1. ภาพรวมเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 2 ปี 2544ภาวะเศรษฐกิจวัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP ในไตรมาส 2/2544 อยู่ในภาวะทรงตัวโดยขยายตัวจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 1.9 สูงกว่าร้อยละ 1.8 ในไตรมาส 1/2544 เล็กน้อย และหากปรับด้วยดัชนีฤดูกาลแล้ว GDP ในไตรมาสที่ 2/2544 ขยายตัวจากไตรมาสแรกร้อยละ 0.9 ผลทำให้เศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกขยายตัวได้ร้อยละ 1.9 ต่ำกว่าร้อยละ 5.8 ในปีที่แล้ว การขยายตัวของ GDP ในไตรมาสที่ 2 มาจากปัจจัยภายในที่สำคัญคือ การใช้จ่ายของครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 และการลงทุนขยายตัวร้อยละ 5.3 ประกอบกับปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการที่หดตัวลงมากร้อยละ 6.9 ส่งผลให้การผลิตในประเทศบางส่วนขยายตัวตอบสนองความต้องการอุปโภคและลงทุนได้ อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่มีผลทำให้ GDP ขยายตัวไม่สูงนักที่สำคัญคือรายรับจากการส่งออกสินค้าและบริการในราคาปีฐานลดลงร้อยละ 1.4 ขณะที่การใช้จ่ายของรัฐบาลในราคาปีฐานเช่นกันลดลงร้อยละ 0.3ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 สูงกว่าร้อยละ 2.7 ในไตรมาสที่แล้ว เทียบกับดัชนีราคาผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 และดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มร้อยละ 4.2 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในไตรมาสนี้มีมูลค่า 1,249.8 พันล้านบาท เมื่อหักด้วยผลตอบแทนจากปัจจัยการผลิตสุทธิจ่ายออกไปต่างประเทศจำนวน 13.2 พันล้านบาทแล้ว คงเหลือเป็นผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Product; GNP) เท่ากับ 1,236.6 พันล้านบาท มูลค่าที่แท้จริงเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6
2. ด้านการผลิต
2.1 ภาคเกษตร ขยายตัวร้อยละ 2.0 ปรับตัวดีกว่าไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 โดยเป็นผลมาจากหมวดพืชผลที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะ ยางพารา ถั่วเหลือง และผลไม้ และปศุสัตว์ คือ ไก่เนื้อ
2.2 ภาคนอกเกษตร ขยายตัวร้อยละ 1.9 เทียบกับร้อยละ 1.8 ในไตรมาสที่แล้ว สาขาการผลิตที่ขยายตัว
สาขาคมนาคมและขนส่ง ขยายตัวร้อยละ 4.4 สูงกว่าร้อยละ 3.6 ในไตรมาสแรก เนื่องจากรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เพิ่มขึ้น
สาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 1.5 เท่ากับไตรมาสแรก โดยแยกเป็นอุตสาหกรรมเบาขยายตัวร้อยละ 3.2 อุตสาหกรรมผลิตวัตถุดิบและสินค้ากึ่งสำเร็จรูปขยายตัวร้อยละ 7.6 และอุตสาหกรรมทุนและเทคโนโลยีลดลงร้อยละ 5.6
สาขาการเงินเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ดีกว่าไตรมาสที่แล้วเล็กน้อย เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีรายรับดีขึ้น
สาขาบริการ มีบางรายการที่ขยายตัวเช่น บริการสาธารณสุข บริการสังคมและส่วนบุคคล เป็นต้นสาขาการผลิตที่ชะลอตัว
สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ชะลอตัวลงเล็กน้อยโดยมีอัตราขยายตัวร้อยละ 4.7 เทียบกับร้อยละ 4.9 ในไตรมาสแรก เป็นการชะลอลงตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งในไตรมาสที่ 2 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 ต่ำกว่าอัตราเพิ่มร้อยละ 8.0 ของไตรมาสแรก อย่างไรก็ดียังนับว่าเป็นอัตราเพิ่มที่สูง เนื่องจากผลจากการดำเนินมาตรการตลาดท่องเที่ยวเชิงรุกของรัฐบาล
สาขาไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ 5.5 เทียบกับร้อยละ 6.0 ในไตรมาสที่แล้ว
สาขาการค้าส่งและค้าปลีก ขยายตัวร้อยละ 2.2 ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวมและการค้าสินค้านำเข้าสาขาการผลิตที่หดตัว
สาขาการก่อสร้าง ซึ่งยังคงเป็นสาขาการผลิตเดียวที่หดตัวลดลงต่อเนื่อง โดยไตรมาสที่ 2 หดตัวร้อยละ 10.9 ซึ่งหดตัวมากกว่าอัตราหดตัวร้อยละ 5.5 ในไตรมาสแรก
3. ด้านการใช้จ่าย
3.1 รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 3.5 สูงกว่าร้อยละ 3.3 ในไตรมาสที่แล้ว โดยมีผลมาจากรายได้ รวมทั้งการขึ้นเงินเดือนของภาครัฐและอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำ การใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายด้านขนส่งและสื่อสาร โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านโทรศัพท์ซึ่งมีการลดราคาเพื่อทำยอดขาย และรายจ่ายซื้อยานพาหนะประเภทรถยนต์และจักรยานยนต์ ซึ่งมีรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด ส่วนค่าใช้จ่าย ประเภทอาหารและของใช้อื่นโดยเฉลี่ยแล้วมีแนวโน้มทรงตัว ยกเว้นบางรายการที่ครัวเรือนใช้จ่ายลดลง เช่น การอุปโภคเนื้อสัตว์ ปลาและสัตว์น้ำ และเสื้อผ้า
3.2 รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล มีมูลค่าตามราคาประจำปี 145,565 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เนื่องจากมีการขึ้นเงินเดือนราชการ ส่วนมูลค่าที่แท้จริงลดลงร้อยละ 0.3 ประกอบด้วยเงินเดือนและค่าจ้างชะลอลงโดยขยายตัวร้อยละ 0.2 ขณะที่ค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 1.3 สาเหตุสำคัญเป็นเพราะนโยบายปรับลดจำนวนข้าราชการตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านบุคคลของรัฐลดลงและการใช้จ่ายจากเงินกู้ลดลงรวมทั้งเงินกู้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่เริ่มอยู่ในระยะสุดท้าย3.3 การลงทุน ขยายตัวร้อยละ 5.3 เทียบกับอัตราหดตัวร้อยละ 5.8 ในไตรมาสแรก โดยการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลง และภาครัฐขยายตัวเพิ่มขึ้น
การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 4.8 ต่ำกว่าร้อยละ 8.9 ในไตรมาสแรก ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นในสิ่งปลูกสร้างและที่อยู่อาศัย ขณะที่การลงทุนด้านเครื่องจักรเครื่องมือลดลง
การลงทุนภาครัฐบาล ขยายตัวร้อยละ 6.3 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว การลงทุนก่อสร้างลดลง แต่การซื้อเครื่องจักรเครื่องมือและอุปกรณ์ยานพาหนะเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะมีการนำเข้าเครื่องบินโดยสารและอุปกรณ์จำนวน 2 ลำ ซึ่งหากไม่รวมเครื่องบินและอุปกรณ์ดังกล่าวแล้วการลงทุนของภาครัฐลดลงร้อยละ 10.9
4. ด้านต่างประเทศ
4.1 รายรับจากการส่งออกสินค้า มีมูลค่า 709,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 เทียบเป็นเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. เท่ากับ 15,635 ล้านเหรียญ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.6 และเมื่อวัดมูลค่าการส่งออกในราคาคงที่ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือปริมาณส่งออกแล้ว ลดลงร้อยละ 1.6 ดีกว่าไตรมาสแรกที่ลดลงร้อยละ 3.5
