สำนักติดตามประเมินผลและเผยแพร่การพัฒนา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้ร่วมกันศึกษาเพื่อพัฒนาเครื่องชี้วัดสภาวะแวดล้อมตลาดแรงงานไทย เพื่อใช้ระบบเตือนภัยด้านแรงงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับนโยบายและหน่วยปฎิบัติ โดยการศึกษาได้หาข้อสรุป 3 ประการ คือ ปัจจัยแวดล้อมตลาดแรงงานที่จะเป็นสัญญาณเตือนภัยปัญหาการว่างงานการวิเคราะห์หาอัตราการว่างงานปกติและดัชนีวัดรุนแรงของปัญหาการว่างงาน การศึกษาดังกล่าวจะหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเหตุที่เกิดขึ้นภายในตลาดแรงงานกับอัตราการว่างงานซึ่งแตกต่างจากการศึกษาทั่วไปที่ใช้ปัจจัยที่อยู่นอกตลาดแรงงาน เช่น ภาวะเศรษฐกิจต่าง ๆ
การดำเนินโครงการนอกจากได้พัฒนาแบบจำลองการว่างงานที่สามารถอธิบายถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยเหตุและผลของการว่างงานแล้ว ยังได้สร้างเกณฑ์ชี้วัดระดับความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบของมาตราการต่าง ๆ ของภาครัฐ สำหรับแบบจำลองการว่างงานได้พัฒนาขึ้นภายใต้กรอบแนวคิด 3 ประการ คือ
1. ใช้แนวคิดการแบ่งตลาดแรงงานเป็นส่วน
2. จำแนกผู้ว่างงานออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มผู้ว่างงานจากตลาดที่เป็นระบบ กลุ่มผู้ว่างงานจากตลาดที่ไม่เป็นระบบ และกลุ่มผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน
3. ข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์การว่างงาน ได้แก่ ข้อมูลการสำรวจแรงงานเฉพาะไตรมาสที่ 1 และ 3 ตั้งแต่ปี 2536-2543
ผลจากการศึกษาได้ข้อสรุป คือ
1. โครงสร้างตลาดแรงงานไทย ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้มีงานทำยังอยู่ในภาคเกษตรและผลจากวิกฤตทำให้ปัญหาการว่างงานทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยไม่มีสัญญาณเตือนภัยใด ๆ ข้อมูลปี 2543 ประเทศไทยมีประชากรอยู่ในกำลังแรงงาน 34.0 ล้านคน ประกอบด้วยผู้มีงานทำในภาคเกษตรร้อยละ 47.4 และนอกภาคเกษตรร้อยละ 49.8 ส่วนแรงงานที่เหลือจะเป็นผู้ว่างงานร้อยละ 2.4 และแรงงานรอฤดูกาลร้อยละ 0.5 ของกำลังแรงงานทั้งหมด วิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแตลาดแรงงานเพียงเล็กน้อย แต่ทีปรากฎผลอย่างชัดเจนคือ การเพิ่มสูงขึ้นของอัตราการว่างงานภายหลังจากการเกิดวิกฤตในขณะที่ระยะแรกของการเกิดวิกฤตปัญหาการว่างงานยังอยู่ในภาวะปกติ และไม่สัญญาณใด ๆ ที่ช่วยเตือนภัยถึงภาวะวิกฤตที่จะเกิดขึ้นในระยะถัดมา
2. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการว่างงาน สามารถส่งสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าได้ประมาณ 6 เดือน การศึกษาได้สร้างแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยแวดล้อมตลาดแรงงานที่สัมพันธ์กับอัตราการว่างงานและหาช่วงเวลาที่ปัจจัยเหล่านั้นเริ่มส่งสัญญาณเตือนภัยก่อนเกิดปัญหาการว่างงานที่ผิดปกติโดยแยกวิเคราะห์ตามตลาดกลุ่มผู้ว่างงานทั้ง 3 กลุ่ม ผลการวิเคราะห์พบว่าปั่จจัยทีมีความสัมพันธ์กับอัตราการว่างงานประกอบด้วย อัตราการใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ตำแหน่งงานว่าง มูลค่าที่แท้จริงในภาคการเกษตร (ณ ราคาคงที่ ปี 2531) และสัดส่วนกำลังแรงงานที่จบการศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งแบบจำลองดังกล่าวสามารถเตือนภัยได้ล่วงหน้าประมาณ 6 เดือน
