นายพายัพ พยอมยนต์ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ให้การต้อนรับและบรรยายสรุปแก่คณะเจ้าหน้าที่จากประเทศเวียดนามในโอกาสมาฝึกอบรม ณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เรื่อง "สิ่งแวดล้อมและการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ" ระหว่างวันที่ 3-5 สิงหาคม 2542 ตามโครงการฝึกอบรมของภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
รองเลขาธิการ สศช. ได้กล่าวบรรยายในตอนหนึ่งว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของไทยในระยะที่ผ่านมา และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจไปเป็นอุตสาหกรรมเกษตรกรรม และบริการ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงจากสภาพชนบทเป็นสังคมเมืองมากยิ่งขึ้นนั้น ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษต่าง ๆ ให้รุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้นในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจึงควรคำนึงถึงผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมในหลายประเด็น อาทิ ปัญหามลพิษทางน้ำ อากาศ และเสียง และมลพิษจากกากของเสีย เป็นต้น
นอกจากนี้ ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมา เป็นผลโดยตรงมาจากการขยายตัวทางการผลิตทั้งทางด้านเกษตรกรรมและด้านอุตสาหกรรม ทำให้มีการใช้และทำลายทรัพยากรธรรมชาติไปเป็นจำนวนมาก และเกินกว่าศักยภาพของธรรมชาติจะสามารถฟื้นฟูสภาพให้เกิดทดแทนกลับคืนมาโดยเร็วได้ การที่ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดได้ถูกใช้หมดไปอย่างรวดเร็ว โดยปราศจากวิธีการฟื้นฟูบูรณะสภาพให้เกิดการสร้างทดแทนกันอย่างสมดุลและมีประสิทธิภาพดังกล่าว จะเป็นปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะต่อไปได้
รองเลขาธิการ สศช.กล่าวต่อไปว่า ความพยายามในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมาไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรเป็นเพราะขาดการกำหนดกลยุทธการจัดการที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ซึ่งมาตรการที่นำมาใช้มักจะเป็นการตามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยไม่ให้ความสำคัญกับมาตรการหรือกลยุทธ์ในเชิงรุกเท่าที่ควร และนโยบายที่ผ่านมายังขาดการจัดการที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ยิ่งไปกว่านั้นการแก้ปัญหายังขาดวิสัยทัศน์ระยะยาวอีกด้วย ทั้งนี้ได้นำมาซึ่งการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงมุ่งเน้นเฉพาะกิจกรรมด้านการฟื้นฟูและการพัฒนาในทางกายภาพของฐานทรัพยากรธรรมชาติ โดยมิได้ให้ความสนใจในการปรับปรุงหรือปฏิรูปองค์กร โครงสร้างองค์กร กฎหมายและระบบในการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ อันเป็นมาตรการะยะยาวและต้องใช้เวลามากในการดำเนินการ ซึ่งนับว่าเป็นข้อจำกัดของการอนุรักษ์และปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ
สำหรับการดำเนินการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมควรให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพทรัพยากรธรรมชาติ และคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมในหลายด้าน อาทิ ดินและการใช้ที่ดิน น้ำ ป่าไม้ มลพิษทางน้ำ อากาศ และเสียง มลพิษจากมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลให้กลับคืนสู่สถานภาพที่ต้องการ เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพทรัพยากรที่ยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และความเป็นไปได้ในเชิงงบประมาณ อัตรากำลังเจ้าหน้าที่สนับสนุนรวมทั้งเงื่อนไขความสำเร็จในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมทั้งควรต้องคำนึงถึงข้อตกลงระหว่างประเทศทางด้านสิ่งแวดล้อมด้วย
ในขณะเดียวกันการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควรให้ความสำคัญต่อการจัดการที่ครบวงจรและการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ โดยให้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน เช่น การแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการปรับปรุงกฎหมายองค์กรบริหารจัดการและโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่วนการดำเนินงานนั้นควรเน้นให้มีการจัดทำแผนงาน/โครงการในเชิงรุก โดยเน้นการเร่งรัดการป้องกันและควบคุมปัญหาที่ต้นเหตุมากกว่าการแก้ไขที่ปลายเหตุและให้เน้นพิจารณาการจัดทำแผนงาน/โครงการและงบประมาณเฉพาะในส่วนของงานที่จะช่วยเสริมการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนั้นความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและคุณภาพจะส่งผลให้การผลิตสินค้า และบริการในอนาคตทั้งภาคการเกษตร อุตสาหกรรมและสาขาเศรษฐกิจอื่น ๆ ต้องคำนึงถึงปัญหาอุปสรรคของทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามพันธกรณีข้อตกลงระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน องค์กรเอกชน และประชาชน ต้องร่วมมือกันในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ดังนั้นประเทศไทยโดยภาคการผลิตต่าง ๆ โดยรวมจะต้องพยายามปรับตัวให้รับกับภาวะแวดล้อมที่เป็นข้อจำกัดได้ในที่สุด โดยเน้นการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตที่ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และคุณภาพสิ่งแวดล้อม และจะเป็นระบบเศรษฐกิจสังคมที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป ซึ่งเชื่อแน่ว่าการดำเนินการตามมาตรการในปัจจุบัน จะส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับการดูแลรักษาและจัดการอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพในอนาคตอันใกล้นี้ เพื่อเป็นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืนแก่คนรุ่นหลังต่อไป
ต่อจากนั้นนายพายัพ พยอมยนต์ ได้ชี้แจงต่อประเด็นการหารือร่วมกับคณะเจ้าหน้าที่เวียดนามว่า จากการพัฒนาของประเทศไทยที่ผ่านมานั้นทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาปริมาณการแพร่กระจายของมลพิษบางด้านได้ลดความรุนแรงลง อาทิ คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำทั่วไปยังอยู่ในเกณฑ์เหมาะสม คุณภาพอากาศดีขึ้นเล็กน้อย แต่ปัญหาขยะและของเสียอันตรายยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ปัญหาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของเมือง ยังมีความรุนแรง ทั้งนี้การแก้ไขปัญหายังติดขัดด้านงบประมาณ โดยที่แผนงานยังเน้นหนักในเรื่องการฟื้นฟูบูรณะมากกว่าการป้องกัน อย่างไรก็ตาม ท้องถิ่นและชุมชนเริ่มมีความตื่นตัว และเริ่มมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่การดำเนินการตามหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายยังไม่เกิดผลเท่าที่ควร
นอกจากนี้รองเลขาธิการ สศช. ยังได้ชี้แจงเพิ่มเติมถึงกรณีที่มีการดำเนินการเพื่อลดผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจต่อคนและสังคมของไทยที่ผ่านมาว่า ได้มีการปูพื้นฐานการพัฒนาตามเป้าหมายของแผนฯ 8 โดยให้ระดมทรัพยากรจากภายนอกประเทศเข้ามาชดเชยข้อจำกัดทางด้านงบประมาณแผ่นดิน เพื่อเร่งขยายวงเงินช่วยเหลือกลุ่มคนชรา คนพิการ และสตรี ฯลฯ รวมทั้งการช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน ตลอดจนการพยายามสร้างงานให้ผู้ตกงานอันเนื่องจากการปิดกิจการโรงงานต่าง ๆ ในภาวะเศรษฐกิจซบเซา นอกจากนี้ยังได้เร่งรัดพัฒนาระบบข้อมูลด้านคนและสังคมเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 8/สิงหาคม 2542--
รองเลขาธิการ สศช. ได้กล่าวบรรยายในตอนหนึ่งว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของไทยในระยะที่ผ่านมา และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจไปเป็นอุตสาหกรรมเกษตรกรรม และบริการ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงจากสภาพชนบทเป็นสังคมเมืองมากยิ่งขึ้นนั้น ได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษต่าง ๆ ให้รุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้นในการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจึงควรคำนึงถึงผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมในหลายประเด็น อาทิ ปัญหามลพิษทางน้ำ อากาศ และเสียง และมลพิษจากกากของเสีย เป็นต้น
นอกจากนี้ ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมา เป็นผลโดยตรงมาจากการขยายตัวทางการผลิตทั้งทางด้านเกษตรกรรมและด้านอุตสาหกรรม ทำให้มีการใช้และทำลายทรัพยากรธรรมชาติไปเป็นจำนวนมาก และเกินกว่าศักยภาพของธรรมชาติจะสามารถฟื้นฟูสภาพให้เกิดทดแทนกลับคืนมาโดยเร็วได้ การที่ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดได้ถูกใช้หมดไปอย่างรวดเร็ว โดยปราศจากวิธีการฟื้นฟูบูรณะสภาพให้เกิดการสร้างทดแทนกันอย่างสมดุลและมีประสิทธิภาพดังกล่าว จะเป็นปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะต่อไปได้
รองเลขาธิการ สศช.กล่าวต่อไปว่า ความพยายามในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมาไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรเป็นเพราะขาดการกำหนดกลยุทธการจัดการที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ซึ่งมาตรการที่นำมาใช้มักจะเป็นการตามแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยไม่ให้ความสำคัญกับมาตรการหรือกลยุทธ์ในเชิงรุกเท่าที่ควร และนโยบายที่ผ่านมายังขาดการจัดการที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ยิ่งไปกว่านั้นการแก้ปัญหายังขาดวิสัยทัศน์ระยะยาวอีกด้วย ทั้งนี้ได้นำมาซึ่งการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงมุ่งเน้นเฉพาะกิจกรรมด้านการฟื้นฟูและการพัฒนาในทางกายภาพของฐานทรัพยากรธรรมชาติ โดยมิได้ให้ความสนใจในการปรับปรุงหรือปฏิรูปองค์กร โครงสร้างองค์กร กฎหมายและระบบในการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ อันเป็นมาตรการะยะยาวและต้องใช้เวลามากในการดำเนินการ ซึ่งนับว่าเป็นข้อจำกัดของการอนุรักษ์และปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ
สำหรับการดำเนินการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมควรให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพทรัพยากรธรรมชาติ และคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมในหลายด้าน อาทิ ดินและการใช้ที่ดิน น้ำ ป่าไม้ มลพิษทางน้ำ อากาศ และเสียง มลพิษจากมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลให้กลับคืนสู่สถานภาพที่ต้องการ เพื่อเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพทรัพยากรที่ยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และความเป็นไปได้ในเชิงงบประมาณ อัตรากำลังเจ้าหน้าที่สนับสนุนรวมทั้งเงื่อนไขความสำเร็จในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและการมีส่วนร่วมของประชาชน พร้อมทั้งควรต้องคำนึงถึงข้อตกลงระหว่างประเทศทางด้านสิ่งแวดล้อมด้วย
ในขณะเดียวกันการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควรให้ความสำคัญต่อการจัดการที่ครบวงจรและการใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ โดยให้มีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน เช่น การแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการปรับปรุงกฎหมายองค์กรบริหารจัดการและโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่วนการดำเนินงานนั้นควรเน้นให้มีการจัดทำแผนงาน/โครงการในเชิงรุก โดยเน้นการเร่งรัดการป้องกันและควบคุมปัญหาที่ต้นเหตุมากกว่าการแก้ไขที่ปลายเหตุและให้เน้นพิจารณาการจัดทำแผนงาน/โครงการและงบประมาณเฉพาะในส่วนของงานที่จะช่วยเสริมการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนั้นความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพและคุณภาพจะส่งผลให้การผลิตสินค้า และบริการในอนาคตทั้งภาคการเกษตร อุตสาหกรรมและสาขาเศรษฐกิจอื่น ๆ ต้องคำนึงถึงปัญหาอุปสรรคของทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามพันธกรณีข้อตกลงระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน องค์กรเอกชน และประชาชน ต้องร่วมมือกันในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ดังนั้นประเทศไทยโดยภาคการผลิตต่าง ๆ โดยรวมจะต้องพยายามปรับตัวให้รับกับภาวะแวดล้อมที่เป็นข้อจำกัดได้ในที่สุด โดยเน้นการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตที่ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และคุณภาพสิ่งแวดล้อม และจะเป็นระบบเศรษฐกิจสังคมที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป ซึ่งเชื่อแน่ว่าการดำเนินการตามมาตรการในปัจจุบัน จะส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับการดูแลรักษาและจัดการอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพในอนาคตอันใกล้นี้ เพื่อเป็นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืนแก่คนรุ่นหลังต่อไป
ต่อจากนั้นนายพายัพ พยอมยนต์ ได้ชี้แจงต่อประเด็นการหารือร่วมกับคณะเจ้าหน้าที่เวียดนามว่า จากการพัฒนาของประเทศไทยที่ผ่านมานั้นทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาปริมาณการแพร่กระจายของมลพิษบางด้านได้ลดความรุนแรงลง อาทิ คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำทั่วไปยังอยู่ในเกณฑ์เหมาะสม คุณภาพอากาศดีขึ้นเล็กน้อย แต่ปัญหาขยะและของเสียอันตรายยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ปัญหาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมของเมือง ยังมีความรุนแรง ทั้งนี้การแก้ไขปัญหายังติดขัดด้านงบประมาณ โดยที่แผนงานยังเน้นหนักในเรื่องการฟื้นฟูบูรณะมากกว่าการป้องกัน อย่างไรก็ตาม ท้องถิ่นและชุมชนเริ่มมีความตื่นตัว และเริ่มมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่การดำเนินการตามหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายยังไม่เกิดผลเท่าที่ควร
นอกจากนี้รองเลขาธิการ สศช. ยังได้ชี้แจงเพิ่มเติมถึงกรณีที่มีการดำเนินการเพื่อลดผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจต่อคนและสังคมของไทยที่ผ่านมาว่า ได้มีการปูพื้นฐานการพัฒนาตามเป้าหมายของแผนฯ 8 โดยให้ระดมทรัพยากรจากภายนอกประเทศเข้ามาชดเชยข้อจำกัดทางด้านงบประมาณแผ่นดิน เพื่อเร่งขยายวงเงินช่วยเหลือกลุ่มคนชรา คนพิการ และสตรี ฯลฯ รวมทั้งการช่วยเหลือเด็กนักเรียนที่ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน ตลอดจนการพยายามสร้างงานให้ผู้ตกงานอันเนื่องจากการปิดกิจการโรงงานต่าง ๆ ในภาวะเศรษฐกิจซบเซา นอกจากนี้ยังได้เร่งรัดพัฒนาระบบข้อมูลด้านคนและสังคมเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 8/สิงหาคม 2542--