เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2542 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดสัมมนาเชิงวิชาการเศรษฐกิจมหภาคประจำปี 2542 เรื่อง "อนาคตเศรษฐกิจ : ทิศทางและนโยบาย" ณ โรงแรมอโนมา กรุงเทพมหานคร เพื่อนำเสนอผลงานวิชาการทางด้านเศรษฐกิจต่อหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานได้กล่าวเปิดการสัมมนาว่า หน้าที่ของสำนักงานฯ ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การศึกษาวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจเพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว ดังนั้น สำนักงานฯ จึงได้มีนโยบายที่จะส่งเสริมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนพัฒนาประเทศ ทั้งที่เป็นงานศึกษาวิจัยเชิงนโยบายที่สำนักงานฯ เป็นผู้ดำเนินการ และการร่วมมือกับนักวิชาการภายนอก รวมทั้งสถาบันวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนให้มีการนำเสนอผลงานการศึกษาวิจัยในเวทีสัมมนาวิชาการประจำปี โดยหัวข้อการสัมมนาคงจะขยายขอบเขตให้กว้างขวางและครอบคลุมยิ่งขึ้น รวมถึงประเด็นนโยบายทางด้านสังคม ทั้งนี้ หัวข้อการสัมมนาในแต่ละปีจะได้มีการคัดเลือกและกำหนดล่วงหน้า เพื่อให้มีระยะเวลาทำการศึกษาวิจัยได้อย่างเพียงพอ
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า การสัมมนาครั้งนี้ได้เลือกหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญ 3 เรื่อง มานำเสนอ คือ
1) ภาพรวมและทิศทางนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งครอบคลุม 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ การวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2542 - 2543 การวิเคราะห์ทิศทางนโยบายการเงินการคลัง และการฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน
2) ทิศทางนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ
3) ทิศทางนโบายการเพิ่มผลผลิตของประเทศ
นอกจากนี้ เลขาธิการฯ ยังได้ฝากประเด็นการสัมมนาไว้ 3 ประการ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของ สศช. ในการวางแผนและเสนอแนะนโยบายเศรษฐกิจมหภาคสรุปได้ดังนี้
ประการหนึ่ง ความยั่งยืนของภาวะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ขณะนี้แม้ว่าภาคการเงินจะมีความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาในระดับหนึ่ง แต่ยังมีอีกหลายส่วนที่จะต้องพิจารณา เช่น ความยั่งยืนของฐานะทางการคลัง การพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และการนำเสนอเครื่องมือนโยบายทางการเงินใหม่ ๆ มาใช้ เช่น นโยบายการเงินเพื่อกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทย และเป็นเรื่องท้าทายในทางปฏิบัติ
ประการที่สอง ความจำเป็นของการพัฒนาระบบข้อมูลเตือนภัยทางเศรษฐกิจ ซึ่งขณะนี้ สศช. ได้ริเริ่มไว้บ้างแล้ว โดยเฉพาะการพัฒนาระบบข้อมูลระยะสั้น เช่น การจัดทำตัวเลข GDP รายไตรมาส เป็นต้น
ประการที่สาม การประเมินสิทธิผลของนโยบายในระยะที่ผ่านมา การดำเนินนโยบายและมาตรการในบางเรื่อง โดยเฉพาะนโยบายการเงิน เป็นเรื่องที่ทดลองทำภายใต้คำแนะนำของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ แต่การประเมินประสิทธิผลของนโยบายและมาตรการค่อนข้างล่าช้า และในบางครั้งก่อให้เกิดความล่าช้าของการฟื้นตัวของระบบการเงิน และส่งผลกระทบต่อภาวะการฟื้นฟูของเศรษฐกิจในที่สุด
สำหรับความเป็นมาของการจัดสัมมนาครั้งนี้ เนื่องจาก สศช.ได้ตระหนักถึงความจำเป็นของการศึกษาวิจัยเชิงนโยบาย เพื่อนำไปสู่กระบวนการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศ ประกอบกับ สศช. ได้เริ่มกระบวนการจัดเตรียมแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 จึงได้จัดการสัมมนาวิชาการครั้งนี้ขึ้น เพื่อเป็นการนำร่องไปสู่การจัดให้มีเวทีสัมมนาประจำปีเพื่อนำเสนอผลงานศึกษาวิจัยของ สศช. และของนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยทั้งของภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศไทย โดยเน้นประเด็นมหภาค รวมทั้งเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ของ สศช. ได้รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงงานของ สศช. นอกจากนี้ ยังเป็นการเผยแพร่ข้อมูลและผลงานทางวิชาการที่อยู่ในความรับผิดชอบของ สศช. ให้กับสาธารณชน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 10/ตุลาคม 2542--
