สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดสัมมนาระดมความคิดเรื่อง "แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 กับการประสานสู่การปฏิบัติ" ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2543 โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนา 450 คน ประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวง อธิบดี หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และผู้แทนหน่วยงานวางแผนของส่วนราชการต่าง ๆ
การสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นต่อร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เบื้องต้นและสนับสนุนกระบวนการประสานแผนสู่การปฏิบัติ ให้สอดคล้องเชื่อมโยงกับแผนฯ 9 ได้อย่างมีประสิทธิภาพนับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2545 ซึ่งเป็นปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
ในการสัมมนาดังกล่าวมีการนำเสนอสาระสำคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และการอภิปราย ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
ส่วนที่ 1
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้นำเสนอสาระสำคัญของร่างแผนฯ 9 โดยสรุปคือ แผนฯ 9 ได้อัญเชิญหลัก "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศ และใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนจากทุกภาคส่วนในสังคมในการจัดทำแผน โดยยังคงยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และตั้งอยู่บนวิสัยทัศน์ร่วมที่มุ่งเน้นให้เกิด "การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย" โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และพัฒนาอย่างมี "ดุลยภาพ" ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คนในสังคมมีความสุขถ้วนหน้าสามารถพึ่งตนเองอย่างมีภูมิคุ้มกันที่ดีโดยยังคงรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
สำหรับวัตถุประสงค์สำคัญของแผนฯ 9 มีสี่ประการ คือ 1) มุ่งแก้ปัญหาความยากจน 2) ฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพและมีภูมิคุ้มกัน 3) วางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็งและยั่งยืน และ 4) ให้มีระบบบริหารจัดการที่ดีในสังคมไทย โดยกำหนดเป้าหมายหลักในการลดความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิต และเป้าหมายดุลยภาพทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สนับสนุนและเชื่อมโยงกันใน 3 กลุ่มยุทธศาสตร์ ได้แก่ การเสริมสร้างรากฐานของสังคมให้เข้มแข็ง การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้เข้าสู่สมดุล และ การสร้างระบบบริหารจัดการที่ดีให้เกิดขึ้น
ส่วนที่ 2
การอภิปรายเรื่อง "แนวทางการประสานแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ไปสู่การปฏิบัติ " โดยคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) นางสาวกุสุมา เกิดภู่ รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และนายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการ สศช. โดยมีนายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สศช. เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย ซึ่งผลการอภิปรายโดยรวมสรุปได้ดังนี้
1. แนวทางการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 สู่การปฏิบัติ เน้นให้ความสำคัญกับกระบวนการจัดทำแผนระดับต่าง ๆ และความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เพื่อให้สามารถใช้แผนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป็นแผนใน 3 ระดับ คือ
