1. ภาวะเศรษฐกิจในไตรมาส 3 ปี 2544
เศรษฐกิจโลก ในไตรมาสสามเศรษฐกิจโลกชะลอตัวต่อเนื่องจากครั้งแรกของปี นำโดยการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา และเศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวเป็นไตรมาสสอง การปรับตัวลดลงของความต้องการสินค้าทุนและสินค้าอุปโภคบริโภคในตลาดส่งออกหลักทำให้การส่งออกของกลุ่มประเทศในแถบเอเชียลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มเศรษฐกิจที่พึ่งพาการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้าหลัก อาทิสิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ และฮ่องกง ซึ่งเศรษฐกิจหดตัวชัดเจนในไตรมาสสามเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2544 ในไตรมาสที่ 3 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศขยายตัวจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 1.5 ต่ำกว่าร้อยละ 1.8 และ 1.9 ในไตรมาสแรก และไตรมาสที่สองเล็กน้อย และหากปรับด้วยดัชนีฤดูกาลแล้ว GDP ในไตรมาสที่สาม ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับไตรมาสที่ผ่านมา และใน 9 เดือนแรกเศรษฐกิจขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.7 ต่ำกว่าการขยายตัวในปีที่แล้วอย่างชัดเจน
อัตราการว่างงาน เฉลี่ยจากการสำรวจในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายนเท่ากับร้อยละ 2.6 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในไตรมาสสาม ปี 2544 เท่ากับร้อยละ 1.3
การชะลอตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 เป็นผลจากการส่งออกที่ลดลง และการลงทุนภาคเอกชนชะลอของอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการปรับตัวของการลงทุนสาขาการผลิตเพื่อส่งออก รวมทั้งการใช้จ่ายของครัวเรือนที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง สำหรับภาครัฐมีการใช้จ่ายเพื่ออุปโภคและบริโภคเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าในไตรมาสที่ผ่านมา แต่การลงทุนชะลอลง ซึ่งทำให้โดยภาพรวมในช่วง 3 ไตรมาสแรกการใช้จ่ายภาครัฐยังไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้เต็มที่
การส่งออกที่ลดลงและอุปสงค์ในประเทศที่ยังคงอ่อนแอได้ส่งผลกระทบต่อภาวะการผลิต การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวได้ช้าลง อัตราการใช้กำลังการผลิตยังอยู่ในระดับต่ำ และสถานการณ์การจ้างงานยังไม่ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน
การค้าระหว่างประเทศ ดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการชำระเงิน ในไตรมาสที่สามการส่งออกลดลงทั้งปริมาณและมูลค่าด้วยอัตราร้อยละ 10.6 และ 11.1 จากระยะเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงของสินค้าส่งออกหลักเกือบทุกรายการ และลดลงในทุกตลาดส่งออกยกเว้นตลาดจีนและเกาหลีใต้
มูลค่าการนำเข้าในรูปดอลลาร์ สรอ.ปรับตัวลดลงร้อยละ 9.1 ในไตรมาสที่สาม เป็นการปรับตัวที่ช้ากว่าการส่งออกซึ่งเป็นผลจากการที่ราคาสินค้านำเข้ายังเพิ่มขึ้นมาก ในขณะที่ปริมาณการนำเข้าได้เริ่มปรับตัวลดลงตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี
ดุลการค้าเกินดุล 1.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เมื่อรวมกับการเกินดุลบริการบริจาคอีก 0.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงเกินดุล 1.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.สูงกว่าการเกินดุลในไตรมาสที่ผ่านมาเล็กน้อย แต่เนื่องจากยังมีทุนเคลื่อนย้ายสุทธิไหลออกดุลชำระเงินจึงเกินดุลเพียงเล็กน้อย
สถานการณ์การเงิน ในไตรมาสที่สามสภาพคล่องทางการเงินยังอยู่ในระดับสูง สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเฉลี่ยในช่วงไตรมาสที่สามเท่ากับร้อยละ 94.6 ต่ำกว่าเฉลี่ยร้อยละ 103.6 ในระยะเดียวกันของปีที่แล้ว สินเชื่อรวมของธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน) ณ สิ้นไตรมาสยังคงลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันปีที่แล้ว ในขณะที่เงินฝากยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องแต่ในอัตราที่ชะลอลงเนื่องจากมีการออมในรูปของพันธบัตรมากขึ้น
อัตราดอกเบี้ยในตลาดพันธบัตรซื้อคืน 14 วัน ซึ่งเป็นดอกเบี้ยนโยบายเท่ากับร้อยละ 2.5 โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในไตรมาสนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในไตรมาสนี้ แต่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับจริงเพิ่มขึ้น
สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้มีรายได้ต่อสินเชื่อรวม ณ สิ้นเดือนกันยายน เท่ากับร้อยละ 12.9 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปลายไตรมาสที่ผ่านมาเนื่องจาก NPLs รายใหม่และที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพิ่มขึ้น
การคลังในไตรมาสที่สามปีปฏิทิน 2544 มีการใช้จ่ายเงินงบประมาณ 232,808 ล้านบาท เป็นรายจ่ายประจำ 170,938 ล้านบาทและรายจ่ายลงทุน 61,870 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 4.3 และร้อยละ 28.3 ตามลำดับ ดุลงบประมาณและดุลเงินสดขาดดุล 25,569 และ 23,024 ล้านบาทตามลำดับ และรัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายลงทุน 61,747 ล้านบาท ขาดดุล 17,292 ล้านบาท ดังนั้นดุลการคลังในไตรมาสที่สามจึงขาดดุล 50,316 ล้านบาทหรือร้อยละ 4.0 ของ GDP
เสถียรภาพเศรษฐกิจ ในไตรมาสที่สามเศรษฐกิจมีเสถียรภาพ อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 43.97 - 45.76 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับตา และทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกันยายน เท่ากับ 32.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.คิดเป็น 2.14 เท่าของหุ้นต่างประเทศระยะสั้น
2. แนวโน้มไตรมาสที่ 4 และตลอดทั้งปี 2544
2.1 แนวโน้มเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2544 เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวได้ในอัตราต่ำกว่าการขยายตัวเฉลี่ยในช่วง 9 เดือนแรกของปี เนื่องจากเงื่อนไขเศรษฐกิจโลกยังเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยและผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะยังไม่เกิดขึ้นได้มากในไตรมาสสุดท้าย การหดตัวของการส่งออกในไตรมาสที่ 4 มีแนวโน้มรุนแรงกว่าในช่วงที่ผ่านมา โดยเป็นผลของฐานการส่งออกที่สูงในปลายปีที่แล้วและการชะลอความต้องการนำเข้าของประเทศคู่ค้า ผลกระทบจากการก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกาและการตอบโต้ทางการทหารได้ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศลดลงตั้งแต่เดือนกันยายนและคาดว่าจะลดลงตลอดช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีเนื่องจากนักท่องเที่ยวยังระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยในการเดินทาง นอกจากนั้นคาดว่าจะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่อาจจะชะลอการตัดสินใจออกไป
