สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) จัดสัมมนาเรื่อง สถานการณ์ความยากจนและกรอบแนวทางแก้ไขปัญหาความยากจน โดยระบุว่า การแก้ไขปัญหาความยากจนประกอบด้วย 2 แนวทางหลักคือ แนวทางลดความยากจนของกลุ่มเป้าหมายคนจนในชนบทและคนจนในเมืองและแนวทางการส่งเสริมนโยบายและระบบบริหารจัดการที่ดีเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความยากจน
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวในการเสวนาระดมสมองเรื่อง สถานการณ์ความยากจน และกรอบแนวทางแก้ไขปัญหาความยากจน เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2544 ณ โรงแรมโซฟีเทลเซ็นทรัลพลาซา กรุงเทพมหานคร ว่า การแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นวัตถุประสงค์สำคัญประการหนึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 โดยการจัดทำกรอบแนวทางแก้ไขปัญหาความยากจนนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขและลดความยากจนในชนบทและในเมือง โดยปรับกระบวนทัศน์การพัฒนาให้เป็นองค์รวมภายใต้การมีส่วนร่วมของคนจน และเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาที่ส่งผลกระทบต่อคนยากจน โดยวางรากฐานการปฏิรูปเชิงโครงสร้างด้วยการปรับนโยบายการพัฒนาให้เป็นองค์รวมภายใต้การมีส่วนร่วมของคนจน และเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาที่ส่งผลกระทบต่อคนยากจน โดยวางรากฐานการปฏิรูปเชิงโครงสร้างด้วยการปรับนโยบายการพัฒนาระบบบริหารจัดการ และกฎระเบียบให้เอื้อต่อคนจน โดยแนวทางในการแก้ไขปัญหาความยากจน ควรจะประกอบด้วย 2 แนวทางหลัก คือ แนวทางลดความยากจนของกลุ่มเป้าหมายคนจนในชนบทและคนจนในเมือง แนะแนวทางการส่งเสริมนโยบายและระบบบริหารจัดการที่ดีเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาความยากจน
สำหรับแนวทางลดความยากจนของกลุ่มเป้าหมายคนจนในชนบท จะเน้นความสำคัญเรื่อง การปรับโครงสร้างเกษตรโดยสนับสนุนการเกษตรแบบยั่งยืน การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้ การส่งเสริมภูมิปัญญาและเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้คนในชนบท และการเสริมสร้างการรวมกลุ่มของคนจนให้ขยายเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายที่เข้มแข็ง
ส่วนแนวทางลดความยากจนของกลุ่มเป้าหมายคนจนในเมือง จะเน้นความสำคัญเรื่อง การเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาชีพและรายได้ โดยเน้นการรวมตัวเป็นกลุ่มให้ท้องถิ่นจัดทำแผนพัฒนาและจัดหาที่อยู่ที่เหมาะสมของชาวชุมชนแออัด การปรับปรุงสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของผู้อาศัยในชุมชนแออัดและคนจนเมืองให้น่าอยู่ โดยมีชุมชนเป็นแกนในการพัฒนาแก้ไข ปัญหาของตน และการขยายเครือข่ายชุมชนเมืองและพัฒนาให้แข้มแข็งเชื่อมโยงกับภาคชนบท
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า แนวทางการส่งเสริมนโยบาย และระบบบริหารจัดการที่ดีเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาความยากจน ประกอบด้วย 3 แนวทางย่อยที่สำคัญ ได้แก่
1) การส่งเสริมนโยบายเศรษฐกิจที่เอื้อต่อการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่คนจน
2) การส่งเสริมบริการพื้นฐานและพัฒนาระบบการคุ้มครองทางสังคม และ
3) การเสริมสร้างระบบบริหารจัดการที่ดี
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม ยังกล่าวอีกว่า สำหรับกระบวนการแก้ไขปัญหาาความยากจน ควรผลักดันนโยบายการลดความยากจน ควรผลักดันนโยบายการลดความยากจนให้เป็นประเด็นสาธารณะที่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในสังคม โดยเปิดโอกาสให้คนจนซึ่งเป็นเจ้าของปัญหาได้มีส่วนร่วมในทุกระดับและควรจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาความยากจนโดยยึดหลักพื้นที่ ภารกิจ และการมีส่วนร่วมที่เชื่อมโยงทุกระดับ โดยเริ่มตั้งแต่แผนของชุมชนกับแผนปฎิบัติการแก้ไขปัญหาความยากจนโดยยึดหลักพื้นที่ ภารกิจ และการมีส่วนร่วมที่เชื่อมโยงทุกระดับ โดยเริ่มตั้งแต่แผนของชุมชนกับแผนปฎิบัติการระดับท้องถิ่น อำเภอจังหวัด กระทรวง และระดับชาติ รวมทั้งควรส่งเสริมให้มีการประสานเครือข่ายการแก้ไขปัญหาความยากจนของทุกภาคส่วนในสังคม เพื่อสนับสนุนการแปลงแผนสู่ภาคปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การกำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพกำลังคน
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอร่างแนวทางการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพกำลังคนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา ซึ่งเน้นการฝึกอบรมให้แก่ผู้ที่กำลังหางานทำและผู้ที่กำลังทำงานอยู่ โดยเป็นการร่วมมือกับภาคเอกชน ซึ่งที่ประชุมขอให้ภาคเอกชนเสนอรายละเอียดการฝึกอบรมต่อ สศช.
นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะโฆษกสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2544 ได้มีการประชุมเรื่อง"แนวทางการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพกำลังคน ครั้งที่ 1" ณ ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล โดยมีนายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
โฆษกสำนักงานฯ กล่าวว่า สศช. ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้จัดทำร่างแนวทางการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพกำลังคนขึ้น และที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาร่างฯดังกล่าว โดยมีมติสรุปได้ดังนี้
1. สาระสำคัญของแนวทางการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพกำลังคน ควรมีหลักการว่า เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพคุณภาพ และเพิ่มพูนความรู้ให้กับผู้หางานทำ และผู้ที่กำลังทำงานอยู่ ที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพหรือเพิ่มทักษะต่างๆ โดยมีเป้าหมายได้แก่ ประชากรวัยทำงานที่อยู่นอกระบบโรงเรียน
2. แนวทางการเพิ่มศักยภาพ ควรแบ่งเป็น
- ภาคอุตสาหกรรม เพิ่มศักยภาพด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงคุณภาพ รูปแบบ
- ภาคเกษตรกรรม เพิ่มศักยภาพด้านธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตร การประกอบธุรกิจขนาดเล็ก
- ภาคบริการ เพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยว ธุรกิจการให้บริการต่างๆ
- หลักสูตรที่ควรอบรมเพิ่มเติม ได้แก่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การประกอบธุรกิจขนาดเล็ก ภาษาต่างประเทศคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การประกอบอาชีพอิสระด้านการประกอบอาหารไทย นวดแผนไทย และมัคคุเทศก์ เป็นต้น
3. วิธีการดำเนินงาน ภาครัฐควรให้การสนับสนุนงบประมาณค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมแก่สถาบันที่จัดฝึกอบรม รวมทั้งให้เบี้ยเลี้ยงแก่ผู้ที่ยังไม่มีงานทำและผู้ที่มีงานทำและผู้ที่มีงานทำในสถานประกอบการขนาดเล็ก ส่วนสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไป ให้จ่ายเบี้ยเลี้ยงให้แก่พนักงานที่เข้ารับการฝึกอบรมเอง สำหรับภาคเอกชนที่มีการจัดฝึกอบรมอยู่แล้ว สามารถเสนอหลักสูตรการฝึกอบรมของตนได้ โดยโครงการนี้มีระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี
4. ให้ภาคเอกชนเสนอโครงการฝึกอบรม ต่อ สศช. โดยกำหนดหลักสูตรที่ต้องการให้มีการฝึกอบรมพร้อมทั้งรายละเอียดจำแนกเป็นโครงการระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว และกำหนดสถาบันที่ควรจะเป็นผู้จัดการฝึกอบรมในแต่ละหลักสูตรทั้งสถาบันของรัฐหรือสถาบันของเอกชน หรือสถาบันอื่นที่รัฐมีส่วนร่วม หรืออาจจัดตั้งเป็นศูนย์เฉพาะกิจขึ้น
5. ควรมีการพิจารณาครูฝึกอบรมที่ได้มาตรฐานจากสถาบันฝึกอบรมเอกชน หน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานอื่นๆและควรกำหนดวิธีการสอน เช่น แบบ Learning Learner หรือ แบบ On the Job Training เป็นต้น ตลอดจนควรกำหนดวิธีการร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมด้วย
6. โครงการฝึกอบรมระยะสั้นและระยะกลาง ควรดำเนินการเพื่อให้เห็นผลภายใน 1 ปี ส่วนโครงการระยะยาว ควรพิจารณาเพื่อนำไปสู่การของบประมาณปี 2545 และดำเนินการโดยหน่วยงานที่ทำหน้าที่ฝึกอบรมอยู่แล้ว
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6 มิถุนายน 2544--
-สส-
