นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โฆษกสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เตรียมจัดประชุมประจำปี 2544 ภายใต้ข้อเรื่องชุมชนเข้มแข็ง: รากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2545 โดยใช้เวลาในการประชุม 1 วัน และคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 1,000 คน
สำหรับวัตถุประสงค์ของการประชุมดังกล่าว ได้แก่ 1) เพื่อรายงานสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในช่วงก่อนเกินวิกฤตเศรษฐกิจ และหลังวิกฤตเศรษฐกิจ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อการรายงานผลการพัฒนาประเทศ 2) เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนของสังคม ได้มีส่วนร่วมและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น รวมทั้งเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เรื่องชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งเป็นรากฐานสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และ 3) เพื่อรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และแนวทางจากผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อนำไปพิจารณาและปรับปรุงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับการดำเนินการตามแนวทางบริหารจัดการที่ดีในภาครัฐ
ส่วนเนื้อหาของการประชุม ในช่วงเช้า จะเป็นการรายงานผลพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมใน 2 เรื่องคือ เรื่องแรก จะเป็นการรายงานภาพรวมของผลการพัฒนาเศรษฐกิจวิเคราะห์ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจไทย และภาพรวมผลการพัฒนาสังคมผ่านดัชนีความอยู่ดีมีสุข และเรื่องที่สอง จะเป็นการรายงานยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ประกอบด้วยแนวคิดแนวทางการพัฒนา ผลการดำเนินการ และผลการวิเคราะห์ความเข้มแข็งของชุมชน ตามแนวทางการพัฒนา 4 ด้าน คือ 1)การมีเศรษฐกิจฐานรากที่เข้มแข็ง 2)การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ 3)การมีระบบบริหารจัดการที่ดี และ 4)การมีสภาพแวดล้อมน่าอยู่ และสำหรับในช่วงบ่าย จะเป็นการประชุมกลุ่มย่อย จำนวน 4 กลุ่ม เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของชุมชน ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้ง 4 ด้าน ต่อเนื่องจากในภาคเช้า
รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า "การจัดประชุมประจำปีดังกล่าว เป็นรูปแบบวิธีการรายงานผลการพัฒนาแนวใหม่ ที่ สศช. ริเริ่มจัดให้มีขึ้นเป็นครั้งแรก โดยนอกจากจะรายงานสถานการณ์และผลการพัฒนาประเทศในช่วงที่ผ่านมาแล้ว ยังมีการเลือกสรรประเด็นการพัฒนาที่แนวทางสำคัญในการพัฒนาประเทศ ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มานำเสนอ เพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจในการพัฒนาแนวทางของแผนระดับชาติอีกด้วย ซึ่งการสร้างให้ชุมชนมีความเข้มแข็งนี้ ถือว่าเป็นรากฐานของการพัฒนาทุกด้านตามยุทธศาสตร์ของแผนฯ 9 ที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต"
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 9/กันยายน 2544--
-สส-
สำหรับวัตถุประสงค์ของการประชุมดังกล่าว ได้แก่ 1) เพื่อรายงานสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม ทั้งในช่วงก่อนเกินวิกฤตเศรษฐกิจ และหลังวิกฤตเศรษฐกิจ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อการรายงานผลการพัฒนาประเทศ 2) เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนของสังคม ได้มีส่วนร่วมและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น รวมทั้งเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เรื่องชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งเป็นรากฐานสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และ 3) เพื่อรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และแนวทางจากผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อนำไปพิจารณาและปรับปรุงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับการดำเนินการตามแนวทางบริหารจัดการที่ดีในภาครัฐ
ส่วนเนื้อหาของการประชุม ในช่วงเช้า จะเป็นการรายงานผลพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมใน 2 เรื่องคือ เรื่องแรก จะเป็นการรายงานภาพรวมของผลการพัฒนาเศรษฐกิจวิเคราะห์ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจไทย และภาพรวมผลการพัฒนาสังคมผ่านดัชนีความอยู่ดีมีสุข และเรื่องที่สอง จะเป็นการรายงานยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ประกอบด้วยแนวคิดแนวทางการพัฒนา ผลการดำเนินการ และผลการวิเคราะห์ความเข้มแข็งของชุมชน ตามแนวทางการพัฒนา 4 ด้าน คือ 1)การมีเศรษฐกิจฐานรากที่เข้มแข็ง 2)การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ 3)การมีระบบบริหารจัดการที่ดี และ 4)การมีสภาพแวดล้อมน่าอยู่ และสำหรับในช่วงบ่าย จะเป็นการประชุมกลุ่มย่อย จำนวน 4 กลุ่ม เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของชุมชน ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้ง 4 ด้าน ต่อเนื่องจากในภาคเช้า
รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า "การจัดประชุมประจำปีดังกล่าว เป็นรูปแบบวิธีการรายงานผลการพัฒนาแนวใหม่ ที่ สศช. ริเริ่มจัดให้มีขึ้นเป็นครั้งแรก โดยนอกจากจะรายงานสถานการณ์และผลการพัฒนาประเทศในช่วงที่ผ่านมาแล้ว ยังมีการเลือกสรรประเด็นการพัฒนาที่แนวทางสำคัญในการพัฒนาประเทศ ตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 มานำเสนอ เพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจในการพัฒนาแนวทางของแผนระดับชาติอีกด้วย ซึ่งการสร้างให้ชุมชนมีความเข้มแข็งนี้ ถือว่าเป็นรากฐานของการพัฒนาทุกด้านตามยุทธศาสตร์ของแผนฯ 9 ที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต"
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 9/กันยายน 2544--
-สส-