2.2 แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2544 ภายใต้เงื่อนไขเศรษฐกิจโลกที่เป็นข้อจำกัด คาดว่าตลอดปี 2544 เศรษฐกิจจะขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 1.5 ซึ่งเป็นด้านตาของช่วงการประมาณการเดิมซึ่ง สศช.ได้ประกาศเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2544 ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 1.5-2 โดยที่ประมาณการการขยายตัวในรายสาขาเป็นดังนี้
- การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ลดลงเล็กน้อยจากปีที่แล้ว
- การลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ต่ำกว่าร้อยละ 14.6 ในปี 2543
- การใช้จ่ายภาครัฐ ณ ราคาคงที่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ต่ำกว่าร้อยละ 6.5 ในปี 2543 ในขณะที่การลงทุนภาครัฐ ณ ราคาคงที่ทรงตัวเท่า กับปีที่แล้ว
- การส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ.มีมูลค่าเท่ากับ 63.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ลดลงร้อยละ 6.7 การนำเข้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ.มี มูลค่าเท่ากับ 61.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ลดลงร้อยละ 1.8
- ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.หรือคิดเป็นร้อยละ 4.4 ของ GDP ลดลงจากการเกินดุลจำนวน 9.2 พันล้าน ดอลลาร์ สรอ.หรือร้อยละ 7.5 ของ GDP ในปี 2543
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 1.7 ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ สัดส่วนหุ้นระยะสั้นต่อทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ และช่วงการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน ชี้ว่าเศรษฐกิจมีเสถียรภาพ
3. แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2545
3.1 แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2545
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนและมีความเสี่ยงในด้านต่ำ (downside risks) อยู่ค่อนข้างมากโดยเฉพาะในเรื่องเงื่อนเวลาของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ซึ่งขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของนโยบายการเงินซึ่งธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ได้ลดดอกเบี้ยไปแล้วถึง 11 ครั้งในปี 2544 รวมทั้งการดำเนินนโยบายภาษีและการเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาลว่าจะเกิดผลได้รวดเร็วและเต็มที่มากน้อยเพียงใด ผลสำเร็จของนโยบายส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนและการปรับตัวลดลงของสินค้าคงเหลือสู่ระดับปกติซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะมีผลต่อเศรษฐกิจสหภาพเศรษฐกิจยุโรปและกลุ่มประเทศในเอเชีย ทั้งผลกระทบทางตรงต่อการส่งออก การท่องเที่ยว และผลกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคและนักลงทุน สำหรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นจากภาวะเศรษฐกิจหดตัวในปัจจุบันขึ้นอยู่กับทั้งการดำเนินมาตรการเศรษฐกิจภายในโดยเฉพาะในเรื่องการปรับกิจการภาคเอกชนและการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้ การส่งออกสินค้าบางประเภท โดยเฉพาะประเภทอุตสาหกรรมเบาของประเทศกำลังพัฒนาอาจจะเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากสินค้าจีนที่เริ่มขยายตลาดมากขึ้นเมื่อได้เข้าเป็นสมาชิก WTO แล้วเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 ข้อจำกัดดังกล่าวอาจส่งผลกระทบให้ประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคมีข้อจำกัดในการขยายตัวมากขึ้น
คาดว่าในปี 2545 เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวได้ในอัตราร้อยละ 2.4 เท่ากับการขยายตัวในปี 2544 โดยที่เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพเศรษฐกิจยุโรปและจีน มีแนวโน้มขยายตัวได้ต่ำกว่าในปี 2544 แต่คาดว่ากลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเชียและอาเซียนจะขยายตัวได้ในอัตราที่สูงกว่าในปีที่แล้ว โดยเป็นผลจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ทั้งจากมาตรทางด้านการคลัง และการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อไป รวมทั้งการดำเนินมาตรการเฉพาะด้านในระดับจุลภาค โดยที่อัตราเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจส่วนใหญ่ที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำเป็นปัจจัยเอื้ออำนวยในการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ
3.2 แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2545
คาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 2545 ข้อจำกัดของเศรษฐกิจโลกต่อเศรษฐกิจไทยจะลดลงกว่าในช่วงปลายปี 2544 แต่ก็จะยังไม่เอื้ออำนวยต่อการส่งออก การลงทุนและการท่องเที่ยวได้มากนัก และโอกาสของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกภายในครั้งหลังของปีก็ยังมีความไม่แน่นอนสูง ดังนั้นปัจจับที่จะสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ต่อไปจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศทั้งจากมาตรการการใช้จ่ายโดยตรงของรัฐบาลจะช่วยสนับสนุนการจ้างงาน และการเพิ่มรายได้ของประชาชน และมาตรการสนับสนุนการดำเนินกิจการของภาคธุรกิจเอกชน เช่น มาตรการด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัย การดำเนินการของกองทุนหมู่บ้าน ธนาคารประชาชน และมาตรการสนับสนุนสภาพคล่องแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งการสร้างบรรยากาศการลงทุนและสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน
ดังนั้นประสิทธิภาพของการดำเนินมาตรการของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจจะเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้มาตรการของรัฐบาลสามารถสร้างรายได้แก่ประชาชนและกระตุ้นอุปสงค์ในตลาดได้อย่างแท้จริง
