สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงข่าวผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสที่ 2/2544 อยู่ในภาวะทรงตัว โดยขยายตัวจากระยะเดียวกันของปีที่ 2/2544 อยู่ในภาวะทรงตัว โดยขยายตัวจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 1.9 สูงกว่าร้อยละ 1.8 ในไตรมาส 1/2544 เพียงเล็กน้อย ทั้งนี้เนื่องจากรายรับจากการส่งออกและการใช้จ่ายของรัฐบาลลดลง
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แถลงข่าวแก่สื่อมวลชนเรื่อง สรุปภาวะเศรษฐกิจจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาสที่ 2/2544 ณ ห้องประชุม เดช สนิทวงศ์ เมื่อวันจันทร์ที่ 17 กันยายน 2544 โดยเปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจวัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP ในไตรมาส 2/2544 อยู่ในภาวะทรงตัวโดยขยายตัวจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 1.9 สูงกว่าร้อยละ 1.8 ในไตรมาส 1/2544 เล็กน้อย และหากปรับด้วยดัชนีฤดูกาลแล้ว GDP ในไตรมาสที่ 2/2544 ขยายตัวจากไตรมาสแรกร้อยละ 0.9 เป็นผลทำให้เศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกขยายตัวได้ร้อยละ 1.9 ต่ำกว่าร้อยละ 5.8 ในปีที่แล้ว
การขยายตัวของ GDP ในไตรมาสที่ 2 มาจากปัจจัยภายในที่สำคัญคือ การใช้จ่ายของครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 และการลงทุนขยายตัวร้อยละ 5.3 ประกอบกับปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการที่หดตัวลงมากถึงร้อยละ 6.9 ส่งผลให้การผลิตในประเทศบางส่วนขยายตัวตอบสนองความต้องการอุปโภคบริโภคและความต้องการลงทุนได้ อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่มีผลทำให้ GDP ขยายตัวไม่สูงนักที่สำคัญคือรายรับจากการส่งออกสินค้าและบริการในราคาปีฐานลดลงร้อยละ 1.4 ขณะที่การใช้จ่ายของรัฐบาลในราคาปีฐานเช่นกันลดลงร้อยละ 0.3
ทั้งนี้ ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 สูงกว่าร้อยละ 2.7 ในไตรมาสที่แล้ว เทียบกับดัชนีราคาผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 และดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มร้อยละ 4.2 โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในไตรมาสนี้มีมูลค่า 1,249.8 พันล้านบาท เมื่อหักด้วยผลตอบแทนจากปัจจัยการผลิตสุทธิจ่ายออกไปต่างประเทศจำนวน 13.2 พันล้านบาทแล้ว คงเหลือเป็นผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Product; GNP) เท่ากับ 1,236.6 พันล้านบาท มูลค่าที่แท้จริงเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า ในด้านการผลิต ภาคเกษตร ขยายตัวร้อยละ 2.0 ปรับตัวดีกว่าไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 โดยเป็นผลมาจากหมวดพืชผลที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้นโดยเฉพาะยางพารา ถั่วเหลือง ผลไม้ และปศุสัตว์ คือ ไก่เนื้อ ส่วนภาคนอกเกษตร ขยายตัวร้อยละ 1.9 เทียบกับร้อยละ 1.8 ในไตรมาสที่แล้ว
สำหรับสาขาการผลิตที่ขยายตัว ได้แก่ สาขาคมนาคมและขนส่ง ขยายตัวร้อยละ 4.4 สูงกว่าร้อยละ 3.6 ในไตรมาสแรก เนื่องจากรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เพิ่มขึ้น สาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 1.5 เท่ากับไตรมาสแรก ซึ่งถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมทุนและเทคโนโลยีจะลดลงร้อยละ 5.6 แต่อุตสาหกรรมเบาซึ่งขยายตัวร้อยละ 3.2 และอุตสาหกรรมผลิตวัตถุดิบและสินค้ากึ่งสำเร็จรูปซึ่งขยายตัวร้อยละ 7.6 ส่งผลให้สาขาอุตสาหกรรมโดยรวมขยายตัว สาขาการเงินเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ดีกว่าไตรมาสที่แล้วเล็กน้อย เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีรายรับดีขึ้น และสาขาบริการ มีบางรายการที่ขยายตัวเช่น บริการสาธารณสุข บริการสังคมและส่วนบุคคล เป็นต้น
