 9.8 เหตุผลดังกล่าวจะสอดคล้องกับค่าใช้จ่ายทางการศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นค่าอาหารคิดเป็นสัดส่วนระหว่างร้อยละ 48-59 และค่าเดินทางมีสัดส่วนระหว่างร้อยละ 13-18 ส่วนค่าเล่าเรียนจะมีสัดส่วนระหว่างร้อยละ 4-17 ดังนั้น ครอบครัวที่ยากจนจึงไม่สามารถแบกภาระค่าใช้จ่ายของบุตรหลานได้เพราะถึงแม้รัฐจะจัดการศึกษาภาคบังคับให้โดยไม่คิดค่าเล่าเรียน แต่ก็ช่วยแบ่งเบาภาระแก่ผู้ปกครองได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
4.การจัดสรรงบประมาณมุ่งพัฒนาระดับอุดมศึกษา การพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ได้เผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจตั้งแต่ พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นปีแรกของแผน ทำให้รัฐบาลต้องดำเนินมาตรการทางการคลังอย่างเข้มงวด และปรับลดงบประมาณรายจ่ายประจำปีจาก 9.25 แสนล้านบาทในปี 2540 เหลือเพียง8.3 แสนล้านบาทและ 8.25 แสนล้านบาท ในปี 2541-2542 ตามลำดับ หรือลดลงเฉลี่ยร้อยละ 5.4 ต่อปี
อย่างไรก็ตาม รัฐยังให้ความสำคัญต่อการศึกษา โดยรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้นจาก 2 แสนล้านบาทในปี 2540 เป็น 2.06 แสนล้านบาท และ 2.07 แสนล้านบาท ในระยะดังกล่าวหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ต่อปี ผลดังกล่าวทำให้งบประมาณเพื่อการศึกษามีสัดส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ต่อปี ผลดังกล่าวทำให้งบประมาณเพื่อการศึกษามีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 21.9 ของงบประมาณทั้งหมดในปี 2540 เป็นร้อยละ 25.1 ในปี 2542 เมื่อพิจารณางบประมาณที่รัฐจัดสรรเพื่อพัฒนาการศึกษาในระดับต่างๆ แล้วจะพบว่า ระดับอุดมศึกษาจะได้รับงบประมาณเฉลี่ยต่อคนมากที่สุด โดยปี 2542 ได้รับถึง 22,153 บาทต่อปี รองลงไป ได้แก่ ระดับก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษา 10,155 บาท และมัธยมศึกษาได้งบประมาณต่ำที่สุดเพียง 8,221 บาทต่อปี
การจัดสรรงบประมาณดังกล่าวเป็นการบริหารทรัพยากรที่ไม่เหมาะสม เพราะเมื่อวิเคราะห์เทียบกับผลตอบแทนจากการทำงานแล้วจะพบว่า แรงงานที่จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาจะมีรายได้เฉลี่ยสูงกว่าผู้จบมัธยมศึกษาถึง 3 เท่า และมากกว่าระดับประถมศึกษาถึง 5 เท่า ซึ่งเป็นเครื่องชี่ว่า การลงทุนเรียนหนังสือในระดับที่สูงขึ้นจะมีความคุ้มค่ามากกว่าการเป็นแรงงานที่ไร้ฝีมือ ดังนั้น รัฐควรพิจารณาทบทวนการจัดสรรงบประมาณพัฒนาการศึกษาและมัธยมศึกษาให้มากขึ้น ส่วนในระดับอุดมศึกษาควรพิจารณาหามาตรการสนับสนุนให้ผู้เรียนมีส่วนในการแบ่งเบาภาระงบประมาณของภาครัฐเพิ่มขึ้นเพราะเป็นผู้ได้ประโยชน์เมื่อสำเร็จการศึกษามากกว่าการศึกษาให้ทั่วถึงและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น รวมทั้งหามาตรการสนับสนุนให้ผู้ด้อยโอกาสและผู้ยากจนได้รับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเพิ่มขึ้น
5. สรุปผลการพัฒนาที่ผ่านมา เด็กไทยมีโอกาสได้เรียนหนังสือกว่าระดับประถมศึกษามากขึ้นโดยเฉพาะในระดับมัธยมต้น แต่ยังมีปัญหาด้านความไม่เสมอภาค และโอกาสทางการศึกษาระหว่างเด็กและเยาวชนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองกับเขตชนบทค่อนข้างสูง นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมหรือฐานะครอบครัวมีอิทธิพลและส่งผลกระทบต่อโอกาสทางการศึกษาของเด็กและเยาวชนอยู่มาก แม้กระทั่งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยปัญหาด้านการเงินเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่เป็นตัวปิดกั้นโอกาสในการศึกษา
