แนวโน้มทางเศรษฐกิจมหภาคและความสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบสร้างมูลค่า
แม้ว่าระบบเศรษฐกิจตลาดและธุรกรรมระหว่างประเทศจะขยายตัวตามกระแสโลกาภิวัตน์ แต่ ระบบเศรษฐกิจโลกกลับเติบโตอย่างช้าๆ (The Great Moderation) ความผันผวนทางเศรษฐกิจลดลง ขณะที่ ภาวะระดับราคาสินค้าตกต่ำ (Disinflation) จากการแข่งขันของสินค้านำเข้าราคาถูกจากต่างประเทศ ทำให้เกิดสงครามราคา และการลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงานโดยการปรับลดกำลังแรงงาน เกิดปรากฏการณ์ ขาดความเชื่อมโยงระหว่างการจ้างงานและขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Economic Recovery without recovery in employment) กล่าวได้ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจในระดับจุลภาคส่ง ผลกระทบต่อปรากฏการณ์ในระดับมหภาค แนวโน้มของภาวะระดับราคาตกต่ำ และการขาดความเชื่อมโยง ระหว่างวัฏจักรธุรกิจและการจ้างงาน เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของผลิตภาพ (Productivity Increase) และ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ (The Progress of Information Technology) ในช่วงทศวรรษ 1990 ผลิตภาพการผลิตรวม (Total Factor Productivity: TFP) ของประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) จากการลงทุนทางด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ ทุนมนุษย์ (Human Capital) จากการพัฒนาทักษะและการศึกษาของกำลังแรงงาน และ ทุน ทางองค์การ (Organizational Capital) จากการกระจายอำนาจตัดสินใจขององค์กร
นอกจากภาวะเศรษฐกิจเติบโตอย่างช้าๆ และภาวะระดับราคาตกต่ำ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่พบ ทั่วไปในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ยังมีความไม่สมดุลในภาคการใช้จ่ายด้วย ภาวะความผันผวนของราคา สินทรัพย์ (Asset Price Fluctuation) ได้สั่นคลอนวิกฤตการณ์ในระบบธนาคารและสถาบันการเงิน (Banking Crises) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ภาวะการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและการขาดดุลการคลังที่ เรียกว่าภาวะการขาดดุลแฝด (Twin Deficit) สร้างความวิตกกังวลต่อความยั่งยืนของเศรษฐกิจ สหรัฐอเมริกา ขณะที่ในประเทศจีน แม้ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวซึ่งเป็นผลจากการขยายการลงทุนใน สินทรัพย์ถาวร แต่นำไปสู่ความเสี่ยงของภาวะความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ (Economic Overheating) จาก การผลิตล้นเกิน การตัดราคาและการเพิ่มขึ้นของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ปรากฏการณ์ดังกล่าวส่งผล กระทบต่อความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของประเทศจีนทั้งยังเป็นความเสี่ยงต่อประเทศในภูมิภาคเอเชียที่มี ความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจจีนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น เพื่อความยั่งยืนทางเศรษฐกิจแต่ละประเทศควรหลีกเลี่ยง จากภาวะความเสี่ยงดังกล่าวและสร้างระบบเศรษฐกิจที่ยืดหยุ่น (Resilient Economic Structure) สามารถ เผชิญกับภาวะการแข่งขันสูงและแบ่งปันผลจากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกได้
( * สำนักบัญชีประชาชาติ, 30 พฤศจิกายน 2547, สรุปจากบทความเรื่อง White Paper on International Trade 2004--Toward a "New Value Creation Economy" โดย Keita Nishiyama ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและวิเคราะห์ สำนักโยบายการค้า กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารรายสองเดือน Japan Spotlight ฉบับเดือน กรกฎาคม-สิงหาคม 2004 หน้า 6-19 )
ปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจมหภาคดังกล่าวข้างต้นอาจเป็นผลจากการดำเนินงานของภาคธุรกิจและ ปัจจัยทางเศรษฐกิจในระดับจุลภาค มีความเป็นไปได้อย่างมากว่า ภาวะระดับราคาตกต่ำ (Disinflation) เป็นผลจากความไม่สอดคล้องระหว่างความต้องการของนายจ้างและผู้หางานทำ นอกจากนี้ยังเป็นผลจาก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีรวมถึงการเพิ่มผลิตภาพที่ถูกทำให้แข็งแกร่งด้วยศักยภาพในการสร้างมูลค่า (Value Creation Capacity) รวมถึงทุนมนุษย์ และการปฏิรูปองค์กร การแก้ปัญหาดังกล่าวต้องใช้นโยบาย ทางเศรษฐกิจในระดับจุลภาค อย่างไรก็ตาม แม้ปัญหาจะเกิดจากการแข่งขัน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้อง กำจัดหรือควบคุมการแข่งขัน แต่ควรสนับสนุนวิวัฒนาการการแข่งขันที่ก้าวหน้า
แนวคิดเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจแบบสร้างมูลค่า
ระบบเศรษฐกิจแบบสร้างมูลค่า (New Value Creation Economy) เป็นระบบเศรษฐกิจที่ใช้ สินทรัพย์ทางปัญญา (Intellectual Asset) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยอาศัยความแตกต่างซึ่งเป็นคุณลักษณะ ที่โดดเด่น และถือเป็นความได้เปรียบเชิงแข่งขัน คุณลักษณะที่แฝงอยู่นี้ (Tacit Characteristic) แม้จะมี มูลค่าเพิ่มสูง แต่เป็นสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ จึงวัดเป็นปริมาณหรือประเมินมูลค่าทางการเงินได้ยาก มี สภาพคล่องต่ำ สินทรัพย์ทางปัญญาดังกล่าวประกอบด้วย ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) ทุน มนุษย์ (Human Capital) และ ทุนทางองค์การ (Organizational Capital)
การพัฒนาเศรษฐกิจโดยระบบเศรษฐกิจแบบสร้างมูลค่า (New Value Creation Economy) เป็น รูปแบบการแข่งขันโดยใช้สินทรัพย์ทางปัญญาอย่างบูรณาการใน 3 ระดับ คือ (1) การแข่งขันในระดับ องค์กรธุรกิจ โดยสร้างมูลค่าจากการใช้สินทรัพย์ทางปัญญา (Modality of Corporate Competition: Value Creation Utilizing Intellectual Assets) ซึ่งต่างจากการแข่งขันที่มุ่งเน้นราคาแบบดั้งเดิม (2) การแข่งขันในระดับเศรษฐกิจชุมชน (Modality of Competition among Local Economies: Self Diagnosis Make Local Economies Autonomous) ซึ่งมุ่งสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนเป็นสินทรัพย์ในการแข่งขัน และ (3) การแข่งขันในระดับแรงงานปัจเจกบุคคล (Modality of Labor Market Competition: Human Capital Investment keyed to Skill Standard) ซึ่งมุ่งสร้างทักษะมาตรฐานที่สอดรับกับความต้องการของภาคธุรกิจและชุมชน
ระบบเศรษฐกิจแบบสร้างมูลค่า : การแข่งขันทางเศรษฐกิจรูปแบบใหม่
เพื่อพื้นฟูความสามารถในการตั้งราคาและกำหนดกำไรในภาคธุรกิจ ภาคธุรกิจจำเป็นต้องสร้าง ความแตกต่างจากคู่แข่งโดยพัฒนาสินค้าและบริการที่มีเอกลักษณ์ การสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขันจาก สินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะจำเป็นต้องใช้สินทรัพย์ทางปัญญา การสร้างมูลค่าโดยใช้สินทรัพย์ทางปัญญาจึง เป็นแนวโน้มใหม่ของรูปแบบการแข่งขัน ทั้งในประเทศญี่ปุ่นและประเทศสหรัฐอเมริกา อัตราส่วนสินทรัพย์ ที่ไม่สามารถจับต้องได้ต่อสินทรัพย์ที่สามารถจับต้องได้ (Ratio of Intangible Asset to Tangible Asset) เพิ่มขึ้นในรอบหลายปีมานี้ ผู้ที่มีเพียงสินทรัพย์ทางปัญญา มีแนวคิด มีวิธีการ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่จับต้อง ไม่ได้ (Intangible Asset) แต่ขาดทุน หรือสินทรัพย์ที่จับต้องได้ (Tangible Asset) ก็สามารถเข้าสู่ภาค ธุรกิจได้ แนวโน้มการบริหารจัดการธุรกิจได้ปรับเปลี่ยนจากการจัดการสินทรัพย์ที่จับต้องได้ไปสู่สินทรัพย์ ที่จับต้องไม่ได้ สินทรัพย์ทางปัญญาจึงมีบทบาทอย่างสูงต่อภาคธุรกิจที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง ทำให้ต้อง แนะนำสินค้าและบริการใหม่เข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง
ความสนใจเกี่ยวกับสินทรัพย์ทางปัญญายังเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจไม่จำกัดเพียงภาคธุรกิจ แต่เป็นความสนใจในระดับนานาชาติ ทั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development : OECD) และ สหภาพยุโรป (Economic Union : EU) ต่างมีความเห็นว่า ระบบเศรษฐกิจกำลังปรับเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ จึงจำเป็นต้องหาวิธีการ ประเมินมูลค่าและการแสดงข้อมูลสินทรัพย์ทางปัญญาในฐานะสินทรัพย์และแสดงรายการในงบการเงิน ซึ่ง เรียกว่า การทำให้เป็นสินทรัพย์ (Assetization) อย่างไรก็ตามการวัดมูลค่าสินทรัพย์ทางปัญญาในเชิง ปริมาณยังคงมีข้อจำกัดอย่างมาก แม้การประเมินมูลค่าสินทรัพย์ทางปัญญาเป็นเรื่องยาก แต่ในแง่ของการ แข่งขัน สินทรัพย์ทางปัญญากลับมีบทบาทอย่างสำคัญในด้านที่ไม่เกี่ยวกับราคา โดยเฉพาะการสร้างมูลค่า จากคุณลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะขององค์กร การลงทุนในสินทรัพย์ทางปัญญายังเป็นการสร้างเสริม โอกาสในการสร้างมูลค่าของกิจการในอนาคต และถือเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ (Corporate Social Responsibility) ดังเช่น การลงทุนในทุนมนุษย์เพื่อสร้างเครือข่ายระบบลูกค้าสัมพันธ์ เป็นทั้งการลงทุนในสินทรัพย์ทางปัญญาและเป็นความรับผิดชอบต่อพนักงานและลูกค้า สินทรัพย์ทาง ปัญญายังรวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ ค่านิยมร่วม ขององค์กร เช่น ธรรมาภิบาล ที่มีส่วนช่วยสร้างผล ประกอบการที่ดีและเป็นความรับผิดชอบต่อสังคม
การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน
การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนโดยใช้อัตลักษณ์ของท้องถิ่นเป็นสิ่งสำคัญ กระแสโลกาภิวัตน์ก่อให้เกิด การแผ่ขยายของเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งจำเป็นต้องใช้จุดแข็งจากเอกลักษณ์ของชุมชนเพื่อสร้างชุมชนที่มีแรง ดึงดูด ในญี่ปุ่นภายหลังการล่มสลายของเศรษฐกิจฟองสบู่ในช่วงทศวรรษ 1990 การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน มุ่งเน้นการสร้างอัตลักษณ์ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน ต้อง อาศัยทั้งการวิเคราะห์กระแสหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจและการวิเคราะห์สินทรัพย์ที่มีอยู่ในท้องถิ่น การ วิเคราะห์กระแสหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ (Analysis of Local Economic Circulation) เป็นการ วิเคราะห์สถานภาพของชุมชน การไหลเวียนของสินค้า ผู้คน ปริมาณงาน รวมถึงข้อมูลข่าวสารภายในชุมชน และระหว่างชุมชน ขณะที่การวิเคราะห์สินทรัพย์ที่มีอยู่ในท้องถิ่น (Analysis of Local Area's Existing Assets) วิเคราะห์สินทรัพย์ของชุมชน การรวมกลุ่มของประชาคมหรือทุนทางสังคม ระดับการศึกษา สินทรัพย์ทางปัญญา และสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม การวิเคราะห์ดังกล่าวจะทำให้ชุมชนพัฒนาเศรษฐกิจของ ตัวเองได้อย่างยั่งยืน
การสร้างสินทรัพย์ทางปัญญาโดยปัจเจกบุคคล : การลงทุนในทุนมนุษย์และการพัฒนามาตรฐานทักษะ
การเปลี่ยนแปลงสภาวะการแข่งขัน โดยเฉพาะการขาดความเชื่อมโยงระหว่างการขยายตัวทาง เศรษฐกิจและการจ้างงาน ทำให้ทักษะและทัศนคติที่มีต่อแรงงานปัจเจกบุคคลเปลี่ยนแปลงไป การพัฒนา การศึกษาอบรมที่อยู่บนพื้นฐานของสภาพที่แท้จริงของแรงงานในท้องถิ่นกับความตัองการขององค์กรธุรกิจ จำเป็นต้องกำหนดทักษะมาตรฐาน (Skill Standard) เพื่อพัฒนาทักษะรองรับความต้องการในอนาคตและ รองรับการปรับโครงสร้างในตลาดแรงงาน การกำหนดทักษะมาตรฐานจะสร้างความเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจ พ้อมทั้งก่อให้เกิดการจ้างงาน สร้างทุนมนุษย์รองรับการลงทุนทางนวัตกรรมและการปฏิรูป องค์กร ก่อให้เกิดการลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์ที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ และสร้างทุนมนุษย์ที่ สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของท้องถิ่น
การเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบสร้างมูลค่าและความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย
การค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย (Intra-regional Trade) มีมูลค่าสูง ในปี 2002 มูลค่าการส่งออกระหว่างประเทศเทียบกับมูลค่าการนำเข้าระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียที่วัดโดย Trade Complementary Index สูงถึง 68.0 โดยเฉพาะหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 83.1 ชิ้นส่วน ของสินค้าเหล่านี้จะถูกผลิตภายในประเทศญี่ปุ่นและส่งไปประกอบในประเทศจีน ไทย อินโดนีเซีย ซึ่งอาจ เรียกว่า การค้าภายในอุตสาหกรรมตามแนวดิ่ง (Vertical Intra-industry Trade) ซึ่งเป็นการผลิตสินค้าใน สายผลิตภัณฑ์เดียวกัน โดยผลิตวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนในประเทศหนึ่งและส่งออกเพื่อนำไปประกอบหรือ ผลิตต่อในอีกประเทศหนึ่ง การค้าสินค้าในสายการผลิตภัณฑ์เดียวกันเช่นนี้ เป็นผลจากอุปสรรคทางการค้า ระหว่างประเทศในภูมิภาคที่ส่งเสริมการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศมากกว่าการนำเข้าสินค้าขั้นสุดท้ายจาก ต่างประเทศ ตลอดจนความแตกต่างทางรายได้และต้นทุนการผลิตในแต่ละประเทศ รวมถึงรสนิยมในการ บริโภคสินค้าที่ต่างกันในแต่ละประเทศ
ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (Economic Partnership Agreement: EPA) ระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะเขตการค้าเสรี ทำให้ภาคธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัวสู่ระบบ เศรษฐกิจสร้างมูลค่า ภาคธุรกิจจำเป็นต้องรักษาความได้เปรียบเชิงแข่งขัน โดยทุ่มเททรัพยากรเพื่อการ พัฒนาสมรรถนะหลัก (Core Competency) เช่น ประเทศญี่ปุ่นต้องทุ่มเททรัพยากรไปเพื่อการเป็นฐานการ วิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนามูลค่าเพิ่ม ขณะที่ประเทศอื่นเป็นฐานการผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ประเทศญี่ปุ่น จึงต้องรักษาสรรถนะทางนวัตกรรมเพื่อยังคงความสามารถเชิงแข่งขันไว้ต่อไป
ยุทธศาสตร์ระบบเศรษฐกิจสร้างมูลค่า: ระบบเศรษฐกิจคู่ขนานในประเทศไทย
นโยบายเศรษฐกิจคู่ขนาน (Dual-Track Policy) ในบริบทของยุทธศาสตร์การสร้างความ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นการแสวงหาความสมดุลระหว่างการสร้างอุปสงค์รวมภายในประเทศกับการ ส่งออกสินค้าที่มุ่งเจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) ซึ่งเป็นการก้าวพ้นจากการส่งออกสินค้าที่มุ่งเน้น ปริมาณ (Mass Production) ราคาต่ำ ซึ่งยากที่จะแข่งขันมากขึ้นเรื่อยๆ ใช้ประโยชน์จากสินค้าที่มีจุดแข็ง พัฒนาเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อสร้างความแตกต่าง ซึ่งต่างจากแบบจำลองการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค ยุโรป อเมริกาเหนือ หรือแบบจำลองรูปตัววี (V Formation Model) ที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ นโยบายเศรษฐกิจคู่ขนานยังแสวงหาการสร้างความยั่งยืนให้กับอุปสงค์รวมภายในประเทศ โดยอาศัยแรง หนุนจากเศรษฐกิจรากหญ้าที่มีลักษณะเฉพาะตัวและฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง สร้างความยืดหยุ่น รองรับผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ภายใต้แนวคิดดังกล่าวจำเป็นต้องแปลงสินทรัพย์ เป็นทุนเพื่อนำผู้ยากไร้เข้าสู่ตลาดทุน แต่ละชุมชนต้องวิเคราะห์กระแสไหลเวียนภายในชุมชนและระหว่าง ชุมชน เชื่อมโยงกับการวิเคราะห์สินทรัพย์ที่มีอยู่ของชุมชน การพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางนี้ จึงต้อง วิเคราะห์เศรษฐกิจภายในประเทศ กำหนดยุทธศาสตร์รายสาขา โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าเจาะตลาด เฉพาะกลุ่ม และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของชุมชน รองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงภายนอกประเทศ
ความเชื่อมโยงของเศรษฐกิจญี่ปุ่นต่อภูมิภาคเอเชีย ทำให้ญี่ปุ่นจำเป็นต้องเพิ่มความแข็งแกร่งของ การสร้างมูลค่าผ่านการใช้สินทรัพย์ทางปัญญาในระดับองค์กรธุรกิจและเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจ แบบสร้างมูลค่า (New Value Creation Economy) อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบประเทศญี่ปุ่นใน สถานะปัจจุบันกับสหภาพยุโรปและประเทศที่มีความสามารถเชิงแข่งขันสูงอย่างประเทศสหรัฐอเมริกาจะ พบว่า ระบบเศรษฐกิจแบบสร้างมูลค่าในประเทศญี่ปุ่นยังคงแยกส่วนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจ แบบสร้างมูลค่าของประเทศญี่ปุ่นพร้อมกับความก้าวหน้าของความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย จะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจญี่ปุ่นไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่รุ่งเรืองและมีความยืดหยุ่นสูง นอกจากนี้ แนวคิดการปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบสร้างมูลค่ายังสอดคล้องกับแนวคิดนโยบายเศรษฐกิจ คู่ขนานของประเทศไทย ดังนั้น ความพยายามในการปรับเปลี่ยนเศรษฐกิจญี่ปุ่นไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบ สร้างมูลค่าจึงต้องสอดรับกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ในภูมิภาคเอเชียอีกด้วย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
