แท็ก
สภาพัฒน์
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2542 นายสิปปนนท์ เกตุทัต ประธานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ให้การต้อนรับ นายหวัง ชุนเจิง (Mr. Wang Chunzheng) รองประธานคณะกรรมาธิการวางแผนพัมนาแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งดำรงตำแหน่งเทียบเท่ารัฐมนตรีและคณะ ในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทย ณ ห้องประชุมเดช สนิทวงศ์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
นายสิปปนนท์ เกตุทัต ได้กล่าวต้อนรับว่าในปัจจุบันนี้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนได้พัฒนาไปสู่การร่วมมือกันมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมูลค่าทางการค้าและการลงทุนระหว่างสองฝ่ายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และได้กล่าวสรุปบทบาทและหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
ต่อจากนั้น นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม ได้กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาประเทศของไทยว่า ได้หันมาเน้น "คน" เป็นศูนย์กลางหรือจุดมุ่งหมายหลักของการพัฒนา โดยการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเพียงเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะช่วยให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ได้กล่าวถึงช่วงวิกฤตทางเศรษฐกิจของไทยที่ผ่านมาได้ ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ แต่นับว่าเป็นโอกาสในการแก้ปัญหาความอ่อนแอของโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่สะสมกันมาเป็นเวลานาน โดยเร่งรัดการปรับระบบบริหารจัดการเพื่อพัฒนาประเทศทั้งในด้านการปฏิรูประบบราชการ การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและกระบวนการประชาสังคมอันจะเป็นการปูพื้นฐานการพัฒนาประเทศ ซึ่งขณะนี้เศรษฐกิจของไทยเริ่มฟื้นตัวแล้วและนักลงทุนต่างชาติได้มีความเชื่อมั่นในการลงทุนมากขึ้น
ในส่วนของการร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชาจีนนั้น นับตั้งแต่ได้มีการสถาปนาทางการทูตระหว่างประเทศทั้งสองเมื่อ พ.ศ. 2518 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองได้พัฒนาไปด้วยความใกล้ชิด และเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่ายบนพื้นฐานของประโยชน์ที่สอดคล้องกัน ซึ่งในปัจจุบันนี้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนได้พัฒนาไปสู่ความร่วมมือกันมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะโครงการความร่วมมือ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง
ภายหลังจากการหารือ เลขาธิการฯ ได้แถลงข่าวต่อผู้สื่อข่าวจากสถานีโทรทัศน์ว่า นายหวัง ชุนเจิง พร้อมด้วยคณะได้มาเยี่ยม สศช. เรื่องสำคัญที่พูดคุยกัน คือ เรื่องการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ซึ่งทางฝ่ายไทยได้สรุปภาวะเศรษฐกิจให้ทางจีนทราบ และสรุปแนวทางที่จะดำเนินการในอนาคต ส่วนทางจีนก็ได้สรุปภาวะเศรษฐกิจของจีน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องการแก้ไขภาวะวิกฤต โดยฝ่ายไทยได้ชี้แจงว่า เศรษฐกิจของไทยเริ่มฟื้นตัวแต่ก็มีบางจุดที่ยังต้องระวังอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเร่งรัดในการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) การส่งเสริมการส่งออกและการลงทุน และได้ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจในภูมิภาคมีผลกระทบต่อประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นหรือประเทศจีน ดังเช่นเรื่องของเงินหยวนก็ช่วยภูมิภาคนี้ได้มาก ซึ่งทาง สศช. ได้ขอบคุณรัฐบาลจีนที่มีนโยบายไม่ลดค่าเงิน ส่วนทางจีนก็ได้ให้ข้อสรุปทางด้านเศรษฐกิจของจีนเองว่ามีเรื่องที่ต้องดำเนินการเร่งรัด คือ เรื่องการลงทุน เรื่องการกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ และเรื่องการส่งออก สำหรับในประเด็นสุดท้ายที่มีการหารือคือ หน่วยวางแผนของจีนและ สศช. มีการทำงานคล้ายคลึงกัน คือทางจีนก็มีการวางแผนระยะเวลา 5 ปี และขณะนี้ประเทศจีนอยู่ในช่วงแผนพัฒนา ฉบับที่ 9 และกำลังวางแผนพัฒนา ฉบับที่ 10 อยู่เพื่อใช้ในปี ค.ศ. 2001-2005 เพราะฉะนั้นสองหน่วยงานนี้คงจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันมากขึ้นในอนาคต