ปัจจัยเสี่ยงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2545 ขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น เครื่องชี้เศรษฐกิจล่าสุดจนถึงเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนชี้ว่าเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศนี้ยังไม่ผ่านพ้นจุดต่ำสุด
ปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2545 ประกอบด้วย
(1) การใช้จ่ายของภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายใต้งบประมาณปี 2545 และการดำเนินการของกองทุนหมู่บ้านเพื่อสร้างอาชีพและรายได้ ของหมู่บ้านและชุมชนเมือง และมาตรการเฉพาะด้านอื่น ๆ อาทิ มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว ธนาคารประชาชน และโครงการสิน เชื่อที่อยู่อาศัย เป็นต้น
(2) ราคาน้ำมันมีแนวโน้มที่จะทรงตัวอยู่ในระดับที่ไม่เกิน 25 ดอลลาร์ สรอ.เนื่องจากการรักษาข้อตกลงจำกัดการผลิตของกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมัน ในกลุ่มและนอกกลุ่มโอเปคมีความเป็นไปได้ไม่มากนัก ในขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะยังไม่ขยายตัวได้มากจะทำให้ความต้องการน้ำมัน อ่อนตัว
(3) อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะทรงตัวอยู่ระดับต่ำ เนื่องจากแรงกดดันทั้งทางด้านต้นทุนการผลิตและทางด้านอุปสงค์จะยังไม่ปรากฎ
3.3 ประมาณการเศรษฐกิจปี 2545 คาดว่าตลอดปี 2545 เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวประมาณร้อยละ 2.0 อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 2.0 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 2.9 ของ GDP และอัตราการว่างงานเฉลี่ยประมาณร้อยละ 3.9 ถึง 4.0 ของกำลังแรงงานรวม
(1) ประมาณการการขยายตัวรายสาขาเป็นดังนี้
- การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคและบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยกว่าในปี 2544
- การลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 สูงกว่าร้อยละ 3.0 ในปี 2544
- การใช้จ่ายภาครัฐบาล ณ ราคาคงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 ในขณะที่การลงทุนภาครัฐ ณ ราคาคงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 จากปี 2544 โดยเพิ่มขึ้นทั้งการลงทุนของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ
- การส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ.มีมูลค่าเท่ากับ 64.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 การนำเข้ามีมูลค่า เท่ากับ 63.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7
- ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 3.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เท่ากับร้อยละ 2.9 ของ GDP
4
(2) ประมาณการเศรษฐกิจในกรณีต่ำและกรณีสูง
กรณีต่ำ กรณีที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่คาดไว้ โดยยังไม่ฟื้นตัวภายในปลายปี 2545 การส่งออกของไทยอาจจะหดตัวต่อไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อกิจกรรมการผลิต การลงทุน และการใช้จ่ายของภาคเอกชน ให้ขยายตัวได้ช้ากว่าในปี 2544 ในกรณีนี้คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 1.3
กรณีสูง กรณีเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวได้เร็ว ซึ่งยังมีความเห็นของนักวิเคราะห์บางส่วนบนพื้นฐานดัชนีบางประเภทของสหรัฐ เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การเริ่มก่อสร้างบ้านใหม่ การขอรับเบี้ยประกันการว่างงานที่น้อยลง เป็นต้น ที่อาจแสดงว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัวได้เร็วกว่าความเห็นส่วนใหญ่เชื่อว่าจะฟื้นตัวช้า ในกรณีนี้ถ้ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลดำเนินการได้ผลเป็นรูปธรรมภายในปี 2545 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 2.7
4. ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวมในปี 2545
เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในปี 2545 ยังมีความเสี่ยงจากการที่เศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่คาดไว้ และสินค้าบางประเภทอาจถูกแข่งขันจากสินค้าจีนที่เริ่มขยายตลาดมากขึ้นเมื่อได้เข้าเป็นสมาชิก WTO แล้วเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 ข้อจำกัดดังกล่าวอาจส่งผลกระทบให้ประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคขยายตัวได้น้อยกว่าปี 2544 ซึ่งสำหรับประเทศไทยนอกจากปัญหาคนจนและคนตกงานที่เป็นผลต่อเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจยังมีคนใกล้เส้นความจน และแรงงานทำงานต่ำระดับอีกมากที่มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้นการพยายามสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ให้ชะลอตัวมากจนเกินไปและสร้างงานจึงเป็นเรื่องจำเป็น นอกจากนั้นควรให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและขีดความสามารถในการแข่งขันและการแก้ปัญหาความยากจน ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 และนโยบายรัฐบาล มาตรการที่ควรพิจารณาดำเนินการในปี 2545 มีดังนี้
(1) มาตรการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก
ธนาคารประชาชน เป็นมาตรการที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่มีรายได้น้อยได้ดี แต่ควรระมัดระวังหนี้เสียไม่ให้เกินระดับที่ธนาคารออมสินจะต้องใช้รายได้อื่น ๆ มาชดเชย ทั้งนี้ควรมีมาตรการดูแลลูกค้า ติดตามและแนะนำลูกค้า เพื่อไม่ให้เกิดหนี้เสียซึ่งจะทำให้โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ให้ผลตอบแทนที่ดีต่อธนาคารออมสินเอง และเป็นตัวอย่างแก่ธนาคารอื่น ๆ ให้เพิ่มการปล่อยสินเชื่อระดับจุลภาค
(2) ปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารและการให้ประโยชน์ของกองทุนหมู่บ้าน โดยการให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องถึงวัตถุประสงค์ของกองทุนที่ต้องการช่วยสร้างงานและรายได้อย่างยั่งยืน และเตรียมสนับสนุนให้เกิดความพร้อม ความเข้าใจและความเข็มแข็งของประชาชนในหมู่บ้านพอให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากกองทุนหมู่บ้านได้เพิ่มขึ้น
(3) โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ยังมีความก้าวหน้าไม่มากนัก เนื่องจากยังขาดระบบสนับสนุนด้านการออกแบบและพัฒนาสินค้า การผลิต การเงิน การตลาด และการเพิ่มขีดความสามารถการบริหารธุรกิจอย่างครบวงจร นอกจากนั้นยังต้องมีการรณณรงค์ให้ประชาชนทั่วประเทศนิยมใช้สินค้าท้องถิ่นให้สำเร็จ โดยควรคัดเลือกสินค้าในโครงการเป็นตัวอย่าง
