-ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการลงทุนในตลาดเงินระยะสั้นเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และการนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุน อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินทุกประเภทปรับตัวสูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
-FOMC ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี เช่นเดียวกับคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ที่ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 4 จากระดับร้อยละ 1.75 ต่อปี มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 2 ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยปรับเข้าสู่ระดับที่สามารถดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป
-ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้เพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท.
-เงินบาทเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวน และมีค่าเฉลี่ยอ่อนลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อย โดยมีปัจจัยกดดันจากการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากการซื้อคืนเงินดอลลาร์ สรอ. ของนักลงทุนและตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดี แต่การอ่อนค่าของเงินบาทถูกจำกัดด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยในช่วงกลางสัปดาห์
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมในตลาดเงินระยะสั้นเพิ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าว ปิดตลาดสูงขึ้นจากร้อยละ 1.59375 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 1.65625 ต่อปี ส่วนในวัน อังคารก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. สถาบันการเงินมีความ ต้องการทำธุรกรรมระยะสั้นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วันเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ความ ต้องการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันลดลงอย่างชัดเจน แต่หลังจากการ ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพุธที่ 15 ธันวาคม ความต้องการลงทุน ในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสถาบันการเงินเสนอการ ลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1.90625 1.96875 และ 2.0 ต่อปี สำหรับระยะ 1 7 และ 14 วัน ตามลำดับ แต่อัตราดอกเบี้ย ระยะ 1 วันปรับตัวลดลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 1.875 ต่อปี เนื่องจากธนาคารพาณิชย์นำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุน สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.5 - 1.73 ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ ที่ร้อยละ 1.65 - 1.95 ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ และอัตรากลาง (Mode) ปิด ตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.68 - 1.7 ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.875 - 1.9 ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในวันที่ 14 ธ.ค. จากระดับร้อยละ 2 ต่อปี มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.25 ต่อปี นับเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 5 ตั้งแต่เดือน มิ.ย. โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นไปตามการคาดการณ์ของตลาด และวันถัดมา (15 ธ.ค.) คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 2 ต่อปี แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือน พ.ย. จะขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงจากการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันและปัจจัยส่วนหนึ่งจากเงินบาทที่ปรับแข็งค่าขึ้น แต่อาจเป็นภาวะชั่วคราวที่ต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยในประเทศควรปรับเข้าสู่ระดับสูงขึ้นเพื่อการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสามารถเร่งตัวสูงขึ้นและเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐ 24,760 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 11,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับ โครงสร้างหนี้ FIDF1 อายุ 5 10 และ 15 ปี วงเงินรวม 4,500 ล้านบาท และพันธบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 364 วัน วงเงิน 5,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของ ตราสารหนี้ทุกประเภทลดลงจากสัปดาห์ก่อน นอกจากนี้ยังมีการประมูลพันธบัตรการ ทางพิเศษแห่งประเทศไทยที่กระทรวงการคลังค้ำประกันอายุ 6 และ 7 ปี วงเงิน 1,000 และ 1,500 ล้านบาทตามลำดับ และพันธบัตรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่ กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน อายุ 7 ปี วงเงิน 1,760 ล้านบาท
ภาวะซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองสัปดาห์นี้ค่อนข้างหนาแน่น โดยมี มูลค่าซื้อขายเท่ากับ 68,533 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 13,707 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจาก สัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.4 โดยเป็นธุรกรรม Outright 43,945 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 64.1 นักลงทุนกลับเข้ามาลงทุนหลังจากพ้นช่วงวันหยุดในสัปดาห์ที่แล้ว ประกอบกับ นโยบายอัตราดอกเบี้ยมีความชัดเจนขึ้นจากการประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั้ง ของไทยและสหรัฐฯ อีกร้อยละ 0.25 อัตราผลตอบแทน (yield) โดยรวมของพันธบัตร ในช่วงต้นสัปดาห์ค่อนข้างคงที่ เนื่องจากนักลงทุนไม่คาดว่า ธปท.จะขึ้นอัตรา ดอกเบี้ย แต่ในวันพุธเมื่อ ธปท. ประกาศเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อัตรา ผลตอบแทนจึงปรับเพิ่มขึ้นมาก ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนโดยรวมปรับเพิ่มขึ้น 2-12 basis point ในทุกช่วงอายุ ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของ พันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลง18 basis point ในขณะที่ดัชนีราคาของหุ้นกู้เอกชน เพิ่มขึ้น 9 basis point สำหรับ US Treasury Yield ทยอยปรับตัวขึ้นตั้งแต่ปลายสัปดาห์ที่แล้ว จากการ คาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และกลับมาลดลงเมื่อมีการประกาศปรับอัตรา ดอกเบี้ยในวันอังคาร ต่อมาช่วงปลายสัปดาห์ Yield ปรับตัวขึ้นอีกครั้ง ทำให้ ณ สิ้น สัปดาห์ US Treasury Yield อายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปปรับตัวเพิ่มขึ้น 2-6 basis point
อัตราแลกเปลี่ยน
ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้เคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวน โดยมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.35 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ 0.2 โดยในช่วงต้นสัปดาห์ เงินบาทอ่อนค่าลงค่อนข้างมากจากปลายสัปดาห์ก่อน ตาม ทิศทางค่าเงินในภูมิภาค ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากแรงซื้อ คืนเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อทำกำไรและปรับสมดุลฐานะเงินตราต่างประเทศต่อเนื่อง จากปลายสัปดาห์ที่แล้ว ตลอดจนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในช่วง กลางสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม เงินบาทไม่อ่อนค่าลงมากนัก เนื่องจากการตัดสินใจปรับ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. อีกร้อยละ 0.25 ซึ่งค่อนข้างเหนือความคาดหมายของตลาด เป็นปัจจัยสนับสนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น อย่างมากในวันพฤหัสบดี ก่อนจะปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในวันศุกร์เมื่อเทียบกับเงิน ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากเงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้น จากตัวเลขเศรษฐกิจ สหรัฐฯ ที่ออกมาดี โดยเฉพาะตัวเลขการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดประจำไตรมาสสามที่ เพิ่มขึ้นน้อยกว่าการคาดการณ์ของตลาดเป็นจำนวนมาก
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
-FOMC ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate อีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี เช่นเดียวกับคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. ที่ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 4 จากระดับร้อยละ 1.75 ต่อปี มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 2 ต่อปี เพื่อให้อัตราดอกเบี้ยปรับเข้าสู่ระดับที่สามารถดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป
-ปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้เพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทน (Yield) ของพันธบัตรฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท.
-เงินบาทเคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวน และมีค่าเฉลี่ยอ่อนลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อย โดยมีปัจจัยกดดันจากการแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากการซื้อคืนเงินดอลลาร์ สรอ. ของนักลงทุนและตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาดี แต่การอ่อนค่าของเงินบาทถูกจำกัดด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยในช่วงกลางสัปดาห์
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
ธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมในตลาดเงินระยะสั้นเพิ่มขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าว ปิดตลาดสูงขึ้นจากร้อยละ 1.59375 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ 1.65625 ต่อปี ส่วนในวัน อังคารก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. สถาบันการเงินมีความ ต้องการทำธุรกรรมระยะสั้นในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วันเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ความ ต้องการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันลดลงอย่างชัดเจน แต่หลังจากการ ตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในวันพุธที่ 15 ธันวาคม ความต้องการลงทุน ในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสถาบันการเงินเสนอการ ลงทุนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1.90625 1.96875 และ 2.0 ต่อปี สำหรับระยะ 1 7 และ 14 วัน ตามลำดับ แต่อัตราดอกเบี้ย ระยะ 1 วันปรับตัวลดลงเล็กน้อยในช่วงปลายสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 1.875 ต่อปี เนื่องจากธนาคารพาณิชย์นำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุน สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.5 - 1.73 ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ ที่ร้อยละ 1.65 - 1.95 ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์ และอัตรากลาง (Mode) ปิด ตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.68 - 1.7 ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.875 - 1.9 ในช่วงกลางถึงปลายสัปดาห์
การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในวันที่ 14 ธ.ค. จากระดับร้อยละ 2 ต่อปี มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.25 ต่อปี นับเป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งที่ 5 ตั้งแต่เดือน มิ.ย. โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นไปตามการคาดการณ์ของตลาด และวันถัดมา (15 ธ.ค.) คณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. มีมติให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยอีกร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 2 ต่อปี แม้ว่าอัตราเงินเฟ้อในเดือน พ.ย. จะขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงจากการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันและปัจจัยส่วนหนึ่งจากเงินบาทที่ปรับแข็งค่าขึ้น แต่อาจเป็นภาวะชั่วคราวที่ต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่าอัตราดอกเบี้ยในประเทศควรปรับเข้าสู่ระดับสูงขึ้นเพื่อการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสามารถเร่งตัวสูงขึ้นและเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการประมูลตราสารหนี้ภาครัฐ 24,760 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 28 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 11,000 ล้านบาท พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับ โครงสร้างหนี้ FIDF1 อายุ 5 10 และ 15 ปี วงเงินรวม 4,500 ล้านบาท และพันธบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย อายุ 364 วัน วงเงิน 5,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของ ตราสารหนี้ทุกประเภทลดลงจากสัปดาห์ก่อน นอกจากนี้ยังมีการประมูลพันธบัตรการ ทางพิเศษแห่งประเทศไทยที่กระทรวงการคลังค้ำประกันอายุ 6 และ 7 ปี วงเงิน 1,000 และ 1,500 ล้านบาทตามลำดับ และพันธบัตรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่ กระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน อายุ 7 ปี วงเงิน 1,760 ล้านบาท
ภาวะซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองสัปดาห์นี้ค่อนข้างหนาแน่น โดยมี มูลค่าซื้อขายเท่ากับ 68,533 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 13,707 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจาก สัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.4 โดยเป็นธุรกรรม Outright 43,945 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 64.1 นักลงทุนกลับเข้ามาลงทุนหลังจากพ้นช่วงวันหยุดในสัปดาห์ที่แล้ว ประกอบกับ นโยบายอัตราดอกเบี้ยมีความชัดเจนขึ้นจากการประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายทั้ง ของไทยและสหรัฐฯ อีกร้อยละ 0.25 อัตราผลตอบแทน (yield) โดยรวมของพันธบัตร ในช่วงต้นสัปดาห์ค่อนข้างคงที่ เนื่องจากนักลงทุนไม่คาดว่า ธปท.จะขึ้นอัตรา ดอกเบี้ย แต่ในวันพุธเมื่อ ธปท. ประกาศเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อัตรา ผลตอบแทนจึงปรับเพิ่มขึ้นมาก ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนโดยรวมปรับเพิ่มขึ้น 2-12 basis point ในทุกช่วงอายุ ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) ของ พันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลง18 basis point ในขณะที่ดัชนีราคาของหุ้นกู้เอกชน เพิ่มขึ้น 9 basis point สำหรับ US Treasury Yield ทยอยปรับตัวขึ้นตั้งแต่ปลายสัปดาห์ที่แล้ว จากการ คาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และกลับมาลดลงเมื่อมีการประกาศปรับอัตรา ดอกเบี้ยในวันอังคาร ต่อมาช่วงปลายสัปดาห์ Yield ปรับตัวขึ้นอีกครั้ง ทำให้ ณ สิ้น สัปดาห์ US Treasury Yield อายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปปรับตัวเพิ่มขึ้น 2-6 basis point
อัตราแลกเปลี่ยน
ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้เคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวน โดยมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 39.35 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ 0.2 โดยในช่วงต้นสัปดาห์ เงินบาทอ่อนค่าลงค่อนข้างมากจากปลายสัปดาห์ก่อน ตาม ทิศทางค่าเงินในภูมิภาค ในขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากแรงซื้อ คืนเงินดอลลาร์ สรอ. เพื่อทำกำไรและปรับสมดุลฐานะเงินตราต่างประเทศต่อเนื่อง จากปลายสัปดาห์ที่แล้ว ตลอดจนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในช่วง กลางสัปดาห์ อย่างไรก็ตาม เงินบาทไม่อ่อนค่าลงมากนัก เนื่องจากการตัดสินใจปรับ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. อีกร้อยละ 0.25 ซึ่งค่อนข้างเหนือความคาดหมายของตลาด เป็นปัจจัยสนับสนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น อย่างมากในวันพฤหัสบดี ก่อนจะปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อยในวันศุกร์เมื่อเทียบกับเงิน ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากเงินดอลลาร์ สรอ. มีทิศทางแข็งค่าขึ้น จากตัวเลขเศรษฐกิจ สหรัฐฯ ที่ออกมาดี โดยเฉพาะตัวเลขการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดประจำไตรมาสสามที่ เพิ่มขึ้นน้อยกว่าการคาดการณ์ของตลาดเป็นจำนวนมาก
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-