ระดับที่ 1 แผนยุทธศาสตร์ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่9 มีลักษณะเป็นแผนชี้นำการพัฒนาในภาพรวม ระยะ 5 ปี ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนาที่ชัดเจน สามารถนำไปจัดทำแผนปฏิบัติระดับต่าง ๆ ได้ จัดทำโดย สศช. ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมไทย
ระดับที่ 2 แผนพัฒนาเฉพาะเรื่อง/แผนหลัก/แผนแม่บท มีลักษณะเป็นแผนเฉพาะสาขา/เฉพาะเรื่องที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงานร่วมดำเนินการ จัดทำโดยหน่วยงานเจ้าของเรื่องและผู้เกี่ยวข้องในเรื่องนั้น ๆ มีหน่วยงานกลาง อาทิ สศช. สำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณ เป็นผู้ประสานแนวทางการจัดทำแผน โดยมีแผนงานรองรับที่ชัดเจนมีระยะเวลา 5 ปี
ระดับที่ 3 แผนปฏิบัติ เป็นแผนปฏิบัติการรายกระทรวง ทบวง กรม ที่มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของแผนฯ 9 ภายใต้การมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีสาระรายละเอียดครอบคลุมแผนงาน โครงการ วงเงิน แหล่งเงิน ผู้รับผิดชอบ และมีการจัดลำดับความสำคัญที่ชัดเจน รวมทั้งมีแนวทางในการติดตามประเมินผล โดยทั่วไปมีระยะเวลา 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี
ทั้งนี้ โดยมีข้อคำนึงในการแปลงแผนสู่การปฏิบัติคือ ทรัพยากรภาครัฐมีจำกัด ส่งผลให้การจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาประเทศในระยะต่อไปยากลำบากยิ่งขึ้น และปัญหาหลักของประเทศที่จำเป็นต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนในช่วงแผนฯ 9 (พ.ศ.2544-2549) แผนแต่ละระดับควรตอบสนองวัตถุประสงค์ของแผนฯ 9
2. แนวทางการปรับเปลี่ยนระบบบริหารราชการแนวใหม่ เพื่อให้การแปลงแผนฯ 9 ไปสู่การปฏิบัติมีประสิทธิภาพมากขึ้น เลขาธิการ ก.พ. ได้เน้นย้ำในประเด็นสำคัญ ดังนี้
2.1 หลักการปรับเปลี่ยนการทำงานของระบบราชการ มีข้อคำนึงที่สำคัญคือ การจัดรูปแบบองค์กร เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รูปแบบองค์กรควรเน้นที่ความคล่องตัว ยืดหยุ่นได้ เพื่อสามารถเคลื่อนไหวได้ทันการณ์ วิธีการทำงาน ควรปรับจากการทำงานตามความชำนาญเฉพาะด้าน ซึ่งอาจเหมาะกับบางองค์กรหรือบางประเภทของงาน แต่ไม่เหมาะกับงานที่ต้องใช้สมองหรืองานบริการที่ผู้รับบริการจำนวนมาก ปรับสู่การทำงานที่มีความคล่องตัว อาศัยคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีระดับสูงเป็นเครื่องมือสำคัญช่วยการทำงาน คนแลเครื่องมือ การบริหารบุคคลในระยะต่อไปต้องมุ่งเน้นที่สมรรถนะของบุคคลเป็นหลักควบคู่ไปกับเครื่องมือที่ทันสมัย เงิน เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุด ที่ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กลไกการควบคุม จำเป็นต้องมีกลไกหรือ ระบบในการกำกับติดตาม ตรวจสอบการทำงานขององค์กรภาครัฐ ซึ่งถ้าระบบส่วนนี้ไม่มีประสิทธิภาพ ก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงที
2.2 ยุทธศาสตร์การบริการจัดการภาครัฐแนวใหม่ มุ่งเน้นคุณภาพ ความร่วมมือ และความพึงพอใจของผู้รับบริการเป็นสำคัญโดยควรปรับกลไกการทำงานภายในองค์กรให้มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้นดังนี้
- การผ่อนคลายระบบการบริหารบุคคลภายในองค์กร สำนักงาน ก.พ. ได้มีการผ่อนคลายระบบการบริหารบุคคลภายในส่วนราชการ โดยกำหนดให้ตำแหน่งตั้งแต่ระดับ 8 ลงมาอยู่ในความรับผิดชอบของหัวหน้าส่วนราชการ ทำให้มีความคล่องตัวสูงในการปรับตำแหน่งให้สอดคล้องกับสภาพของงานที่เปลี่ยนแปลง