4.2 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการว่างงาน
(1) งบสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในงบประมาณปี 2545 คาดว่าจะอนุมัติได้เรียบร้อยและมีการเริ่มจ่ายอย่างเต็มที่ในสามไตรมาสแรกของปี 2545 ดังนั้นจึงต้องเตรียมเร่งรัดการใช้จ่ายให้ได้ตามเวลาที่กำหนด พร้อมกับเตรียมป้องกันการใช้เงินอย่างผิดวัตถุประสงค์ของโครงการ ทั้งนี้เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างฐานการพัฒนาประเทศตามเป้าหมายของโครงการ
(2) โครงการสินเชื่อพิเศษเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยของข้าราชการ ซึ่งขณะนี้เป็นการร่วมดำเนินการของธนาคารอาคาสงเคราะห์และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เป็นมาตรการที่ยังมีความต้องการจากผู้อยู่ในข่ายขอสินเชื่อได้อีกมากและเป็นมาตรการที่ช่วยกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคก่อสร้างในอนาคต จึงควรมีการพิจารณาสนับสนุนให้มีโครงการต่อเนื่อง
(3) การดำเนินการของบริษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) ในปี 2545 บสท.จะต้องเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้โดยให้ความสำคัญกับกิจการสามารถฟื้นฟูได้ และการแก้ปัญหาหนี้รายกลุ่มการผลิตซึ่งหากมีมาตรการของรัฐระดับสาขาการผลิตที่สอดคล้องกันจะสามารถช่วยลูกหนี้และส่งเสริมเศรษฐกิจบางสาขาของประเทศมีผลต่อการจ้างงานและการสร้างกิจกรรมต่อเนื่องได้ เช่น ภาคอสังหาริมทรัพย์ และสิ่งทอ เป็นต้น
(4) การพัฒนาสาขาการท่องเที่ยว เป็นสาขาที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากหลายแหล่งในปี 2544 และ 2545 ทั้งจากเงินงบประมาณและนอกงบประมาณ โดยการใช้จ่ายจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ การดำเนินการด้านการตลาด และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ดังนั้นควรมีการประเมินผลมาตรการด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า และเพิ่มการวิจัยกลุ่มลูกค้าและการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เห็นผลเพิ่มขึ้น โครงการที่ได้รับเงินสนับสนุนแล้ว เป็นวงเงินรวมประมาณ 3,300 ล้านบาท และควรเร่งรัดให้เกิดผลได้แก่ Be My Guest Campaign กองทุน Matching Fund for MICE การพัฒนาเกาะช้างและหมู่เกาะใกล้เคียง การพัฒนานักท่องเที่ยวที่พำนักระยะยาว Longstay การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ในอุทยาน การพัฒนากิจกรรมและประเพณีของท้องถิ่นให้เกิดศักยภาพในการดึงดูดให้เกิดการท่องเที่ยวในประเทศอย่างต่อเนื่องทุกเดือนเป็นต้น
4.3 การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและขีดความสามารถในการแข่งขัน
(1) การปฎิบัติรัฐวิสาหกิจและการนำหุ้นรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศจะต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพการให้บริการพื้นฐานของประเทศ ซึ่งหมายถึงการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจทั้งหมด โดยเฉพาะการสร้างให้เกิดการแข่งขันในระดับที่เหมาะสม การจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลการให้บริการรายสาขา และการแยกบทบาทการกำหนดนโยบาย การกำกับดูแลผู้ประกอบการออกจากกันอย่างชัดเจน ในขณะเดียวกันรัฐบาลมุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินทรัพย์ภารรัฐวิสาหกิจ โดยนำหุ้นรัฐวิสาหกิจเข้าระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์และมีการจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติขึ้นมาเพื่อบริหารจัดการหลักทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจและพิจารณาทบทวนการจัดกลุ่มรัฐวิสาหกิจมีความเหมาะสมและความพร้อมสำหรับนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ และกลุ่มที่ไม่มีศักยภาพดึงดูดนักลงทุนในตลาดหลักทรัยพ์เพื่อเสนอยุทธศาสตร์และแนวทางการดำเนินงานขนต่อไป
(2) จัดทำโครงการตัวอย่างในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในระดับประเทศ โดยให้รัฐวิสาหกิจดำเนินมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานทุกด้านอย่างเป็นระบบทั้งในด้านคุณภาพให้บริการ ลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หรือประยุกต์ใช้เทคนิคการบริหารทันสมัย เป็นต้น เพื่อให้การจัดหาบริการพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ ตั้งอยู่บนพื้นฐานต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ มีบริการที่ได้มาตรฐานสากลและรัฐวิสาหกิจมีการบริหารจัดการที่คำนึงถึงการแข่งขันรวมทั้งกำหนดเป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับอย่างชัดเจนเพื่อรายงานต่อประชาชน
(3) ให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จะสร้างบรรยากาศที่ดีสำหรับการลงทุนและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โครงการที่ควรเร่งรัดและให้ความสำคัญได้แก่ โครงการสนามบินสุวรรณภูมิและระบบต่อเชื่อมการคมนาคมกับกรุงเทพฯ โครงการพัฒนารถไฟทางคูรอบ กทม.234 กม.โครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (หัวลำโพง-ศูนย์การประชุมแห่งชาติ สิริกิต-บางซอ) โครงการระบบไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ ส่วนขยาย โครงสร้างก่อสร้างและปรับปรุงระบบเสริมจำหน่าย ส่วนที่ 2 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นต้น
(4) จัดทำโครงการนำร่องด้านเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยจัดทำเป็นระบบ Cluster เช่นกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร กลุ่มสินค้าเซรามิค เป็นต้น โดยมีการประสานงานระหว่างหน่วยราชการ ภาคเอกชน และสถาบันวิชาการ ให้เกิดความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด
4.4 การแก้ไขปัญหาความยากจน
(1) คนการที่เป้าหมายคนยากจน (poverty target) ในการจัดทำงบประมาณของรัฐบาลประจำปีงบประมาณ 2546 ควรมีการจัดทำโครงการที่มีเป้าหมายคนยากจน poverty target ที่ชัดเจนให้เป็นส่วนหนึ่งของงบประมาณ และพิจารณาให้เงินงบประมาณโดยตรงแก่ภาคีการพัฒนาที่ไม่ใช่ส่วนราชการที่สามารถดำเนินโครงการแก้ไขความยากจนได้ดีและจัดระบบประเมินผล
(2) ลดความผันผวนหรือป้องกันความเสี่ยงของราคาสินค้าเกษตร ควรเร่งสนับสนุนการใช้กลไกตลาดโดยการจัดตั้งตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า วางระบบกำกับดูแลที่ดี และให้ความรู้และดูแลให้ประโยชน์ที่เกิดขึ้นส่งผลถึงกลุ่มเกษตรกร
--สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-
เศรษฐกิจโลก ในไตรมาสสามเศรษฐกิจโลกชะลอตัวต่อเนื่องจากครั้งแรกของปี นำโดยการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา และเศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวเป็นไตรมาสสอง การปรับตัวลดลงของความต้องการสินค้าทุนและสินค้าอุปโภคบริโภคในตลาดส่งออกหลักทำให้การส่งออกของกลุ่มประเทศในแถบเอเชียลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มเศรษฐกิจที่พึ่งพาการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้าหลัก อาทิสิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ และฮ่องกง ซึ่งเศรษฐกิจหดตัวชัดเจนในไตรมาสสามเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2544 ในไตรมาสที่ 3 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศขยายตัวจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 1.5 ต่ำกว่าร้อยละ 1.8 และ 1.9 ในไตรมาสแรก และไตรมาสที่สองเล็กน้อย และหากปรับด้วยดัชนีฤดูกาลแล้ว GDP ในไตรมาสที่สาม ทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับไตรมาสที่ผ่านมา และใน 9 เดือนแรกเศรษฐกิจขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 1.7 ต่ำกว่าการขยายตัวในปีที่แล้วอย่างชัดเจน
อัตราการว่างงาน เฉลี่ยจากการสำรวจในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายนเท่ากับร้อยละ 2.6 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในไตรมาสสาม ปี 2544 เท่ากับร้อยละ 1.3
การชะลอตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 เป็นผลจากการส่งออกที่ลดลง และการลงทุนภาคเอกชนชะลอของอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการปรับตัวของการลงทุนสาขาการผลิตเพื่อส่งออก รวมทั้งการใช้จ่ายของครัวเรือนที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง สำหรับภาครัฐมีการใช้จ่ายเพื่ออุปโภคและบริโภคเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าในไตรมาสที่ผ่านมา แต่การลงทุนชะลอลง ซึ่งทำให้โดยภาพรวมในช่วง 3 ไตรมาสแรกการใช้จ่ายภาครัฐยังไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้เต็มที่
การส่งออกที่ลดลงและอุปสงค์ในประเทศที่ยังคงอ่อนแอได้ส่งผลกระทบต่อภาวะการผลิต การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวได้ช้าลง อัตราการใช้กำลังการผลิตยังอยู่ในระดับต่ำ และสถานการณ์การจ้างงานยังไม่ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน
การค้าระหว่างประเทศ ดุลบัญชีเดินสะพัดและดุลการชำระเงิน ในไตรมาสที่สามการส่งออกลดลงทั้งปริมาณและมูลค่าด้วยอัตราร้อยละ 10.6 และ 11.1 จากระยะเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงของสินค้าส่งออกหลักเกือบทุกรายการ และลดลงในทุกตลาดส่งออกยกเว้นตลาดจีนและเกาหลีใต้
มูลค่าการนำเข้าในรูปดอลลาร์ สรอ.ปรับตัวลดลงร้อยละ 9.1 ในไตรมาสที่สาม เป็นการปรับตัวที่ช้ากว่าการส่งออกซึ่งเป็นผลจากการที่ราคาสินค้านำเข้ายังเพิ่มขึ้นมาก ในขณะที่ปริมาณการนำเข้าได้เริ่มปรับตัวลดลงตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี
ดุลการค้าเกินดุล 1.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เมื่อรวมกับการเกินดุลบริการบริจาคอีก 0.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงเกินดุล 1.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.สูงกว่าการเกินดุลในไตรมาสที่ผ่านมาเล็กน้อย แต่เนื่องจากยังมีทุนเคลื่อนย้ายสุทธิไหลออกดุลชำระเงินจึงเกินดุลเพียงเล็กน้อย
สถานการณ์การเงิน ในไตรมาสที่สามสภาพคล่องทางการเงินยังอยู่ในระดับสูง สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากเฉลี่ยในช่วงไตรมาสที่สามเท่ากับร้อยละ 94.6 ต่ำกว่าเฉลี่ยร้อยละ 103.6 ในระยะเดียวกันของปีที่แล้ว สินเชื่อรวมของธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน) ณ สิ้นไตรมาสยังคงลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา และไตรมาสเดียวกันปีที่แล้ว ในขณะที่เงินฝากยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องแต่ในอัตราที่ชะลอลงเนื่องจากมีการออมในรูปของพันธบัตรมากขึ้น
อัตราดอกเบี้ยในตลาดพันธบัตรซื้อคืน 14 วัน ซึ่งเป็นดอกเบี้ยนโยบายเท่ากับร้อยละ 2.5 โดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงในไตรมาสนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในไตรมาสนี้ แต่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับจริงเพิ่มขึ้น
สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้มีรายได้ต่อสินเชื่อรวม ณ สิ้นเดือนกันยายน เท่ากับร้อยละ 12.9 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปลายไตรมาสที่ผ่านมาเนื่องจาก NPLs รายใหม่และที่เคยปรับปรุงโครงสร้างหนี้เพิ่มขึ้น
การคลังในไตรมาสที่สามปีปฏิทิน 2544 มีการใช้จ่ายเงินงบประมาณ 232,808 ล้านบาท เป็นรายจ่ายประจำ 170,938 ล้านบาทและรายจ่ายลงทุน 61,870 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 4.3 และร้อยละ 28.3 ตามลำดับ ดุลงบประมาณและดุลเงินสดขาดดุล 25,569 และ 23,024 ล้านบาทตามลำดับ และรัฐวิสาหกิจมีการเบิกจ่ายลงทุน 61,747 ล้านบาท ขาดดุล 17,292 ล้านบาท ดังนั้นดุลการคลังในไตรมาสที่สามจึงขาดดุล 50,316 ล้านบาทหรือร้อยละ 4.0 ของ GDP
เสถียรภาพเศรษฐกิจ ในไตรมาสที่สามเศรษฐกิจมีเสถียรภาพ อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 43.97 - 45.76 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับตา และทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกันยายน เท่ากับ 32.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ.คิดเป็น 2.14 เท่าของหุ้นต่างประเทศระยะสั้น
2. แนวโน้มไตรมาสที่ 4 และตลอดทั้งปี 2544
2.1 แนวโน้มเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2544 เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวได้ในอัตราต่ำกว่าการขยายตัวเฉลี่ยในช่วง 9 เดือนแรกของปี เนื่องจากเงื่อนไขเศรษฐกิจโลกยังเป็นข้อจำกัดต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยและผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะยังไม่เกิดขึ้นได้มากในไตรมาสสุดท้าย การหดตัวของการส่งออกในไตรมาสที่ 4 มีแนวโน้มรุนแรงกว่าในช่วงที่ผ่านมา โดยเป็นผลของฐานการส่งออกที่สูงในปลายปีที่แล้วและการชะลอความต้องการนำเข้าของประเทศคู่ค้า ผลกระทบจากการก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกาและการตอบโต้ทางการทหารได้ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศลดลงตั้งแต่เดือนกันยายนและคาดว่าจะลดลงตลอดช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีเนื่องจากนักท่องเที่ยวยังระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยในการเดินทาง นอกจากนั้นคาดว่าจะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนที่อาจจะชะลอการตัดสินใจออกไป