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 11/พฤศจิกายน 2542--
นายสิปปนนท์ เกตุทัต ได้กล่าวต้อนรับว่าในปัจจุบันนี้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนได้พัฒนาไปสู่การร่วมมือกันมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมูลค่าทางการค้าและการลงทุนระหว่างสองฝ่ายได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และได้กล่าวสรุปบทบาทและหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
ต่อจากนั้น นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม ได้กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาประเทศของไทยว่า ได้หันมาเน้น "คน" เป็นศูนย์กลางหรือจุดมุ่งหมายหลักของการพัฒนา โดยการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเพียงเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะช่วยให้คนมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ได้กล่าวถึงช่วงวิกฤตทางเศรษฐกิจของไทยที่ผ่านมาได้ ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ แต่นับว่าเป็นโอกาสในการแก้ปัญหาความอ่อนแอของโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่สะสมกันมาเป็นเวลานาน โดยเร่งรัดการปรับระบบบริหารจัดการเพื่อพัฒนาประเทศทั้งในด้านการปฏิรูประบบราชการ การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและกระบวนการประชาสังคมอันจะเป็นการปูพื้นฐานการพัฒนาประเทศ ซึ่งขณะนี้เศรษฐกิจของไทยเริ่มฟื้นตัวแล้วและนักลงทุนต่างชาติได้มีความเชื่อมั่นในการลงทุนมากขึ้น
ในส่วนของการร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชาจีนนั้น นับตั้งแต่ได้มีการสถาปนาทางการทูตระหว่างประเทศทั้งสองเมื่อ พ.ศ. 2518 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองได้พัฒนาไปด้วยความใกล้ชิด และเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่ายบนพื้นฐานของประโยชน์ที่สอดคล้องกัน ซึ่งในปัจจุบันนี้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนได้พัฒนาไปสู่ความร่วมมือกันมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะโครงการความร่วมมือ 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง
ภายหลังจากการหารือ เลขาธิการฯ ได้แถลงข่าวต่อผู้สื่อข่าวจากสถานีโทรทัศน์ว่า นายหวัง ชุนเจิง พร้อมด้วยคณะได้มาเยี่ยม สศช. เรื่องสำคัญที่พูดคุยกัน คือ เรื่องการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ซึ่งทางฝ่ายไทยได้สรุปภาวะเศรษฐกิจให้ทางจีนทราบ และสรุปแนวทางที่จะดำเนินการในอนาคต ส่วนทางจีนก็ได้สรุปภาวะเศรษฐกิจของจีน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องการแก้ไขภาวะวิกฤต โดยฝ่ายไทยได้ชี้แจงว่า เศรษฐกิจของไทยเริ่มฟื้นตัวแต่ก็มีบางจุดที่ยังต้องระวังอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเร่งรัดในการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) การส่งเสริมการส่งออกและการลงทุน และได้ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจในภูมิภาคมีผลกระทบต่อประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นหรือประเทศจีน ดังเช่นเรื่องของเงินหยวนก็ช่วยภูมิภาคนี้ได้มาก ซึ่งทาง สศช. ได้ขอบคุณรัฐบาลจีนที่มีนโยบายไม่ลดค่าเงิน ส่วนทางจีนก็ได้ให้ข้อสรุปทางด้านเศรษฐกิจของจีนเองว่ามีเรื่องที่ต้องดำเนินการเร่งรัด คือ เรื่องการลงทุน เรื่องการกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ และเรื่องการส่งออก สำหรับในประเด็นสุดท้ายที่มีการหารือคือ หน่วยวางแผนของจีนและ สศช. มีการทำงานคล้ายคลึงกัน คือทางจีนก็มีการวางแผนระยะเวลา 5 ปี และขณะนี้ประเทศจีนอยู่ในช่วงแผนพัฒนา ฉบับที่ 9 และกำลังวางแผนพัฒนา ฉบับที่ 10 อยู่เพื่อใช้ในปี ค.ศ. 2001-2005 เพราะฉะนั้นสองหน่วยงานนี้คงจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันมากขึ้นในอนาคต
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 11/พฤศจิกายน 2542--