ฉะนั้น หากรัฐกำหนดให้การศึกษาภาคบังคับเป็น 9 ปี และถือว่าการศึกษาไม่ต่ำกว่า 12 ปีเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปี 2545 แล้ว นโยบายการจัดการศึกษาแบบให้เปล่าหรือให้นักเรียนเรียนฟรีโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียนนั้น ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เด็กในกลุ่มอายุ 3-17 ปี มีโอกาสได้เรียนอย่างทั่วถึงเสมอกัน เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาทั้งหมด ดังนั้น รัฐจึงจำเป็นต้องมีมาตรการเสริมในลักษณะการอุดหนุนหรือให้ความช่วยเหลือในรูปแบบที่หลากหลาย อาทิ โครงการอาหารกลางวัน โครงการเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ฯลฯ สำหรับกลุ่มเป้าหมายครัวเรือนและเด็กยากจนโดยเฉพาะ เพื่อให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงทั้งในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย
นอกจากนี้ การปรับระบบบริหารจัดการเพื่อให้เยาวชนเข้าเรียนตรงตามเกณฑ์อายุและการกระจายงบประมาณอย่างเป็นธรรมเป็นประเด็นการพัฒนาที่สำคัญ ซึ่งทุกฝ่ายต้องช่วยกันคิดหาแนวทางแก้ไข เพราะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาบุคลากรให้รู้จัดคิดเป็นทำเป็นมีความรู้เป็นฐานการพัฒนาประเทศทดแทนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ร่อยหรอลงทุกวัน
สำหรับรายละเอียดของบทความพิเศษการพัฒนาคุณภาพของไทยด้านการศึกษานี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จะนำเสนอในที่ประชุมวิชาการประจำปีซึ่งจะจัดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2545
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 8/สิงหาคม 2544--
-สส-
การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้การพัฒนาคุณภาพคนบรรลุตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เนื่องจากระบบการศึกษาจะมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างโอกาสและพัฒนาสติปัญญาและกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนให้สามารถ "คิดเป็นทำเป็น เรียนรู้ที่จะพึ่งตนเอง และใช้ประสบการณ์ ศักยภาพ ทักษะ ตลอดจนความรู้ความสามารถของตนเองให้เป็นประโยชน์ต่อการปรับตัว และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้เต็มประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่ความอยู่ดีมีสุขของตนเองและสังคมโดยรวม
การประเมินความสำเร็จในการพัฒนาการศึกษา จึงมุ่งวัดผลการพัฒนาในด้านสติปัญญาและกระบวนการเรียนรู้ของคนให้สามารถปฏิบัติภารกิจในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาความรู้และทักษะความสามารถของคนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การสร้างความเสมอภาคและความเป็นธรรม รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพในระบบการศึกษา ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1.การจัดการศึกษามีความก้าวหน้าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตั้งแต่แผนพัฒนาฯฉบับที่ 1 (พ.ศ.2504-2509) จนถึงปี 2542 หรือปีที่สามของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) ได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่เศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างขวางและในขณะเดียวกันจำนวนประชากรก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 27.2 ล้านคน ในปี 2504 เป็น 61.8 ล้านคน ในปี 2542 การพัฒนาการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพของประชากรให้สูงขึ้นทั้งทางร่างกายและสติปัญญาจึงเป็นภารกิจที่สำคัญยิ่งตลอดมา โดยมีความก้าวหน้าในการจัดการศึกษาดังนี้
