เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2544 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้จัดให้มีการบรรยายเรื่อง "ทางเลือกใหม่สู่การพัฒนายุทธศาสตร์เศรษฐกิจของประเทศไทย" โดยนาย David Flood ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนยุทธศาสตร์ จากประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีนายทนง พิทยะ ประธานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธาน ทั้งนี้ได้มีผู้แทนจากภาครัฐและเอกชน รวมทั้งผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ สศช. ให้ความสนใจเข้ารับร่วมฟังการบรรยายเป็นจำนวนมาก
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการบรรยายในครั้งนี้ว่า เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวคิดของยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะทางด้านการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ และเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศทั้งนี้การบรรยายแบ่งเป็น 2 ส่วน คือแนวคิดในการพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อการแข่งขัน (Strategy Development for Competitiveness) และการนำเสนอโครงการ The New Deal : Thailand's Strategic Development Initiative ที่จัดทำขึ้นภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงการคลัง
นาย David Flood ได้เสนอแนวคิดในการพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อการแข่งขันว่า การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศจะต้องพิจารณาทั้งในระดับมหภาค (Macro) ซึ่งเป็นเรื่องของการปรับโครงสร้างโดยภาครัฐ (Restructure) และระดับจุลภาค (Micro) ซึ่งเป็นเรื่องของการปรับสถานะ (Reposition) ที่เกี่ยวข้องกับภาคเอกชนนอกจากนี้ยังคำนึงถึงการสร้างฐานราก (Platform) ภายใต้กฎ 3 ประการ ที่จะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ได้แก่ (1) การกำหนดยุทธศาสตร์หรือเป้าหมายที่ชัดเจน (Strategy Rules) ทั้งในระดับชาติและระดับอุตสาหกรรม (2) การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ (Cluster Lead) เป็นตัวนำไปสู่ความสำเร็จ และ (3) การกำหนดนโยบาย (Policy follows) ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับเป้าหมายและการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจดังกล่าว
เครื่องมือหรือปัจจัยสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์ (Strategy Rules) ควรประกอบด้วย
*The Five Forces Model เป็นรูปแบบในการพิจารณาสถานภาพการแข่งขันของธุรกิจซึ่งประกอบด้วยปัจจัย 5 ประการ คือ ข้อจำกัดในการเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ ข้อจำกัดของสินค้าหรือบริการทดแทน อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ อำนาจการต่อรองของผู้จำหน่ายวัตถุดิบและสภาวะการแข่งขันระหว่างคู่แข่งที่มีอยู่
*Generic Strategies เป็นการให้ความสำคัญกับการแข่งขันที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากทั่วไป (Specialization) มากกว่าการแข่งขันที่เกิดจากข้อได้เปรียบทางด้านต้นทุน ในการนำไปสู่ลักษณะดังกล่าว จำเป็นต้องมีทักษะและทรัพยากรที่เหมาะสม ใน 7 ด้าน ได้แก่ ความสามารถทางด้านการตลาดคุณภาพของผลิตภัณฑ์ สมรรถนะทางการวิจัยพื้นฐาน ประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติอันยาวนานในอุตสาหกรรม ชื่อเสียงผู้นำในอุตสาหกรรม ความร่วมมือที่เข้มแข็งจากธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์
*The Value Chain เป็นกระบวนการสร้างความร่วมมือในลักษณะที่ครบวงจร
*The Diamond เป็นรูปแบบการพิจารณาสถานภาพและความเป็นไปได้ในการแข่งขันในระดับเศรษฐกิจ (Economic Level) ประกอบด้วยปัจจัยหลัก 6 ประการคือกลยุทธ์ของธุรกิจและโครงสร้างอุตสาหกรรม (Firm Strategy, Industry Structure Rivalry) ความต้องการ (Demand) ปัจจัย (Factors) อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและสนับสนุน (Related & Supporting Industries)