สาขาการผลิตที่ชะลอตัว ได้แก่ สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ชะลอตัวลงเล็กน้อยโดยมีอัตราขยายตัวร้อยละ 4.7 เทียบกับร้อยละ 4.9 ในไตรมาสแรก เป็นการชะลอลงตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งในไตรมาสที่ 2 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 ต่ำกว่าอัตราเพิ่มร้อยละ 8.0 ของไตรมาสแรก อย่างไรก็ดียังนับว่าเป็นอัตราเพิ่มที่สูง เนื่องจากผลจากการดำเนินมาตรการตลาดท่องเที่ยวเชิงรุกของรัฐบาล สาขาไฟฟ้า ขยายตัวร้อยละ 5.5 เทียบกับร้อยละ 6.0 ในไตรมาสที่แล้ว และสาขาการค้าส่งและค้าปลีก ขยายตัวร้อยละ 2.2 ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวมและการค้าสินค้านำเข้า
สาขาการผลิตที่หดตัว ได้แก่ สาขาการก่อสร้าง ซึ่งยังคงเป็นสาขาการผลิตเดียวที่หดตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยไตรมาสที่ 2 หดตัวร้อยละ 10.9 ซึ่งหดตัวมากกว่าอัตราหดตัวร้อยละ 5.5 ในไตรมาสแรก
ด้านการใช้จ่าย รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 3.5 สูงกว่าร้อยละ 3.3 ในไตรมาสที่แล้ว โดยมีผลมาจากรายได้ รวมทั้งการขึ้นเงินเดือนของภาครัฐและอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำ การใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายด้านขนส่งและสื่อสาร โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านโทรศัพท์ซึ่งมีการลดราคาเพื่อทำยอดขาย และรายจ่ายซื้อยานพาหนะประเภทรถยนต์และจักรยานยนต์ ซึ่งมีรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด ส่วนค่าใช้จ่ายประเภทอาหารและของใช้อื่นโดยเฉลี่ยแล้วมีแนวโน้มทรงตัว ยกเว้นบางรายการที่ครัวเรือนใช้จ่ายลดลง เช่น การอุปโภคเนื้อสัตว์ ปลาและสัตว์น้ำ และเสื้อผ้า
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล มีมูลค่าตามราคาประจำปี 145,565 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เนื่องจากมีการขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ส่วนมูลค่าที่แท้จริงลดลงร้อยละ 0.3 ประกอบด้วยเงินเดือนและค่าจ้างชะลอลงโดยขยายตัวร้อยละ 0.2 ขณะที่ค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 1.3 สาเหตุสำคัญเป็นเพราะนโยบายปรับลดจำนวนข้าราชการตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านบุคคลของรัฐลดลง และการใช้จ่ายจากเงินกู้ลดลงรวมทั้งเงินกู้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่เริ่มอยู่ในระยะสุดท้ายทำให้จำนวนเงินกู้มีปริมาณลดลง
การลงทุน ขยายตัวร้อยละ 5.3 เทียบกับอัตราหดตัวร้อยละ 5.8 ในไตรมาสแรกโดยการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลง และภาครัฐขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยการลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 4.8 ต่ำกว่าร้อยละ 8.9 ในไตรมาสแรก ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นในสิ่งปลูกสร้างและที่อยู่อาศัย ขณะที่การลงทุนด้านเครื่องจักรเครื่องมือลดลง การลงทุนภาครัฐบาล ขยายตัวร้อยละ 6.3 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว การลงทุนก่อสร้างลดลง แต่การซื้อเครื่องจักรเครื่องมือและอุปกรณ์ยานพาหนะเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะมีการนำเข้าเครื่องบินโดยสารและอุปกรณ์จำนวน 2 ลำ ซึ่งหากไม่รวมเครื่องบินและอุปกรณ์ดังกล่าวแล้วการลงทุนของภาครัฐลดลงร้อยละ 10.9
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กล่าวต่อไปว่า สำหรับด้านต่างประเทศ รายรับจากการส่งออกสินค้า มีมูลค่า 709,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 เทียบเป็นเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. เท่ากับ 15,635 ล้านเหรียญ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.6 และเมื่อวัดมูลค่าการส่งออกในราคาคงที่หรืออีกนัยหนึ่งก็คือปริมาณส่งออกแล้ว ลดลงร้อยละ 1.6 ดีกว่าไตรมาสแรกที่ลดลงร้อยละ 3.5
สำหรับรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้านำเข้า มีมูลค่า 690,834 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 หรือเท่ากับ 15,233 ล้านเหรียญ สรอ. เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.9 แสดงให้เห็นว่าผู้นำเข้าต้องรับภาระจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง ในขณะที่ผู้ส่งออกได้รับประโยชน์ดีขึ้น อย่างไรก็ดีมูลค่าการนำเข้าสินค้าในราคาคงที่ลดลงร้อยละ 10.0 ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นกว่าไตรมาสแรกที่อัตราการหดตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.9
ในด้านดุลการค้าและบริการ เกินดุล 52.6 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับรายได้จากต่างประเทศสุทธิและเงินโอนสุทธิซึ่งรวมแล้วขาดดุลเท่ากับ 6.3 พันล้านบาทแล้ว ดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาสนี้เกินดุลเท่ากับ 46.3 พันล้านบาทหรือร้อยละ 3.7 ต่อ GDP เทียบกับร้อยละ 4.7 ในไตรมาสที่แล้ว
นอกจากนี้ เลขาธิการฯ ยังได้กล่าวถึงแนวโน้มของเศรษฐกิจไทยปี 2544 ว่า ในครึ่งหลังของปี เงื่อนไขเศรษฐกิจโลกจะยังไม่เอื้ออำนวยต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ ในกรณีที่การตอบโต้ต่อการก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ มีความยืดเยื้อ จะมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของไทย ประกอบกับการเข้าสู่ฤดูหนาวของซีกโลกตอนเหนือทำให้มีความเสี่ยงเรื่องราคาน้ำมันดิบที่อาจจะเพิ่มขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม การดำเนินมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของรัฐบาล โดยเฉพาะการใช้งบประมาณค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวน 58,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะมีโครงการบางส่วนมีความพร้อมและเริ่มเบิกจ่ายได้ตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายปีนี้ จะช่วยกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ และสามารถรักษาการขยายตัวทางเศรษฐกิจตลอดทั้งปี 2544 ในอัตราร้อยละ 1.5-2.0 ได้
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 9/กันยายน 2544--
-สส-
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แถลงข่าวแก่สื่อมวลชนเรื่อง สรุปภาวะเศรษฐกิจจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาสที่ 2/2544 ณ ห้องประชุม เดช สนิทวงศ์ เมื่อวันจันทร์ที่ 17 กันยายน 2544 โดยเปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจวัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP ในไตรมาส 2/2544 อยู่ในภาวะทรงตัวโดยขยายตัวจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 1.9 สูงกว่าร้อยละ 1.8 ในไตรมาส 1/2544 เล็กน้อย และหากปรับด้วยดัชนีฤดูกาลแล้ว GDP ในไตรมาสที่ 2/2544 ขยายตัวจากไตรมาสแรกร้อยละ 0.9 เป็นผลทำให้เศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกขยายตัวได้ร้อยละ 1.9 ต่ำกว่าร้อยละ 5.8 ในปีที่แล้ว
การขยายตัวของ GDP ในไตรมาสที่ 2 มาจากปัจจัยภายในที่สำคัญคือ การใช้จ่ายของครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 และการลงทุนขยายตัวร้อยละ 5.3 ประกอบกับปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการที่หดตัวลงมากถึงร้อยละ 6.9 ส่งผลให้การผลิตในประเทศบางส่วนขยายตัวตอบสนองความต้องการอุปโภคบริโภคและความต้องการลงทุนได้ อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่มีผลทำให้ GDP ขยายตัวไม่สูงนักที่สำคัญคือรายรับจากการส่งออกสินค้าและบริการในราคาปีฐานลดลงร้อยละ 1.4 ขณะที่การใช้จ่ายของรัฐบาลในราคาปีฐานเช่นกันลดลงร้อยละ 0.3