2.2 แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2544 ภายใต้เงื่อนไขเศรษฐกิจโลกที่เป็นข้อจำกัด คาดว่าตลอดปี 2544 เศรษฐกิจจะขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 1.5 ซึ่งเป็นด้านตาของช่วงการประมาณการเดิมซึ่ง สศช.ได้ประกาศเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2544 ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 1.5-2 โดยที่ประมาณการการขยายตัวในรายสาขาเป็นดังนี้
- การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ลดลงเล็กน้อยจากปีที่แล้ว
- การลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ต่ำกว่าร้อยละ 14.6 ในปี 2543
- การใช้จ่ายภาครัฐ ณ ราคาคงที่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 ต่ำกว่าร้อยละ 6.5 ในปี 2543 ในขณะที่การลงทุนภาครัฐ ณ ราคาคงที่ทรงตัวเท่า กับปีที่แล้ว
- การส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ.มีมูลค่าเท่ากับ 63.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ลดลงร้อยละ 6.7 การนำเข้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ.มี มูลค่าเท่ากับ 61.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ลดลงร้อยละ 1.8
- ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.หรือคิดเป็นร้อยละ 4.4 ของ GDP ลดลงจากการเกินดุลจำนวน 9.2 พันล้าน ดอลลาร์ สรอ.หรือร้อยละ 7.5 ของ GDP ในปี 2543
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 1.7 ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ สัดส่วนหุ้นระยะสั้นต่อทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ และช่วงการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน ชี้ว่าเศรษฐกิจมีเสถียรภาพ
3. แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2545
3.1 แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2545
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนและมีความเสี่ยงในด้านต่ำ (downside risks) อยู่ค่อนข้างมากโดยเฉพาะในเรื่องเงื่อนเวลาของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ซึ่งขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของนโยบายการเงินซึ่งธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ได้ลดดอกเบี้ยไปแล้วถึง 11 ครั้งในปี 2544 รวมทั้งการดำเนินนโยบายภาษีและการเพิ่มการใช้จ่ายของรัฐบาลว่าจะเกิดผลได้รวดเร็วและเต็มที่มากน้อยเพียงใด ผลสำเร็จของนโยบายส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนและการปรับตัวลดลงของสินค้าคงเหลือสู่ระดับปกติซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะมีผลต่อเศรษฐกิจสหภาพเศรษฐกิจยุโรปและกลุ่มประเทศในเอเชีย ทั้งผลกระทบทางตรงต่อการส่งออก การท่องเที่ยว และผลกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคและนักลงทุน สำหรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นจากภาวะเศรษฐกิจหดตัวในปัจจุบันขึ้นอยู่กับทั้งการดำเนินมาตรการเศรษฐกิจภายในโดยเฉพาะในเรื่องการปรับกิจการภาคเอกชนและการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้ การส่งออกสินค้าบางประเภท โดยเฉพาะประเภทอุตสาหกรรมเบาของประเทศกำลังพัฒนาอาจจะเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากสินค้าจีนที่เริ่มขยายตลาดมากขึ้นเมื่อได้เข้าเป็นสมาชิก WTO แล้วเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 ข้อจำกัดดังกล่าวอาจส่งผลกระทบให้ประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคมีข้อจำกัดในการขยายตัวมากขึ้น
คาดว่าในปี 2545 เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวได้ในอัตราร้อยละ 2.4 เท่ากับการขยายตัวในปี 2544 โดยที่เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพเศรษฐกิจยุโรปและจีน มีแนวโน้มขยายตัวได้ต่ำกว่าในปี 2544 แต่คาดว่ากลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเชียและอาเซียนจะขยายตัวได้ในอัตราที่สูงกว่าในปีที่แล้ว โดยเป็นผลจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ทั้งจากมาตรทางด้านการคลัง และการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อไป รวมทั้งการดำเนินมาตรการเฉพาะด้านในระดับจุลภาค โดยที่อัตราเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจส่วนใหญ่ที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำเป็นปัจจัยเอื้ออำนวยในการดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ
3.2 แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2545
คาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 2545 ข้อจำกัดของเศรษฐกิจโลกต่อเศรษฐกิจไทยจะลดลงกว่าในช่วงปลายปี 2544 แต่ก็จะยังไม่เอื้ออำนวยต่อการส่งออก การลงทุนและการท่องเที่ยวได้มากนัก และโอกาสของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกภายในครั้งหลังของปีก็ยังมีความไม่แน่นอนสูง ดังนั้นปัจจับที่จะสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ต่อไปจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศทั้งจากมาตรการการใช้จ่ายโดยตรงของรัฐบาลจะช่วยสนับสนุนการจ้างงาน และการเพิ่มรายได้ของประชาชน และมาตรการสนับสนุนการดำเนินกิจการของภาคธุรกิจเอกชน เช่น มาตรการด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัย การดำเนินการของกองทุนหมู่บ้าน ธนาคารประชาชน และมาตรการสนับสนุนสภาพคล่องแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งการสร้างบรรยากาศการลงทุนและสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน
ดังนั้นประสิทธิภาพของการดำเนินมาตรการของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจจะเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้มาตรการของรัฐบาลสามารถสร้างรายได้แก่ประชาชนและกระตุ้นอุปสงค์ในตลาดได้อย่างแท้จริง
