นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการฯ เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ 18 ตุลาคม 2548 เห็นชอบแนวทางการประเมินความคุ้มค่าการปฏิบัติภารกิจของรัฐ เพื่อใช้เป็นแนวทางประเมินในหน่วงานนำร่องในปี 2549-2550 และมอบหมายให้ สศช. คัดเลือกหน่วยงานนำร่อง พร้อมทั้งเป็นแกนหลักในการจัดการประชุมหารือระหว่างหน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้องต่อไป
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า การจัดทำแนวทางการประเมินความคุ้มค่าการปฏิบัติภารกิจของรัฐ เป็นภารกิจที่กำหนดไว้ในมาตรา 22 ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และมติ ครม. เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2546 ที่กำหนดให้ สศช. และสำนักงบประมาณ ร่วมกันจัดทำแนวทางการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐ ซึ่งได้รวบรวมและสร้างองค์ความรู้ในเรื่องความคุ้มค่าและการประเมินความคุ้มค่าจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อหาแนวทางที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับกรณีของประเทศไทย ทำให้ได้กรอบความคิด ขอบเขตและมิติในการประเมิน รวมทั้งตัวชี้วัดในเบื้องต้น
การประเมินความคุ้มค่า หมายถึง การประเมินการดำเนินภารกิจของภาครัฐเพื่อให้ได้ผลผลิต ผลลัพธ์ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลประโยชน์ที่สมดุลกับทรัพยากรที่ใช้ ทั้งนี้ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอาจเป็นได้ทั้งผลสำเร็จที่พึงประสงค์ และผลกระทบในทางลบที่เกิดขึ้นแก่ประชาชนและสังคม ทั้งที่สามารถคำนวณเป็นตัวเงินได้และไม่ได้
วัตถุประสงค์ของการประเมินความคุ้มค่า มุ่งให้ส่วนราชการประเมินความคุ้มค่าการปฏิบัติภารกิจด้วยตนเอง (Self-assessment) เพื่อประเมินว่าการปฏิบัติภารกิจมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และได้ก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อประชาชนและภาครัฐ มากหรือน้อยกว่าค่าใช้จ่ายและผลเสียที่เกิดขึ้นเพียงใด และเป็นข้อมูลสำหรับส่วนราชการในการทบทวนจัดลำดับความสำคัญในการเลือกปฏิบัติภารกิจ หรือเป็นข้อมูลสำหรับรัฐบาลเพื่อพิจารณายุบเลิกภารกิจ รวมทั้งการปรับปรุงวิธีการปฏิบัติภารกิจ (Self-improvement) ให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น รวมทั้งเป็นแนวทางในการพิจารณาจัดตั้งงบประมาณของส่วนราชการในปีต่อไป (Self-control)
กรอบการประเมินความคุ้มค่า ให้ความสำคัญกับประเด็นการทำงานใน 3 มิติ ได้แก่ มิติประสิทธิผล ควบคู่ไปกับมิติประสิทธิภาพ และมิติผลกระทบ ซึ่ง 1) ประสิทธิผลการปฏิบัติภารกิจ เป็นการประเมินการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการปฏิบัติภารกิจ โดยพิจารณาจากตัวชี้วัด 3 ด้าน ได้แก่ การบรรลุวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติภารกิจ ความพึงพอใจ และคุณภาพการให้บริการ 2) ประสิทธิภาพการปฏิบัติภารกิจ หมายถึง การประเมินความเหมาะสมสอดคล้องของการใช้ทรัพยากรและกระบวนการทำงาน เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตตามวัตถุประสงค์ มีตัวชี้วัด 2 ด้าน ได้แก่ ประสิทธิภาพการผลิต และการประหยัด 3) ผลกระทบ หมายถึง ผลอันสืบเนื่องจากการปฏิบัติภารกิจ รวมถึงผลกระทบในกรณีที่ไม่ได้ดำเนินงานตามภารกิจภาครัฐด้วย ได้แก่ ผลกระทบต่อประชาชน สังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และผลกระทบด้านอื่นๆ