ทั้งนี้ ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 สูงกว่าร้อยละ 2.7 ในไตรมาสที่แล้ว เทียบกับดัชนีราคาผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 และดัชนีราคาผู้ผลิตเพิ่มร้อยละ 4.2 โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในไตรมาสนี้มีมูลค่า 1,249.8 พันล้านบาท เมื่อหักด้วยผลตอบแทนจากปัจจัยการผลิตสุทธิจ่ายออกไปต่างประเทศจำนวน 13.2 พันล้านบาทแล้ว คงเหลือเป็นผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (Gross National Product; GNP) เท่ากับ 1,236.6 พันล้านบาท มูลค่าที่แท้จริงเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.6
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า ในด้านการผลิต ภาคเกษตร ขยายตัวร้อยละ 2.0 ปรับตัวดีกว่าไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 โดยเป็นผลมาจากหมวดพืชผลที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้นโดยเฉพาะยางพารา ถั่วเหลือง ผลไม้ และปศุสัตว์ คือ ไก่เนื้อ ส่วนภาคนอกเกษตร ขยายตัวร้อยละ 1.9 เทียบกับร้อยละ 1.8 ในไตรมาสที่แล้ว
สำหรับสาขาการผลิตที่ขยายตัว ได้แก่ สาขาคมนาคมและขนส่ง ขยายตัวร้อยละ 4.4 สูงกว่าร้อยละ 3.6 ในไตรมาสแรก เนื่องจากรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เพิ่มขึ้น สาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 1.5 เท่ากับไตรมาสแรก ซึ่งถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมทุนและเทคโนโลยีจะลดลงร้อยละ 5.6 แต่อุตสาหกรรมเบาซึ่งขยายตัวร้อยละ 3.2 และอุตสาหกรรมผลิตวัตถุดิบและสินค้ากึ่งสำเร็จรูปซึ่งขยายตัวร้อยละ 7.6 ส่งผลให้สาขาอุตสาหกรรมโดยรวมขยายตัว สาขาการเงินเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ดีกว่าไตรมาสที่แล้วเล็กน้อย เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีรายรับดีขึ้น และสาขาบริการ มีบางรายการที่ขยายตัวเช่น บริการสาธารณสุข บริการสังคมและส่วนบุคคล เป็นต้น
สาขาการผลิตที่ชะลอตัว ได้แก่ สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ชะลอตัวลงเล็กน้อยโดยมีอัตราขยายตัวร้อยละ 4.7 เทียบกับร้อยละ 4.9 ในไตรมาสแรก เป็นการชะลอลงตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งในไตรมาสที่ 2 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 ต่ำกว่าอัตราเพิ่มร้อยละ 8.0 ของไตรมาสแรก อย่างไรก็ดียังนับว่าเป็นอัตราเพิ่มที่สูง เนื่องจากผลจากการดำเนินมาตรการตลาดท่องเที่ยวเชิงรุกของรัฐบาล สาขาไฟฟ้า ขยายตัวร้อยละ 5.5 เทียบกับร้อยละ 6.0 ในไตรมาสที่แล้ว และสาขาการค้าส่งและค้าปลีก ขยายตัวร้อยละ 2.2 ชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโดยรวมและการค้าสินค้านำเข้า
สาขาการผลิตที่หดตัว ได้แก่ สาขาการก่อสร้าง ซึ่งยังคงเป็นสาขาการผลิตเดียวที่หดตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยไตรมาสที่ 2 หดตัวร้อยละ 10.9 ซึ่งหดตัวมากกว่าอัตราหดตัวร้อยละ 5.5 ในไตรมาสแรก
ด้านการใช้จ่าย รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 3.5 สูงกว่าร้อยละ 3.3 ในไตรมาสที่แล้ว โดยมีผลมาจากรายได้ รวมทั้งการขึ้นเงินเดือนของภาครัฐและอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำ การใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายด้านขนส่งและสื่อสาร โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านโทรศัพท์ซึ่งมีการลดราคาเพื่อทำยอดขาย และรายจ่ายซื้อยานพาหนะประเภทรถยนต์และจักรยานยนต์ ซึ่งมีรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด ส่วนค่าใช้จ่ายประเภทอาหารและของใช้อื่นโดยเฉลี่ยแล้วมีแนวโน้มทรงตัว ยกเว้นบางรายการที่ครัวเรือนใช้จ่ายลดลง เช่น การอุปโภคเนื้อสัตว์ ปลาและสัตว์น้ำ และเสื้อผ้า
