การวางแผนพัฒนาประเทศเป็นกระบวนการดำเนินงานที่ต่อเนื่องกันอย่างเป็นวงจรประกอบด้วยการกำหนดจุดมุ่งหมายทิศทาง แผนงาน โครงการ รวมทั้ง การติดตามประเมินผลการพัฒนาว่าเป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่
ตลอดระยะเวลาเกือบ 40 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ผ่านกระบวนการวางแผนพัฒนาประเทสมาแล้วรวม 8 แผนด้วยกัน นับตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2504-0509 จนถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ในปัจจุบัน ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 และจะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2544 ที่จะมาถึง
การพัฒนาประเทศในช่วง 3-4 ทศวรรษที่ผ่านมา นับได้ว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของทุกฝ่ายในสังคม จากการที่จะต้องปรับตัวให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และการเมืองในแต่ละยุค แต่ละสมัย มีทั้งประสบความสำเร็จ มีทั้งความล้มเหลวคละเคล้ากันไป
ผู้เขียนมีความเห็นว่าถึงแม้เราจะยังมีข้อบกพร่องในการพัฒนาประเทศอยู่อีกมาก แต่ถ้าจะมองกันอย่างยุติธรรมแล้วก่อนหน้าที่เราจะเผชิญกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ประเทศไทยได้ปรับตัวเข้ากับสภาพความเป็นจริงของโลกอย่างสมยุคสมสมัยและสามารถพัฒนาเศรษฐกิจก้าวหน้าไปมากไม่น้อย
ผู้ที่ไม่พอใจกับผลการพัฒนาที่เกิดขึ้นมักจะมองทุกอย่างล้มเหลว ผิดทิศทางไปหมด ที่เป็นเช่นนี้ก็อาจเป็นเพราะว่าบุคคลเหล่านี้มักจะวาดภาพจากอดีตที่สวยสดงดงามในอุดมคติของตนมาฟ้องข้อบกพร่องที่ยังมีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งบางครั้งก็ดูเหมือนชี้ย้ำขัดเกลากับลักษณะของปัญหา ให้คนทั่วไปเกิดความเชื่อถือได้เป็นอย่างดี แต่อาจเป็นการบิดเบือนประวัติศาสตร์และลบหลู่ดูแคลนความสำเร็จที่เกิดจากน้ำพักน้ำแรงของประชาชนคนไทยในครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา
วิธีการวิเคราะห์ปัญหาแบบนี้อาจทำให้เราหลงทิส ผิดทางไม่สามารถเสาะหาหนทางอันถูกต้องมาแก้ไขปัญหาแท้จริงในปัจจุบันได้ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่ากรอบการวิเคราะห์ตั้งอยู่บนความคิดที่มองโลกมองประเทศแบบแยกเป็นส่วนๆ ไม่มีชีวิตเหมือนราวกับเป็นเครื่องจัก เมื่อเห็นว่าเกิดปัญหาข้อบกพร่องในส่วนใดส่วนหนึ่งของเครื่องจักรก็ถอดชิ้นส่วนออกมาชำแหละแล้วหาเหตุผลโยงร้อยกันเป็นลูกโซ่ลากออกเป็นเส้นตรงว่าปัญหามาจากอะไร (Linear Thinking) วิธีการคิดแบบนี้มักจะลงเอยด้วยการชี้ให้เห็นปัญหาจำกัดอยู่เฉพาะแต่ที่เกิดขึ้นจากพลังอำนาจภายนอก หรือเกิดจากสถาบันใดสถาบันหนึ่ง บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มบุคคลใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น เช่น ถ้าค้นพบการพัฒนาประเทศที่ผ่านมาว่าผิดพลาดล้มเหลวทุกด้าน เพราะถูกประเทศตะวัตกนำโดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศ เช่น IBRD, IMF, WTO ฯลฯ เข้ามาครอบงำยึดครอง บงการ และรัฐบาลไทย นักการเมืองไทย เทคโนแครตไทย หน่วยวางแผนของไทย รวมทั้งผู้นำของหน่วยงานถูกครอบงำโดยความคิดแบบตะวันตก