ขอบเขตการประเมินความคุ้มค่า กำหนดขอบเขต ดังนี้ 1) หน่วยของการประเมิน เป็นการประเมินการปฏิบัติภารกิจในหน่วยงานระดับกรม 2) ภารกิจที่ต้องประเมิน ให้ความสำคัญเฉพาะภารกิจหลักของหน่วยงาน โดยหน่วยงานเป็นผู้กำหนด ภารกิจหลักและผลผลิตหลักของหน่วยงาน
สำหรับตัวชี้วัดในการประเมินความคุ้มค่า เนื่องจากภารกิจของหน่วยงานมีความแตกต่างกัน จึงกำหนดตัวชี้วัดในการประเมินความคุ้มค่า 2 ลักษณะ โดยตัวชี้วัดหลัก เป็นตัวชี้วัดที่ทุกหน่วยงานสามารถใช้ร่วมกันได้ ส่วนตัวชี้วัดเสริม ใช้ในกรณีที่ภารกิจของหน่วยงานไม่สามารถประเมินผลประโยชน์เป็นตัวเลขชัดเจน หรือเป็นภารกิจที่จัดทำเป็นโครงการ
ตัวชี้วัดหลัก ในมิติการประเมินประสิทธิภาพ ประกอบด้วย ต้นทุนต่อหน่วย สัดส่วนผลผลิตต่อทรัพยากร สัดส่วนค่าใช้จ่ายจริงต่อค่าใช้จ่ายตามแผน สัดส่วนเวลาที่ใช้จริงในการให้บริการเปรียบเทียบกับระยะเวลาที่กำหนด มิติการประเมินประสิทธิผล ประกอบด้วย ระดับความสำเร็จในการบรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมาย ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการหรือผู้ใช้ประโยชน์ และคุณภาพการให้บริการ ส่วนในมิติการประเมินผลกระทบ หน่วยงานจะต้องประเมินผลกระทบต่อประชาชนภายหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติภารกิจ โดยกำหนดตัวชี้วัดให้ชัดเจน และถ้าการปฏิบัติภารกิจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ต่อสังคม หรือต่อสิ่งแวดล้อม ก็ให้กำหนดตัวชี้วัดและทำการประเมินผลด้วย รวมทั้งต้องมีการวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้งบประมาณ โดยหน่วยงานจะต้องนำผลการวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้งบประมาณ มาประกอบการอธิบายความคุ้มค่าของการปฏิบัติภารกิจด้วย
ส่วนตัวชี้วัดเสริม ได้แก่ การวัดต้นทุน-ผลตอบแทน(Cost — Effectiveness) เป็นตัวชี้วัดเสริมสำหรับภารกิจที่ไม่สามารถประเมินผลประโยชน์เป็นตัวเลขได้ชัดเจน และ ต้นทุน-ประสิทธิภาพ (benefit-cost Ratio) ใช้ในกรณีที่ภารกิจของหน่วยงานเป็นการดำเนินโครงการ ถ้าโครงการไม่สามารถคำนวณผลประโยชน์หรือผลเสียเป็นมูลค่าได้ ให้ระบุกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบและขนาดของผลกระทบให้ชัดเจน
ทั้งนี้ รายงานการประเมินประกอบด้วยสาระสำคัญอย่างน้อย 3 ส่วน คือ ข้อมูลเบื้องต้น กรอบและผลการประเมินความคุ้มค่าฯ และข้อเสนอแนวทางการปรับปรุงและพัฒนา ส่วนขั้นตอนการประเมิน เป็นการประเมินการทำงานใน 3 ขั้นตอน คือ ก่อนการดำเนินงาน ระหว่างการดำเนินงาน และเมื่อเสร็จสิ้นการดำเนินงาน
กลไกการประเมินความคุ้มค่า กลไกที่เกี่ยวข้องในการประเมินและรายงานผลการประเมินความคุ้มค่า ประกอบด้วยกลไก 2 ระดับ 1) กลไกระดับนโยบาย คือ คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ เป็นกลไกในรูปคณะกรรมการระดับชาติที่มีรองนายกรัฐมนตรีที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นประธาน มีเลขาธิการ ก.พ.ร. เป็นกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่ง และ 2) กลไกระดับหน่วยงาน โดยเป็นการตั้งคณะทำงานหรือกลไกลักษณะอื่น ตามความเหมาะสมของหน่วยงาน โดยมีกลุ่มงาน ก.