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล มีมูลค่าตามราคาประจำปี 145,565 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เนื่องจากมีการขึ้นเงินเดือนข้าราชการ ส่วนมูลค่าที่แท้จริงลดลงร้อยละ 0.3 ประกอบด้วยเงินเดือนและค่าจ้างชะลอลงโดยขยายตัวร้อยละ 0.2 ขณะที่ค่าใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 1.3 สาเหตุสำคัญเป็นเพราะนโยบายปรับลดจำนวนข้าราชการตามโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านบุคคลของรัฐลดลง และการใช้จ่ายจากเงินกู้ลดลงรวมทั้งเงินกู้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่เริ่มอยู่ในระยะสุดท้ายทำให้จำนวนเงินกู้มีปริมาณลดลง
การลงทุน ขยายตัวร้อยละ 5.3 เทียบกับอัตราหดตัวร้อยละ 5.8 ในไตรมาสแรกโดยการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลง และภาครัฐขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยการลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 4.8 ต่ำกว่าร้อยละ 8.9 ในไตรมาสแรก ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นในสิ่งปลูกสร้างและที่อยู่อาศัย ขณะที่การลงทุนด้านเครื่องจักรเครื่องมือลดลง การลงทุนภาครัฐบาล ขยายตัวร้อยละ 6.3 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว การลงทุนก่อสร้างลดลง แต่การซื้อเครื่องจักรเครื่องมือและอุปกรณ์ยานพาหนะเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะมีการนำเข้าเครื่องบินโดยสารและอุปกรณ์จำนวน 2 ลำ ซึ่งหากไม่รวมเครื่องบินและอุปกรณ์ดังกล่าวแล้วการลงทุนของภาครัฐลดลงร้อยละ 10.9
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กล่าวต่อไปว่า สำหรับด้านต่างประเทศ รายรับจากการส่งออกสินค้า มีมูลค่า 709,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.7 เทียบเป็นเงินสกุลดอลลาร์ สรอ. เท่ากับ 15,635 ล้านเหรียญ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.6 และเมื่อวัดมูลค่าการส่งออกในราคาคงที่หรืออีกนัยหนึ่งก็คือปริมาณส่งออกแล้ว ลดลงร้อยละ 1.6 ดีกว่าไตรมาสแรกที่ลดลงร้อยละ 3.5
สำหรับรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้านำเข้า มีมูลค่า 690,834 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.8 หรือเท่ากับ 15,233 ล้านเหรียญ สรอ. เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.9 แสดงให้เห็นว่าผู้นำเข้าต้องรับภาระจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลง ในขณะที่ผู้ส่งออกได้รับประโยชน์ดีขึ้น อย่างไรก็ดีมูลค่าการนำเข้าสินค้าในราคาคงที่ลดลงร้อยละ 10.0 ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นกว่าไตรมาสแรกที่อัตราการหดตัวอยู่ที่ร้อยละ 5.9
ในด้านดุลการค้าและบริการ เกินดุล 52.6 พันล้านบาท และเมื่อรวมกับรายได้จากต่างประเทศสุทธิและเงินโอนสุทธิซึ่งรวมแล้วขาดดุลเท่ากับ 6.3 พันล้านบาทแล้ว ดุลบัญชีเดินสะพัดในไตรมาสนี้เกินดุลเท่ากับ 46.3 พันล้านบาทหรือร้อยละ 3.7 ต่อ GDP เทียบกับร้อยละ 4.7 ในไตรมาสที่แล้ว
นอกจากนี้ เลขาธิการฯ ยังได้กล่าวถึงแนวโน้มของเศรษฐกิจไทยปี 2544 ว่า ในครึ่งหลังของปี เงื่อนไขเศรษฐกิจโลกจะยังไม่เอื้ออำนวยต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ ในกรณีที่การตอบโต้ต่อการก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ มีความยืดเยื้อ จะมีผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของไทย ประกอบกับการเข้าสู่ฤดูหนาวของซีกโลกตอนเหนือทำให้มีความเสี่ยงเรื่องราคาน้ำมันดิบที่อาจจะเพิ่มขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม การดำเนินมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของรัฐบาล โดยเฉพาะการใช้งบประมาณค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวน 58,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะมีโครงการบางส่วนมีความพร้อมและเริ่มเบิกจ่ายได้ตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายปีนี้ จะช่วยกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ และสามารถรักษาการขยายตัวทางเศรษฐกิจตลอดทั้งปี 2544 ในอัตราร้อยละ 1.5-2.0 ได้
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 9/กันยายน 2544--
-สส-