แม้ว่าระบบเศรษฐกิจตลาดและธุรกรรมระหว่างประเทศจะขยายตัวตามกระแสโลกาภิวัตน์ แต่ ระบบเศรษฐกิจโลกกลับเติบโตอย่างช้าๆ (The Great Moderation) ความผันผวนทางเศรษฐกิจลดลง ขณะที่ ภาวะระดับราคาสินค้าตกต่ำ (Disinflation) จากการแข่งขันของสินค้านำเข้าราคาถูกจากต่างประเทศ ทำให้เกิดสงครามราคา และการลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงานโดยการปรับลดกำลังแรงงาน เกิดปรากฏการณ์ ขาดความเชื่อมโยงระหว่างการจ้างงานและขยายตัวทางเศรษฐกิจ (Economic Recovery without recovery in employment) กล่าวได้ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจในระดับจุลภาคส่ง ผลกระทบต่อปรากฏการณ์ในระดับมหภาค แนวโน้มของภาวะระดับราคาตกต่ำ และการขาดความเชื่อมโยง ระหว่างวัฏจักรธุรกิจและการจ้างงาน เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของผลิตภาพ (Productivity Increase) และ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ (The Progress of Information Technology) ในช่วงทศวรรษ 1990 ผลิตภาพการผลิตรวม (Total Factor Productivity: TFP) ของประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) จากการลงทุนทางด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ ทุนมนุษย์ (Human Capital) จากการพัฒนาทักษะและการศึกษาของกำลังแรงงาน และ ทุน ทางองค์การ (Organizational Capital) จากการกระจายอำนาจตัดสินใจขององค์กร
นอกจากภาวะเศรษฐกิจเติบโตอย่างช้าๆ และภาวะระดับราคาตกต่ำ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่พบ ทั่วไปในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ยังมีความไม่สมดุลในภาคการใช้จ่ายด้วย ภาวะความผันผวนของราคา สินทรัพย์ (Asset Price Fluctuation) ได้สั่นคลอนวิกฤตการณ์ในระบบธนาคารและสถาบันการเงิน (Banking Crises) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ภาวะการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและการขาดดุลการคลังที่ เรียกว่าภาวะการขาดดุลแฝด (Twin Deficit) สร้างความวิตกกังวลต่อความยั่งยืนของเศรษฐกิจ สหรัฐอเมริกา ขณะที่ในประเทศจีน แม้ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวซึ่งเป็นผลจากการขยายการลงทุนใน สินทรัพย์ถาวร แต่นำไปสู่ความเสี่ยงของภาวะความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ (Economic Overheating) จาก การผลิตล้นเกิน การตัดราคาและการเพิ่มขึ้นของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ปรากฏการณ์ดังกล่าวส่งผล กระทบต่อความยั่งยืนทางเศรษฐกิจของประเทศจีนทั้งยังเป็นความเสี่ยงต่อประเทศในภูมิภาคเอเชียที่มี ความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจจีนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น เพื่อความยั่งยืนทางเศรษฐกิจแต่ละประเทศควรหลีกเลี่ยง จากภาวะความเสี่ยงดังกล่าวและสร้างระบบเศรษฐกิจที่ยืดหยุ่น (Resilient Economic Structure) สามารถ เผชิญกับภาวะการแข่งขันสูงและแบ่งปันผลจากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกได้
( * สำนักบัญชีประชาชาติ, 30 พฤศจิกายน 2547, สรุปจากบทความเรื่อง White Paper on International Trade 2004--Toward a "New Value Creation Economy" โดย Keita Nishiyama ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและวิเคราะห์ สำนักโยบายการค้า กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารรายสองเดือน Japan Spotlight ฉบับเดือน กรกฎาคม-สิงหาคม 2004 หน้า 6-19 )
ปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจมหภาคดังกล่าวข้างต้นอาจเป็นผลจากการดำเนินงานของภาคธุรกิจและ ปัจจัยทางเศรษฐกิจในระดับจุลภาค มีความเป็นไปได้อย่างมากว่า ภาวะระดับราคาตกต่ำ (Disinflation) เป็นผลจากความไม่สอดคล้องระหว่างความต้องการของนายจ้างและผู้หางานทำ นอกจากนี้ยังเป็นผลจาก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีรวมถึงการเพิ่มผลิตภาพที่ถูกทำให้แข็งแกร่งด้วยศักยภาพในการสร้างมูลค่า (Value Creation Capacity) รวมถึงทุนมนุษย์ และการปฏิรูปองค์กร การแก้ปัญหาดังกล่าวต้องใช้นโยบาย ทางเศรษฐกิจในระดับจุลภาค อย่างไรก็ตาม แม้ปัญหาจะเกิดจากการแข่งขัน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้อง กำจัดหรือควบคุมการแข่งขัน แต่ควรสนับสนุนวิวัฒนาการการแข่งขันที่ก้าวหน้า
แนวคิดเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจแบบสร้างมูลค่า
ระบบเศรษฐกิจแบบสร้างมูลค่า (New Value Creation Economy) เป็นระบบเศรษฐกิจที่ใช้ สินทรัพย์ทางปัญญา (Intellectual Asset) เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยอาศัยความแตกต่างซึ่งเป็นคุณลักษณะ ที่โดดเด่น และถือเป็นความได้เปรียบเชิงแข่งขัน คุณลักษณะที่แฝงอยู่นี้ (Tacit Characteristic) แม้จะมี มูลค่าเพิ่มสูง แต่เป็นสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ จึงวัดเป็นปริมาณหรือประเมินมูลค่าทางการเงินได้ยาก มี สภาพคล่องต่ำ สินทรัพย์ทางปัญญาดังกล่าวประกอบด้วย ทุนทางนวัตกรรม (Innovation Capital) ทุน มนุษย์ (Human Capital) และ ทุนทางองค์การ (Organizational Capital)
การพัฒนาเศรษฐกิจโดยระบบเศรษฐกิจแบบสร้างมูลค่า (New Value Creation Economy) เป็น รูปแบบการแข่งขันโดยใช้สินทรัพย์ทางปัญญาอย่างบูรณาการใน 3 ระดับ คือ (1) การแข่งขันในระดับ องค์กรธุรกิจ โดยสร้างมูลค่าจากการใช้สินทรัพย์ทางปัญญา (Modality of Corporate Competition: Value Creation Utilizing Intellectual Assets) ซึ่งต่างจากการแข่งขันที่มุ่งเน้นราคาแบบดั้งเดิม (2) การแข่งขันในระดับเศรษฐกิจชุมชน (Modality of Competition among Local Economies: Self Diagnosis Make Local Economies Autonomous) ซึ่งมุ่งสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนเป็นสินทรัพย์ในการแข่งขัน และ (3) การแข่งขันในระดับแรงงานปัจเจกบุคคล (Modality of Labor Market Competition: Human Capital Investment keyed to Skill Standard) ซึ่งมุ่งสร้างทักษะมาตรฐานที่สอดรับกับความต้องการของภาคธุรกิจและชุมชน
ระบบเศรษฐกิจแบบสร้างมูลค่า : การแข่งขันทางเศรษฐกิจรูปแบบใหม่
เพื่อพื้นฟูความสามารถในการตั้งราคาและกำหนดกำไรในภาคธุรกิจ ภาคธุรกิจจำเป็นต้องสร้าง ความแตกต่างจากคู่แข่งโดยพัฒนาสินค้าและบริการที่มีเอกลักษณ์ การสร้างความได้เปรียบเชิงแข่งขันจาก สินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะจำเป็นต้องใช้สินทรัพย์ทางปัญญา การสร้างมูลค่าโดยใช้สินทรัพย์ทางปัญญาจึง เป็นแนวโน้มใหม่ของรูปแบบการแข่งขัน ทั้งในประเทศญี่ปุ่นและประเทศสหรัฐอเมริกา อัตราส่วนสินทรัพย์ ที่ไม่สามารถจับต้องได้ต่อสินทรัพย์ที่สามารถจับต้องได้ (Ratio of Intangible Asset to Tangible Asset) เพิ่มขึ้นในรอบหลายปีมานี้ ผู้ที่มีเพียงสินทรัพย์ทางปัญญา มีแนวคิด มีวิธีการ ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่จับต้อง ไม่ได้ (Intangible Asset) แต่ขาดทุน หรือสินทรัพย์ที่จับต้องได้ (Tangible Asset) ก็สามารถเข้าสู่ภาค ธุรกิจได้ แนวโน้มการบริหารจัดการธุรกิจได้ปรับเปลี่ยนจากการจัดการสินทรัพย์ที่จับต้องได้ไปสู่สินทรัพย์ ที่จับต้องไม่ได้ สินทรัพย์ทางปัญญาจึงมีบทบาทอย่างสูงต่อภาคธุรกิจที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง ทำให้ต้อง แนะนำสินค้าและบริการใหม่เข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง
ความสนใจเกี่ยวกับสินทรัพย์ทางปัญญายังเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจไม่จำกัดเพียงภาคธุรกิจ แต่เป็นความสนใจในระดับนานาชาติ ทั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development : OECD) และ สหภาพยุโรป (Economic Union : EU) ต่างมีความเห็นว่า ระบบเศรษฐกิจกำลังปรับเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ จึงจำเป็นต้องหาวิธีการ ประเมินมูลค่าและการแสดงข้อมูลสินทรัพย์ทางปัญญาในฐานะสินทรัพย์และแสดงรายการในงบการเงิน ซึ่ง เรียกว่า การทำให้เป็นสินทรัพย์ (Assetization) อย่างไรก็ตามการวัดมูลค่าสินทรัพย์ทางปัญญาในเชิง ปริมาณยังคงมีข้อจำกัดอย่างมาก แม้การประเมินมูลค่าสินทรัพย์ทางปัญญาเป็นเรื่องยาก แต่ในแง่ของการ แข่งขัน สินทรัพย์ทางปัญญากลับมีบทบาทอย่างสำคัญในด้านที่ไม่เกี่ยวกับราคา