ภาวะการผลิตรายภาค
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาพรวม ผลิตภัณฑ์ภาค (GRP)ในราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 7.9 ในปีที่ผ่านมาเนื่องจากการผลิตหลยสาขา ภาคเกษตรเป็นส่วนที่สำคัญ เนื่องจากเกือบทุกสาขาการผลิตขยายตัวต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ยกเว้น สาขาการไฟฟ้า ก๊าซ และ ในปีก่อน อย่างไรก็ตาม การผลิตนอกภาคเกษตรชะลอตัว โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 5.2 5.1 7.5 และ 5.6 ในปีก่อนหน้า
การผลิตภาคเกษตร ขยายตัวร้อยละ 12.4 หลังจากที่หดตัวลงร้อยละ 2.7 ในปีที่ผ่านมา เนื่องจากหมวดพืชผลได้ผลผลิตดีกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากผลผลิตพืชไร่เกือบทุกชนิดเช่น ข้าว มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ขยายตัวร้อยละ 11.5 หมวดปศุสัตว์ขยายตัวร้อยละ 32.3 จากที่หดตัวลงร้อยละ 1.2 ในปีที่ผ่านมาตามภาวะการเลี้ยงกระบือไก่เนื้อและการเลี้ยงไหมที่มีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น ส่วนการเลี้ยงโคมีแนวโน้มลดลง รวมทั้ง สาขาการประมงขยายตัวถึงร้อยละ11.3 เทียบกับที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.9 ในปีก่อน ในขณะที่หมวดการป่าไม้ชะลอตัวลงซึ่งเป็นผลจากปริมาณ ไม้และผลการปฏิบัติงานการโครงการส่งเสริมปลูกไม้เศรษฐกิจลดลง
การผลิตนอกภาคเกษตร ขยายตัวในอัตราร้อยละ 5.3 ต่ำกว่าร้อยละ 6.7 เป็นการขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า โดยมี ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 12.4 หลังจากที่หดตัวลงร้อยละ 2.7 การประปา สาขาการขายส่ง การขายปลีกฯ สาขาการศึกษาและสาขาการให้บริการชุมชนฯ ที่ยังมีการเติบโตดีอย่างต่อเนื่อง โดยมีการขยายตัวเพียงร้อยละ 5.3 ชะลอลงจากร้อยละ 7.9 ตามลำดับ สาขาหลักที่ชะลอลง ได้แก่ สาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 13.2 เป็นผลมาจากหมวดอาหารและเครื่องดื่ม หมวดสิ่งทอสิ่งถัก และหมวดเครื่องแต่งกาย สาขาตัวกลาง ทางการเงินขยายตั วร้อยละ 5.8 สาขาการบริหารราชการแผ่นดินฯขยายตัวร้อยละ 1.0 มีสาเหตุมาจากการเบิกจ่ายราชการส่วนท้องถิ่นและการใช้จ่ายภายใต้นโยบายของรัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจชะลอตัวลง สาขาการทำเหมืองแร่ฯ สาขาการก่อสร้าง และ สาขาบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ฯ ขยายตัวร้อยละ 0.8 6.6 และ 3.2 เมื่อเทียบกับขยายตัวร้อยละ 17.5 13.5 และ 3.6 ในปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการทำเหมืองหินทราย ชะลอตัวตามภาวะการก่อสร้างที่ลดลง ส่งผลให้บริการด้านอสังหาริมทรัพ ย์ฯชะลอตัวตาม ส่วน สาขาการขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า และการคมนาคม หดตัวร้อยละ 1.7 จากขยายตัวร้อยละ 7.9 ในปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากธุรกิจด้าน การสื่อสารในภูมิภาค ซึ่งเป็นหมวดหลักลดตัวลงอย่างรุนแรง ประกอบกับการขนส่งทางอากาศได้รับผลกระทบจากการเดินทางท่องเที่ยวลดลงเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง สาขาบริการด้านสุขภาพและงานสังคมสงเคราะห์หดตัวร้อยละ 5.8 เป็นผลมาจากภาวะประชาชนหันมาห่วงใยรักษาสุขภาพตนเองมากยิ่งขึ้นส่งผลให้บริการด้านสุขภาพฯทั้งภาครัฐและเอกชนลดลง
ภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัด ผลิตภัณฑ์จังหวัด ณ ราคาคงที่ ขยายตัวสูงขึ้นเกือบทุกจังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ ชัยภูมิ สุรินทร์ สกลนคร มหาสารคาม หนองบัวลำภู และ อำนาจเจริญ เป็นผลจากการผลิตในภาคเกษตร ขยายตัวดีขึ้นโดยขยายตัวได้ดีทั้งผลผลิตเลี้ยงปศุสัตว์ โดยเฉพาะไก่เนื้อและกระบือ มีผลผลิตมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดภายในและต่างประเทศ
อัตราขยายตัวและโครงสร้างการผลิตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ร้อยละ)
อัตราขยายตัว โครงสร้าง
2545 2546 2545 2546
เกษตรกรรม -2.7 12.4 20.1 21.2
นอกเกษตรกรรม 7.9 5.3 78.8 79.9
อุตสาหกรรม 22.3 13.2 13.6 14.4
สาขาอื่นๆ 5.5 3.7 66.3 64.4
GRP 5.6 6.7 100.0 100.0
(ยังมีต่อ).../ในขณะที่..