*The Development Diamond ประกอบด้วยปัจจัยหลัก 6 ประการ ได้แก่ การรู้ถึงศักยภาพของอุตสาหกรรมเดียวกัน การปรับปรุงความรู้และความเข้าใจในลูกค้า การสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นระหว่างธุรกิจ และการหลีกเลี่ยงความได้เปรียบโดยการพึ่งพิงปัจจัยพื้นฐาน
สำหรับการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจเป็นตัวนำ (Clusters Lead) ในการสร้างฐานรากระดับจุลภาคให้มั่นคงได้นั้น จะต้องเริ่มจากการทำ Benchmarking ในตลาดโลกเพื่อตรวจสอบโอกาสในการพัฒนาธุรกิจของกลุ่มธุรกิจสำคัญๆ ที่ถือเป็นกลุ่มตัวแทนของเครือข่ายวิสาหกิจภายใต้วิธีการผสมผสานระหว่างอุตสาหกรรมดั้งเดิม และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงสาขาการผลิตใหม่ (Service Based) และสาขาการผลิตเก่า (Production Based) เข้าไว้ด้วยกันโดยมีเทคโนโลยีเป็นตัวเชื่อมโยงให้เกิดการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจที่มีจุดเน้นหรือเป้าหมายเดียวกันโดยมีแผนการดำเนินงาน (Work Plan) ที่แนะนำใน 3 ขั้นตอนคือการพัฒนายุทธศาสตร์ (Strategy Development) การจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) และการนำยุทธศาสตร์มาสู่การปฏิบัติ (Strategy Implementation)
กฎข้อสุดท้ายของการนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน คือการกำหนดนโยบาย (Policy Follows) ที่มุ่งให้มีการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเป็นหลักมากกว่ากิจกรรมทางการเมือง โดยจำเป็นต้องกำหนดนโยบายจากแนวคิดที่เป็นกลางและไม่เปลี่ยนแปลง มีการคาดการณ์ในระยะยาว เพื่อให้บรรลุถึงความต้องการของลูกค้าที่มีอำนาจซื้อสูง (High-end Customer) และอยู่ในขอบข่ายที่สามารถปฏิบัติได้ ทั้งนี้ในระยะสั้นไม่ควรคาดการณ์จากการรวมกลุ่มเพื่อเป็นประโยชน์ทางการเมืองหรือกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มจะนำไปสู่ความเสี่ยงของเครือข่ายวิสาหกิจข้างเคียงหรือการริเริ่มจัดตั้งเครือข่ายกลุ่มใหม่ขึ้นนอกจากนี้ความสำเร็จของโครงการนำร่อง ยังขึ้นอยู่กับการยอมรับทางกฎหมาย และภาวะผู้นำในการกำหนดยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนอีกด้วย
สำหรับโครงการ The New Deal : Thailand's Strategic Development Initiative นั้น นาย David Flood กล่าวว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวคิดใหม่สำหรับเศรษฐกิจไทย โดยการเสนอแนะยุทธศาสตร์สำหรับการนำแนวคิดใหม่ไปสู่การปฏิบัติ ภายใต้กรอบแนวคิดที่ยึดกฎ 3 ข้อ ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น โดยการบริหารโครงการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะแต่งตั้งคณะทำงานซึ่งประกอบด้วย ผู้นำจากภาคเอกชน 4 คน ผู้นำจากรัฐวิสาหกิจ 4 คน นักวิชาการ 2 คน และตัวแทนจากสื่อมวลชน 1 คน มีระยะเวลาในการดำเนินงาน 1 ปี โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 การรณรงค์และเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจรวมทั้งสร้างความตระหนักถึงความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับ (Promotion and Awareness) โดยการให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการจัดรณรงค์และประชาสัมพันธ์ ซึ่งในเบื้องต้นจำเป็นต้องคัดเลือกสาขาการผลิต (Sector) และเครือข่ายวิสาหกิจ (Cluster) สำหรับริเริ่มดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ เช่น ความสำคัญต่อการสร้างฐานทางยุทธศาสตร์ในระดับชาติและระดับภูมิภาค การสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญต่อ SMEs และอุตสาหกรรมดั้งเดิม โดยสาขาการผลิตหนึ่งจะต้องจัดตั้งเครือข่ายวิสาหกิจครอบคลุมอย่างน้อย 2 ธุรกิจขึ้นไปที่อาศัยความร่วมมือในลักษณะที่ครบวงจรระหว่างผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และสถาบันการศึกษา โดยมีค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้ประสานงานโครงการที่ทำงานเต็มเวลาและมีการกำหนดพื้นที่หลักในการดำเนินงานที่ชัดเจน
