สรุปความก้าวหน้า หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ การประชุมคณะกรรมการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติครั้งที่ 1และ 2/2544
1. การประชุมชี้แจงนโยบาย หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2544 ณ ทำเนียบรัฐบาล กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทยได้จัดประชุมเพื่อให้นายกรัฐมนตรีชี้แจงนโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด Oita จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเจ้าของทฤษฎี มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานต่างๆได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงอุตสาหกรรม รวมทั้งปลัดกระทรวงทุกกระทรวง และองค์กรที่เกี่ยวข้อง โดยมีสาระสำคัญคือ แนวทางดำเนินงานโครงการ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นการส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการพัฒนาท้องถิ่น สร้างชุมชนที่เข้มแข็งพึ่งตนเองได้ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างงาน สร้างรายได้ ด้วยการนำทรัพยากรภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่มีจุดเด่น และมูลค่าเพิ่มเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของท้องถิ่น และเพื่อให้การดำเนินนโยบายดังกล่าวเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีเอกภาพและประสิทธิภาพ นายกรัฐมนตรีจึงได้ลงนามในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย คณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ พ.ศ.2544 เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2544
2. การออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่า ด้วยคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีองค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ดังนี้
2.1. องค์ประกอบคณะกรรมการจัดให้มีคณะกรรมการชุดหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ โดยใช้ชื่อย่อว่า กอ.นตผ ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นรองประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนไม่เกิน 10 คน เป็นกรรมการ โดยมีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นกรรมการและเลขานุการ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และผู้แทนสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
2.2 อำนาจหน้าที่
ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่หลักในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนแม่บทการดำเนินงาน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกำหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์การคัดเลือกและขึ้นบัญชีผลิตภัณฑ์ดีเด่นของตำบลที่จะอยู่ในบัญชี หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
3. ได้มีการประชุมคณะกรรมการ กอ.นตผ. 2 ครั้ง ซึ่งสรุปผลการประชุมได้ดังนี้
3.1 การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการรวม 9 ชุด เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการอำนวยการฯ โดยแบ่งเป็นส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ซึ่งประกอบด้วยส่วนกลางมีคณะอนุกรรมการ 8 คณะได้แก่
1. คณะอนุกรรมการจัดทำแผนและงบประมาณ มีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และมีผู้แทนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
2. คณะอนุกรรมการส่งเสริมการผลิต มีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน และมีผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
3. คณะอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ มีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน และมีผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
4. คณะอนุกรรมการส่งเสริมการตลาด มีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน และมีผู้แทนกระทรวงพาณิชย์เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
5. คณะอนุกรรมการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี มีปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเป็นประธาน และมีผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
6. คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ มีอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์เป็นประธาน และมีผู้แทนกรมประชาสัมพันธ์เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
7. คณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล มีปลัดทบวงมหาวิทยาลัยเป็นประธาน และมีผู้แทนทบวงมหาวิทยาลัยเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
8. คณะอนุกรรมการวิเทศสัมพันธ์ มีนายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ เป็นประธาน และมี นายกิตติ ลิ่มสกุล เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
ทั้งนี้ สศช.ได้รับแต่งตั้งให้เข้าร่วมเป็นคณะอนุกรรมการ 2 ชุดได้แก่ คณะอนุกรรมการจัดทำแผนและงบประมาณ และคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล
ภารกิจหลักคือการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนแม่บท การกำหนดมาตรฐาน การคัดเลือกและขึ้นบัญชีผลิตภัณฑ์ดีเด่นของตำบล
ส่วนภูมิภาค
9. คณะอนุกรรมการ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จังหวัด และอำเภอ/กิ่งอำเภอได้แก่
9.1 คณะอนุกรรมการ นตผ.จังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน และมีพัฒนาการจังหวัดเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
9.2 คณะอนุกรรมการ นตผ.อำเภอ/กิ่งอำเภอ โดยมีนายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอเป็นประธาน และมีพัฒนาการอำเภอ/กิ่งอำเภอเป็นอนุกรรมการและเลขานุการภารกิจหลักคือการคัดเลือกผลิตภัณฑ์เด่นของตำบลเพื่อเสนอต่อ กอ.นตผ. และการบูรณาการ แผนงาน งบประมาณของส่วนราชการในภูมิภาค โดยมีการบริหารงาน 5 ขั้นตอนดังนี้ คือ
ขั้นตอนที่ 1 ระดับตำบลให้ อบต.มีหน้าที่ในกระบวนการจัดเวทีประชาคมเพื่อคัดเลือกผลิตภัณฑ์ดีเด่น
ขั้นตอนที่ 2 ระดับอำเภอ/กิ่งอำเภอให้ นตผ.อำเภอ/กิ่งอำเภอ มีหน้าที่ในการจัดลำดับผลิตภัณฑ์ดีเด่นตำบลต่างๆของอำเภอ/กิ่งอำเภอ การบูรการแผนงานและงบประมาณเพื่อการสนับสนุน
ขั้นตอนที่ 3 ระดับจังหวัด ให้นตผ.จังหวัดมีหน้าที่ในการจัดลำดับผลิตภัณฑ์ดีเด่นอำเภอต่างๆของจังหวัด การบูรณาการแผนงานและงบประมาณเพื่อสนับสนุน
ขั้นตอนที่ 4 กอ.นตผ.กำหนดเกณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และขึ้นบัญชีเสนอ ครม.รับทราบ
ขั้นตอนที่ 5 กอ.นตผ.สนับสนุนให้เป็นไปตามนโยบายยุทธศาสตร์และแผนแม่บท
3.2 บทบาท/ภารกิจของกระทรวง/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 8ประการดังนี้
1. การประชาคม ค้นหาผลิตภัณฑ์/ข้อมูลพื้นฐาน การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม คน/ชุมชน มีกระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลัก
2. การส่งเสริมการผลิต/วัตถุดิบ คุณภาพของวัตถุดิบ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ มีกระทรวงเกษตรเป็นหน่วยงานหลัก
3. กำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ มีกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานหลัก
4. การส่งเสริมการตลาด การจัดจำหน่ายและการกระจายสินค้า สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า มีกระทรวงพาณิชย์ และภาคเอกชนเป็นหน่วยงานหลัก
5. การวิจัยและการคุณภาพผลิตภัณฑ์ และพัฒนาเทคโนโลยี การบรรจุภัณฑ์ การออกแบบ มีกระทรวงวิทยาศาสตร์ และภาคเอกชนเป็นหน่วยงานหลัก
6. การประชาสัมพันธ์ มีสำนักนายกรัฐมนตรี และภาคเอกชนเป็นหน่วยงานหลัก
7. การติดตามประเมินผล มีทบวงมหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานหลัก
8. วิเทศสัมพันธ์รับความช่วยเหลือด้านเทคนิคและเงินทุนจากต่างประเทศ มีสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานหลัก
3.3 การพิจารณาสนับสนุนโครงการภายใต้ กอ.นตผ. ที่ประชุมได้พิจารณาโครงการเพื่อสนับสนุนการตลาดและการประชาสัมพันธ์แล้ว 4 โครงการ ดังนี้
1. โครงการจัดงาน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ในส่วนกลาง
2. โครงการ กระเช้าชุมชน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
3. โครงการสัมมนาการดำเนินงาน หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
4. การประชาสัมพันธ์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
4. สรุปผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4.1 กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการคัดเลือก หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ดีเด่นของจังหวัด ทั้ง 75 จังหวัด มีทั้งสิ้น 6,340 ผลิตภัณฑ์ และให้จังหวัดคัดเลือกผลิตภัณฑ์ดีเด่น 1 - 10 ชนิดแรกของจังหวัด โดยกระทรวงมหาดไทยได้กำหนดตัวชี้วัดด้านชุมชน และตัวชี้วัดด้านผลิตภัณฑ์เป็นแนวทางการคัดเลือก