1.1 ประชากรวัยเรียนมีโอกาสได้เรียนหนังสือเพิ่มขึ้น การพัฒนาการศึกษาในช่วงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 รัฐสามารถจัดการเก็บศึกษาให้กับประชากรวัยเรียนได้เพิ่มขึ้นจาก 16.9 ล้านคน ในปี 2537 เป็น 18.46 ล้านคน ในปี 2542 หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29.9 ของประชากรทั้งหมด จำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นจะมีสามกลุ่ม คือนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ส่วนนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นมีแนวโน้มลดลงเฉลี่ยร้อยละ 1.6 ต่อปี ทั้งนี้เนื่องมาจากจำนวนประชากรในวัยเรียนมีแนวโน้มลดลง
1.2 ประชากรวัยหนุ่มสาวสามารถอ่านออกเขียนได้ถ้วนทั่วปี 2541 ประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีอัตราการรู้หนังสือเฉลี่ยทั้งประเทศสูงถึงร้อยละ 95.1 ซึ่งสูงขึ้นกว่าปี 2535 ที่มีอัตราเพียงร้อยละ 90.6 โดยเฉพาะกลุ่มประชากรที่มีอายุระหว่าง 15-39 ปี มีอัตราการรู้หนังสือสูงถึงร้อยละ 100 ซึ่งนับเป็นผลสำเร็จอย่างมาก และสะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
อย่างไรก็ตามอัตราการรู้หนังสือดังกล่าวยังมีความเหลื่อมล้ำระหว่างภาค กล่าวคือ ปี 2541 ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลมีอัตราการรู้หนังสือสูงที่สุดในประเทศ คือ เฉลี่ยร้อยละ 99.2 รองลงไปคือ ภาคกลางร้อยละ 97.3 ภาคเหนือร้อยละ 94.5 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 93.7 และภาคใต้ร้อยละ 92.8 และหากพิจารณาถึงประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและเขตชนบทแล้ว พบว่า คนที่อยู่ในเมืองมีอัตราการรู้หนังสือร้อยละ 99.4 สูงกว่าคนในชนบทที่มีสัดส่วนร้อยละ 94.4
2.การพัฒนาด้านปริมาณต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 29.6 ปรัชญาการศึกษาของประเทศไทย กำหนดให้ผู้ที่จบการศึกษาในระดับชั้น ป.6 สามารถคิดคำนวณเบื้องต้นและใช้ความรู้ในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ การพัฒนาที่ผ่านมาถึงแม้จะช่วยเพิ่มจำนวนปีที่ได้รับการศึกษาของประชากรให้ถึง 7.8 ในปี 2543 โดยมีอัตราการเพิ่มระหว่าง พ.ศ.2535-2543 ร้อยละ 2.9 ต่อปี แต่ยังต่ำกว่าประเทศอื่น ๆ ในทวีปเอเชีย เช่น เกาหลี ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ ที่มีจำนวนระหว่าง 9-11 ปี นอกจากนี้เมื่อพิจารณาจากอัตราการคงอยู่ของนักเรียนชั้น ป.1-ม.3 พบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 60.9 ในปี 2539 เป็นร้อยละ 70.4 ของประชากรในวัยนี้ทั้งหมด ในปี 2542 ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ที่กำหนดให้เด็กในวัยเรียนทุกคนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 9 ปี
2.2 การพัฒนาด้านคุณภาพของนักเรียนได้คะแนนคาบเส้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ผ่านมาจะวัดจากสัดส่วนจำนวนนักเรียนต่อครู โดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูกำหนดเกณฑ์สัดส่วนที่เหมาะสมตามระดับการศึกษาคือ ระดับประถมศึกษาจำนวนนักเรียนต่อครูเท่ากับ 25:1 ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 17:1 และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 18:1 การเพิ่มจำนวนและกระจายครูระหว่าง พ.