- การจัดองค์กร รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้เปิดโอกาสให้หน่วยงานที่ต้องการปรับโครงสร้างองค์กรสามารถยุบรวมหรือโอนได้ ทำให้การจัดองค์กรมีความคล่องตัวยิ่งขึ้น และขณะนี้ สำนักงาน ก.พ. ได้ร่วมกับส่วนราชการปรับรูปแบบการจัดกระบวนการทำงานตามแผนการปรับบทบาทภารกิจของส่วนราชการ ซึ่งเป็นแผนหนึ่งในการที่จะปฏิรูประบบราชการโดยนำระบบการบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ และระบบมาตรฐานสากลว่าด้วยการวัดผลสัมฤทธิ์ของการทำงานภาครัฐมาปรับใช้ในการวัดการทำงานของหน่วยงาน
- การปรับเปลี่ยนกระบวนทรรศน์ของข้าราชการทุกระดับ ให้ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชาในฐานะเป็นเพื่อนร่วมงานที่ต้องการได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และได้รับการพัฒนาความสามารถเพื่อความก้าวหน้าในการทำงาน ขณะเดียวกันมีการปรับเปลี่ยนกรอบความคิดของข้าราชการให้ทำงานรูปแบบใหม่ที่ยึดภารกิจหรือปัญหาของประชาชนและพื้นที่เป้าหมาย รวมทั้งปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมจากต่างคนต่างทำมาเป็นการประสานเชื่อมโยงกันมาขึ้น
ทั้งนี้ มีหน่วยงานกลางคือ สศช. สำนักงาน ก.พ. และสำนักงานประมาณ เป็นผู้ประสานการทำงาน โดยอาศัยกลไกการประสานแผนงาน แผนเงิน แผนคน เป็นกลไกหลักเพื่อเอื้อต่อการทำงานของทุกกระทรวง ทบวง กรม และเกิดการประสานงานในแนวราบระหว่างหน่วยงานมากขึ้น
3. การเตรียมแผนเงินเพื่อการแปลงแผนพัฒนาฯ สู่การปฏิบัติ รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ได้เสนอแนวทางการปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณเพื่อให้การดำเนินงานตามแผนงาน โครงการ ในช่วงแผนฯ 9 สอดคล้องกับทรัพยากรภาครัฐที่มีอยู่จำกัด ดังนี้
3.1 การจัดทำงบประมาณประจำปี 2545 สำนักงบประมาณได้ประสานให้แต่ละส่วนราชการทบทวนบทบาท ภารกิจ ให้สอดคล้องกับภารกิจตามยุทธศาสตร์ของแผนฯ 9 ที่คำนึงถึงหลักการประหยัดโดยมีแนวทางดังนี้
- มุ่งเน้นการจัดทำงบประมาณแบบขาดทุน โดยมีอัตราการขยายตัวประมาณร้อยละ 6 ทั้งนี้ ภาระชำระหนี้ของภาครัฐจะเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวของงบลงทุนในระยะต่อไป
- ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาหลักของประเทศเป็นสำคัญ
- ทุกหน่วยงานควรทบทวนภารกิจการทำงาน โดยปรับลดหรือระงับโครงการที่หมดความจำเป็นในการดำเนินการ หรือโครงการที่มีความซ้ำซ้อน เพื่อให้การใช้ทรัพยากรคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด
3.2 การปรับปรุงระบบการจัดการงบประมาณ สำนักงบประมาณได้ประสานความร่วมมือกับส่วนราชการต่าง ๆ ในการจัดทำแผนปฏิบัติการที่มีความเชื่อมโยงของแผนงาน โครงการ และสอดคล้องกับทรัพยากรภาครัฐที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยมีการปรับปรุงระบบการจัดการงบประมาณในช่วงแผนฯ 9 ดังนี้
- การปรับปรุงระบบการจัดการงบประมาณไปสู่ระบบที่มุ่งเน้นผลงาน โดยในขั้นตอนการจัดทำงบประมาณจะต้องจัดทำแผนกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาของแผนฯ 9 จัดทำแผนงบประมาณระยะปานกลางที่มีการกำหนดเป้าหมาย มีการคาดประมาณการรายจ่ายล่วงหน้า 3 ปี โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าการใช้งบประมาณ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเป็นหลัก นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจในการจัดทำและบริหารงบประมาณให้แก่หน่วยงานปฏิบัติ
