นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) โดยสายงานติดตามประเมินผลและเผยแพร่การพัฒนากำลังดำเนินการศึกษาและจัดทำดัชนีชี้วัดความเข็มแข็งทางเศรษฐกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความหมายของคำจำกัดความต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเข็มแข็งทางเศรษฐกิจ พร้อมทั้งหาตัวชี้วัดและสร้างดัชนีการวัดความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่าการรายงานข้อมูลการพัฒนาที่ผ่านมาเน้นกานนำเสนอรายละเอียดในรูปของการรายงานภาวะเศรษฐกิจและการพัฒนาโดยใช้ตัวชี้วัดต่าง ๆ ด้านมหภาคข้อมูลการผลิตรายสาขาข้อมูลเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ข้อมูลการเงินการคลังของประเทศทั้งระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งรายงานดังกล่าวจะให้ทั้งข้อมูลและคำอธิบายถึงสาเหตุและผลกระทบต่าง ๆ ในภาพกว้างโดยการวิเคราะห์ที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะเป็นการเปรียบเทียบข้อมูลด้านการเจริญเติบโตในอดีตกับปัจจุบันและในช่วงต่อมาได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเครื่องชี้วัดใหม่ ๆ เช่น ดัชนีวัดคุณภาพชีวิตและเครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจต่าง ๆ แต่ยังไม่ได้ชี้ปัญหาเชิงคุณภาพของการพัฒนาที่ชัดเจนเท่าที่ควร
ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการขาดความเชื่อมโยงการประเมินผลการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะการรายงานภาวะเศรษฐกิจในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่ไม่สะท้อนถึงสภาวะความเข้มแข็งของเศรษฐกิจปัจจุบันอย่างเป็นระบบ เช่น ในปี 2540 เศรษฐกิจไทยหดตัวทั้งด้านการผลิต การใช้จ่ายและการลงทุน โดยอัตราการขยายตัวเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ณ ราคาคงที่ปี 2540 และปี 2541 ลดลงร้อยละ 1.4 และ 10.8 ตามลำดับ และเริ่มดีขึ้นในปี 2542 และในสามไตรมาสแรกของปี 2543 โดยมีการขยายตัวเป็นร้อยละ 4.2 และ 6.7 ตามลำดับ แต่กลับชะลอตัวลงโดยขยายตัวในไตรมาสที่ 4 ร้อละ 4.0 ซึ่งการแกว่งตัวของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าว จำเป็นต้องมีการประเมินผลหาสาเหตุของความอ่อนแอ และปัญหาการขาดเสถียรภาพในรายละเอียดที่ลงลึกในแต่ละด้านอย่างเป็นรูปธรรม
สายงานติดตามประเมินผลและเผยแพร่การพัฒนา สศช.จึงได้ดำเนินการศึกษา และจัดทำดัชนีชี้วัดความเข็มแข็งทางเศรษฐกิจของไทยขึ้น โดยเริ่มจากการศึกษากรอบแนวความคิดของนักวิจัยทั้งจากสถาบันองค์การระหว่างประเทศ และในประเทศ เพื่อนำมากำหนดกรอบแนวความคิดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ความเข็มแข็งทางเศรษฐกิจของต่างประเทศและเครื่องชี้วัดที่สามารถวัดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ จากนั้นจึงศึกษาและคัดตัวชี้วัดที่เหมาะสม รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องในแต่ละตัวแปรเพื่อสร้างเป็นดัชนีชี้วัด และทำการทดสอบความสำพันธ์โดยหลักคณิตศาสตร์และสถิติ ทั้งนี้ โดยประสานกับสำนักต่าง ๆ ภายในสศช.และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่าจากการทบทวนและศึกษาแนวความคิดความเข็มแข็งทางเศรษฐกิจ จากแหล่งดังกล่าวข้างต้นได้มีข้อสรุปเบื้องต้นที่จะทำการศีกษาความเข็มแข็งทางเศรษฐกิจของไทยใน 5 กรอบด้วยกัน ได้แก่
1. การเจริญเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ
2. การพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจ
3. การสร้างภูมิคุ้มกันของเศรษฐกิจ
4. การปรับตัวให้ทันต่อการเปลียนแปลงของภาวะการค้าโลก
5. การพัฒนาแบบยั่งยืน ซึ่งจะได้มีการศึกษาอย่างละเอียดต่อไป
โดยขอคำปรึกษาและประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงจัดสมนาระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะก่อนที่จะประมวลผลการศึกษาและรายงานผลการศึกษาต่อสาธารณชนต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 4/เมษายน 2544--
-สส-
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่าการรายงานข้อมูลการพัฒนาที่ผ่านมาเน้นกานนำเสนอรายละเอียดในรูปของการรายงานภาวะเศรษฐกิจและการพัฒนาโดยใช้ตัวชี้วัดต่าง ๆ ด้านมหภาคข้อมูลการผลิตรายสาขาข้อมูลเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ข้อมูลการเงินการคลังของประเทศทั้งระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งรายงานดังกล่าวจะให้ทั้งข้อมูลและคำอธิบายถึงสาเหตุและผลกระทบต่าง ๆ ในภาพกว้างโดยการวิเคราะห์ที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะเป็นการเปรียบเทียบข้อมูลด้านการเจริญเติบโตในอดีตกับปัจจุบันและในช่วงต่อมาได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเครื่องชี้วัดใหม่ ๆ เช่น ดัชนีวัดคุณภาพชีวิตและเครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจต่าง ๆ แต่ยังไม่ได้ชี้ปัญหาเชิงคุณภาพของการพัฒนาที่ชัดเจนเท่าที่ควร
ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการขาดความเชื่อมโยงการประเมินผลการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงคุณภาพ โดยเฉพาะการรายงานภาวะเศรษฐกิจในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่ไม่สะท้อนถึงสภาวะความเข้มแข็งของเศรษฐกิจปัจจุบันอย่างเป็นระบบ เช่น ในปี 2540 เศรษฐกิจไทยหดตัวทั้งด้านการผลิต การใช้จ่ายและการลงทุน โดยอัตราการขยายตัวเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ณ ราคาคงที่ปี 2540 และปี 2541 ลดลงร้อยละ 1.4 และ 10.8 ตามลำดับ และเริ่มดีขึ้นในปี 2542 และในสามไตรมาสแรกของปี 2543 โดยมีการขยายตัวเป็นร้อยละ 4.2 และ 6.7 ตามลำดับ แต่กลับชะลอตัวลงโดยขยายตัวในไตรมาสที่ 4 ร้อละ 4.0 ซึ่งการแกว่งตัวของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าว จำเป็นต้องมีการประเมินผลหาสาเหตุของความอ่อนแอ และปัญหาการขาดเสถียรภาพในรายละเอียดที่ลงลึกในแต่ละด้านอย่างเป็นรูปธรรม
สายงานติดตามประเมินผลและเผยแพร่การพัฒนา สศช.จึงได้ดำเนินการศึกษา และจัดทำดัชนีชี้วัดความเข็มแข็งทางเศรษฐกิจของไทยขึ้น โดยเริ่มจากการศึกษากรอบแนวความคิดของนักวิจัยทั้งจากสถาบันองค์การระหว่างประเทศ และในประเทศ เพื่อนำมากำหนดกรอบแนวความคิดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ความเข็มแข็งทางเศรษฐกิจของต่างประเทศและเครื่องชี้วัดที่สามารถวัดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ จากนั้นจึงศึกษาและคัดตัวชี้วัดที่เหมาะสม รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องในแต่ละตัวแปรเพื่อสร้างเป็นดัชนีชี้วัด และทำการทดสอบความสำพันธ์โดยหลักคณิตศาสตร์และสถิติ ทั้งนี้ โดยประสานกับสำนักต่าง ๆ ภายในสศช.และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่าจากการทบทวนและศึกษาแนวความคิดความเข็มแข็งทางเศรษฐกิจ จากแหล่งดังกล่าวข้างต้นได้มีข้อสรุปเบื้องต้นที่จะทำการศีกษาความเข็มแข็งทางเศรษฐกิจของไทยใน 5 กรอบด้วยกัน ได้แก่
1. การเจริญเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ
2. การพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจ
3. การสร้างภูมิคุ้มกันของเศรษฐกิจ
4. การปรับตัวให้ทันต่อการเปลียนแปลงของภาวะการค้าโลก
5. การพัฒนาแบบยั่งยืน ซึ่งจะได้มีการศึกษาอย่างละเอียดต่อไป
โดยขอคำปรึกษาและประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงจัดสมนาระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะก่อนที่จะประมวลผลการศึกษาและรายงานผลการศึกษาต่อสาธารณชนต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 4/เมษายน 2544--
-สส-