เป้าหมายหลัก
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาโดยเปลี่ยนจากเดิมที่มุ่งสร้างความร่ำรวยทางเศรษฐกิจเป็นหลักไปสู่การพัฒนาประเทศที่มีรากฐานที่เข้มแข็ง มีการกระจายผลประโยชน์ได้อย่างทั่งถึง สามารถแก้ปัญหาความยากจนและกระจายรายได้ รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถและโอกาสในการพึ่งตนเอง พร้อมทั้งยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศ อันจะทำให้เกิดการพัฒนาที่มี "คน" เป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
ยุทธศาสตร์การพัฒนาจัดเป็น 3 กลุ่มที่มีความเชื่อมโยงกันคือ กลุ่มแรก การเสริมสร้างขีดความสามารถจากฐานรากของสังคมให้เข้มแข็งและรู้เท่าทันโลก โดยมุ่งพัฒนาคน ชุมชนและสังคมเป็นแกนหลัก กลุ่มสอง การปรับตัวทางเศรษฐกิจให้เท่าทันโลกและเศรษฐกิจยุคใหม่ และกลุ่มที่สาม การปฎิรูประบบบริหารจัดการให้เกิดธรรมาภิบาลในทุกภาคส่วนของสังคม โดยมีการจัดลำดับความสำคัญของแนวทางการพัฒนาในยุทธศาสตร์แต่ละเรื่องให้เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาความยากจน ควบคู่กับการปรับระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการระดมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในสังคม เพื่อนำทุนที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและลงทุนอย่างสอดคล้องกับทรัพยากรของรัฐที่มีอยู่จำกัด ดังนี้
ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและการคุ้มครองทางสังคม
มุ่งพัฒนาการเรียนรู้ด้วยการปฎิรูปการศึกษาและการพัฒนาทักษะฝีมือให้เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ให้คนไทยมีคุณภาพสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและวิทยาการสมัยใหม่บนพื้นฐานการนำหลักธรรมมาใช้ประโยชน์มีสภาวะผู้นำในทุกระดับ มีความรับผิดชอบ รู้สิทธิและหน้าที่ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบการคุ้มครองทางสังคมทั้งด้านสุขภาพ สวัสดิการแรงงาน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพและทั่วถึง เพื่อให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดช่วงอายุ โดยคำนึงถึงการคุ้มครองกลุ่มคนยากจนและผู้ด้อยโอกาส ทั้งนี้เน้นการลงทุนเพื่อพัฒนาคุณภาพคนควบคู่ไปกับการปรับปรุงวิธีการบริหารจัดการของระบบการคุ้มครองทางสังคมที่มีอยู่ให้มีเอกภาพในการดำเนินงาน ลดความซ้ำซ้อนในการใช้ประโยชน์และรับบริการ รวมทั้งให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม
ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มุ่งการจัดการเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการฟื้นฟูบูรณะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อาศัย การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการดำเนินการ และร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายควบคู่ไปกับการสร้างกลไกกฎระเบียบที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คืนสู่สภาพที่เอื้อต่อความสมดุลของระบบนิเวศ และเกื้อหนุนต่อการดำรงชีวิตของคนทุกกลุ่ม รวมทั้งคนยากจนในสังคมได้มีโอกาสใช้ประโยชน์อย่างเป็นธรรม
ยุทธศาสตร์การจัดการระบบบริหารเศรษฐกิจส่วนรวม
มุ่งบริหารเศรษฐกิจมหภาค ทั้งในด้านนโยบายการเงินและตลาดทุน นโยบายการคลังเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจ ภายใต้กระแสการเปิดเสรีทางการค้า การเงินและการลงทุน รวมทั้งการปรับตัวสู่ระบบเศรษฐกิจยุคใหม่ให้เกิดการขยายตัวอย่างสมดุล มีเสถียรภาพ และเป็นธรรม สนับสนุนภาคการผลิตในสาขาที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันและเกื้อกูลธุรกิจทุกระดับ โดยให้ความสำคัญสูงสุดต่อการกระจายและยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของคนในประเทศอย่างเป็นรูปธรรม
ยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ปรับโครงสร้างการผลิตของประเทศเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยใช้เทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มทักษะแรงงาน และสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ รวมทั้งการพัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศ ตลอดจนบริหารจัดการและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัย เพื่อสนับสนุนการสร้างงาน ยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ในประเทศให้ดีขึ้น ทั้งนี้ในแง่ภาครัฐจะเน้นการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และจัดกลไก กฎระเบียบให้เอื้อต่อการดำเนินงานของภาคเอกชน รวมทั้งมุ่งระดมทุนจากทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อการลงทุนปรับโครงสร้างการผลิตและยกระดับคุณภาพโครงสร้างพื้นฐาน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งประเทศไทยมีความอ่อนแอ ให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทันสมัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการพึ่งพา สร้างความเสมอภาคของการเข้าถึงเทคโนโลยี และช่วยยกระดับรายได้ เพื่อสร้างเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในอนาคต โดยการต่อยอดการพัฒนาองค์ความรู้ให้ได้มาตรฐาน ประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาท้องถิ่นภายใต้บริบทของวิถีชีวตและวัฒนธรรมไทยได้อย่างกลมกลืน ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาพื้นฐานความคิดทางวิทยาศาสตร์ การลงทุน พัฒนาบุคลากร และพัฒนานวัตกรรมควบคู่ไปกับการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในส่วนการวางนโยบายและระบบบริหารการวิจัย
ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อนำไปสู่ธรรมมาภิบาล
เป็นยุทธศาสตร์ที่เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ต้องดำเนินการเพื่อให้การพัฒนาตามยุทธศาสตร์ทั้งหมดดังกล่าวมาแล้วข้างต้น สามารถบรรลุผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบโปร่งใส และประชาชนมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี เพื่อป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ ตลอดจนช่วยกำกับทิศทางการพัฒนาให้เอื้อประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนยากจนและด้อยโอกาส ทั้งนี้ โดยต้องยึดหลักธรรมาภิบาลควบคู่กับการระดมพลังจากทุกฝ่ายในสังคมและทุกระดับ เพื่อร่วมกันผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 8/สิงหาคม 2543--
-สส-
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาโดยเปลี่ยนจากเดิมที่มุ่งสร้างความร่ำรวยทางเศรษฐกิจเป็นหลักไปสู่การพัฒนาประเทศที่มีรากฐานที่เข้มแข็ง มีการกระจายผลประโยชน์ได้อย่างทั่งถึง สามารถแก้ปัญหาความยากจนและกระจายรายได้ รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถและโอกาสในการพึ่งตนเอง พร้อมทั้งยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศ อันจะทำให้เกิดการพัฒนาที่มี "คน" เป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
ยุทธศาสตร์การพัฒนาจัดเป็น 3 กลุ่มที่มีความเชื่อมโยงกันคือ กลุ่มแรก การเสริมสร้างขีดความสามารถจากฐานรากของสังคมให้เข้มแข็งและรู้เท่าทันโลก โดยมุ่งพัฒนาคน ชุมชนและสังคมเป็นแกนหลัก กลุ่มสอง การปรับตัวทางเศรษฐกิจให้เท่าทันโลกและเศรษฐกิจยุคใหม่ และกลุ่มที่สาม การปฎิรูประบบบริหารจัดการให้เกิดธรรมาภิบาลในทุกภาคส่วนของสังคม โดยมีการจัดลำดับความสำคัญของแนวทางการพัฒนาในยุทธศาสตร์แต่ละเรื่องให้เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาความยากจน ควบคู่กับการปรับระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการระดมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในสังคม เพื่อนำทุนที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและลงทุนอย่างสอดคล้องกับทรัพยากรของรัฐที่มีอยู่จำกัด ดังนี้
ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและการคุ้มครองทางสังคม
มุ่งพัฒนาการเรียนรู้ด้วยการปฎิรูปการศึกษาและการพัฒนาทักษะฝีมือให้เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ให้คนไทยมีคุณภาพสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและวิทยาการสมัยใหม่บนพื้นฐานการนำหลักธรรมมาใช้ประโยชน์มีสภาวะผู้นำในทุกระดับ มีความรับผิดชอบ รู้สิทธิและหน้าที่ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบการคุ้มครองทางสังคมทั้งด้านสุขภาพ สวัสดิการแรงงาน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพและทั่วถึง เพื่อให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดช่วงอายุ โดยคำนึงถึงการคุ้มครองกลุ่มคนยากจนและผู้ด้อยโอกาส ทั้งนี้เน้นการลงทุนเพื่อพัฒนาคุณภาพคนควบคู่ไปกับการปรับปรุงวิธีการบริหารจัดการของระบบการคุ้มครองทางสังคมที่มีอยู่ให้มีเอกภาพในการดำเนินงาน ลดความซ้ำซ้อนในการใช้ประโยชน์และรับบริการ รวมทั้งให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม
ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มุ่งการจัดการเพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการฟื้นฟูบูรณะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อาศัย การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการดำเนินการ และร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายควบคู่ไปกับการสร้างกลไกกฎระเบียบที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คืนสู่สภาพที่เอื้อต่อความสมดุลของระบบนิเวศ และเกื้อหนุนต่อการดำรงชีวิตของคนทุกกลุ่ม รวมทั้งคนยากจนในสังคมได้มีโอกาสใช้ประโยชน์อย่างเป็นธรรม
ยุทธศาสตร์การจัดการระบบบริหารเศรษฐกิจส่วนรวม
มุ่งบริหารเศรษฐกิจมหภาค ทั้งในด้านนโยบายการเงินและตลาดทุน นโยบายการคลังเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจ ภายใต้กระแสการเปิดเสรีทางการค้า การเงินและการลงทุน รวมทั้งการปรับตัวสู่ระบบเศรษฐกิจยุคใหม่ให้เกิดการขยายตัวอย่างสมดุล มีเสถียรภาพ และเป็นธรรม สนับสนุนภาคการผลิตในสาขาที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันและเกื้อกูลธุรกิจทุกระดับ โดยให้ความสำคัญสูงสุดต่อการกระจายและยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของคนในประเทศอย่างเป็นรูปธรรม
ยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ปรับโครงสร้างการผลิตของประเทศเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยใช้เทคโนโลยีและวิทยาการสมัยใหม่ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มทักษะแรงงาน และสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมในภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ รวมทั้งการพัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศ ตลอดจนบริหารจัดการและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัย เพื่อสนับสนุนการสร้างงาน ยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ในประเทศให้ดีขึ้น ทั้งนี้ในแง่ภาครัฐจะเน้นการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และจัดกลไก กฎระเบียบให้เอื้อต่อการดำเนินงานของภาคเอกชน รวมทั้งมุ่งระดมทุนจากทุกภาคส่วนในสังคมเพื่อการลงทุนปรับโครงสร้างการผลิตและยกระดับคุณภาพโครงสร้างพื้นฐาน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งประเทศไทยมีความอ่อนแอ ให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทันสมัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการพึ่งพา สร้างความเสมอภาคของการเข้าถึงเทคโนโลยี และช่วยยกระดับรายได้ เพื่อสร้างเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในอนาคต โดยการต่อยอดการพัฒนาองค์ความรู้ให้ได้มาตรฐาน ประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาท้องถิ่นภายใต้บริบทของวิถีชีวตและวัฒนธรรมไทยได้อย่างกลมกลืน ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาพื้นฐานความคิดทางวิทยาศาสตร์ การลงทุน พัฒนาบุคลากร และพัฒนานวัตกรรมควบคู่ไปกับการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในส่วนการวางนโยบายและระบบบริหารการวิจัย
ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อนำไปสู่ธรรมมาภิบาล
เป็นยุทธศาสตร์ที่เป็นเงื่อนไขสำคัญที่ต้องดำเนินการเพื่อให้การพัฒนาตามยุทธศาสตร์ทั้งหมดดังกล่าวมาแล้วข้างต้น สามารถบรรลุผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบโปร่งใส และประชาชนมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี เพื่อป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ ตลอดจนช่วยกำกับทิศทางการพัฒนาให้เอื้อประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนยากจนและด้อยโอกาส ทั้งนี้ โดยต้องยึดหลักธรรมาภิบาลควบคู่กับการระดมพลังจากทุกฝ่ายในสังคมและทุกระดับ เพื่อร่วมกันผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 8/สิงหาคม 2543--
-สส-