-การพัฒนามาตรฐานการจัดการทางการเงินของหน่วยราชการ สำนักงบประมาณได้กำหนดมาตรการเพื่อปรับปรุงขีดความสามารถการบริหารทางการเงินของหน่วยงานต่าง ๆ ใน 7 ด้าน ได้แก่ การวางแผนงบประมาณ การคำนวณต้นทุนผลผลิต การรายงานผลการดำเนินงานและรายงานทางการเงิน การควบคุมงบประมาณ การตรวจสอบภายในการบริหารสินทรัพย์ และการจัดระบบ การจัดซื้อจัดจ้าง ทั้งนี้เพื่อพัฒนายกระดับมาตรฐานการจัดการทางการเงินของหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งได้ทดลองปฏิบัติเป็นโครงการนำร่องแล้ว 7 หน่วยงาน และมีเป้าหมายดำเนินการให้ครบทุกหน่วยงานภายในช่วงแผนฯ 9
ส่วนที่ 3
การอภิปรายแสดงความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมสัมมนาในการให้ข้อเสนอแนะต่อรายละเอียดยุทธศาสตร์ในร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และแนวทางในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติสรุปได้ดังนี้
1. การปรับปรุงสาระรายละเอียดของยุทธศาสตร์การพัฒนาในร่างแผนฯ 9
1.1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและการคุ้มครองทางสังคม ควรให้ความสำคัญกับการสร้างจิตสำนึกในด้านคุณธรรม จริยธรรมโดยกำหนดหลักสูตรการศึกษาและเน้นกระบวนการเรียนรู้ให้มีการปฏิบัติจริงตั้งแต่เด็ก
1.2 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควรเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาสังคมในการบริหารจัดการทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการให้ประชาสังคมมีส่วนร่วมในการพิจารณาไม่อนุญาตให้มีการทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ พื้นที่ต้นน้ำลำธารและป่าชายเลน รวมทั้งมีส่วนร่วมในการกำหนดเขตการใช้ที่ดินเพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติด้วย
1.3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มากขึ้น โดยมีสิ่งจูงใจ พร้อมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมเพื่ออำนวยความสะดวกและส่งเสริมให้สถาบันการศึกษามีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของคนไทยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.4 ยุทธศาสตร์การบริการจัดการที่ดี ควรให้ความสำคัญกับการปรับปรุงและการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ และกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนในการปรับปรุงระบบงานในองค์กรภาครัฐที่มีการทำงานซ้ำซ้อนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับ กระทรวง ทบวง กรม
2. การบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติและการประเมินผล
2.1 ควรปรับบทบาทของหน่วยงานกลาง ได้แก่ สศช. สำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณ ในการประสานการดำเนินงาน ร่วมกันของหน่วยงานทุกระดับ อาทิ
- กำหนดเกณฑ์การประสานงานระหว่างแผนงาน แผนเงิน และแผนคนของหน่วยงานต่าง ๆ
- ปรับปรุงระบบงบประมาณของประเทศทั้งในส่วนภูมิภาค และท้องถิ่นในสอดคล้องกับหลักการที่ยึดพื้นที่ ภารกิจและการมีส่วนร่วม
- ปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารจัดการในระดับภูมิภาคและจังหวัดให้สอดคลัองกับยุทธศาสตร์ของแผนฯ 9
- ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและให้มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานในแนวราบมากขึ้น
- สร้างความชัดเจนในบทบาทภารกิจที่มีความซ้ำซ้อนของหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านต่างประเทศ
2.2 สร้างความชัดเจนในการประสานวางระบบการติดตามประเมินผลงานและตรวจสอบผลงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและเป็นเครือข่ายเชื่อมโยง รวมทั้งกำหนดกรอบการปรับปรุงระบบฐานข้อมูลของประเทศที่เชื่อมโยงกันทั้งในเรื่องระบบการจัดเก็บข้อมูลการบริหารจัดการ และการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เป็นเครื่องมือ