4.2 รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้านำเข้า มีมูลค่า 690,834 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 หรือเท่ากับ 15,233 ล้านเหรียญ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 แสดงให้เห็นว่าผู้นำเข้าต้องรับภาระจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง ในขณะที่ผู้ส่งออกได้รับประโยชน์ดีขึ้น อย่างไรก็ดีมูลค่าการนำเข้าสินค้าในราคาคงที่ลดลงร้อยละ 10.0 หรือปริมาณนำเข้า ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นกว่าไตรมาสแรกที่อัตราการหดตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.94.3 ดุลการค้าและบริการ เกินดุล 52.6 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับรายได้จากต่างประเทศสุทธิและเงินโอนสุทธิซึ่งรวมแล้วขาดดุลเท่ากับ 6.3 พันล้านบาทแล้ว ดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาสนี้เกินดุลเท่ากับ 46.3 พันล้านบาทหรือร้อยละ 3.7 ต่อ GDP เทียบกับร้อยละ 4.7 ในไตรมาสที่แล้ว
--สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-
2. ด้านการผลิต
2.1 ภาคเกษตร ขยายตัวร้อยละ 2.0 ปรับตัวดีกว่าไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 โดยเป็นผลมาจากหมวดพืชผลที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะ ยางพารา ถั่วเหลือง และผลไม้ และปศุสัตว์ คือ ไก่เนื้อ
2.2 ภาคนอกเกษตร ขยายตัวร้อยละ 1.9 เทียบกับร้อยละ 1.8 ในไตรมาสที่แล้ว สาขาการผลิตที่ขยายตัว
สาขาคมนาคมและขนส่ง ขยายตัวร้อยละ 4.4 สูงกว่าร้อยละ 3.6 ในไตรมาสแรก เนื่องจากรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เพิ่มขึ้น
สาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 1.5 เท่ากับไตรมาสแรก โดยแยกเป็นอุตสาหกรรมเบาขยายตัวร้อยละ 3.2 อุตสาหกรรมผลิตวัตถุดิบและสินค้ากึ่งสำเร็จรูปขยายตัวร้อยละ 7.6 และอุตสาหกรรมทุนและเทคโนโลยีลดลงร้อยละ 5.6
สาขาการเงินเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ดีกว่าไตรมาสที่แล้วเล็กน้อย เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีรายรับดีขึ้น
สาขาบริการ มีบางรายการที่ขยายตัวเช่น บริการสาธารณสุข บริการสังคมและส่วนบุคคล เป็นต้นสาขาการผลิตที่ชะลอตัว
สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ชะลอตัวลงเล็กน้อยโดยมีอัตราขยายตัวร้อยละ 4.7 เทียบกับร้อยละ 4.9 ในไตรมาสแรก เป็นการชะลอลงตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งในไตรมาสที่ 2 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 ต่ำกว่าอัตราเพิ่มร้อยละ 8.0 ของไตรมาสแรก อย่างไรก็ดียังนับว่าเป็นอัตราเพิ่มที่สูง เนื่องจากผลจากการดำเนินมาตรการตลาดท่องเที่ยวเชิงรุกของรัฐบาล
สาขาไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ 5.5 เทียบกับร้อยละ 6.0 ในไตรมาสที่แล้ว
สาขาการค้าส่งและค้าปลีก ขยายตัวร้อยละ 2.2 ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวมและการค้าสินค้านำเข้าสาขาการผลิตที่หดตัว
สาขาการก่อสร้าง ซึ่งยังคงเป็นสาขาการผลิตเดียวที่หดตัวลดลงต่อเนื่อง โดยไตรมาสที่ 2 หดตัวร้อยละ 10.9 ซึ่งหดตัวมากกว่าอัตราหดตัวร้อยละ 5.5 ในไตรมาสแรก
3. ด้านการใช้จ่าย
3.1 รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 3.5 สูงกว่าร้อยละ 3.3 ในไตรมาสที่แล้ว โดยมีผลมาจากรายได้ รวมทั้งการขึ้นเงินเดือนของภาครัฐและอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำ การใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายด้านขนส่งและสื่อสาร โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านโทรศัพท์ซึ่งมีการลดราคาเพื่อทำยอดขาย และรายจ่ายซื้อยานพาหนะประเภทรถยนต์และจักรยานยนต์ ซึ่งมีรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด ส่วนค่าใช้จ่าย ประเภทอาหารและของใช้อื่นโดยเฉลี่ยแล้วมีแนวโน้มทรงตัว ยกเว้นบางรายการที่ครัวเรือนใช้จ่ายลดลง เช่น การอุปโภคเนื้อสัตว์ ปลาและสัตว์น้ำ และเสื้อผ้า