พ.ร. ของหน่วยงานเป็นฝ่ายเลขานุการคณะทำงาน และเป็นแกนหลักรับผิดชอบการประสานผลักดันการประเมินความคุ้มค่าฯ ภายในหน่วยงานซึ่งรวมถึงการจัดทำและรายงานผลต่อคณะกรรมการระดับนโยบายด้วย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า การจัดทำแนวทางการประเมินความคุ้มค่าการปฏิบัติภารกิจของรัฐ เป็นภารกิจที่กำหนดไว้ในมาตรา 22 ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และมติ ครม. เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2546 ที่กำหนดให้ สศช. และสำนักงบประมาณ ร่วมกันจัดทำแนวทางการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐ ซึ่งได้รวบรวมและสร้างองค์ความรู้ในเรื่องความคุ้มค่าและการประเมินความคุ้มค่าจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อหาแนวทางที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับกรณีของประเทศไทย ทำให้ได้กรอบความคิด ขอบเขตและมิติในการประเมิน รวมทั้งตัวชี้วัดในเบื้องต้น
การประเมินความคุ้มค่า หมายถึง การประเมินการดำเนินภารกิจของภาครัฐเพื่อให้ได้ผลผลิต ผลลัพธ์ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลประโยชน์ที่สมดุลกับทรัพยากรที่ใช้ ทั้งนี้ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอาจเป็นได้ทั้งผลสำเร็จที่พึงประสงค์ และผลกระทบในทางลบที่เกิดขึ้นแก่ประชาชนและสังคม ทั้งที่สามารถคำนวณเป็นตัวเงินได้และไม่ได้
วัตถุประสงค์ของการประเมินความคุ้มค่า มุ่งให้ส่วนราชการประเมินความคุ้มค่าการปฏิบัติภารกิจด้วยตนเอง (Self-assessment) เพื่อประเมินว่าการปฏิบัติภารกิจมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และได้ก่อให้เกิดผลประโยชน์ต่อประชาชนและภาครัฐ มากหรือน้อยกว่าค่าใช้จ่ายและผลเสียที่เกิดขึ้นเพียงใด และเป็นข้อมูลสำหรับส่วนราชการในการทบทวนจัดลำดับความสำคัญในการเลือกปฏิบัติภารกิจ หรือเป็นข้อมูลสำหรับรัฐบาลเพื่อพิจารณายุบเลิกภารกิจ รวมทั้งการปรับปรุงวิธีการปฏิบัติภารกิจ (Self-improvement) ให้มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น รวมทั้งเป็นแนวทางในการพิจารณาจัดตั้งงบประมาณของส่วนราชการในปีต่อไป (Self-control)
กรอบการประเมินความคุ้มค่า ให้ความสำคัญกับประเด็นการทำงานใน 3 มิติ ได้แก่ มิติประสิทธิผล ควบคู่ไปกับมิติประสิทธิภาพ และมิติผลกระทบ ซึ่ง 1) ประสิทธิผลการปฏิบัติภารกิจ เป็นการประเมินการบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการปฏิบัติภารกิจ โดยพิจารณาจากตัวชี้วัด 3 ด้าน ได้แก่ การบรรลุวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติภารกิจ ความพึงพอใจ และคุณภาพการให้บริการ 2) ประสิทธิภาพการปฏิบัติภารกิจ หมายถึง การประเมินความเหมาะสมสอดคล้องของการใช้ทรัพยากรและกระบวนการทำงาน เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตตามวัตถุประสงค์ มีตัวชี้วัด 2 ด้าน ได้แก่ ประสิทธิภาพการผลิต และการประหยัด 3) ผลกระทบ หมายถึง ผลอันสืบเนื่องจากการปฏิบัติภารกิจ รวมถึงผลกระทบในกรณีที่ไม่ได้ดำเนินงานตามภารกิจภาครัฐด้วย ได้แก่ ผลกระทบต่อประชาชน สังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และผลกระทบด้านอื่นๆ