ศ.2535-2542 ทำให้สัดส่วนนักเรียนต่อครูในระดับประถมศึกษามีค่าเท่ากับ 20:1 ดีกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ส่วนระดับอื่น ๆ จะมีนักเรียนมากกว่าเกณฑ์ร้อยละ 28 อย่างไรก็ตามเมื่อประเมินผลด้านคุณภาพเมื่อปี 2540-2541 โดยใช้แบบทดสอบ 4 วิชาคือ ภาษาไทย อังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ พบว่า นักเรียนทุกระดับชั้นสอบได้คะแนนต่ำกว่าร้อยละ 60 และในระดับชั้นที่สูงขึ้นคะแนนการทดสอบที่ได้กลับยิ่งลดลง โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ นักเรียนจะทำคะแนนได้ต่ำมาก ผลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นสภาพปัญหาของการจัดการศึกษาของไทยได้เป็นอย่างดีว่า วิชาที่ต้องใช้ความคิด การคำนวณ และวิชาที่ต้องมีการปฏิบัติทดลอง รวมไปถึงการเรียนรู้ภาษาที่สองของนักเรียนไทยยังอ่อนมาก และปัญหาจะยิ่งรุนแรงขึ้นเมื่อระดับการศึกษาสูงขึ้น ดังนั้นการพัฒนาการศึกษาที่ยังขาดทั้งด้านปริมาณและคุณภาพจึงเป็นเครื่องชี้วัดที่ชัดเจนว่าการพัฒนาสติปัญญาของเยาวชนไทยให้รุ้จักคิดเป็นทำเป็นตามวัตถุประสงค์ของการพัฒนานั้นยังมีงานที่ต้องเร่งทำอีกมากมาย
3.ฐานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือนส่งผลกระทบต่อการเรียนต่อทุกระดับ การเข้าเรียนหนังสือในระดับประถมศึกษาของประชากรในวัยเรียนแสงดให้เห็นความก้าวหน้าและการเสริมสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง แต่การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นยังมีโอกาสน้อยเพราะฐานะทางเศรษฐกิจของครัวเรือนไม่เอื้ออำนวยเท่าที่ควร ดังมีรายละเอียดโดยสรุปดังนี้
3.1 อัตราการเข้าเรียนหนังสือ การกระจายบริการทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องทำให้ประชากรในวัยเรียน (อายุ 3-21 ปี) สามารถเข้าเรียนหนังสือได้เพิ่มขึ้นทุกระดับชั้นจากร้อยละ 57.5 ในปี 2537 เป็นร้อยละ 73.1 ในปี 2542 โดยเด็กก่อนประถมศึกษาที่เดิมจะอยู่กับครอบครัวได้เข้าสู่ระบบโรงเรียนเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 64.6 เป็นร้อยละ 90.8 ในช่วงดังกล่าว ส่วนเด็กนักเรียนที่ต้องเข้าเรียนในระดับการศึกษาภาคบังคับ (ชั้น ป.1-ป.6) ก็มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 94 เป็นร้อยละ 102.6 ในปี 2541 และร้อยละ 103.6 ในปี 2542 ส่วนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับอุดมศึกษายังมีการเข้าเรียนเพียงร้อยละ 58.5 และร้อยละ 21.5 ในปี 2542 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้อัตราการเข้าเรียนของนักเรียนตั้งแต่ระดับก่อนชั้นประถมศึกษาจนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ตาม แต่เมื่อวิเคราะห์อัตราการเข้าเรียนตามกลุ่มอายุแล้วกลับพบว่า เด็กนักเรียนที่เข้าเรียนผิดกลุ่มอายุทั้งผู้ที่มีอายุต่ำกว่าเกณฑ์และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดในแต่ละชั้นจะมีจำนวนมาก สำนักงานสถิติแห่งชาติรายงานว่า ในปี 2540 ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจะมีนักเรียนที่ผิดกลุ่มอายุมากที่สุดถึงร้อยละ 36.5 รองลงมาได้แก่ ระดับก่อนประถมศึกษาร้อยละ 25.4 และประถมศึกษาร้อยละ 21.1 ข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษายังไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้เด็กที่ควรจะได้เข้าโรงเรียนเมื่อถึงเกณฑ์ไม่ได้เข้าเรียนตามกำหนด ซึ่งเป็นปัญหาต่อการเรียนการสอนหลายประการ เช่น ปัญหาเด็กโตที่ต้องเรียนร่วมกับเด็กเล็กและปัญหาความแออัดในห้องเรียน เป็นต้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขอย่างจริงจังต่อไป เพราะปัญหาดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษาของประเทศอย่างต่อเนื่อง
3.2 การเรียนต่ออยู่ในระดับต่ำและมุ่งสู่เมืองใหญ่ การประเมินผลการเรียนต่อของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา พบว่า นักเรียนจากต่างจังหวัดยังนิยมอพยพเข้ามาเรียนต่อในเขตกรุงเทพฯ จำนวนมากโดย