ถ้าหากวิเคราะห์สาเหตุปัญหาอย่างนี้ก็อาจต้องลงเอยด้วยการเป็นศัตรูกับประเทศตะวันตกทำอะไรสักอย่างเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมของฝ่ายตะวันตก หรือไม่ก็หลีกเลี่ยงปิดประเทศไม่คบหาสมาคมด้วย ถ้าปัญหาอยู่ที่องค์กรหรือสถาบันภายในก็อาจต้องยุบองค์กรหรือสถาบันเสียถ้าปัญหาอยู่ที่ตัวผู้นำองค์กรก็ถอดออกเสีย วิธีการเช่นนี้นอกจากจะไม่ช่วยแก้ปัญหาแล้ว อาจยิ่งสร้างปัญหาก่อให้เกิดการแตกแยกในสังคมมากขึ้นไปอีก เพราะปัญหาจริงๆ เป็นปัญหาในเชิงระบบหรือโครงสร้าง เราคงจะต้องมองทั้งโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจและสังคมบนพื้นที่ฐานของความคิดในการมองโลกมองประเทศ เป็นองค์กรที่มีชีวิตที่องคมพยพทุกส่วนเชื่อมโยงพึ่งพิงอิงกันอย่างเป็นระบบไม่ใช่ชิ้นส่วนของเครื่องจักรมาประกอบกัน มองการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างเป็นกระบวนการมิใช่มองการพัฒนาในลักษณะที่เป็นภาพนิ่งตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ถ้าหากว่าจะได้มีการพิจารณาผลการพัฒนาประเทศอย่างเป็นระบบตามสภาพความเป็นจริงของชีวิตดังที่ได้กล่าวข้างต้นแล้วจะเห็นได้ชัดเจนว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในประเทศล้วนแล้วแต่มีอิทธิพลสำคัญต่อการกำหนดพฤติกรรม การวางแผนพัฒนาประเทส ดังจะเห็นได้จากในยุคแรกๆ ของการวางแผนพัฒนา สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ทั้งภายในและภายนอกล้วนแล้วแต่เอื้อต่อการเกิดกระบวนการวางแผนพัฒนาประเทศภายใต้นโยบายรวมศูนย์อำนาจการเมือง การปกครอง ระบบการเมืองของโลก ขณะนั้นแยกออกเป็น 2 ขั้ว คือ ฝ่ายตะวันตก นำโดยสหรัฐฯ และฝ่ายคอมมิวนิสต์ นำโดยสหภาพโซเวียด ซึ่งต่างฝ่ายก็กำลังแย่งชิงอำนาจขยายอิทธิพลเข้ามาในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทย และไทยเคาขณะนั้นก็เลือกทางเดินแบบเสรีนิยมตะวันตก ขณะเดียวกันแม้จะมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาทางสังคมมีไม่มากนัก แต่คนไทยก็ยังอยู่ในฐานะยากจนทางเศรษฐกิจ เพราะไร้การศึกษา ทั้งเจ็บไข้ได้ป่วยและหิวโหย การเมืองก็ยังไม่มีการปฏิรูปเหมือนทุกวันนี้ องค์ความรู้ส่วนใหญ่ทางวิชาการก็ยังตกอยู่ในกล่มนักวิชาการข้าราชการ ด้วยสภาพแวดล้อมทางด้านโครงสร้างในทุกๆ ด้าน ในขณะนั้นจึงทำให้เกิดการวางแผนพัฒนาประเทศที่เน้นหนักไปในด้านเศรษฐกิจ ซึ่งนับได้ว่าสมยุคสมสมัยในขณะนั้น
เมื่อย่างเข้าสู่ในศตวรรษที่ 21 สภาพแวดล้อมทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองของโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และสลับซับซ้อน คาดการณ์ล่วงหน้าได้ยากลำบากมากกว่าในอดีต สังคมไทยจะต้องมีการผนึกกำลังกันบนพื้นฐานของการร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันรับผิดชอบอย่างเป็นเครือข่าย ศัตรูของชาติเราในขณะนี้คือตัวเราเอง ไม่ใช่ใครที่ไหนข้างนอก คุณธรรม ไม่ใช่ คุณ นะ เป็นคนทำ ผมไม่ต้องทำผมมีหน้าที่อบรมสั่งสอน กล่าวโทษ กล่าวหา วิจารณ์ เสนอแนะความคิดเห็นทางวิชาการของตนให้ผู้อื่นรับไปทำอย่างเดียว