ขอบเขตการประเมินความคุ้มค่า กำหนดขอบเขต ดังนี้ 1) หน่วยของการประเมิน เป็นการประเมินการปฏิบัติภารกิจในหน่วยงานระดับกรม 2) ภารกิจที่ต้องประเมิน ให้ความสำคัญเฉพาะภารกิจหลักของหน่วยงาน โดยหน่วยงานเป็นผู้กำหนด ภารกิจหลักและผลผลิตหลักของหน่วยงาน
สำหรับตัวชี้วัดในการประเมินความคุ้มค่า เนื่องจากภารกิจของหน่วยงานมีความแตกต่างกัน จึงกำหนดตัวชี้วัดในการประเมินความคุ้มค่า 2 ลักษณะ โดยตัวชี้วัดหลัก เป็นตัวชี้วัดที่ทุกหน่วยงานสามารถใช้ร่วมกันได้ ส่วนตัวชี้วัดเสริม ใช้ในกรณีที่ภารกิจของหน่วยงานไม่สามารถประเมินผลประโยชน์เป็นตัวเลขชัดเจน หรือเป็นภารกิจที่จัดทำเป็นโครงการ
ตัวชี้วัดหลัก ในมิติการประเมินประสิทธิภาพ ประกอบด้วย ต้นทุนต่อหน่วย สัดส่วนผลผลิตต่อทรัพยากร สัดส่วนค่าใช้จ่ายจริงต่อค่าใช้จ่ายตามแผน สัดส่วนเวลาที่ใช้จริงในการให้บริการเปรียบเทียบกับระยะเวลาที่กำหนด มิติการประเมินประสิทธิผล ประกอบด้วย ระดับความสำเร็จในการบรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมาย ระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการหรือผู้ใช้ประโยชน์ และคุณภาพการให้บริการ ส่วนในมิติการประเมินผลกระทบ หน่วยงานจะต้องประเมินผลกระทบต่อประชาชนภายหลังเสร็จสิ้นการปฏิบัติภารกิจ โดยกำหนดตัวชี้วัดให้ชัดเจน และถ้าการปฏิบัติภารกิจมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ต่อสังคม หรือต่อสิ่งแวดล้อม ก็ให้กำหนดตัวชี้วัดและทำการประเมินผลด้วย รวมทั้งต้องมีการวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้งบประมาณ โดยหน่วยงานจะต้องนำผลการวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้งบประมาณ มาประกอบการอธิบายความคุ้มค่าของการปฏิบัติภารกิจด้วย
ส่วนตัวชี้วัดเสริม ได้แก่ การวัดต้นทุน-ผลตอบแทน(Cost — Effectiveness) เป็นตัวชี้วัดเสริมสำหรับภารกิจที่ไม่สามารถประเมินผลประโยชน์เป็นตัวเลขได้ชัดเจน และ ต้นทุน-ประสิทธิภาพ (benefit-cost Ratio) ใช้ในกรณีที่ภารกิจของหน่วยงานเป็นการดำเนินโครงการ ถ้าโครงการไม่สามารถคำนวณผลประโยชน์หรือผลเสียเป็นมูลค่าได้ ให้ระบุกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบและขนาดของผลกระทบให้ชัดเจน
ทั้งนี้ รายงานการประเมินประกอบด้วยสาระสำคัญอย่างน้อย 3 ส่วน คือ ข้อมูลเบื้องต้น กรอบและผลการประเมินความคุ้มค่าฯ และข้อเสนอแนวทางการปรับปรุงและพัฒนา ส่วนขั้นตอนการประเมิน เป็นการประเมินการทำงานใน 3 ขั้นตอน คือ ก่อนการดำเนินงาน ระหว่างการดำเนินงาน และเมื่อเสร็จสิ้นการดำเนินงาน
กลไกการประเมินความคุ้มค่า กลไกที่เกี่ยวข้องในการประเมินและรายงานผลการประเมินความคุ้มค่า ประกอบด้วยกลไก 2 ระดับ 1) กลไกระดับนโยบาย คือ คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ เป็นกลไกในรูปคณะกรรมการระดับชาติที่มีรองนายกรัฐมนตรีที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นประธาน มีเลขาธิการ ก.พ.ร. เป็นกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่ง และ 2) กลไกระดับหน่วยงาน โดยเป็นการตั้งคณะทำงานหรือกลไกลักษณะอื่น ตามความเหมาะสมของหน่วยงาน โดยมีกลุ่มงาน ก.พ.ร. ของหน่วยงานเป็นฝ่ายเลขานุการคณะทำงาน และเป็นแกนหลักรับผิดชอบการประสานผลักดันการประเมินความคุ้มค่าฯ ภายในหน่วยงานซึ่งรวมถึงการจัดทำและรายงานผลต่อคณะกรรมการระดับนโยบายด้วย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-