ปัจจัยเสี่ยงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2545 ขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น เครื่องชี้เศรษฐกิจล่าสุดจนถึงเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนชี้ว่าเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศนี้ยังไม่ผ่านพ้นจุดต่ำสุด
ปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2545 ประกอบด้วย
(1) การใช้จ่ายของภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายใต้งบประมาณปี 2545 และการดำเนินการของกองทุนหมู่บ้านเพื่อสร้างอาชีพและรายได้ ของหมู่บ้านและชุมชนเมือง และมาตรการเฉพาะด้านอื่น ๆ อาทิ มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว ธนาคารประชาชน และโครงการสิน เชื่อที่อยู่อาศัย เป็นต้น
(2) ราคาน้ำมันมีแนวโน้มที่จะทรงตัวอยู่ในระดับที่ไม่เกิน 25 ดอลลาร์ สรอ.เนื่องจากการรักษาข้อตกลงจำกัดการผลิตของกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมัน ในกลุ่มและนอกกลุ่มโอเปคมีความเป็นไปได้ไม่มากนัก ในขณะที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจจะยังไม่ขยายตัวได้มากจะทำให้ความต้องการน้ำมัน อ่อนตัว
(3) อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะทรงตัวอยู่ระดับต่ำ เนื่องจากแรงกดดันทั้งทางด้านต้นทุนการผลิตและทางด้านอุปสงค์จะยังไม่ปรากฎ
3.3 ประมาณการเศรษฐกิจปี 2545 คาดว่าตลอดปี 2545 เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวประมาณร้อยละ 2.0 อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 2.0 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 2.9 ของ GDP และอัตราการว่างงานเฉลี่ยประมาณร้อยละ 3.9 ถึง 4.0 ของกำลังแรงงานรวม
(1) ประมาณการการขยายตัวรายสาขาเป็นดังนี้
- การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคและบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยกว่าในปี 2544
- การลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 สูงกว่าร้อยละ 3.0 ในปี 2544
- การใช้จ่ายภาครัฐบาล ณ ราคาคงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 ในขณะที่การลงทุนภาครัฐ ณ ราคาคงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 จากปี 2544 โดยเพิ่มขึ้นทั้งการลงทุนของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ
- การส่งออกในรูปเงินดอลลาร์ สรอ.มีมูลค่าเท่ากับ 64.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 การนำเข้ามีมูลค่า เท่ากับ 63.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7
- ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 3.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เท่ากับร้อยละ 2.9 ของ GDP
4
(2) ประมาณการเศรษฐกิจในกรณีต่ำและกรณีสูง
กรณีต่ำ กรณีที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่คาดไว้ โดยยังไม่ฟื้นตัวภายในปลายปี 2545 การส่งออกของไทยอาจจะหดตัวต่อไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อกิจกรรมการผลิต การลงทุน และการใช้จ่ายของภาคเอกชน ให้ขยายตัวได้ช้ากว่าในปี 2544 ในกรณีนี้คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 1.3
กรณีสูง กรณีเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวได้เร็ว ซึ่งยังมีความเห็นของนักวิเคราะห์บางส่วนบนพื้นฐานดัชนีบางประเภทของสหรัฐ เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การเริ่มก่อสร้างบ้านใหม่ การขอรับเบี้ยประกันการว่างงานที่น้อยลง เป็นต้น ที่อาจแสดงว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัวได้เร็วกว่าความเห็นส่วนใหญ่เชื่อว่าจะฟื้นตัวช้า ในกรณีนี้ถ้ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลดำเนินการได้ผลเป็นรูปธรรมภายในปี 2545 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 2.7
4. ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวมในปี 2545
เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในปี 2545 ยังมีความเสี่ยงจากการที่เศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่คาดไว้ และสินค้าบางประเภทอาจถูกแข่งขันจากสินค้าจีนที่เริ่มขยายตลาดมากขึ้นเมื่อได้เข้าเป็นสมาชิก WTO แล้วเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 ข้อจำกัดดังกล่าวอาจส่งผลกระทบให้ประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคขยายตัวได้น้อยกว่าปี 2544 ซึ่งสำหรับประเทศไทยนอกจากปัญหาคนจนและคนตกงานที่เป็นผลต่อเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจยังมีคนใกล้เส้นความจน และแรงงานทำงานต่ำระดับอีกมากที่มีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นปัญหาเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้นการพยายามสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ให้ชะลอตัวมากจนเกินไปและสร้างงานจึงเป็นเรื่องจำเป็น นอกจากนั้นควรให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและขีดความสามารถในการแข่งขันและการแก้ปัญหาความยากจน ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 และนโยบายรัฐบาล มาตรการที่ควรพิจารณาดำเนินการในปี 2545 มีดังนี้
(1) มาตรการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก
ธนาคารประชาชน เป็นมาตรการที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่มีรายได้น้อยได้ดี แต่ควรระมัดระวังหนี้เสียไม่ให้เกินระดับที่ธนาคารออมสินจะต้องใช้รายได้อื่น ๆ มาชดเชย ทั้งนี้ควรมีมาตรการดูแลลูกค้า ติดตามและแนะนำลูกค้า เพื่อไม่ให้เกิดหนี้เสียซึ่งจะทำให้โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ให้ผลตอบแทนที่ดีต่อธนาคารออมสินเอง และเป็นตัวอย่างแก่ธนาคารอื่น ๆ ให้เพิ่มการปล่อยสินเชื่อระดับจุลภาค
(2) ปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารและการให้ประโยชน์ของกองทุนหมู่บ้าน โดยการให้ความรู้แก่ผู้เกี่ยวข้องถึงวัตถุประสงค์ของกองทุนที่ต้องการช่วยสร้างงานและรายได้อย่างยั่งยืน และเตรียมสนับสนุนให้เกิดความพร้อม ความเข้าใจและความเข็มแข็งของประชาชนในหมู่บ้านพอให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากกองทุนหมู่บ้านได้เพิ่มขึ้น
(3) โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ยังมีความก้าวหน้าไม่มากนัก เนื่องจากยังขาดระบบสนับสนุนด้านการออกแบบและพัฒนาสินค้า การผลิต การเงิน การตลาด และการเพิ่มขีดความสามารถการบริหารธุรกิจอย่างครบวงจร นอกจากนั้นยังต้องมีการรณณรงค์ให้ประชาชนทั่วประเทศนิยมใช้สินค้าท้องถิ่นให้สำเร็จ โดยควรคัดเลือกสินค้าในโครงการเป็นตัวอย่าง