ระยะที่ 2 การพัฒนายุทธศาสตร์และกำหนดนโยบาย (Policy Benchmarking) โดยการจัดให้มีการประชุมหารือร่วมกันระหว่างเครือข่ายวิสาหกิจต่างๆ เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และการประชุมหารือระหว่างสาขาการผลิตๆ เพื่อกำหนดทางเลือกของนโยบายต่างๆ ซึ่งผลที่ได้จากระยะที่ 2 นี้ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์เครือข่ายวิสาหกิจที่พัฒนาขึ้นโดยใช้เครื่องมือในการวิเคาระห์ที่เหมาะสม โครงการนำร่องที่กำหนดขึ้นสำหรับแต่ละเครือข่ายวิสาหกิจ และประมาณการค่าใช้จ่ายของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งทางเลือกนโยบายสนับสนุนด้านต่างๆ
ระยะที่ 3 การหาแหล่งเงินทุนสำหรับยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ (Funding Cluster Strategies) ซึ่งจะต้องมีการแจกแจงสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการนำร่องของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจนั้นๆ ภายใต้การสนับสนุนของคณะทำงานที่ได้จัดตั้งขึ้น
ในตอนท้ายของการบรรยายได้มีการเสนอแนงทางปฏิบัติที่น่าสนใจหลายประการอาทิ ปัจจุบันมีกลุ่มนักธุรกิจที่ประสงค์จะรวมกลุ่มในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจอยู่แล้ว แต่ควรให้มีการเผยแพร่แนวคิด และการกระตุ้นกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มกันได้จริงในทางปฏิบัติ และควรให้มีกระบวนการที่จะนำไปสู่การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ โดยจัดให้มีคณะทำงานกลางที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะจากสถาบันการศึกษา ซึ่งควรเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนการวิจัยเป็นรายสินค้าอุตสาหกรรมที่ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่ได้รับความเห็นชอบในการนำไปสู่การปฏิบัติร่วมกัน โดยในเบื้องต้นควรกำหนดขอบเขตการศึกษา (Terms of Reference) ที่ชัดเจน เพื่อเชิญชวนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่สนใจเข้าร่วมในกระบวนการดังกล่าว
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 11/พฤศจิกายน 2544--
-สส-
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการบรรยายในครั้งนี้ว่า เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวคิดของยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเฉพาะทางด้านการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ และเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวข้องในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศทั้งนี้การบรรยายแบ่งเป็น 2 ส่วน คือแนวคิดในการพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อการแข่งขัน (Strategy Development for Competitiveness) และการนำเสนอโครงการ The New Deal : Thailand's Strategic Development Initiative ที่จัดทำขึ้นภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงการคลัง
นาย David Flood ได้เสนอแนวคิดในการพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อการแข่งขันว่า การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศจะต้องพิจารณาทั้งในระดับมหภาค (Macro) ซึ่งเป็นเรื่องของการปรับโครงสร้างโดยภาครัฐ (Restructure) และระดับจุลภาค (Micro) ซึ่งเป็นเรื่องของการปรับสถานะ (Reposition) ที่เกี่ยวข้องกับภาคเอกชนนอกจากนี้ยังคำนึงถึงการสร้างฐานราก (Platform) ภายใต้กฎ 3 ประการ ที่จะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ได้แก่ (1) การกำหนดยุทธศาสตร์หรือเป้าหมายที่ชัดเจน (Strategy Rules) ทั้งในระดับชาติและระดับอุตสาหกรรม (2) การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ (Cluster Lead) เป็นตัวนำไปสู่ความสำเร็จ และ (3) การกำหนดนโยบาย (Policy follows) ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับเป้าหมายและการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจดังกล่าว
เครื่องมือหรือปัจจัยสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์ (Strategy Rules) ควรประกอบด้วย
*The Five Forces Model เป็นรูปแบบในการพิจารณาสถานภาพการแข่งขันของธุรกิจซึ่งประกอบด้วยปัจจัย 5 ประการ คือ ข้อจำกัดในการเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ ข้อจำกัดของสินค้าหรือบริการทดแทน อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ อำนาจการต่อรองของผู้จำหน่ายวัตถุดิบและสภาวะการแข่งขันระหว่างคู่แข่งที่มีอยู่
*Generic Strategies เป็นการให้ความสำคัญกับการแข่งขันที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากทั่วไป (Specialization) มากกว่าการแข่งขันที่เกิดจากข้อได้เปรียบทางด้านต้นทุน ในการนำไปสู่ลักษณะดังกล่าว จำเป็นต้องมีทักษะและทรัพยากรที่เหมาะสม ใน 7 ด้าน ได้แก่ ความสามารถทางด้านการตลาดคุณภาพของผลิตภัณฑ์ สมรรถนะทางการวิจัยพื้นฐาน ประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติอันยาวนานในอุตสาหกรรม ชื่อเสียงผู้นำในอุตสาหกรรม ความร่วมมือที่เข้มแข็งจากธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และความสามารถในการคิดสร้างสรรค์
*The Value Chain เป็นกระบวนการสร้างความร่วมมือในลักษณะที่ครบวงจร
*The Diamond เป็นรูปแบบการพิจารณาสถานภาพและความเป็นไปได้ในการแข่งขันในระดับเศรษฐกิจ (Economic Level) ประกอบด้วยปัจจัยหลัก 6 ประการคือกลยุทธ์ของธุรกิจและโครงสร้างอุตสาหกรรม (Firm Strategy, Industry Structure Rivalry) ความต้องการ (Demand) ปัจจัย (Factors) อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและสนับสนุน (Related & Supporting Industries)
*The Development Diamond ประกอบด้วยปัจจัยหลัก 6 ประการ ได้แก่ การรู้ถึงศักยภาพของอุตสาหกรรมเดียวกัน การปรับปรุงความรู้และความเข้าใจในลูกค้า การสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นระหว่างธุรกิจ และการหลีกเลี่ยงความได้เปรียบโดยการพึ่งพิงปัจจัยพื้นฐาน
สำหรับการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจเป็นตัวนำ (Clusters Lead) ในการสร้างฐานรากระดับจุลภาคให้มั่นคงได้นั้น จะต้องเริ่มจากการทำ Benchmarking ในตลาดโลกเพื่อตรวจสอบโอกาสในการพัฒนาธุรกิจของกลุ่มธุรกิจสำคัญๆ ที่ถือเป็นกลุ่มตัวแทนของเครือข่ายวิสาหกิจภายใต้วิธีการผสมผสานระหว่างอุตสาหกรรมดั้งเดิม และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงสาขาการผลิตใหม่ (Service Based) และสาขาการผลิตเก่า (Production Based) เข้าไว้ด้วยกันโดยมีเทคโนโลยีเป็นตัวเชื่อมโยงให้เกิดการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจที่มีจุดเน้นหรือเป้าหมายเดียวกันโดยมีแผนการดำเนินงาน (Work Plan) ที่แนะนำใน 3 ขั้นตอนคือการพัฒนายุทธศาสตร์ (Strategy Development) การจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) และการนำยุทธศาสตร์มาสู่การปฏิบัติ (Strategy Implementation)
กฎข้อสุดท้ายของการนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน คือการกำหนดนโยบาย (Policy Follows) ที่มุ่งให้มีการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเป็นหลักมากกว่ากิจกรรมทางการเมือง โดยจำเป็นต้องกำหนดนโยบายจากแนวคิดที่เป็นกลางและไม่เปลี่ยนแปลง มีการคาดการณ์ในระยะยาว เพื่อให้บรรลุถึงความต้องการของลูกค้าที่มีอำนาจซื้อสูง (High-end Customer) และอยู่ในขอบข่ายที่สามารถปฏิบัติได้ ทั้งนี้ในระยะสั้นไม่ควรคาดการณ์จากการรวมกลุ่มเพื่อเป็นประโยชน์ทางการเมืองหรือกลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้มจะนำไปสู่ความเสี่ยงของเครือข่ายวิสาหกิจข้างเคียงหรือการริเริ่มจัดตั้งเครือข่ายกลุ่มใหม่ขึ้นนอกจากนี้ความสำเร็จของโครงการนำร่อง ยังขึ้นอยู่กับการยอมรับทางกฎหมาย และภาวะผู้นำในการกำหนดยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนอีกด้วย