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 1/มกราคม2544--
-สส-
การสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นต่อร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เบื้องต้นและสนับสนุนกระบวนการประสานแผนสู่การปฏิบัติ ให้สอดคล้องเชื่อมโยงกับแผนฯ 9 ได้อย่างมีประสิทธิภาพนับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2545 ซึ่งเป็นปีแรกของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
ในการสัมมนาดังกล่าวมีการนำเสนอสาระสำคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และการอภิปราย ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
ส่วนที่ 1
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้นำเสนอสาระสำคัญของร่างแผนฯ 9 โดยสรุปคือ แผนฯ 9 ได้อัญเชิญหลัก "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศ และใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนจากทุกภาคส่วนในสังคมในการจัดทำแผน โดยยังคงยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และตั้งอยู่บนวิสัยทัศน์ร่วมที่มุ่งเน้นให้เกิด "การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย" โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และพัฒนาอย่างมี "ดุลยภาพ" ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้คนในสังคมมีความสุขถ้วนหน้าสามารถพึ่งตนเองอย่างมีภูมิคุ้มกันที่ดีโดยยังคงรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นไทย
สำหรับวัตถุประสงค์สำคัญของแผนฯ 9 มีสี่ประการ คือ 1) มุ่งแก้ปัญหาความยากจน 2) ฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพและมีภูมิคุ้มกัน 3) วางรากฐานการพัฒนาประเทศให้เข้มแข็งและยั่งยืน และ 4) ให้มีระบบบริหารจัดการที่ดีในสังคมไทย โดยกำหนดเป้าหมายหลักในการลดความยากจน ยกระดับคุณภาพชีวิต และเป้าหมายดุลยภาพทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สนับสนุนและเชื่อมโยงกันใน 3 กลุ่มยุทธศาสตร์ ได้แก่ การเสริมสร้างรากฐานของสังคมให้เข้มแข็ง การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้เข้าสู่สมดุล และ การสร้างระบบบริหารจัดการที่ดีให้เกิดขึ้น
ส่วนที่ 2
การอภิปรายเรื่อง "แนวทางการประสานแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ไปสู่การปฏิบัติ " โดยคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) นางสาวกุสุมา เกิดภู่ รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และนายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการ สศช. โดยมีนายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ สศช. เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย ซึ่งผลการอภิปรายโดยรวมสรุปได้ดังนี้
1. แนวทางการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 สู่การปฏิบัติ เน้นให้ความสำคัญกับกระบวนการจัดทำแผนระดับต่าง ๆ และความเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เพื่อให้สามารถใช้แผนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป็นแผนใน 3 ระดับ คือ
ระดับที่ 1 แผนยุทธศาสตร์ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่9 มีลักษณะเป็นแผนชี้นำการพัฒนาในภาพรวม ระยะ 5 ปี ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนาที่ชัดเจน สามารถนำไปจัดทำแผนปฏิบัติระดับต่าง ๆ ได้ จัดทำโดย สศช. ภายใต้การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมไทย
ระดับที่ 2 แผนพัฒนาเฉพาะเรื่อง/แผนหลัก/แผนแม่บท มีลักษณะเป็นแผนเฉพาะสาขา/เฉพาะเรื่องที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงานร่วมดำเนินการ จัดทำโดยหน่วยงานเจ้าของเรื่องและผู้เกี่ยวข้องในเรื่องนั้น ๆ มีหน่วยงานกลาง อาทิ สศช. สำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณ เป็นผู้ประสานแนวทางการจัดทำแผน โดยมีแผนงานรองรับที่ชัดเจนมีระยะเวลา 5 ปี
ระดับที่ 3 แผนปฏิบัติ เป็นแผนปฏิบัติการรายกระทรวง ทบวง กรม ที่มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาของแผนฯ 9 ภายใต้การมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีสาระรายละเอียดครอบคลุมแผนงาน โครงการ วงเงิน แหล่งเงิน ผู้รับผิดชอบ และมีการจัดลำดับความสำคัญที่ชัดเจน รวมทั้งมีแนวทางในการติดตามประเมินผล โดยทั่วไปมีระยะเวลา 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี
ทั้งนี้ โดยมีข้อคำนึงในการแปลงแผนสู่การปฏิบัติคือ ทรัพยากรภาครัฐมีจำกัด ส่งผลให้การจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาประเทศในระยะต่อไปยากลำบากยิ่งขึ้น และปัญหาหลักของประเทศที่จำเป็นต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนในช่วงแผนฯ 9 (พ.ศ.2544-2549) แผนแต่ละระดับควรตอบสนองวัตถุประสงค์ของแผนฯ 9
2. แนวทางการปรับเปลี่ยนระบบบริหารราชการแนวใหม่ เพื่อให้การแปลงแผนฯ 9 ไปสู่การปฏิบัติมีประสิทธิภาพมากขึ้น เลขาธิการ ก.พ. ได้เน้นย้ำในประเด็นสำคัญ ดังนี้
2.1 หลักการปรับเปลี่ยนการทำงานของระบบราชการ มีข้อคำนึงที่สำคัญคือ การจัดรูปแบบองค์กร เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รูปแบบองค์กรควรเน้นที่ความคล่องตัว ยืดหยุ่นได้ เพื่อสามารถเคลื่อนไหวได้ทันการณ์ วิธีการทำงาน ควรปรับจากการทำงานตามความชำนาญเฉพาะด้าน ซึ่งอาจเหมาะกับบางองค์กรหรือบางประเภทของงาน แต่ไม่เหมาะกับงานที่ต้องใช้สมองหรืองานบริการที่ผู้รับบริการจำนวนมาก ปรับสู่การทำงานที่มีความคล่องตัว อาศัยคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีระดับสูงเป็นเครื่องมือสำคัญช่วยการทำงาน คนแลเครื่องมือ การบริหารบุคคลในระยะต่อไปต้องมุ่งเน้นที่สมรรถนะของบุคคลเป็นหลักควบคู่ไปกับเครื่องมือที่ทันสมัย เงิน เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญที่สุด ที่ทำให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กลไกการควบคุม จำเป็นต้องมีกลไกหรือ ระบบในการกำกับติดตาม ตรวจสอบการทำงานขององค์กรภาครัฐ ซึ่งถ้าระบบส่วนนี้ไม่มีประสิทธิภาพ ก็จะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทันท่วงที
2.2 ยุทธศาสตร์การบริการจัดการภาครัฐแนวใหม่ มุ่งเน้นคุณภาพ ความร่วมมือ และความพึงพอใจของผู้รับบริการเป็นสำคัญโดยควรปรับกลไกการทำงานภายในองค์กรให้มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้นดังนี้
- การผ่อนคลายระบบการบริหารบุคคลภายในองค์กร สำนักงาน ก.พ. ได้มีการผ่อนคลายระบบการบริหารบุคคลภายในส่วนราชการ โดยกำหนดให้ตำแหน่งตั้งแต่ระดับ 8 ลงมาอยู่ในความรับผิดชอบของหัวหน้าส่วนราชการ ทำให้มีความคล่องตัวสูงในการปรับตำแหน่งให้สอดคล้องกับสภาพของงานที่เปลี่ยนแปลง
