สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) มีภาคกิจหลักรับผิดชอบในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อใช้เป็นกรอบในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อใช้เป็นกรอบในการพัฒนาประเทศซึ่งขณะนี้ช่วงเวลาแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) กำลังจะสิ้นสุดลงในปีงบประมาณ 2544 สำนักงานฯ จึงได้เริ่มเตรียมการและดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ตั้งแต่ปลายปี 2542 เป็นต้นมา โดยยังคงยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนในการวางแผนพัฒนาประเทศ
จนถึงขณะนี้ กรอบวิสัยทัศน์และทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2544-2549) ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2543 ซึ่งสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
วิสัยทัศน์
ในการจัดทำ "วิสัยทัศน์ร่วม" ได้คำนึงสถานการณ์และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งภายใต้และภายนอกประเทศรวมทั้งยังได้นำผลการระดมความคิดของประชาชนทุกระดับทั้วประเทศมาสังเคราะห์เชื่อมโยงเข้าด้วยกันเป็นระบบ โดยได้ผลสรุปวิสัยทัศน์ร่วมที่จะนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์และรายละเอียดของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ดังนี้
ปรัชญานำทาง
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้ยึกหลัก "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" เป็นแนวคิดปรัชญาหลักเพื่อให้เกิด "การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย" โดยให้ความสำคัญต่อการพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และการพัฒนาอย่างดี ดุลยภาพ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสร้างจิตสำนึกให้คนไทยตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดทัศนคติ และกระบวนการทำงาน ให้เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารจัดการประเทศที่มุ่งสู่ประสิทธิภาพคุณภาพ รู้เท่าทันและก้าวทันโลก โดยมีความสามารถเลือกใช้ความรู้และเทคโนโลยีได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสมมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี และมีความยืดหยุ่นพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงควบคู่ไปกับความมีคุณธรรมและความสื่อสัตย์สุจริต
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 8/สิงหาคม 2543--
-สส-
จนถึงขณะนี้ กรอบวิสัยทัศน์และทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2544-2549) ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2543 ซึ่งสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
วิสัยทัศน์
ในการจัดทำ "วิสัยทัศน์ร่วม" ได้คำนึงสถานการณ์และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งภายใต้และภายนอกประเทศรวมทั้งยังได้นำผลการระดมความคิดของประชาชนทุกระดับทั้วประเทศมาสังเคราะห์เชื่อมโยงเข้าด้วยกันเป็นระบบ โดยได้ผลสรุปวิสัยทัศน์ร่วมที่จะนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์และรายละเอียดของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ดังนี้
ปรัชญานำทาง
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้ยึกหลัก "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" เป็นแนวคิดปรัชญาหลักเพื่อให้เกิด "การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย" โดยให้ความสำคัญต่อการพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา และการพัฒนาอย่างดี ดุลยภาพ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสร้างจิตสำนึกให้คนไทยตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดทัศนคติ และกระบวนการทำงาน ให้เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงระบบบริหารจัดการประเทศที่มุ่งสู่ประสิทธิภาพคุณภาพ รู้เท่าทันและก้าวทันโลก โดยมีความสามารถเลือกใช้ความรู้และเทคโนโลยีได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสมมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี และมีความยืดหยุ่นพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงควบคู่ไปกับความมีคุณธรรมและความสื่อสัตย์สุจริต
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 8/สิงหาคม 2543--
-สส-