(1) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวนนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 เรียนต่อระดับมัธยมต้น (ม.1) ลดลงจากร้อยละ 90.2 ในปี 2539 เหลือร้อยละ 89.7 ในปี 2542 และเมื่อพิจารณาในระดับภาค พบว่า กรุงเทพฯและปริมณฑล เป็นภาคที่มีอัตราการเยนต่อสูงสุดถึงร้อยละ 96.1 ในขณะที่ภาคใต้มีอัตราการเรียนต่อต่ำสุดเพียงร้อยละ 74.2 เท่านั้น
(2) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อัตราการเรียนต่อของนักเรียนที่สำเร็จการศึกษามัธยมปีที่ 3 เพิ่มขึ้นเล็กน้อย กล่าวคือ ปี 2542 ในภาพรวมระดับประเทศมีอัตราการเรียนต่อร้อยละ 90.2 เทียบกับร้อยละ 89.0 ในปี 2539 โดยกรุงเทพฯและปริมณฑลเป็นภาคที่มีการเรียนต่อในระดับนี้สูงสุดถึงร้อยละ 153.1 ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการเรียนต่อต่ำสุดเพียงร้อยละ 71.1 ข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่ายังมีคามเหลื่อมล่ำในเรื่องของการให้บริการและโอกาสเข้าถึงการศึกษาระหว่างเด็กในรุงเทพฯและปริมณฑลกับเด็กในภูมิภาคอื่นๆ อยู่สูงมาก
3.3 ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวเป็นอุปสรรคการเรียนต่อ สำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจความต้องการเรียนต่อของเด็กและเยาวชนในปีที่ 6 ตอบว่าไม่ต้องการเรียนต่อชั้นมัธยมต้นเพราะขาดปัจจัยด้านการเงินถึงร้อยละ 70.4 เหตุผลรองลงไปเพราะต้องทำงานร้อยละ 2.9 และไม่สนใจที่จะเรียนต่อร้อยละ 12.1 ในขณะที่เด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตอบว่าไม่เรียนต่อมัธยมปลายเพราะขาดปัจจัยด้านการเรียนร้อยละ 56.9 ต้องทำงานร้อยละ 14.3 ไม่สนใจที่จะเรียนต่อร้อยละ 12.5 และนักศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตอบว่าไม่เรียนต่อระดับอุดมศึกษาเพราะขาดปัจจัยด้านการเงินร้อยละ 45.1 ต้องการทำงานร้อยละ 29.1 และไม่สนใจที่จะเรียนร้อยละ 9.8 เหตุผลดังกล่าวจะสอดคล้องกับค่าใช้จ่ายทางการศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นค่าอาหารคิดเป็นสัดส่วนระหว่างร้อยละ 48-59 และค่าเดินทางมีสัดส่วนระหว่างร้อยละ 13-18 ส่วนค่าเล่าเรียนจะมีสัดส่วนระหว่างร้อยละ 4-17 ดังนั้น ครอบครัวที่ยากจนจึงไม่สามารถแบกภาระค่าใช้จ่ายของบุตรหลานได้เพราะถึงแม้รัฐจะจัดการศึกษาภาคบังคับให้โดยไม่คิดค่าเล่าเรียน แต่ก็ช่วยแบ่งเบาภาระแก่ผู้ปกครองได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
4.การจัดสรรงบประมาณมุ่งพัฒนาระดับอุดมศึกษา การพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ได้เผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจตั้งแต่ พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นปีแรกของแผน ทำให้รัฐบาลต้องดำเนินมาตรการทางการคลังอย่างเข้มงวด และปรับลดงบประมาณรายจ่ายประจำปีจาก 9.25 แสนล้านบาทในปี 2540 เหลือเพียง8.3 แสนล้านบาทและ 8.25 แสนล้านบาท ในปี 2541-2542 ตามลำดับ หรือลดลงเฉลี่ยร้อยละ 5.4 ต่อปี
อย่างไรก็ตาม รัฐยังให้ความสำคัญต่อการศึกษา โดยรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้นจาก 2 แสนล้านบาทในปี 2540 เป็น 2.06 แสนล้านบาท และ 2.07 แสนล้านบาท ในระยะดังกล่าวหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ต่อปี ผลดังกล่าวทำให้งบประมาณเพื่อการศึกษามีสัดส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ต่อปี ผลดังกล่าวทำให้งบประมาณเพื่อการศึกษามีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 21.9 ของงบประมาณทั้งหมดในปี 2540 เป็นร้อยละ 25.1 ในปี 2542 เมื่อพิจารณางบประมาณที่รัฐจัดสรรเพื่อพัฒนาการศึกษาในระดับต่างๆ แล้วจะพบว่า ระดับอุดมศึกษาจะได้รับงบประมาณเฉลี่ยต่อคนมากที่สุด โดยปี 2542 ได้รับถึง 22,153 บาทต่อปี รองลงไป ได้แก่ ระดับก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษา 10,155 บาท และมัธยมศึกษาได้งบประมาณต่ำที่สุดเพียง 8,221 บาทต่อปี