4.2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลและกำหนดแนวทางการดำเนินงานโครงการ หนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล มีขั้นตอนการเตรียมการคือ การกำหนดเป้าหมาย 200 กลุ่ม/ผลิตภัณฑ์และมีโครงการนำร่อง เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตำบล 30 กลุ่ม โดยมีหลักเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่ม 2 ด้านคือ ด้านตัวสินค้า และด้านชุมชน ขั้นตอนการปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์หลัก มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพให้มีการรับรองคุณภาพมาตรฐาน
4.3 กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล มีปลัดกระทรวงเกษตรเป็นประธาน เพื่อต้องการให้ราษฎรมีอาชีพ มีรายได้ และยังคงอยู่ในท้องถิ่นของตน การดำเนินการโดย การต่อยอดจากภูมิปัญญาไทย เพื่อสร้างเศรษฐกิจขึ้นในชุมชน และให้ราษฎรมีจิตวิญญาณในการจัดการธุรกิจชุมชนแบบยั่งยืน มีความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ มีความรู้ทางด้านการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ รวมทั้งได้จัดงานแสดงสินค้าชุมชนพร้อมการประชุมสัมมนา และให้คำปรึกษาในระหว่างวันที่ 21 - 30 กันยายน 2544 ณ เมืองทองธานี และวันที่ 4 - 6 ตุลาคม 2544 ณ กรมประชาสัมพันธ์
4.4 กระทรวงพาณิชย์ จัดประชุมชี้แจงและมอบคู่มือแก่พาณิชย์จังหวัดใช้เป็นกรอบการดำเนินงานร่วมกันและได้จัดโครงการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก
4.5 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ให้ความรู้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีในด้านต่างๆ เพื่อเป็นสินค้าต้นแบบ การใช้พลังงานทดแทน การแปรรูปอาหาร บรรจุภัณฑ์ การจัดการระบบสุขาภิบาลให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น
4.6 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้ทำการศึกษาการใช้ E-COMMERCE เชื่อมโยง INTER NET ตำบล จัดทำโครงการ E-COMMERCE เพื่อรองรับ THAILAND PLAZZA และสร้าง E-COMMERCE UNIT เพื่อทำให้ติดต่อกับชุมชนได้โดยง่าย มีระบบที่ครบวงจร ทั้งการสั่งซื้อ การชำระเงิน การขนส่ง
5. การดำเนินงานในอนาคต
คาดว่าหลังจากที่ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการต่างๆแล้ว น่าจะได้มีความก้าวหน้าของงานในวงกว้างและครอบคลุมกิจกรรมอื่นๆ มากขึ้น และบทบาทของเลขานุการ กอ. นตผ. น่าจะเน้นการเป็นผู้ประสานและสนับสนุนมากกว่าเป็นผู้ดำเนินการเอง
--สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-
1. การประชุมชี้แจงนโยบาย หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ โดยนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2544 ณ ทำเนียบรัฐบาล กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทยได้จัดประชุมเพื่อให้นายกรัฐมนตรีชี้แจงนโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด Oita จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเจ้าของทฤษฎี มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานต่างๆได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงอุตสาหกรรม รวมทั้งปลัดกระทรวงทุกกระทรวง และองค์กรที่เกี่ยวข้อง โดยมีสาระสำคัญคือ แนวทางดำเนินงานโครงการ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นการส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการพัฒนาท้องถิ่น สร้างชุมชนที่เข้มแข็งพึ่งตนเองได้ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างงาน สร้างรายได้ ด้วยการนำทรัพยากรภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่มีจุดเด่น และมูลค่าเพิ่มเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ สอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของท้องถิ่น และเพื่อให้การดำเนินนโยบายดังกล่าวเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีเอกภาพและประสิทธิภาพ นายกรัฐมนตรีจึงได้ลงนามในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย คณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ พ.ศ.2544 เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2544
2. การออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่า ด้วยคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีองค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ดังนี้
2.1. องค์ประกอบคณะกรรมการจัดให้มีคณะกรรมการชุดหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ โดยใช้ชื่อย่อว่า กอ.นตผ ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นรองประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนไม่เกิน 10 คน เป็นกรรมการ โดยมีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นกรรมการและเลขานุการ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และผู้แทนสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