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานได้กล่าวเปิดการสัมมนาว่า หน้าที่ของสำนักงานฯ ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การศึกษาวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจเพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว ดังนั้น สำนักงานฯ จึงได้มีนโยบายที่จะส่งเสริมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนพัฒนาประเทศ ทั้งที่เป็นงานศึกษาวิจัยเชิงนโยบายที่สำนักงานฯ เป็นผู้ดำเนินการ และการร่วมมือกับนักวิชาการภายนอก รวมทั้งสถาบันวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนให้มีการนำเสนอผลงานการศึกษาวิจัยในเวทีสัมมนาวิชาการประจำปี โดยหัวข้อการสัมมนาคงจะขยายขอบเขตให้กว้างขวางและครอบคลุมยิ่งขึ้น รวมถึงประเด็นนโยบายทางด้านสังคม ทั้งนี้ หัวข้อการสัมมนาในแต่ละปีจะได้มีการคัดเลือกและกำหนดล่วงหน้า เพื่อให้มีระยะเวลาทำการศึกษาวิจัยได้อย่างเพียงพอ
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า การสัมมนาครั้งนี้ได้เลือกหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญ 3 เรื่อง มานำเสนอ คือ
1) ภาพรวมและทิศทางนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งครอบคลุม 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ การวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2542 - 2543 การวิเคราะห์ทิศทางนโยบายการเงินการคลัง และการฟื้นฟูระบบสถาบันการเงิน
2) ทิศทางนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ
3) ทิศทางนโบายการเพิ่มผลผลิตของประเทศ
นอกจากนี้ เลขาธิการฯ ยังได้ฝากประเด็นการสัมมนาไว้ 3 ประการ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของ สศช. ในการวางแผนและเสนอแนะนโยบายเศรษฐกิจมหภาคสรุปได้ดังนี้
ประการหนึ่ง ความยั่งยืนของภาวะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ขณะนี้แม้ว่าภาคการเงินจะมีความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาในระดับหนึ่ง แต่ยังมีอีกหลายส่วนที่จะต้องพิจารณา เช่น ความยั่งยืนของฐานะทางการคลัง การพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และการนำเสนอเครื่องมือนโยบายทางการเงินใหม่ ๆ มาใช้ เช่น นโยบายการเงินเพื่อกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องใหม่ในประเทศไทย และเป็นเรื่องท้าทายในทางปฏิบัติ
ประการที่สอง ความจำเป็นของการพัฒนาระบบข้อมูลเตือนภัยทางเศรษฐกิจ ซึ่งขณะนี้ สศช. ได้ริเริ่มไว้บ้างแล้ว โดยเฉพาะการพัฒนาระบบข้อมูลระยะสั้น เช่น การจัดทำตัวเลข GDP รายไตรมาส เป็นต้น
ประการที่สาม การประเมินสิทธิผลของนโยบายในระยะที่ผ่านมา การดำเนินนโยบายและมาตรการในบางเรื่อง โดยเฉพาะนโยบายการเงิน เป็นเรื่องที่ทดลองทำภายใต้คำแนะนำของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ แต่การประเมินประสิทธิผลของนโยบายและมาตรการค่อนข้างล่าช้า และในบางครั้งก่อให้เกิดความล่าช้าของการฟื้นตัวของระบบการเงิน และส่งผลกระทบต่อภาวะการฟื้นฟูของเศรษฐกิจในที่สุด
สำหรับความเป็นมาของการจัดสัมมนาครั้งนี้ เนื่องจาก สศช.ได้ตระหนักถึงความจำเป็นของการศึกษาวิจัยเชิงนโยบาย เพื่อนำไปสู่กระบวนการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศ ประกอบกับ สศช. ได้เริ่มกระบวนการจัดเตรียมแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 จึงได้จัดการสัมมนาวิชาการครั้งนี้ขึ้น เพื่อเป็นการนำร่องไปสู่การจัดให้มีเวทีสัมมนาประจำปีเพื่อนำเสนอผลงานศึกษาวิจัยของ สศช. และของนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยทั้งของภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศไทย โดยเน้นประเด็นมหภาค รวมทั้งเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ของ สศช. ได้รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงงานของ สศช. นอกจากนี้ ยังเป็นการเผยแพร่ข้อมูลและผลงานทางวิชาการที่อยู่ในความรับผิดชอบของ สศช. ให้กับสาธารณชน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 10/ตุลาคม 2542--