เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2543 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย เป็นประธานในการประชุมคณะหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวง ครั้งที่ 3/2543 ณ ห้องประชุมเดช สนิทวงศ์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวต่อที่ประชุมสรุปได้ว่าขอฝากประเด็นสำคัญต่อ สศช.ในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 โดยขอให้ สศช.พิจารณาจากสภาพความเป็นจริงให้มากที่สุดเพื่อว่าแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 จะสามารถนำไปปฎิบัติได้จริงนอกจากนั้น การรับฟังความคิดเห็นทั่วไปจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแต่ต้องพิจารณาว่าความเห็นนั้นมาจากกลุ่มตัวแทนของคนส่วนใหญ่จริง ๆ รวมทั้งในเรื่องของคุณภาพสังคม ฯพณฯนายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า คนในสังคมต้องเป็น "คนที่มีความรับผิดชอบ" ถ้าเก่งแต่เพียงอย่างเดียวแต่ไม่มีความรับผิดชอบจะเกิดปัญหาขึ้น
ในโอกาศนี้ นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้บรรยายสรุปถึงบทบาทภารกิจและความก้าวหน้าในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 โดยสรุปว่า ขณะนี้สำนักงานฯ ได้มุ่งเน้นความแข็งแกร่งทางด้านวิชาการและการพัฒนาระบบข้อมูลในภาพรวมทั้งทางด้านวิชาการและการพัฒนาระบบข้อมูลในภาพรวมทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีความรวดเร็วและคุณภาพสูง ตลอดจนขีดความสามารถในการวิเคราะห์แผนงานและโครงการในการพัฒนาและติดตามผลการเผยแพร่การพัฒนา
สำหรับผลการสัมมนาระดมความคิดเห็นเรื่อง "วิสัยทัศน์และแนวทางการพัฒนาของประชาชนในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) ระดับอนุภาค" ซึ่งสำนักงานฯ ได้ดำเนินการระหว่างวันที่ 6-19 มีนาคม ที่ผ่านมาจำนวน 10 แห่ง ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภูเก็ต เพชรบุรี ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี เชียงใหม่ ปัตตานี ชลบุรี นครราชสีมา และพิษณุโลกนั้น เลขาธิการ สศช. กล่าวว่า สำนักงานฯ ได้ผลการประชุมในระดับจังหวัดมาระดมความคิดต่อเนื่องในระดับอนุภาคโดยมีผู้เข้าร่วมประชุมเป็นผู้แทนจากเวทีระดับจังหวัด ๆ 8 คน และผู้ร่วมประชุมพหุภาคีประกอบด้วย ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน เกษตรกร พระสงฆ์ องค์กรเอกชน ซึ่งบรรยายโดยรวมของการประชุมในทุกอนุภาคนั้นมีผู้เข้าร่วมประชุมอย่างคับคั่งและต่างมีความกระตืนรือร้นสูงในการแสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย
สำหรับผลการระดมความคิดเห็นระดับอนุภาคทั้ง 9 อนุภาคนี้ มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ต้องการพัฒนาสังคมไทยไปสู่สังคมที่ดีงาม 3 ประการ คือ
1. พัฒนาสู่ "สังคมคุณภาพ" โดยสร้างคนดีมีคุณธรรมคนเก่งที่สามารถพึ่งตนเองและปรับตัวทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยการจัดบริการสาธารณะที่มีคุณภาพและความพร้อมของทุนที่มีอยู่ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
2. การพัฒนาสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ โดยพัฒนาคนให้คิดเป็นทำเป็น ภายใต้ "กระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต" ทั้งด้านวิชาการสมัยใหม่ ควบคู่กับการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมศาสนา และภูมิปัญญาท้องถิ่น