โดยเฉพาะการสร้างมูลค่า จากคุณลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะขององค์กร การลงทุนในสินทรัพย์ทางปัญญายังเป็นการสร้างเสริม โอกาสในการสร้างมูลค่าของกิจการในอนาคต และถือเป็นความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ (Corporate Social Responsibility) ดังเช่น การลงทุนในทุนมนุษย์เพื่อสร้างเครือข่ายระบบลูกค้าสัมพันธ์ เป็นทั้งการลงทุนในสินทรัพย์ทางปัญญาและเป็นความรับผิดชอบต่อพนักงานและลูกค้า สินทรัพย์ทาง ปัญญายังรวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ ค่านิยมร่วม ขององค์กร เช่น ธรรมาภิบาล ที่มีส่วนช่วยสร้างผล ประกอบการที่ดีและเป็นความรับผิดชอบต่อสังคม
การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน
การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนโดยใช้อัตลักษณ์ของท้องถิ่นเป็นสิ่งสำคัญ กระแสโลกาภิวัตน์ก่อให้เกิด การแผ่ขยายของเศรษฐกิจชุมชน ซึ่งจำเป็นต้องใช้จุดแข็งจากเอกลักษณ์ของชุมชนเพื่อสร้างชุมชนที่มีแรง ดึงดูด ในญี่ปุ่นภายหลังการล่มสลายของเศรษฐกิจฟองสบู่ในช่วงทศวรรษ 1990 การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน มุ่งเน้นการสร้างอัตลักษณ์ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน ต้อง อาศัยทั้งการวิเคราะห์กระแสหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจและการวิเคราะห์สินทรัพย์ที่มีอยู่ในท้องถิ่น การ วิเคราะห์กระแสหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ (Analysis of Local Economic Circulation) เป็นการ วิเคราะห์สถานภาพของชุมชน การไหลเวียนของสินค้า ผู้คน ปริมาณงาน รวมถึงข้อมูลข่าวสารภายในชุมชน และระหว่างชุมชน ขณะที่การวิเคราะห์สินทรัพย์ที่มีอยู่ในท้องถิ่น (Analysis of Local Area's Existing Assets) วิเคราะห์สินทรัพย์ของชุมชน การรวมกลุ่มของประชาคมหรือทุนทางสังคม ระดับการศึกษา สินทรัพย์ทางปัญญา และสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม การวิเคราะห์ดังกล่าวจะทำให้ชุมชนพัฒนาเศรษฐกิจของ ตัวเองได้อย่างยั่งยืน
การสร้างสินทรัพย์ทางปัญญาโดยปัจเจกบุคคล : การลงทุนในทุนมนุษย์และการพัฒนามาตรฐานทักษะ
การเปลี่ยนแปลงสภาวะการแข่งขัน โดยเฉพาะการขาดความเชื่อมโยงระหว่างการขยายตัวทาง เศรษฐกิจและการจ้างงาน ทำให้ทักษะและทัศนคติที่มีต่อแรงงานปัจเจกบุคคลเปลี่ยนแปลงไป การพัฒนา การศึกษาอบรมที่อยู่บนพื้นฐานของสภาพที่แท้จริงของแรงงานในท้องถิ่นกับความตัองการขององค์กรธุรกิจ จำเป็นต้องกำหนดทักษะมาตรฐาน (Skill Standard) เพื่อพัฒนาทักษะรองรับความต้องการในอนาคตและ รองรับการปรับโครงสร้างในตลาดแรงงาน การกำหนดทักษะมาตรฐานจะสร้างความเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจ พ้อมทั้งก่อให้เกิดการจ้างงาน สร้างทุนมนุษย์รองรับการลงทุนทางนวัตกรรมและการปฏิรูป องค์กร ก่อให้เกิดการลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์ที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐ และสร้างทุนมนุษย์ที่ สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของท้องถิ่น
การเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบสร้างมูลค่าและความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย
การค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย (Intra-regional Trade) มีมูลค่าสูง ในปี 2002 มูลค่าการส่งออกระหว่างประเทศเทียบกับมูลค่าการนำเข้าระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียที่วัดโดย Trade Complementary Index สูงถึง 68.0 โดยเฉพาะหมวดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 83.1 ชิ้นส่วน ของสินค้าเหล่านี้จะถูกผลิตภายในประเทศญี่ปุ่นและส่งไปประกอบในประเทศจีน ไทย อินโดนีเซีย ซึ่งอาจ เรียกว่า การค้าภายในอุตสาหกรรมตามแนวดิ่ง (Vertical Intra-industry Trade) ซึ่งเป็นการผลิตสินค้าใน สายผลิตภัณฑ์เดียวกัน โดยผลิตวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนในประเทศหนึ่งและส่งออกเพื่อนำไปประกอบหรือ ผลิตต่อในอีกประเทศหนึ่ง การค้าสินค้าในสายการผลิตภัณฑ์เดียวกันเช่นนี้ เป็นผลจากอุปสรรคทางการค้า ระหว่างประเทศในภูมิภาคที่ส่งเสริมการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศมากกว่าการนำเข้าสินค้าขั้นสุดท้ายจาก ต่างประเทศ ตลอดจนความแตกต่างทางรายได้และต้นทุนการผลิตในแต่ละประเทศ รวมถึงรสนิยมในการ บริโภคสินค้าที่ต่างกันในแต่ละประเทศ
ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (Economic Partnership Agreement: EPA) ระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะเขตการค้าเสรี ทำให้ภาคธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัวสู่ระบบ เศรษฐกิจสร้างมูลค่า ภาคธุรกิจจำเป็นต้องรักษาความได้เปรียบเชิงแข่งขัน โดยทุ่มเททรัพยากรเพื่อการ พัฒนาสมรรถนะหลัก (Core Competency) เช่น ประเทศญี่ปุ่นต้องทุ่มเททรัพยากรไปเพื่อการเป็นฐานการ วิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนามูลค่าเพิ่ม ขณะที่ประเทศอื่นเป็นฐานการผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ประเทศญี่ปุ่น จึงต้องรักษาสรรถนะทางนวัตกรรมเพื่อยังคงความสามารถเชิงแข่งขันไว้ต่อไป
ยุทธศาสตร์ระบบเศรษฐกิจสร้างมูลค่า: ระบบเศรษฐกิจคู่ขนานในประเทศไทย
นโยบายเศรษฐกิจคู่ขนาน (Dual-Track Policy) ในบริบทของยุทธศาสตร์การสร้างความ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นการแสวงหาความสมดุลระหว่างการสร้างอุปสงค์รวมภายในประเทศกับการ ส่งออกสินค้าที่มุ่งเจาะตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) ซึ่งเป็นการก้าวพ้นจากการส่งออกสินค้าที่มุ่งเน้น ปริมาณ (Mass Production) ราคาต่ำ ซึ่งยากที่จะแข่งขันมากขึ้นเรื่อยๆ ใช้ประโยชน์จากสินค้าที่มีจุดแข็ง พัฒนาเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อสร้างความแตกต่าง ซึ่งต่างจากแบบจำลองการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาค ยุโรป อเมริกาเหนือ หรือแบบจำลองรูปตัววี (V Formation Model) ที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ นโยบายเศรษฐกิจคู่ขนานยังแสวงหาการสร้างความยั่งยืนให้กับอุปสงค์รวมภายในประเทศ โดยอาศัยแรง หนุนจากเศรษฐกิจรากหญ้าที่มีลักษณะเฉพาะตัวและฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง สร้างความยืดหยุ่น รองรับผลกระทบจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ภายใต้แนวคิดดังกล่าวจำเป็นต้องแปลงสินทรัพย์ เป็นทุนเพื่อนำผู้ยากไร้เข้าสู่ตลาดทุน แต่ละชุมชนต้องวิเคราะห์กระแสไหลเวียนภายในชุมชนและระหว่าง ชุมชน เชื่อมโยงกับการวิเคราะห์สินทรัพย์ที่มีอยู่ของชุมชน การพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางนี้ จึงต้อง วิเคราะห์เศรษฐกิจภายในประเทศ กำหนดยุทธศาสตร์รายสาขา โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าเจาะตลาด เฉพาะกลุ่ม และพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของชุมชน รองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงภายนอกประเทศ
ความเชื่อมโยงของเศรษฐกิจญี่ปุ่นต่อภูมิภาคเอเชีย ทำให้ญี่ปุ่นจำเป็นต้องเพิ่มความแข็งแกร่งของ การสร้างมูลค่าผ่านการใช้สินทรัพย์ทางปัญญาในระดับองค์กรธุรกิจและเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจ แบบสร้างมูลค่า (New Value Creation Economy) อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบประเทศญี่ปุ่นใน สถานะปัจจุบันกับสหภาพยุโรปและประเทศที่มีความสามารถเชิงแข่งขันสูงอย่างประเทศสหรัฐอเมริกาจะ พบว่า ระบบเศรษฐกิจแบบสร้างมูลค่าในประเทศญี่ปุ่นยังคงแยกส่วนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบเศรษฐกิจ แบบสร้างมูลค่าของประเทศญี่ปุ่นพร้อมกับความก้าวหน้าของความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย จะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจญี่ปุ่นไปสู่ระบบเศรษฐกิจที่รุ่งเรืองและมีความยืดหยุ่นสูง นอกจากนี้ แนวคิดการปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบสร้างมูลค่ายังสอดคล้องกับแนวคิดนโยบายเศรษฐกิจ คู่ขนานของประเทศไทย ดังนั้น ความพยายามในการปรับเปลี่ยนเศรษฐกิจญี่ปุ่นไปสู่ระบบเศรษฐกิจแบบ สร้างมูลค่าจึงต้องสอดรับกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ในภูมิภาคเอเชียอีกด้วย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-