นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า สศช. ได้เร่งรัดจัดทำผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัด (Gross Regional and Provincial Products : GPP) ประจำปี 2547 ให้สามารถเผยแพร่ได้รวดเร็วขึ้น รวมทั้งปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยตามการปรับปรุงล่าสุดของแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การลดรอบระยะเวลาการเผยแพร่ข้อมูล ตามแผนการปรับลดระยะเวลาการให้บริการขององค์กร
จากการจัดทำผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัดดังกล่าว พบว่า ภาวะการผลิตระดับภูมิภาคชะลอตัวลงทุกภาค ยกเว้นกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่ขยายตัวดีขึ้น โดยที่ภาคกลางมีอัตราชะลอตัวสูงสุดที่ร้อยละ 10.1 เนื่องจากสาขาการผลิตนอกภาคเกษตรเติบโตได้ดี โดยเฉพาะสาขาการผลิตสำคัญ ได้แก่ สาขาอุตสาหกรรมซึ่งขยายตัวจากหมวดอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ และหมวดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนภาคตะวันออกที่เคยเติบโตเป็นอันดับหนึ่งเมื่อหลายปีก่อนหน้า ปรับตัวชะลอลงแต่ยังอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 7.9 เนื่องจากการผลิตในภาคเกษตรที่หดตัวลงมาก และประกอบกับสาขาอุตสาหกรรมชะลอลงในหลายหมวดด้วยกัน
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากสัดส่วนในระดับภาค (GRP : Gross Regional Products) พบว่า โครงสร้างการกระจายการผลิตมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย โดยที่ภาคตะวันออกเพิ่มจากร้อยละ 15.3 เป็น 15.6 ในปี 2547 และภาคกลางเพิ่มจากร้อยละ 8.8 เป็น 9.2 เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมของทั้งสองภาค ส่วนภาคอื่นๆ มีระดับลดลงเล็กน้อยในขณะที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลร้อยละ 43.9 ของจีดีพีใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา
สำหรับผลิตภัณฑ์ภาคต่อหัวหรือรายได้เฉลี่ยของภาค (Per Capita GRP) ในปี 2547 ยังคงมีระดับความแตกต่างสูงมากระหว่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑลซึ่งมีค่าเฉลี่ยต่อหัวสูงสุดคือ 259,661 บาทต่อปี กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นภาคที่มีค่าต่ำสุดคือ 32,083 บาทต่อปี หรือแตกต่างกัน 8.1 เท่า ลดลงจากปีที่แล้วเพียงเล็กน้อย ในขณะที่อัตราเพิ่มของค่าเฉลี่ยต่อหัวสูงสุดในปีนี้มาจากภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก ภาคเหนือ และกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในอัตราร้อยละ 15.3, 12.5, 11.1, 9.2, 8.7, 8.3 และ 3.5 ตามลำดับ โดยมีสาเหตุจากรายได้ภาคเกษตรที่ยังคงดีเนื่องจากระดับราคาผลผลิตเกษตรสูงขึ้นแม้ว่าปริมาณการผลิตจะลดลงก็ตาม ประกอบกับรายได้นอกภาคเกษตรในสาขาต่าง ๆ ปรับตัวสูงขึ้นทุกภาคด้วย
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า ในส่วนผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัวหรือรายได้เฉลี่ยต่อประชากร (Per Capita GPP) ของจังหวัดที่มีค่าเฉลี่ยต่อหัวสูงสุดยังคงเป็นจังหวัดระยองคือที่ 723,823 บาทต่อปี ในขณะที่จังหวัดหนองบัวลำภู มีค่าต่ำสุดที่ 16,737 บาทต่อปี โดยมีความแตกต่างกันถึง 43.2 เท่า
นอกจากนี้ จังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวอยู่ในกลุ่มลำดับสูงสุดในปี 2547 มีหลายจังหวัดที่ยกระดับสูงขึ้นอีก อาทิ พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ ปทุมธานี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ในขณะที่กลุ่มจังหวัดที่อยู่ในลำดับต่ำสุดยังคงเป็นกลุ่มจังหวัดเดิม คือ หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และจังหวัดอื่น ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งนี้ เนื่องจากจังหวัดเหล่านี้แม้จะเพิ่มขึ้นบ้างก็ตาม แต่เนื่องจากภาคการผลิตมีขนาดเล็กและสร้างรายได้ให้กับจังหวัดไม่มากนัก ประกอบกับจำนวนประชากรสูงขึ้นทุกปี จึงทำให้ค่าเฉลี่ยต่อหัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้ากว่าจังหวัดอื่น ๆ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
จากการจัดทำผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัดดังกล่าว พบว่า ภาวะการผลิตระดับภูมิภาคชะลอตัวลงทุกภาค ยกเว้นกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่ขยายตัวดีขึ้น โดยที่ภาคกลางมีอัตราชะลอตัวสูงสุดที่ร้อยละ 10.1 เนื่องจากสาขาการผลิตนอกภาคเกษตรเติบโตได้ดี โดยเฉพาะสาขาการผลิตสำคัญ ได้แก่ สาขาอุตสาหกรรมซึ่งขยายตัวจากหมวดอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ และหมวดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนภาคตะวันออกที่เคยเติบโตเป็นอันดับหนึ่งเมื่อหลายปีก่อนหน้า ปรับตัวชะลอลงแต่ยังอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 7.9 เนื่องจากการผลิตในภาคเกษตรที่หดตัวลงมาก และประกอบกับสาขาอุตสาหกรรมชะลอลงในหลายหมวดด้วยกัน
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากสัดส่วนในระดับภาค (GRP : Gross Regional Products) พบว่า โครงสร้างการกระจายการผลิตมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย โดยที่ภาคตะวันออกเพิ่มจากร้อยละ 15.3 เป็น 15.6 ในปี 2547 และภาคกลางเพิ่มจากร้อยละ 8.8 เป็น 9.2 เนื่องจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมของทั้งสองภาค ส่วนภาคอื่นๆ มีระดับลดลงเล็กน้อยในขณะที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลร้อยละ 43.9 ของจีดีพีใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา
สำหรับผลิตภัณฑ์ภาคต่อหัวหรือรายได้เฉลี่ยของภาค (Per Capita GRP) ในปี 2547 ยังคงมีระดับความแตกต่างสูงมากระหว่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑลซึ่งมีค่าเฉลี่ยต่อหัวสูงสุดคือ 259,661 บาทต่อปี กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นภาคที่มีค่าต่ำสุดคือ 32,083 บาทต่อปี หรือแตกต่างกัน 8.1 เท่า ลดลงจากปีที่แล้วเพียงเล็กน้อย ในขณะที่อัตราเพิ่มของค่าเฉลี่ยต่อหัวสูงสุดในปีนี้มาจากภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก ภาคเหนือ และกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในอัตราร้อยละ 15.3, 12.5, 11.1, 9.2, 8.7, 8.3 และ 3.5 ตามลำดับ โดยมีสาเหตุจากรายได้ภาคเกษตรที่ยังคงดีเนื่องจากระดับราคาผลผลิตเกษตรสูงขึ้นแม้ว่าปริมาณการผลิตจะลดลงก็ตาม ประกอบกับรายได้นอกภาคเกษตรในสาขาต่าง ๆ ปรับตัวสูงขึ้นทุกภาคด้วย
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า ในส่วนผลิตภัณฑ์จังหวัดต่อหัวหรือรายได้เฉลี่ยต่อประชากร (Per Capita GPP) ของจังหวัดที่มีค่าเฉลี่ยต่อหัวสูงสุดยังคงเป็นจังหวัดระยองคือที่ 723,823 บาทต่อปี ในขณะที่จังหวัดหนองบัวลำภู มีค่าต่ำสุดที่ 16,737 บาทต่อปี โดยมีความแตกต่างกันถึง 43.2 เท่า
นอกจากนี้ จังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวอยู่ในกลุ่มลำดับสูงสุดในปี 2547 มีหลายจังหวัดที่ยกระดับสูงขึ้นอีก อาทิ พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ ปทุมธานี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ในขณะที่กลุ่มจังหวัดที่อยู่ในลำดับต่ำสุดยังคงเป็นกลุ่มจังหวัดเดิม คือ หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และจังหวัดอื่น ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งนี้ เนื่องจากจังหวัดเหล่านี้แม้จะเพิ่มขึ้นบ้างก็ตาม แต่เนื่องจากภาคการผลิตมีขนาดเล็กและสร้างรายได้ให้กับจังหวัดไม่มากนัก ประกอบกับจำนวนประชากรสูงขึ้นทุกปี จึงทำให้ค่าเฉลี่ยต่อหัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้ากว่าจังหวัดอื่น ๆ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-