2.2 อำนาจหน้าที่
ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่หลักในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนแม่บทการดำเนินงาน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกำหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์การคัดเลือกและขึ้นบัญชีผลิตภัณฑ์ดีเด่นของตำบลที่จะอยู่ในบัญชี หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
3. ได้มีการประชุมคณะกรรมการ กอ.นตผ. 2 ครั้ง ซึ่งสรุปผลการประชุมได้ดังนี้
3.1 การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการรวม 9 ชุด เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการอำนวยการฯ โดยแบ่งเป็นส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ซึ่งประกอบด้วยส่วนกลางมีคณะอนุกรรมการ 8 คณะได้แก่
1. คณะอนุกรรมการจัดทำแผนและงบประมาณ มีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และมีผู้แทนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
2. คณะอนุกรรมการส่งเสริมการผลิต มีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน และมีผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
3. คณะอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ มีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน และมีผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
4. คณะอนุกรรมการส่งเสริมการตลาด มีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน และมีผู้แทนกระทรวงพาณิชย์เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
5. คณะอนุกรรมการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี มีปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเป็นประธาน และมีผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
6. คณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ มีอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์เป็นประธาน และมีผู้แทนกรมประชาสัมพันธ์เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
7. คณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล มีปลัดทบวงมหาวิทยาลัยเป็นประธาน และมีผู้แทนทบวงมหาวิทยาลัยเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
8. คณะอนุกรรมการวิเทศสัมพันธ์ มีนายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ เป็นประธาน และมี นายกิตติ ลิ่มสกุล เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
ทั้งนี้ สศช.ได้รับแต่งตั้งให้เข้าร่วมเป็นคณะอนุกรรมการ 2 ชุดได้แก่ คณะอนุกรรมการจัดทำแผนและงบประมาณ และคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผล
ภารกิจหลักคือการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนแม่บท การกำหนดมาตรฐาน การคัดเลือกและขึ้นบัญชีผลิตภัณฑ์ดีเด่นของตำบล
ส่วนภูมิภาค
9. คณะอนุกรรมการ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ จังหวัด และอำเภอ/กิ่งอำเภอได้แก่
9.1 คณะอนุกรรมการ นตผ.จังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน และมีพัฒนาการจังหวัดเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ
9.2 คณะอนุกรรมการ นตผ.อำเภอ/กิ่งอำเภอ โดยมีนายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอเป็นประธาน และมีพัฒนาการอำเภอ/กิ่งอำเภอเป็นอนุกรรมการและเลขานุการภารกิจหลักคือการคัดเลือกผลิตภัณฑ์เด่นของตำบลเพื่อเสนอต่อ กอ.นตผ. และการบูรณาการ แผนงาน งบประมาณของส่วนราชการในภูมิภาค โดยมีการบริหารงาน 5 ขั้นตอนดังนี้ คือ
ขั้นตอนที่ 1 ระดับตำบลให้ อบต.มีหน้าที่ในกระบวนการจัดเวทีประชาคมเพื่อคัดเลือกผลิตภัณฑ์ดีเด่น
ขั้นตอนที่ 2 ระดับอำเภอ/กิ่งอำเภอให้ นตผ.อำเภอ/กิ่งอำเภอ มีหน้าที่ในการจัดลำดับผลิตภัณฑ์ดีเด่นตำบลต่างๆของอำเภอ/กิ่งอำเภอ การบูรการแผนงานและงบประมาณเพื่อการสนับสนุน
ขั้นตอนที่ 3 ระดับจังหวัด ให้นตผ.จังหวัดมีหน้าที่ในการจัดลำดับผลิตภัณฑ์ดีเด่นอำเภอต่างๆของจังหวัด การบูรณาการแผนงานและงบประมาณเพื่อสนับสนุน
ขั้นตอนที่ 4 กอ.นตผ.กำหนดเกณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และขึ้นบัญชีเสนอ ครม.รับทราบ
ขั้นตอนที่ 5 กอ.นตผ.สนับสนุนให้เป็นไปตามนโยบายยุทธศาสตร์และแผนแม่บท
3.2 บทบาท/ภารกิจของกระทรวง/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 8ประการดังนี้
1. การประชาคม ค้นหาผลิตภัณฑ์/ข้อมูลพื้นฐาน การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่ม คน/ชุมชน มีกระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลัก
2. การส่งเสริมการผลิต/วัตถุดิบ คุณภาพของวัตถุดิบ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ มีกระทรวงเกษตรเป็นหน่วยงานหลัก
3. กำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ มีกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานหลัก
4. การส่งเสริมการตลาด การจัดจำหน่ายและการกระจายสินค้า สิทธิบัตร และเครื่องหมายการค้า มีกระทรวงพาณิชย์ และภาคเอกชนเป็นหน่วยงานหลัก
5. การวิจัยและการคุณภาพผลิตภัณฑ์ และพัฒนาเทคโนโลยี การบรรจุภัณฑ์ การออกแบบ มีกระทรวงวิทยาศาสตร์ และภาคเอกชนเป็นหน่วยงานหลัก
6. การประชาสัมพันธ์ มีสำนักนายกรัฐมนตรี และภาคเอกชนเป็นหน่วยงานหลัก
7. การติดตามประเมินผล มีทบวงมหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานหลัก
8. วิเทศสัมพันธ์รับความช่วยเหลือด้านเทคนิคและเงินทุนจากต่างประเทศ มีสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นหน่วยงานหลัก
3.3 การพิจารณาสนับสนุนโครงการภายใต้ กอ.นตผ. ที่ประชุมได้พิจารณาโครงการเพื่อสนับสนุนการตลาดและการประชาสัมพันธ์แล้ว 4 โครงการ ดังนี้
1. โครงการจัดงาน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ในส่วนกลาง
2. โครงการ กระเช้าชุมชน หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
3. โครงการสัมมนาการดำเนินงาน หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
4. การประชาสัมพันธ์ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
4. สรุปผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4.1 กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการคัดเลือก หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ดีเด่นของจังหวัด ทั้ง 75 จังหวัด มีทั้งสิ้น 6,340 ผลิตภัณฑ์ และให้จังหวัดคัดเลือกผลิตภัณฑ์ดีเด่น 1 - 10 ชนิดแรกของจังหวัด โดยกระทรวงมหาดไทยได้กำหนดตัวชี้วัดด้านชุมชน และตัวชี้วัดด้านผลิตภัณฑ์เป็นแนวทางการคัดเลือก
4.2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลและกำหนดแนวทางการดำเนินงานโครงการ หนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบล มีขั้นตอนการเตรียมการคือ การกำหนดเป้าหมาย 200 กลุ่ม/ผลิตภัณฑ์และมีโครงการนำร่อง เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตำบล 30 กลุ่ม โดยมีหลักเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่ม 2 ด้านคือ ด้านตัวสินค้า และด้านชุมชน ขั้นตอนการปฏิบัติการพัฒนาผลิตภัณฑ์หลัก มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพให้มีการรับรองคุณภาพมาตรฐาน
4.3 กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ตั้งคณะกรรมการกำกับดูแล มีปลัดกระทรวงเกษตรเป็นประธาน เพื่อต้องการให้ราษฎรมีอาชีพ มีรายได้ และยังคงอยู่ในท้องถิ่นของตน การดำเนินการโดย การต่อยอดจากภูมิปัญญาไทย เพื่อสร้างเศรษฐกิจขึ้นในชุมชน และให้ราษฎรมีจิตวิญญาณในการจัดการธุรกิจชุมชนแบบยั่งยืน มีความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ มีความรู้ทางด้านการตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ รวมทั้งได้จัดงานแสดงสินค้าชุมชนพร้อมการประชุมสัมมนา และให้คำปรึกษาในระหว่างวันที่ 21 - 30 กันยายน 2544 ณ เมืองทองธานี และวันที่ 4 - 6 ตุลาคม 2544 ณ กรมประชาสัมพันธ์
4.4 กระทรวงพาณิชย์ จัดประชุมชี้แจงและมอบคู่มือแก่พาณิชย์จังหวัดใช้เป็นกรอบการดำเนินงานร่วมกันและได้จัดโครงการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก
4.5 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ให้ความรู้ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีในด้านต่างๆ เพื่อเป็นสินค้าต้นแบบ การใช้พลังงานทดแทน การแปรรูปอาหาร บรรจุภัณฑ์ การจัดการระบบสุขาภิบาลให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น
4.6 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้ทำการศึกษาการใช้ E-COMMERCE เชื่อมโยง INTER NET ตำบล จัดทำโครงการ E-COMMERCE เพื่อรองรับ THAILAND PLAZZA และสร้าง E-COMMERCE UNIT เพื่อทำให้ติดต่อกับชุมชนได้โดยง่าย มีระบบที่ครบวงจร ทั้งการสั่งซื้อ การชำระเงิน การขนส่ง
5. การดำเนินงานในอนาคต
คาดว่าหลังจากที่ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการต่างๆแล้ว น่าจะได้มีความก้าวหน้าของงานในวงกว้างและครอบคลุมกิจกรรมอื่นๆ มากขึ้น และบทบาทของเลขานุการ กอ. นตผ. น่าจะเน้นการเป็นผู้ประสานและสนับสนุนมากกว่าเป็นผู้ดำเนินการเอง
--สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-