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวในการเสวนาระดมสมองเรื่อง สถานการณ์ความยากจน และกรอบแนวทางแก้ไขปัญหาความยากจน เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2544 ณ โรงแรมโซฟีเทลเซ็นทรัลพลาซา กรุงเทพมหานคร ว่า การแก้ไขปัญหาความยากจน เป็นวัตถุประสงค์สำคัญประการหนึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 โดยการจัดทำกรอบแนวทางแก้ไขปัญหาความยากจนนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ไขและลดความยากจนในชนบทและในเมือง โดยปรับกระบวนทัศน์การพัฒนาให้เป็นองค์รวมภายใต้การมีส่วนร่วมของคนจน และเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาที่ส่งผลกระทบต่อคนยากจน โดยวางรากฐานการปฏิรูปเชิงโครงสร้างด้วยการปรับนโยบายการพัฒนาให้เป็นองค์รวมภายใต้การมีส่วนร่วมของคนจน และเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาที่ส่งผลกระทบต่อคนยากจน โดยวางรากฐานการปฏิรูปเชิงโครงสร้างด้วยการปรับนโยบายการพัฒนาระบบบริหารจัดการ และกฎระเบียบให้เอื้อต่อคนจน โดยแนวทางในการแก้ไขปัญหาความยากจน ควรจะประกอบด้วย 2 แนวทางหลัก คือ แนวทางลดความยากจนของกลุ่มเป้าหมายคนจนในชนบทและคนจนในเมือง แนะแนวทางการส่งเสริมนโยบายและระบบบริหารจัดการที่ดีเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาความยากจน
สำหรับแนวทางลดความยากจนของกลุ่มเป้าหมายคนจนในชนบท จะเน้นความสำคัญเรื่อง การปรับโครงสร้างเกษตรโดยสนับสนุนการเกษตรแบบยั่งยืน การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้ การส่งเสริมภูมิปัญญาและเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้คนในชนบท และการเสริมสร้างการรวมกลุ่มของคนจนให้ขยายเชื่อมโยงเป็นโครงข่ายที่เข้มแข็ง
ส่วนแนวทางลดความยากจนของกลุ่มเป้าหมายคนจนในเมือง จะเน้นความสำคัญเรื่อง การเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาชีพและรายได้ โดยเน้นการรวมตัวเป็นกลุ่มให้ท้องถิ่นจัดทำแผนพัฒนาและจัดหาที่อยู่ที่เหมาะสมของชาวชุมชนแออัด การปรับปรุงสภาพแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของผู้อาศัยในชุมชนแออัดและคนจนเมืองให้น่าอยู่ โดยมีชุมชนเป็นแกนในการพัฒนาแก้ไข ปัญหาของตน และการขยายเครือข่ายชุมชนเมืองและพัฒนาให้แข้มแข็งเชื่อมโยงกับภาคชนบท
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า แนวทางการส่งเสริมนโยบาย และระบบบริหารจัดการที่ดีเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาความยากจน ประกอบด้วย 3 แนวทางย่อยที่สำคัญ ได้แก่
1) การส่งเสริมนโยบายเศรษฐกิจที่เอื้อต่อการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่คนจน
2) การส่งเสริมบริการพื้นฐานและพัฒนาระบบการคุ้มครองทางสังคม และ
3) การเสริมสร้างระบบบริหารจัดการที่ดี
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม ยังกล่าวอีกว่า สำหรับกระบวนการแก้ไขปัญหาาความยากจน ควรผลักดันนโยบายการลดความยากจน ควรผลักดันนโยบายการลดความยากจนให้เป็นประเด็นสาธารณะที่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในสังคม โดยเปิดโอกาสให้คนจนซึ่งเป็นเจ้าของปัญหาได้มีส่วนร่วมในทุกระดับและควรจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาความยากจนโดยยึดหลักพื้นที่ ภารกิจ และการมีส่วนร่วมที่เชื่อมโยงทุกระดับ โดยเริ่มตั้งแต่แผนของชุมชนกับแผนปฎิบัติการแก้ไขปัญหาความยากจนโดยยึดหลักพื้นที่ ภารกิจ และการมีส่วนร่วมที่เชื่อมโยงทุกระดับ โดยเริ่มตั้งแต่แผนของชุมชนกับแผนปฎิบัติการระดับท้องถิ่น อำเภอจังหวัด กระทรวง และระดับชาติ รวมทั้งควรส่งเสริมให้มีการประสานเครือข่ายการแก้ไขปัญหาความยากจนของทุกภาคส่วนในสังคม เพื่อสนับสนุนการแปลงแผนสู่ภาคปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การกำหนดแนวทางการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพกำลังคน
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอร่างแนวทางการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพกำลังคนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา ซึ่งเน้นการฝึกอบรมให้แก่ผู้ที่กำลังหางานทำและผู้ที่กำลังทำงานอยู่ โดยเป็นการร่วมมือกับภาคเอกชน ซึ่งที่ประชุมขอให้ภาคเอกชนเสนอรายละเอียดการฝึกอบรมต่อ สศช.
นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะโฆษกสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2544 ได้มีการประชุมเรื่อง"แนวทางการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพกำลังคน ครั้งที่ 1" ณ ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล โดยมีนายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
โฆษกสำนักงานฯ กล่าวว่า สศช. ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้จัดทำร่างแนวทางการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพกำลังคนขึ้น และที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาร่างฯดังกล่าว โดยมีมติสรุปได้ดังนี้
1. สาระสำคัญของแนวทางการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพกำลังคน ควรมีหลักการว่า เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพคุณภาพ และเพิ่มพูนความรู้ให้กับผู้หางานทำ และผู้ที่กำลังทำงานอยู่ ที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพหรือเพิ่มทักษะต่างๆ โดยมีเป้าหมายได้แก่ ประชากรวัยทำงานที่อยู่นอกระบบโรงเรียน
2. แนวทางการเพิ่มศักยภาพ ควรแบ่งเป็น
- ภาคอุตสาหกรรม เพิ่มศักยภาพด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงคุณภาพ รูปแบบ
- ภาคเกษตรกรรม เพิ่มศักยภาพด้านธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตร การประกอบธุรกิจขนาดเล็ก
- ภาคบริการ เพิ่มศักยภาพด้านการท่องเที่ยว ธุรกิจการให้บริการต่างๆ
- หลักสูตรที่ควรอบรมเพิ่มเติม ได้แก่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ การประกอบธุรกิจขนาดเล็ก ภาษาต่างประเทศคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การประกอบอาชีพอิสระด้านการประกอบอาหารไทย นวดแผนไทย และมัคคุเทศก์ เป็นต้น
3. วิธีการดำเนินงาน ภาครัฐควรให้การสนับสนุนงบประมาณค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมแก่สถาบันที่จัดฝึกอบรม รวมทั้งให้เบี้ยเลี้ยงแก่ผู้ที่ยังไม่มีงานทำและผู้ที่มีงานทำและผู้ที่มีงานทำในสถานประกอบการขนาดเล็ก ส่วนสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไป ให้จ่ายเบี้ยเลี้ยงให้แก่พนักงานที่เข้ารับการฝึกอบรมเอง สำหรับภาคเอกชนที่มีการจัดฝึกอบรมอยู่แล้ว สามารถเสนอหลักสูตรการฝึกอบรมของตนได้ โดยโครงการนี้มีระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี
4. ให้ภาคเอกชนเสนอโครงการฝึกอบรม ต่อ สศช. โดยกำหนดหลักสูตรที่ต้องการให้มีการฝึกอบรมพร้อมทั้งรายละเอียดจำแนกเป็นโครงการระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว และกำหนดสถาบันที่ควรจะเป็นผู้จัดการฝึกอบรมในแต่ละหลักสูตรทั้งสถาบันของรัฐหรือสถาบันของเอกชน หรือสถาบันอื่นที่รัฐมีส่วนร่วม หรืออาจจัดตั้งเป็นศูนย์เฉพาะกิจขึ้น
5. ควรมีการพิจารณาครูฝึกอบรมที่ได้มาตรฐานจากสถาบันฝึกอบรมเอกชน หน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานอื่นๆและควรกำหนดวิธีการสอน เช่น แบบ Learning Learner หรือ แบบ On the Job Training เป็นต้น ตลอดจนควรกำหนดวิธีการร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมด้วย
6. โครงการฝึกอบรมระยะสั้นและระยะกลาง ควรดำเนินการเพื่อให้เห็นผลภายใน 1 ปี ส่วนโครงการระยะยาว ควรพิจารณาเพื่อนำไปสู่การของบประมาณปี 2545 และดำเนินการโดยหน่วยงานที่ทำหน้าที่ฝึกอบรมอยู่แล้ว
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 6 มิถุนายน 2544--
-สส-