4.2 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการว่างงาน
(1) งบสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในงบประมาณปี 2545 คาดว่าจะอนุมัติได้เรียบร้อยและมีการเริ่มจ่ายอย่างเต็มที่ในสามไตรมาสแรกของปี 2545 ดังนั้นจึงต้องเตรียมเร่งรัดการใช้จ่ายให้ได้ตามเวลาที่กำหนด พร้อมกับเตรียมป้องกันการใช้เงินอย่างผิดวัตถุประสงค์ของโครงการ ทั้งนี้เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างฐานการพัฒนาประเทศตามเป้าหมายของโครงการ
(2) โครงการสินเชื่อพิเศษเพื่อซื้อที่อยู่อาศัยของข้าราชการ ซึ่งขณะนี้เป็นการร่วมดำเนินการของธนาคารอาคาสงเคราะห์และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เป็นมาตรการที่ยังมีความต้องการจากผู้อยู่ในข่ายขอสินเชื่อได้อีกมากและเป็นมาตรการที่ช่วยกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์และภาคก่อสร้างในอนาคต จึงควรมีการพิจารณาสนับสนุนให้มีโครงการต่อเนื่อง
(3) การดำเนินการของบริษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) ในปี 2545 บสท.จะต้องเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้โดยให้ความสำคัญกับกิจการสามารถฟื้นฟูได้ และการแก้ปัญหาหนี้รายกลุ่มการผลิตซึ่งหากมีมาตรการของรัฐระดับสาขาการผลิตที่สอดคล้องกันจะสามารถช่วยลูกหนี้และส่งเสริมเศรษฐกิจบางสาขาของประเทศมีผลต่อการจ้างงานและการสร้างกิจกรรมต่อเนื่องได้ เช่น ภาคอสังหาริมทรัพย์ และสิ่งทอ เป็นต้น
(4) การพัฒนาสาขาการท่องเที่ยว เป็นสาขาที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากหลายแหล่งในปี 2544 และ 2545 ทั้งจากเงินงบประมาณและนอกงบประมาณ โดยการใช้จ่ายจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ การดำเนินการด้านการตลาด และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ดังนั้นควรมีการประเมินผลมาตรการด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า และเพิ่มการวิจัยกลุ่มลูกค้าและการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เห็นผลเพิ่มขึ้น โครงการที่ได้รับเงินสนับสนุนแล้ว เป็นวงเงินรวมประมาณ 3,300 ล้านบาท และควรเร่งรัดให้เกิดผลได้แก่ Be My Guest Campaign กองทุน Matching Fund for MICE การพัฒนาเกาะช้างและหมู่เกาะใกล้เคียง การพัฒนานักท่องเที่ยวที่พำนักระยะยาว Longstay การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ในอุทยาน การพัฒนากิจกรรมและประเพณีของท้องถิ่นให้เกิดศักยภาพในการดึงดูดให้เกิดการท่องเที่ยวในประเทศอย่างต่อเนื่องทุกเดือนเป็นต้น
4.3 การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและขีดความสามารถในการแข่งขัน
(1) การปฎิบัติรัฐวิสาหกิจและการนำหุ้นรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศจะต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพการให้บริการพื้นฐานของประเทศ ซึ่งหมายถึงการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจทั้งหมด โดยเฉพาะการสร้างให้เกิดการแข่งขันในระดับที่เหมาะสม การจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลการให้บริการรายสาขา และการแยกบทบาทการกำหนดนโยบาย การกำกับดูแลผู้ประกอบการออกจากกันอย่างชัดเจน ในขณะเดียวกันรัฐบาลมุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินทรัพย์ภารรัฐวิสาหกิจ โดยนำหุ้นรัฐวิสาหกิจเข้าระดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์และมีการจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติขึ้นมาเพื่อบริหารจัดการหลักทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจและพิจารณาทบทวนการจัดกลุ่มรัฐวิสาหกิจมีความเหมาะสมและความพร้อมสำหรับนำเข้าตลาดหลักทรัพย์ และกลุ่มที่ไม่มีศักยภาพดึงดูดนักลงทุนในตลาดหลักทรัยพ์เพื่อเสนอยุทธศาสตร์และแนวทางการดำเนินงานขนต่อไป
(2) จัดทำโครงการตัวอย่างในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในระดับประเทศ โดยให้รัฐวิสาหกิจดำเนินมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานทุกด้านอย่างเป็นระบบทั้งในด้านคุณภาพให้บริการ ลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หรือประยุกต์ใช้เทคนิคการบริหารทันสมัย เป็นต้น เพื่อให้การจัดหาบริการพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศ ตั้งอยู่บนพื้นฐานต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ มีบริการที่ได้มาตรฐานสากลและรัฐวิสาหกิจมีการบริหารจัดการที่คำนึงถึงการแข่งขันรวมทั้งกำหนดเป้าหมายที่คาดว่าจะได้รับอย่างชัดเจนเพื่อรายงานต่อประชาชน
(3) ให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จะสร้างบรรยากาศที่ดีสำหรับการลงทุนและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โครงการที่ควรเร่งรัดและให้ความสำคัญได้แก่ โครงการสนามบินสุวรรณภูมิและระบบต่อเชื่อมการคมนาคมกับกรุงเทพฯ โครงการพัฒนารถไฟทางคูรอบ กทม.234 กม.โครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (หัวลำโพง-ศูนย์การประชุมแห่งชาติ สิริกิต-บางซอ) โครงการระบบไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ ส่วนขยาย โครงสร้างก่อสร้างและปรับปรุงระบบเสริมจำหน่าย ส่วนที่ 2 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นต้น
(4) จัดทำโครงการนำร่องด้านเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยจัดทำเป็นระบบ Cluster เช่นกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร กลุ่มสินค้าเซรามิค เป็นต้น โดยมีการประสานงานระหว่างหน่วยราชการ ภาคเอกชน และสถาบันวิชาการ ให้เกิดความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด
4.4 การแก้ไขปัญหาความยากจน
(1) คนการที่เป้าหมายคนยากจน (poverty target) ในการจัดทำงบประมาณของรัฐบาลประจำปีงบประมาณ 2546 ควรมีการจัดทำโครงการที่มีเป้าหมายคนยากจน poverty target ที่ชัดเจนให้เป็นส่วนหนึ่งของงบประมาณ และพิจารณาให้เงินงบประมาณโดยตรงแก่ภาคีการพัฒนาที่ไม่ใช่ส่วนราชการที่สามารถดำเนินโครงการแก้ไขความยากจนได้ดีและจัดระบบประเมินผล
(2) ลดความผันผวนหรือป้องกันความเสี่ยงของราคาสินค้าเกษตร ควรเร่งสนับสนุนการใช้กลไกตลาดโดยการจัดตั้งตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า วางระบบกำกับดูแลที่ดี และให้ความรู้และดูแลให้ประโยชน์ที่เกิดขึ้นส่งผลถึงกลุ่มเกษตรกร
--สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-