- การจัดองค์กร รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้เปิดโอกาสให้หน่วยงานที่ต้องการปรับโครงสร้างองค์กรสามารถยุบรวมหรือโอนได้ ทำให้การจัดองค์กรมีความคล่องตัวยิ่งขึ้น และขณะนี้ สำนักงาน ก.พ. ได้ร่วมกับส่วนราชการปรับรูปแบบการจัดกระบวนการทำงานตามแผนการปรับบทบาทภารกิจของส่วนราชการ ซึ่งเป็นแผนหนึ่งในการที่จะปฏิรูประบบราชการโดยนำระบบการบริหารที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ และระบบมาตรฐานสากลว่าด้วยการวัดผลสัมฤทธิ์ของการทำงานภาครัฐมาปรับใช้ในการวัดการทำงานของหน่วยงาน
- การปรับเปลี่ยนกระบวนทรรศน์ของข้าราชการทุกระดับ ให้ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชาในฐานะเป็นเพื่อนร่วมงานที่ต้องการได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาค เป็นธรรม และได้รับการพัฒนาความสามารถเพื่อความก้าวหน้าในการทำงาน ขณะเดียวกันมีการปรับเปลี่ยนกรอบความคิดของข้าราชการให้ทำงานรูปแบบใหม่ที่ยึดภารกิจหรือปัญหาของประชาชนและพื้นที่เป้าหมาย รวมทั้งปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมจากต่างคนต่างทำมาเป็นการประสานเชื่อมโยงกันมาขึ้น
ทั้งนี้ มีหน่วยงานกลางคือ สศช. สำนักงาน ก.พ. และสำนักงานประมาณ เป็นผู้ประสานการทำงาน โดยอาศัยกลไกการประสานแผนงาน แผนเงิน แผนคน เป็นกลไกหลักเพื่อเอื้อต่อการทำงานของทุกกระทรวง ทบวง กรม และเกิดการประสานงานในแนวราบระหว่างหน่วยงานมากขึ้น
3. การเตรียมแผนเงินเพื่อการแปลงแผนพัฒนาฯ สู่การปฏิบัติ รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ได้เสนอแนวทางการปรับเปลี่ยนระบบงบประมาณเพื่อให้การดำเนินงานตามแผนงาน โครงการ ในช่วงแผนฯ 9 สอดคล้องกับทรัพยากรภาครัฐที่มีอยู่จำกัด ดังนี้
3.1 การจัดทำงบประมาณประจำปี 2545 สำนักงบประมาณได้ประสานให้แต่ละส่วนราชการทบทวนบทบาท ภารกิจ ให้สอดคล้องกับภารกิจตามยุทธศาสตร์ของแผนฯ 9 ที่คำนึงถึงหลักการประหยัดโดยมีแนวทางดังนี้
- มุ่งเน้นการจัดทำงบประมาณแบบขาดทุน โดยมีอัตราการขยายตัวประมาณร้อยละ 6 ทั้งนี้ ภาระชำระหนี้ของภาครัฐจะเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวของงบลงทุนในระยะต่อไป
- ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาหลักของประเทศเป็นสำคัญ
- ทุกหน่วยงานควรทบทวนภารกิจการทำงาน โดยปรับลดหรือระงับโครงการที่หมดความจำเป็นในการดำเนินการ หรือโครงการที่มีความซ้ำซ้อน เพื่อให้การใช้ทรัพยากรคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด
3.2 การปรับปรุงระบบการจัดการงบประมาณ สำนักงบประมาณได้ประสานความร่วมมือกับส่วนราชการต่าง ๆ ในการจัดทำแผนปฏิบัติการที่มีความเชื่อมโยงของแผนงาน โครงการ และสอดคล้องกับทรัพยากรภาครัฐที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยมีการปรับปรุงระบบการจัดการงบประมาณในช่วงแผนฯ 9 ดังนี้
- การปรับปรุงระบบการจัดการงบประมาณไปสู่ระบบที่มุ่งเน้นผลงาน โดยในขั้นตอนการจัดทำงบประมาณจะต้องจัดทำแผนกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาของแผนฯ 9 จัดทำแผนงบประมาณระยะปานกลางที่มีการกำหนดเป้าหมาย มีการคาดประมาณการรายจ่ายล่วงหน้า 3 ปี โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าการใช้งบประมาณ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเป็นหลัก นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจในการจัดทำและบริหารงบประมาณให้แก่หน่วยงานปฏิบัติ
-การพัฒนามาตรฐานการจัดการทางการเงินของหน่วยราชการ สำนักงบประมาณได้กำหนดมาตรการเพื่อปรับปรุงขีดความสามารถการบริหารทางการเงินของหน่วยงานต่าง ๆ ใน 7 ด้าน ได้แก่ การวางแผนงบประมาณ การคำนวณต้นทุนผลผลิต การรายงานผลการดำเนินงานและรายงานทางการเงิน การควบคุมงบประมาณ การตรวจสอบภายในการบริหารสินทรัพย์ และการจัดระบบ การจัดซื้อจัดจ้าง ทั้งนี้เพื่อพัฒนายกระดับมาตรฐานการจัดการทางการเงินของหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งได้ทดลองปฏิบัติเป็นโครงการนำร่องแล้ว 7 หน่วยงาน และมีเป้าหมายดำเนินการให้ครบทุกหน่วยงานภายในช่วงแผนฯ 9