3.2 รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล มีมูลค่าตามราคาประจำปี 145,565 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เนื่องจากมีการขึ้นเงินเดือนราชการ ส่วนมูลค่าที่แท้จริงลดลงร้อยละ 0.3 ประกอบด้วยเงินเดือนและค่าจ้างชะลอลงโดยขยายตัวร้อยละ 0.2 ขณะที่ค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 1.3 สาเหตุสำคัญเป็นเพราะนโยบายปรับลดจำนวนข้าราชการตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านบุคคลของรัฐลดลงและการใช้จ่ายจากเงินกู้ลดลงรวมทั้งเงินกู้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่เริ่มอยู่ในระยะสุดท้าย3.3 การลงทุน ขยายตัวร้อยละ 5.3 เทียบกับอัตราหดตัวร้อยละ 5.8 ในไตรมาสแรก โดยการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลง และภาครัฐขยายตัวเพิ่มขึ้น
การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 4.8 ต่ำกว่าร้อยละ 8.9 ในไตรมาสแรก ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นในสิ่งปลูกสร้างและที่อยู่อาศัย ขณะที่การลงทุนด้านเครื่องจักรเครื่องมือลดลง
การลงทุนภาครัฐบาล ขยายตัวร้อยละ 6.3 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว การลงทุนก่อสร้างลดลง แต่การซื้อเครื่องจักรเครื่องมือและอุปกรณ์ยานพาหนะเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะมีการนำเข้าเครื่องบินโดยสารและอุปกรณ์จำนวน 2 ลำ ซึ่งหากไม่รวมเครื่องบินและอุปกรณ์ดังกล่าวแล้วการลงทุนของภาครัฐลดลงร้อยละ 10.9
4. ด้านต่างประเทศ
4.1 รายรับจากการส่งออกสินค้า มีมูลค่า 709,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 เทียบเป็นเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. เท่ากับ 15,635 ล้านเหรียญ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.6 และเมื่อวัดมูลค่าการส่งออกในราคาคงที่ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือปริมาณส่งออกแล้ว ลดลงร้อยละ 1.6 ดีกว่าไตรมาสแรกที่ลดลงร้อยละ 3.5
4.2 รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้านำเข้า มีมูลค่า 690,834 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 หรือเท่ากับ 15,233 ล้านเหรียญ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 แสดงให้เห็นว่าผู้นำเข้าต้องรับภาระจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง ในขณะที่ผู้ส่งออกได้รับประโยชน์ดีขึ้น อย่างไรก็ดีมูลค่าการนำเข้าสินค้าในราคาคงที่ลดลงร้อยละ 10.0 หรือปริมาณนำเข้า ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นกว่าไตรมาสแรกที่อัตราการหดตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.94.3 ดุลการค้าและบริการ เกินดุล 52.6 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับรายได้จากต่างประเทศสุทธิและเงินโอนสุทธิซึ่งรวมแล้วขาดดุลเท่ากับ 6.3 พันล้านบาทแล้ว ดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาสนี้เกินดุลเท่ากับ 46.3 พันล้านบาทหรือร้อยละ 3.7 ต่อ GDP เทียบกับร้อยละ 4.7 ในไตรมาสที่แล้ว
--สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-