3. การพัฒนาสู่สังคมสมานฉันท์ เอื้ออาทรต่อกัน โดยดำรงรักษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทย ความมีไมตรี เมตตา และเอื้ออาทรช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะกลุ่มด้อยโอกาสในสังคม และสร้างชุมชนให้เข้มแข็งพึ่งตนเองได้
เลขาธิการ สศช. กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมยังได้ให้ข้อคิดเห็นในการแปลงแผนไปสู่การปฎิบัติและการติดตามการประเมินผลว่าควรปรับระบบงบประมาณของประเทศจากการเน้นการใช้ทรัพยากรมาเป็นระบบงบประมาณ ที่เน้นผลผลิตและผลลัพธ์พร้อมทั้งให้มีการจัดสรรทรัพยากรโดยตรงให้ชุมชนบริหารจัดการด้านการเงิน การคลัง และการบริหารบุคคลากรจากส่วนกลางไปสู่ภูมิภาค ตลอดจนสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมโดยสนับสนุนให้ทุกฝ่าย โดยเฉพาะภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมโดยสนับสนุนให้ทุกฝ่าย โดยเฉพาะภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฎิบัติการทุกระดับได้แก่ ระดับชุมชน ระดับอำเภอและระดับจังหวัด ภายใต้กรอบวิสัยทัศน์และแนวทางการพัฒนาจากการระดมความคิดระดับจังหวัด ภายใต้กรอบวิสัยทัศน์และแนวทางการพัฒนาจากการระดมความคิดระดับจังหวัดและอนุภาค โดยในส่วนของการติดตามและประเมินผลนั้นให้ใช้กลไกการติดตามประเมินผลที่ดำเนินการโดยภาครัฐและภาคประชาสังคม และสร้างดัชนีชี้วัดโดยให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินการ
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กล่าวในที่สุดว่า ผลจากการระดมความคิดเห็นนี้ได้ก่อให้เกิดปัจจัยที่นำไปสู่การดำเนินการอย่างต่อเนื่อง คือประชาชนทุกภาคส่วนมีความกล้าในการแสดงออกสูงสะท้อนความต้องการแท้จริงของตนเอง กระบวนการมีส่วนร่วมในการระดมความคิดเห็นครั้งนี้ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเกิดความชัดเจนของการก่อรูปประชาสังคม ทั้งระดับชุมชนและภูมิภาค รวมทั้งเกิดพลังขับเคลื่อนต่อเนื่องของบทบาทภาคประชาชน มีความต้องการในการทำแผนระดับชุมชน ระดับอำเภอและจังหวัดด้วยตนเองเพื่อแปลงไปสู่การปฎิบัติ ภานใต้กรอบวิสัยทัศน์ที่ได้รับการระดมความคิดในเวทีจังหวัดและอนุภาครวมทั้งความต้องใด มีส่วนร่วมในการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนฯ ด้วย
-ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 4/เมษายน 2543--
-สส-
ในโอกาศนี้ นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้บรรยายสรุปถึงบทบาทภารกิจและความก้าวหน้าในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 โดยสรุปว่า ขณะนี้สำนักงานฯ ได้มุ่งเน้นความแข็งแกร่งทางด้านวิชาการและการพัฒนาระบบข้อมูลในภาพรวมทั้งทางด้านวิชาการและการพัฒนาระบบข้อมูลในภาพรวมทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีความรวดเร็วและคุณภาพสูง ตลอดจนขีดความสามารถในการวิเคราะห์แผนงานและโครงการในการพัฒนาและติดตามผลการเผยแพร่การพัฒนา
สำหรับผลการสัมมนาระดมความคิดเห็นเรื่อง "วิสัยทัศน์และแนวทางการพัฒนาของประชาชนในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) ระดับอนุภาค" ซึ่งสำนักงานฯ ได้ดำเนินการระหว่างวันที่ 6-19 มีนาคม ที่ผ่านมาจำนวน 10 แห่ง ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ภูเก็ต เพชรบุรี ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี เชียงใหม่ ปัตตานี ชลบุรี นครราชสีมา และพิษณุโลกนั้น เลขาธิการ สศช. กล่าวว่า สำนักงานฯ ได้ผลการประชุมในระดับจังหวัดมาระดมความคิดต่อเนื่องในระดับอนุภาคโดยมีผู้เข้าร่วมประชุมเป็นผู้แทนจากเวทีระดับจังหวัด ๆ 8 คน และผู้ร่วมประชุมพหุภาคีประกอบด้วย ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน เกษตรกร พระสงฆ์ องค์กรเอกชน ซึ่งบรรยายโดยรวมของการประชุมในทุกอนุภาคนั้นมีผู้เข้าร่วมประชุมอย่างคับคั่งและต่างมีความกระตืนรือร้นสูงในการแสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลาย
สำหรับผลการระดมความคิดเห็นระดับอนุภาคทั้ง 9 อนุภาคนี้ มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ ต้องการพัฒนาสังคมไทยไปสู่สังคมที่ดีงาม 3 ประการ คือ
1. พัฒนาสู่ "สังคมคุณภาพ" โดยสร้างคนดีมีคุณธรรมคนเก่งที่สามารถพึ่งตนเองและปรับตัวทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยการจัดบริการสาธารณะที่มีคุณภาพและความพร้อมของทุนที่มีอยู่ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น
2. การพัฒนาสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ โดยพัฒนาคนให้คิดเป็นทำเป็น ภายใต้ "กระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต" ทั้งด้านวิชาการสมัยใหม่ ควบคู่กับการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมศาสนา และภูมิปัญญาท้องถิ่น
3. การพัฒนาสู่สังคมสมานฉันท์ เอื้ออาทรต่อกัน โดยดำรงรักษาเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทย ความมีไมตรี เมตตา และเอื้ออาทรช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะกลุ่มด้อยโอกาสในสังคม และสร้างชุมชนให้เข้มแข็งพึ่งตนเองได้
เลขาธิการ สศช. กล่าวต่อไปว่า ที่ประชุมยังได้ให้ข้อคิดเห็นในการแปลงแผนไปสู่การปฎิบัติและการติดตามการประเมินผลว่าควรปรับระบบงบประมาณของประเทศจากการเน้นการใช้ทรัพยากรมาเป็นระบบงบประมาณ ที่เน้นผลผลิตและผลลัพธ์พร้อมทั้งให้มีการจัดสรรทรัพยากรโดยตรงให้ชุมชนบริหารจัดการด้านการเงิน การคลัง และการบริหารบุคคลากรจากส่วนกลางไปสู่ภูมิภาค ตลอดจนสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมโดยสนับสนุนให้ทุกฝ่าย โดยเฉพาะภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมโดยสนับสนุนให้ทุกฝ่าย โดยเฉพาะภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฎิบัติการทุกระดับได้แก่ ระดับชุมชน ระดับอำเภอและระดับจังหวัด ภายใต้กรอบวิสัยทัศน์และแนวทางการพัฒนาจากการระดมความคิดระดับจังหวัด ภายใต้กรอบวิสัยทัศน์และแนวทางการพัฒนาจากการระดมความคิดระดับจังหวัดและอนุภาค โดยในส่วนของการติดตามและประเมินผลนั้นให้ใช้กลไกการติดตามประเมินผลที่ดำเนินการโดยภาครัฐและภาคประชาสังคม และสร้างดัชนีชี้วัดโดยให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินการ
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กล่าวในที่สุดว่า ผลจากการระดมความคิดเห็นนี้ได้ก่อให้เกิดปัจจัยที่นำไปสู่การดำเนินการอย่างต่อเนื่อง คือประชาชนทุกภาคส่วนมีความกล้าในการแสดงออกสูงสะท้อนความต้องการแท้จริงของตนเอง กระบวนการมีส่วนร่วมในการระดมความคิดเห็นครั้งนี้ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเกิดความชัดเจนของการก่อรูปประชาสังคม ทั้งระดับชุมชนและภูมิภาค รวมทั้งเกิดพลังขับเคลื่อนต่อเนื่องของบทบาทภาคประชาชน มีความต้องการในการทำแผนระดับชุมชน ระดับอำเภอและจังหวัดด้วยตนเองเพื่อแปลงไปสู่การปฎิบัติ ภานใต้กรอบวิสัยทัศน์ที่ได้รับการระดมความคิดในเวทีจังหวัดและอนุภาครวมทั้งความต้องใด มีส่วนร่วมในการประเมินผลการดำเนินงานตามแผนฯ ด้วย
-ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 4/เมษายน 2543--
-สส-