3. อัตราการว่างงานปกติ อยู่ระหว่าง 2.7-3.7 ในไตรมาสแรกและ 1.1-2.0 สำหรับไตรมาสที่สาม การศึกษาพบว่า การว่างงานจะมีอยู่เสมอไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไร ดังนั้นการชี้วัดถึงความรุนแรงของปัญหาการว่างงานว่าอยู่ในระดับใดนั้น จำเป็นต้องหาเกณฑ์ปกติเพื่อใช้เกณฑ์เปรียบเทียบ จากการศึกษาได้ใช้ค่าเฉลี่ยของอัตราการว่างงานรายไตรมาสตามวัฎจักรเศรษฐกิจรอบล่าสุด คือ พ.ศ.2536-2541 เป็นจุดอ้างอิง โดยแบ่งระดับวัดความรุนแรงของปัญหา 7 ระดับ คือ ต่ำมาก ต่ำ ค่อนข้างต่ำ ปานกลาง ค่อนข้างสูง สูง และสูงมาก และผลการวิเคราะห์พบว่า อัตราการว่างงานที่ถือว่าเป็นระดับปกติในไตรมาสแรกของปี (เดือนกุมภาพันธ์) หรือช่วงฤดูแล้ง ซี่งปกติจะมีการว่างงานต่ำกว่าทุกไตรมาสในรอบปี จะอยู่ระหว่างร้อยละ 1.1-2.0 ดังนั้น หากอัตราการว่างงานไตรมาสใดสูงหรือต่ำกว่าช่วงดังกล่าว ควรจัดเตรียมมาตรการแก้ไขปัญหาไว้ล่วงหน้า
4. อัตตราการว่างงานไตรมาสแรกปี 2544 ยังอยู่ในเกณฑ์ที่มีความรุนแรงของปัญหาระดับสูง จำเป็นต้องเตรียมมาตรการการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน เมื่อนำปัจจัยภัยต่าง ๆ มาวิเคราะห์เพื่อการพยากรณ์อัตราการว่างงานในรอบถัดไป พบว่าอัตราการว่างงานโดยรวมของทุกตลาดในไตรมาสแรกปี 2544 จะสูงถึงร้อยละ 4.97 หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงานถึง 1.59 ล้านคน ปัญหาการว่างงานดังกล่าวมีระดับความรุนแรงอยู่ในเกณฑ์สูง จึงจำเป็นต้องหามาตรการแก้ไขโดยด่วน
อย่างไรก็ตาม แบบจำลองและเกณฑ์เตือนภัยนี้ได้พัฒนาขึ้นภายใต้ข้อจำกัดของฐานข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งข้อสมมติฐานและกรอบแนวคิดของแบบจำลองที่มีการพัฒนาขี้นในช่วงที่เกิดภาวะวิกฤต ดังนั้น หากฐานข้อมูลและกรอบแนวคิดดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปแบบจำลองและเกณฑ์เตือนภัยเหล่านี้ย่อมจะต้องมีการพัฒนาให้เกิดความต่อเนื่องเช่นเดียวกัน เพื่อให้การติดตามสถานการณ์สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงของตลาดแรงงาน และสามารถใช้เป็นเครื่องมือเตือนภัยได้อย่างรวดเร็วและทันการณ์ ทั้งนี้ สศช. จะประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเครื่องชี้วัดดังกล่าวไปใช้งาน ซึ่งหากสามารถใช้การได้ดีและเป็นที่ยอมรับร่วมกัน ก็จะนำไปใช้เป็นเครื่องชี้วัดสภาวะแวดล้อมของตลาดแรงงานไทยในอนาคตต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 4/เมษายน 2544--
-สส-
การดำเนินโครงการนอกจากได้พัฒนาแบบจำลองการว่างงานที่สามารถอธิบายถึงความสัมพันธ์ของปัจจัยเหตุและผลของการว่างงานแล้ว ยังได้สร้างเกณฑ์ชี้วัดระดับความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบของมาตราการต่าง ๆ ของภาครัฐ สำหรับแบบจำลองการว่างงานได้พัฒนาขึ้นภายใต้กรอบแนวคิด 3 ประการ คือ
1. ใช้แนวคิดการแบ่งตลาดแรงงานเป็นส่วน
2. จำแนกผู้ว่างงานออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มผู้ว่างงานจากตลาดที่เป็นระบบ กลุ่มผู้ว่างงานจากตลาดที่ไม่เป็นระบบ และกลุ่มผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อน
3. ข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์การว่างงาน ได้แก่ ข้อมูลการสำรวจแรงงานเฉพาะไตรมาสที่ 1 และ 3 ตั้งแต่ปี 2536-2543
ผลจากการศึกษาได้ข้อสรุป คือ
1. โครงสร้างตลาดแรงงานไทย ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้มีงานทำยังอยู่ในภาคเกษตรและผลจากวิกฤตทำให้ปัญหาการว่างงานทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยไม่มีสัญญาณเตือนภัยใด ๆ ข้อมูลปี 2543 ประเทศไทยมีประชากรอยู่ในกำลังแรงงาน 34.0 ล้านคน ประกอบด้วยผู้มีงานทำในภาคเกษตรร้อยละ 47.4 และนอกภาคเกษตรร้อยละ 49.8 ส่วนแรงงานที่เหลือจะเป็นผู้ว่างงานร้อยละ 2.4 และแรงงานรอฤดูกาลร้อยละ 0.5 ของกำลังแรงงานทั้งหมด วิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแตลาดแรงงานเพียงเล็กน้อย แต่ทีปรากฎผลอย่างชัดเจนคือ การเพิ่มสูงขึ้นของอัตราการว่างงานภายหลังจากการเกิดวิกฤตในขณะที่ระยะแรกของการเกิดวิกฤตปัญหาการว่างงานยังอยู่ในภาวะปกติ และไม่สัญญาณใด ๆ ที่ช่วยเตือนภัยถึงภาวะวิกฤตที่จะเกิดขึ้นในระยะถัดมา
2. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการว่างงาน สามารถส่งสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้าได้ประมาณ 6 เดือน การศึกษาได้สร้างแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยแวดล้อมตลาดแรงงานที่สัมพันธ์กับอัตราการว่างงานและหาช่วงเวลาที่ปัจจัยเหล่านั้นเริ่มส่งสัญญาณเตือนภัยก่อนเกิดปัญหาการว่างงานที่ผิดปกติโดยแยกวิเคราะห์ตามตลาดกลุ่มผู้ว่างงานทั้ง 3 กลุ่ม ผลการวิเคราะห์พบว่าปั่จจัยทีมีความสัมพันธ์กับอัตราการว่างงานประกอบด้วย อัตราการใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์ ตำแหน่งงานว่าง มูลค่าที่แท้จริงในภาคการเกษตร (ณ ราคาคงที่ ปี 2531) และสัดส่วนกำลังแรงงานที่จบการศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งแบบจำลองดังกล่าวสามารถเตือนภัยได้ล่วงหน้าประมาณ 6 เดือน
3. อัตราการว่างงานปกติ อยู่ระหว่าง 2.7-3.7 ในไตรมาสแรกและ 1.1-2.0 สำหรับไตรมาสที่สาม การศึกษาพบว่า การว่างงานจะมีอยู่เสมอไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไร ดังนั้นการชี้วัดถึงความรุนแรงของปัญหาการว่างงานว่าอยู่ในระดับใดนั้น จำเป็นต้องหาเกณฑ์ปกติเพื่อใช้เกณฑ์เปรียบเทียบ จากการศึกษาได้ใช้ค่าเฉลี่ยของอัตราการว่างงานรายไตรมาสตามวัฎจักรเศรษฐกิจรอบล่าสุด คือ พ.ศ.2536-2541 เป็นจุดอ้างอิง โดยแบ่งระดับวัดความรุนแรงของปัญหา 7 ระดับ คือ ต่ำมาก ต่ำ ค่อนข้างต่ำ ปานกลาง ค่อนข้างสูง สูง และสูงมาก และผลการวิเคราะห์พบว่า อัตราการว่างงานที่ถือว่าเป็นระดับปกติในไตรมาสแรกของปี (เดือนกุมภาพันธ์) หรือช่วงฤดูแล้ง ซี่งปกติจะมีการว่างงานต่ำกว่าทุกไตรมาสในรอบปี จะอยู่ระหว่างร้อยละ 1.1-2.0 ดังนั้น หากอัตราการว่างงานไตรมาสใดสูงหรือต่ำกว่าช่วงดังกล่าว ควรจัดเตรียมมาตรการแก้ไขปัญหาไว้ล่วงหน้า
4. อัตตราการว่างงานไตรมาสแรกปี 2544 ยังอยู่ในเกณฑ์ที่มีความรุนแรงของปัญหาระดับสูง จำเป็นต้องเตรียมมาตรการการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน เมื่อนำปัจจัยภัยต่าง ๆ มาวิเคราะห์เพื่อการพยากรณ์อัตราการว่างงานในรอบถัดไป พบว่าอัตราการว่างงานโดยรวมของทุกตลาดในไตรมาสแรกปี 2544 จะสูงถึงร้อยละ 4.97 หรือคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงานถึง 1.59 ล้านคน ปัญหาการว่างงานดังกล่าวมีระดับความรุนแรงอยู่ในเกณฑ์สูง จึงจำเป็นต้องหามาตรการแก้ไขโดยด่วน
อย่างไรก็ตาม แบบจำลองและเกณฑ์เตือนภัยนี้ได้พัฒนาขึ้นภายใต้ข้อจำกัดของฐานข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งข้อสมมติฐานและกรอบแนวคิดของแบบจำลองที่มีการพัฒนาขี้นในช่วงที่เกิดภาวะวิกฤต ดังนั้น หากฐานข้อมูลและกรอบแนวคิดดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปแบบจำลองและเกณฑ์เตือนภัยเหล่านี้ย่อมจะต้องมีการพัฒนาให้เกิดความต่อเนื่องเช่นเดียวกัน เพื่อให้การติดตามสถานการณ์สอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงของตลาดแรงงาน และสามารถใช้เป็นเครื่องมือเตือนภัยได้อย่างรวดเร็วและทันการณ์ ทั้งนี้ สศช. จะประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำเครื่องชี้วัดดังกล่าวไปใช้งาน ซึ่งหากสามารถใช้การได้ดีและเป็นที่ยอมรับร่วมกัน ก็จะนำไปใช้เป็นเครื่องชี้วัดสภาวะแวดล้อมของตลาดแรงงานไทยในอนาคตต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 4/เมษายน 2544--
-สส-