การจัดสรรงบประมาณดังกล่าวเป็นการบริหารทรัพยากรที่ไม่เหมาะสม เพราะเมื่อวิเคราะห์เทียบกับผลตอบแทนจากการทำงานแล้วจะพบว่า แรงงานที่จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาจะมีรายได้เฉลี่ยสูงกว่าผู้จบมัธยมศึกษาถึง 3 เท่า และมากกว่าระดับประถมศึกษาถึง 5 เท่า ซึ่งเป็นเครื่องชี่ว่า การลงทุนเรียนหนังสือในระดับที่สูงขึ้นจะมีความคุ้มค่ามากกว่าการเป็นแรงงานที่ไร้ฝีมือ ดังนั้น รัฐควรพิจารณาทบทวนการจัดสรรงบประมาณพัฒนาการศึกษาและมัธยมศึกษาให้มากขึ้น ส่วนในระดับอุดมศึกษาควรพิจารณาหามาตรการสนับสนุนให้ผู้เรียนมีส่วนในการแบ่งเบาภาระงบประมาณของภาครัฐเพิ่มขึ้นเพราะเป็นผู้ได้ประโยชน์เมื่อสำเร็จการศึกษามากกว่าการศึกษาให้ทั่วถึงและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น รวมทั้งหามาตรการสนับสนุนให้ผู้ด้อยโอกาสและผู้ยากจนได้รับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเพิ่มขึ้น
5. สรุปผลการพัฒนาที่ผ่านมา เด็กไทยมีโอกาสได้เรียนหนังสือกว่าระดับประถมศึกษามากขึ้นโดยเฉพาะในระดับมัธยมต้น แต่ยังมีปัญหาด้านความไม่เสมอภาค และโอกาสทางการศึกษาระหว่างเด็กและเยาวชนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองกับเขตชนบทค่อนข้างสูง นอกจากนี้ สภาพแวดล้อมหรือฐานะครอบครัวมีอิทธิพลและส่งผลกระทบต่อโอกาสทางการศึกษาของเด็กและเยาวชนอยู่มาก แม้กระทั่งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยปัญหาด้านการเงินเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่เป็นตัวปิดกั้นโอกาสในการศึกษา
ฉะนั้น หากรัฐกำหนดให้การศึกษาภาคบังคับเป็น 9 ปี และถือว่าการศึกษาไม่ต่ำกว่า 12 ปีเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปี 2545 แล้ว นโยบายการจัดการศึกษาแบบให้เปล่าหรือให้นักเรียนเรียนฟรีโดยไม่เก็บค่าเล่าเรียนนั้น ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เด็กในกลุ่มอายุ 3-17 ปี มีโอกาสได้เรียนอย่างทั่วถึงเสมอกัน เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาทั้งหมด ดังนั้น รัฐจึงจำเป็นต้องมีมาตรการเสริมในลักษณะการอุดหนุนหรือให้ความช่วยเหลือในรูปแบบที่หลากหลาย อาทิ โครงการอาหารกลางวัน โครงการเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ฯลฯ สำหรับกลุ่มเป้าหมายครัวเรือนและเด็กยากจนโดยเฉพาะ เพื่อให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงทั้งในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย
นอกจากนี้ การปรับระบบบริหารจัดการเพื่อให้เยาวชนเข้าเรียนตรงตามเกณฑ์อายุและการกระจายงบประมาณอย่างเป็นธรรมเป็นประเด็นการพัฒนาที่สำคัญ ซึ่งทุกฝ่ายต้องช่วยกันคิดหาแนวทางแก้ไข เพราะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาบุคลากรให้รู้จัดคิดเป็นทำเป็นมีความรู้เป็นฐานการพัฒนาประเทศทดแทนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ร่อยหรอลงทุกวัน
สำหรับรายละเอียดของบทความพิเศษการพัฒนาคุณภาพของไทยด้านการศึกษานี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จะนำเสนอในที่ประชุมวิชาการประจำปีซึ่งจะจัดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2545
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 8/สิงหาคม 2544--
-สส-