โลกยุคใหม่เปลี่ยนไว เปลี่ยนเร็ว อย่างเป็นพลวัตรเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย ทำนายอนาคตเป็นเส้นตรงออกไปยาก ไม่มีพิมพ์เขียวให้เดิน ไม่ใช่โลกของอำาจ โลกที่แยกส่วน โลกของการสั่งสอน ควบคุม บังคับบัญชา ท่องจำ การแก้ปัญหาแต่เทคนิควิชาการแบบตายตัวเช่นในอดีต จำเป็นจะต้องสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในสังคมในการร่วมกันวิเคราะห์ให้รอบด้านอย่างเป็นระบบและสมดุล ทั้งโอกาสภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจากกระแสการเปลี่ยนแปลงภายนอก ขณะเดียวกันก็ควรช่วยกันวิเคราะห์ทั้งจุดอ่อน จุดแข็งภายในประเทศของเรา เพื่อให้เกิดพลังร่วมสร้างสรรค์สังคมในเชิงบวก โดยร่วมกันกำหนดภารกิจ ยุทธศาสตร์ ตลอดจนแผนปฏิบัติการในการที่จะหาโอกาสใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงให้ได้มากที่สุด รวมทั้งหาทางสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อลดภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจากกระแสโลกาภิวัตน์ให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงรอบด้านได้อย่างยั่งยืน การดำเนินงานดังกล่าวนี้จะเป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของทุกฝ่ายในสังคม ในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแม้จริงตามแนวทางของสุภาษิตจีนที่ว่า
ถ้าท่านเล่าให้ฉันฟัง เดี๋ยวฉันก็จะลืม
ถ้าท่านทำให้ฉันดู ฉันพอจะจำได้
ถ้าท่านให้ฉันทำเอง
ช่วยแนะนำฉัน ฉันจะเข้าใจและทำได้
ธรรมรักษ์ การพิศิษฏ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ระดับ 11 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2 พฤศจิกายน 2543
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 11/พฤศจิกายน 2543--
-สส-
ตลอดระยะเวลาเกือบ 40 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้ผ่านกระบวนการวางแผนพัฒนาประเทสมาแล้วรวม 8 แผนด้วยกัน นับตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2504-0509 จนถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ในปัจจุบัน ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 และจะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2544 ที่จะมาถึง
การพัฒนาประเทศในช่วง 3-4 ทศวรรษที่ผ่านมา นับได้ว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของทุกฝ่ายในสังคม จากการที่จะต้องปรับตัวให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และการเมืองในแต่ละยุค แต่ละสมัย มีทั้งประสบความสำเร็จ มีทั้งความล้มเหลวคละเคล้ากันไป
ผู้เขียนมีความเห็นว่าถึงแม้เราจะยังมีข้อบกพร่องในการพัฒนาประเทศอยู่อีกมาก แต่ถ้าจะมองกันอย่างยุติธรรมแล้วก่อนหน้าที่เราจะเผชิญกับปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ประเทศไทยได้ปรับตัวเข้ากับสภาพความเป็นจริงของโลกอย่างสมยุคสมสมัยและสามารถพัฒนาเศรษฐกิจก้าวหน้าไปมากไม่น้อย
ผู้ที่ไม่พอใจกับผลการพัฒนาที่เกิดขึ้นมักจะมองทุกอย่างล้มเหลว ผิดทิศทางไปหมด ที่เป็นเช่นนี้ก็อาจเป็นเพราะว่าบุคคลเหล่านี้มักจะวาดภาพจากอดีตที่สวยสดงดงามในอุดมคติของตนมาฟ้องข้อบกพร่องที่ยังมีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งบางครั้งก็ดูเหมือนชี้ย้ำขัดเกลากับลักษณะของปัญหา ให้คนทั่วไปเกิดความเชื่อถือได้เป็นอย่างดี แต่อาจเป็นการบิดเบือนประวัติศาสตร์และลบหลู่ดูแคลนความสำเร็จที่เกิดจากน้ำพักน้ำแรงของประชาชนคนไทยในครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา
วิธีการวิเคราะห์ปัญหาแบบนี้อาจทำให้เราหลงทิส ผิดทางไม่สามารถเสาะหาหนทางอันถูกต้องมาแก้ไขปัญหาแท้จริงในปัจจุบันได้ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่ากรอบการวิเคราะห์ตั้งอยู่บนความคิดที่มองโลกมองประเทศแบบแยกเป็นส่วนๆ ไม่มีชีวิตเหมือนราวกับเป็นเครื่องจัก เมื่อเห็นว่าเกิดปัญหาข้อบกพร่องในส่วนใดส่วนหนึ่งของเครื่องจักรก็ถอดชิ้นส่วนออกมาชำแหละแล้วหาเหตุผลโยงร้อยกันเป็นลูกโซ่ลากออกเป็นเส้นตรงว่าปัญหามาจากอะไร (Linear Thinking) วิธีการคิดแบบนี้มักจะลงเอยด้วยการชี้ให้เห็นปัญหาจำกัดอยู่เฉพาะแต่ที่เกิดขึ้นจากพลังอำนาจภายนอก หรือเกิดจากสถาบันใดสถาบันหนึ่ง บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มบุคคลใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น เช่น ถ้าค้นพบการพัฒนาประเทศที่ผ่านมาว่าผิดพลาดล้มเหลวทุกด้าน เพราะถูกประเทศตะวัตกนำโดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศ เช่น IBRD, IMF, WTO ฯลฯ เข้ามาครอบงำยึดครอง บงการ และรัฐบาลไทย นักการเมืองไทย เทคโนแครตไทย หน่วยวางแผนของไทย รวมทั้งผู้นำของหน่วยงานถูกครอบงำโดยความคิดแบบตะวันตก ถ้าหากวิเคราะห์สาเหตุปัญหาอย่างนี้ก็อาจต้องลงเอยด้วยการเป็นศัตรูกับประเทศตะวันตกทำอะไรสักอย่างเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมของฝ่ายตะวันตก หรือไม่ก็หลีกเลี่ยงปิดประเทศไม่คบหาสมาคมด้วย ถ้าปัญหาอยู่ที่องค์กรหรือสถาบันภายในก็อาจต้องยุบองค์กรหรือสถาบันเสียถ้าปัญหาอยู่ที่ตัวผู้นำองค์กรก็ถอดออกเสีย วิธีการเช่นนี้นอกจากจะไม่ช่วยแก้ปัญหาแล้ว อาจยิ่งสร้างปัญหาก่อให้เกิดการแตกแยกในสังคมมากขึ้นไปอีก เพราะปัญหาจริงๆ เป็นปัญหาในเชิงระบบหรือโครงสร้าง เราคงจะต้องมองทั้งโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจและสังคมบนพื้นที่ฐานของความคิดในการมองโลกมองประเทศ เป็นองค์กรที่มีชีวิตที่องคมพยพทุกส่วนเชื่อมโยงพึ่งพิงอิงกันอย่างเป็นระบบไม่ใช่ชิ้นส่วนของเครื่องจักรมาประกอบกัน มองการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างเป็นกระบวนการมิใช่มองการพัฒนาในลักษณะที่เป็นภาพนิ่งตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ถ้าหากว่าจะได้มีการพิจารณาผลการพัฒนาประเทศอย่างเป็นระบบตามสภาพความเป็นจริงของชีวิตดังที่ได้กล่าวข้างต้นแล้วจะเห็นได้ชัดเจนว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในประเทศล้วนแล้วแต่มีอิทธิพลสำคัญต่อการกำหนดพฤติกรรม การวางแผนพัฒนาประเทส ดังจะเห็นได้จากในยุคแรกๆ ของการวางแผนพัฒนา สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ทั้งภายในและภายนอกล้วนแล้วแต่เอื้อต่อการเกิดกระบวนการวางแผนพัฒนาประเทศภายใต้นโยบายรวมศูนย์อำนาจการเมือง การปกครอง ระบบการเมืองของโลก ขณะนั้นแยกออกเป็น 2 ขั้ว คือ ฝ่ายตะวันตก นำโดยสหรัฐฯ และฝ่ายคอมมิวนิสต์ นำโดยสหภาพโซเวียด