ส่วนที่ 3
การอภิปรายแสดงความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมสัมมนาในการให้ข้อเสนอแนะต่อรายละเอียดยุทธศาสตร์ในร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และแนวทางในการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติสรุปได้ดังนี้
1. การปรับปรุงสาระรายละเอียดของยุทธศาสตร์การพัฒนาในร่างแผนฯ 9
1.1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและการคุ้มครองทางสังคม ควรให้ความสำคัญกับการสร้างจิตสำนึกในด้านคุณธรรม จริยธรรมโดยกำหนดหลักสูตรการศึกษาและเน้นกระบวนการเรียนรู้ให้มีการปฏิบัติจริงตั้งแต่เด็ก
1.2 ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควรเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาสังคมในการบริหารจัดการทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการให้ประชาสังคมมีส่วนร่วมในการพิจารณาไม่อนุญาตให้มีการทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ พื้นที่ต้นน้ำลำธารและป่าชายเลน รวมทั้งมีส่วนร่วมในการกำหนดเขตการใช้ที่ดินเพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติด้วย
1.3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มากขึ้น โดยมีสิ่งจูงใจ พร้อมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมเพื่ออำนวยความสะดวกและส่งเสริมให้สถาบันการศึกษามีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของคนไทยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.4 ยุทธศาสตร์การบริการจัดการที่ดี ควรให้ความสำคัญกับการปรับปรุงและการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ และกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนในการปรับปรุงระบบงานในองค์กรภาครัฐที่มีการทำงานซ้ำซ้อนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับ กระทรวง ทบวง กรม
2. การบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติและการประเมินผล
2.1 ควรปรับบทบาทของหน่วยงานกลาง ได้แก่ สศช. สำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณ ในการประสานการดำเนินงาน ร่วมกันของหน่วยงานทุกระดับ อาทิ
- กำหนดเกณฑ์การประสานงานระหว่างแผนงาน แผนเงิน และแผนคนของหน่วยงานต่าง ๆ
- ปรับปรุงระบบงบประมาณของประเทศทั้งในส่วนภูมิภาค และท้องถิ่นในสอดคล้องกับหลักการที่ยึดพื้นที่ ภารกิจและการมีส่วนร่วม
- ปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารจัดการในระดับภูมิภาคและจังหวัดให้สอดคลัองกับยุทธศาสตร์ของแผนฯ 9
- ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและให้มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานในแนวราบมากขึ้น
- สร้างความชัดเจนในบทบาทภารกิจที่มีความซ้ำซ้อนของหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านต่างประเทศ
2.2 สร้างความชัดเจนในการประสานวางระบบการติดตามประเมินผลงานและตรวจสอบผลงานให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและเป็นเครือข่ายเชื่อมโยง รวมทั้งกำหนดกรอบการปรับปรุงระบบฐานข้อมูลของประเทศที่เชื่อมโยงกันทั้งในเรื่องระบบการจัดเก็บข้อมูลการบริหารจัดการ และการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เป็นเครื่องมือ
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 1/มกราคม2544--
-สส-