สำหรับโครงการ The New Deal : Thailand's Strategic Development Initiative นั้น นาย David Flood กล่าวว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวคิดใหม่สำหรับเศรษฐกิจไทย โดยการเสนอแนะยุทธศาสตร์สำหรับการนำแนวคิดใหม่ไปสู่การปฏิบัติ ภายใต้กรอบแนวคิดที่ยึดกฎ 3 ข้อ ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น โดยการบริหารโครงการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะแต่งตั้งคณะทำงานซึ่งประกอบด้วย ผู้นำจากภาคเอกชน 4 คน ผู้นำจากรัฐวิสาหกิจ 4 คน นักวิชาการ 2 คน และตัวแทนจากสื่อมวลชน 1 คน มีระยะเวลาในการดำเนินงาน 1 ปี โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 การรณรงค์และเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจรวมทั้งสร้างความตระหนักถึงความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับ (Promotion and Awareness) โดยการให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการจัดรณรงค์และประชาสัมพันธ์ ซึ่งในเบื้องต้นจำเป็นต้องคัดเลือกสาขาการผลิต (Sector) และเครือข่ายวิสาหกิจ (Cluster) สำหรับริเริ่มดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ เช่น ความสำคัญต่อการสร้างฐานทางยุทธศาสตร์ในระดับชาติและระดับภูมิภาค การสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญต่อ SMEs และอุตสาหกรรมดั้งเดิม โดยสาขาการผลิตหนึ่งจะต้องจัดตั้งเครือข่ายวิสาหกิจครอบคลุมอย่างน้อย 2 ธุรกิจขึ้นไปที่อาศัยความร่วมมือในลักษณะที่ครบวงจรระหว่างผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และสถาบันการศึกษา โดยมีค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้ประสานงานโครงการที่ทำงานเต็มเวลาและมีการกำหนดพื้นที่หลักในการดำเนินงานที่ชัดเจน
ระยะที่ 2 การพัฒนายุทธศาสตร์และกำหนดนโยบาย (Policy Benchmarking) โดยการจัดให้มีการประชุมหารือร่วมกันระหว่างเครือข่ายวิสาหกิจต่างๆ เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และการประชุมหารือระหว่างสาขาการผลิตๆ เพื่อกำหนดทางเลือกของนโยบายต่างๆ ซึ่งผลที่ได้จากระยะที่ 2 นี้ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์เครือข่ายวิสาหกิจที่พัฒนาขึ้นโดยใช้เครื่องมือในการวิเคาระห์ที่เหมาะสม โครงการนำร่องที่กำหนดขึ้นสำหรับแต่ละเครือข่ายวิสาหกิจ และประมาณการค่าใช้จ่ายของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งทางเลือกนโยบายสนับสนุนด้านต่างๆ
ระยะที่ 3 การหาแหล่งเงินทุนสำหรับยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ (Funding Cluster Strategies) ซึ่งจะต้องมีการแจกแจงสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการนำร่องของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจนั้นๆ ภายใต้การสนับสนุนของคณะทำงานที่ได้จัดตั้งขึ้น
ในตอนท้ายของการบรรยายได้มีการเสนอแนงทางปฏิบัติที่น่าสนใจหลายประการอาทิ ปัจจุบันมีกลุ่มนักธุรกิจที่ประสงค์จะรวมกลุ่มในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจอยู่แล้ว แต่ควรให้มีการเผยแพร่แนวคิด และการกระตุ้นกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มกันได้จริงในทางปฏิบัติ และควรให้มีกระบวนการที่จะนำไปสู่การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ โดยจัดให้มีคณะทำงานกลางที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะจากสถาบันการศึกษา ซึ่งควรเข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนการวิจัยเป็นรายสินค้าอุตสาหกรรมที่ถือเป็นยุทธศาสตร์ที่ได้รับความเห็นชอบในการนำไปสู่การปฏิบัติร่วมกัน โดยในเบื้องต้นควรกำหนดขอบเขตการศึกษา (Terms of Reference) ที่ชัดเจน เพื่อเชิญชวนให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่สนใจเข้าร่วมในกระบวนการดังกล่าว
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 11/พฤศจิกายน 2544--
-สส-