ซึ่งต่างฝ่ายก็กำลังแย่งชิงอำนาจขยายอิทธิพลเข้ามาในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทย และไทยเคาขณะนั้นก็เลือกทางเดินแบบเสรีนิยมตะวันตก ขณะเดียวกันแม้จะมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาทางสังคมมีไม่มากนัก แต่คนไทยก็ยังอยู่ในฐานะยากจนทางเศรษฐกิจ เพราะไร้การศึกษา ทั้งเจ็บไข้ได้ป่วยและหิวโหย การเมืองก็ยังไม่มีการปฏิรูปเหมือนทุกวันนี้ องค์ความรู้ส่วนใหญ่ทางวิชาการก็ยังตกอยู่ในกล่มนักวิชาการข้าราชการ ด้วยสภาพแวดล้อมทางด้านโครงสร้างในทุกๆ ด้าน ในขณะนั้นจึงทำให้เกิดการวางแผนพัฒนาประเทศที่เน้นหนักไปในด้านเศรษฐกิจ ซึ่งนับได้ว่าสมยุคสมสมัยในขณะนั้น
เมื่อย่างเข้าสู่ในศตวรรษที่ 21 สภาพแวดล้อมทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองของโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และสลับซับซ้อน คาดการณ์ล่วงหน้าได้ยากลำบากมากกว่าในอดีต สังคมไทยจะต้องมีการผนึกกำลังกันบนพื้นฐานของการร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันรับผิดชอบอย่างเป็นเครือข่าย ศัตรูของชาติเราในขณะนี้คือตัวเราเอง ไม่ใช่ใครที่ไหนข้างนอก คุณธรรม ไม่ใช่ คุณ นะ เป็นคนทำ ผมไม่ต้องทำผมมีหน้าที่อบรมสั่งสอน กล่าวโทษ กล่าวหา วิจารณ์ เสนอแนะความคิดเห็นทางวิชาการของตนให้ผู้อื่นรับไปทำอย่างเดียว
โลกยุคใหม่เปลี่ยนไว เปลี่ยนเร็ว อย่างเป็นพลวัตรเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย ทำนายอนาคตเป็นเส้นตรงออกไปยาก ไม่มีพิมพ์เขียวให้เดิน ไม่ใช่โลกของอำาจ โลกที่แยกส่วน โลกของการสั่งสอน ควบคุม บังคับบัญชา ท่องจำ การแก้ปัญหาแต่เทคนิควิชาการแบบตายตัวเช่นในอดีต จำเป็นจะต้องสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในสังคมในการร่วมกันวิเคราะห์ให้รอบด้านอย่างเป็นระบบและสมดุล ทั้งโอกาสภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจากกระแสการเปลี่ยนแปลงภายนอก ขณะเดียวกันก็ควรช่วยกันวิเคราะห์ทั้งจุดอ่อน จุดแข็งภายในประเทศของเรา เพื่อให้เกิดพลังร่วมสร้างสรรค์สังคมในเชิงบวก โดยร่วมกันกำหนดภารกิจ ยุทธศาสตร์ ตลอดจนแผนปฏิบัติการในการที่จะหาโอกาสใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงให้ได้มากที่สุด รวมทั้งหาทางสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อลดภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจากกระแสโลกาภิวัตน์ให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงรอบด้านได้อย่างยั่งยืน การดำเนินงานดังกล่าวนี้จะเป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของทุกฝ่ายในสังคม ในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแม้จริงตามแนวทางของสุภาษิตจีนที่ว่า
ถ้าท่านเล่าให้ฉันฟัง เดี๋ยวฉันก็จะลืม
ถ้าท่านทำให้ฉันดู ฉันพอจะจำได้
ถ้าท่านให้ฉันทำเอง
ช่วยแนะนำฉัน ฉันจะเข้าใจและทำได้
ธรรมรักษ์ การพิศิษฏ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ระดับ 11 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2 พฤศจิกายน 2543
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 11/พฤศจิกายน 2543--
-สส-