แท็ก
เกษตรกร
ผู้แทนจากภาครัฐบาล เอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และเกษตรกรร่วมกันกำหนดแนวทางการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน โดยเน้นให้ยึดวัตถุประสงค์ของการพัฒนาเป็นหลัก ปรับบทบาทการทำงานให้เกษตรเป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนาภาครัฐเป็นเพียงผู้สนับสนุนกำหนดแผนปฏิบัติการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ และให้มีการผลักดันในเชิงของการแข่งขันและการอยู่รอดของการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน
เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2544 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง แนวทางการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน ที่โรงแรมสยามซิตี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการกำหนดแนวทางและบทบาทความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน รวมไปถึงการสร้างองค์กรและกลไกความร่วมมือ เพื่อรับผิดชอบการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐบาล เอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และเกษตรกร โดยมีนางสาววิไลพร ลิ่วเกษมศานต์ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สศช. เป็นประธานการประชุม
นางสาววิไลพร ลิ่วเกษมศานต์ ได้กล่าวในพิธีเปิดการประชุมว่าการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ได้กำหนดเป้าหมายที่จะขยายงานด้านการเกษตรแบบยั่งยืน ให้ได้ไม่ต่ำกว่า 25 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของพื้นที่เกษตรกรรมทั่วประเทศ แต่ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ยังไม่คืบหน้ามากนัก โดยมีการขยายตัวเพียงร้อยละ 11 ของเป้าหมายเท่านั้น ประกอบกับการส่งเสริม พัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ของรัฐจึงยังขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการพัฒนา ที่ต้องอาศัยพื้นฐานความรู้ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม และการสร้างเครือข่ายของการเรียนรู้ในการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
ประธานการประชุมยังกล่าวต่อไปอีกว่า การพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนนี้ ยังคงมีความสำคัญอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) ได้กำหนดให้เป็นแนวทางหนึ่ง ในการปรับโครงสร้างการผลิตทางการเกษตรเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรให้สามารถพึ่งพาตนเอง ด้วยการสร้างความสมดุลระหว่างการผลิตกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายในการสร้างความมั่นคงของภาคเกษตรให้สามารถขยายกระบวนการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน เพื่อเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรด้วยการยกระดับรายได้ ควบคู่กับการมีงานทำ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
สำหรับผลการประชุม ที่ประชุมมีมติว่า การเกษตรแบบยั่งยืนเป็นเรื่องสำคัญในการพัฒนาประเทศ แต่ที่ผ่านมาการใช้จำนวนพื้นที่เป็นเป้าหมายของการพัฒนา ไม่สามารถประเมินได้ถึงคุณภาพของการพัฒนา และไม่สามารถชี้ถึงความรู้ความเข้าใจของเกษตรกรในแนวทางการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน รวมทั้งความสามารถในการผลักดันการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนให้ประสบความสำเร็จนอกจากนี้ การยึดรูปแบบการทำการเกษตรแบบยั่งยืนเพียง 5 รูปแบบ ซึ่งได้แก่ เกษตรทฤษฎีใหม่นั้น อาจไม่เพียงพอต่อการกำหนดกรอบการพัฒนา จึงควรยึดเอาวัตถุประสงค์ของการพัฒนาเป็นเกณฑ์แทน
ในด้านทิศทางการดำเนินการต่อไป จำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักของเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ภาครัฐตามแนวคิดการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน โดยเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ต้องปรับกระบวนทรรศน์ ปรับบทบาทการทำงานให้ภาครัฐเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวก และให้เกษตรกรเป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนา
ในเรื่องของความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ที่ยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาหลักในการกำหนดยุทธศาสตร์ฯ จำเป็นต้องมีการกำหนดแผนหลักและแผนปฏิบัติการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานในทางปฏิบัติมีความชัดเจน และสามารถดำเนินการตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ยังควรมีมติในการผลักดันในเชิงของการแข่งขันหรือการอยู่รอดของการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน กล่าวคือ การให้ความสำคัญกับผลผลิตที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะสินค้าเพื่อสุขภาพ ที่ต้องอาศัยการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างตลาดรองรับผลผลิตและสร้างเสถียรภาพด้านราคาให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืนต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 9/กันยายน 2544--
-สส-
เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2544 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง แนวทางการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน ที่โรงแรมสยามซิตี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการกำหนดแนวทางและบทบาทความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน รวมไปถึงการสร้างองค์กรและกลไกความร่วมมือ เพื่อรับผิดชอบการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐบาล เอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน และเกษตรกร โดยมีนางสาววิไลพร ลิ่วเกษมศานต์ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สศช. เป็นประธานการประชุม
นางสาววิไลพร ลิ่วเกษมศานต์ ได้กล่าวในพิธีเปิดการประชุมว่าการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนในช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ได้กำหนดเป้าหมายที่จะขยายงานด้านการเกษตรแบบยั่งยืน ให้ได้ไม่ต่ำกว่า 25 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของพื้นที่เกษตรกรรมทั่วประเทศ แต่ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ยังไม่คืบหน้ามากนัก โดยมีการขยายตัวเพียงร้อยละ 11 ของเป้าหมายเท่านั้น ประกอบกับการส่งเสริม พัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ของรัฐจึงยังขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการพัฒนา ที่ต้องอาศัยพื้นฐานความรู้ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม และการสร้างเครือข่ายของการเรียนรู้ในการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
ประธานการประชุมยังกล่าวต่อไปอีกว่า การพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนนี้ ยังคงมีความสำคัญอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) ได้กำหนดให้เป็นแนวทางหนึ่ง ในการปรับโครงสร้างการผลิตทางการเกษตรเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรให้สามารถพึ่งพาตนเอง ด้วยการสร้างความสมดุลระหว่างการผลิตกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายในการสร้างความมั่นคงของภาคเกษตรให้สามารถขยายกระบวนการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน เพื่อเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรด้วยการยกระดับรายได้ ควบคู่กับการมีงานทำ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
สำหรับผลการประชุม ที่ประชุมมีมติว่า การเกษตรแบบยั่งยืนเป็นเรื่องสำคัญในการพัฒนาประเทศ แต่ที่ผ่านมาการใช้จำนวนพื้นที่เป็นเป้าหมายของการพัฒนา ไม่สามารถประเมินได้ถึงคุณภาพของการพัฒนา และไม่สามารถชี้ถึงความรู้ความเข้าใจของเกษตรกรในแนวทางการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน รวมทั้งความสามารถในการผลักดันการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนให้ประสบความสำเร็จนอกจากนี้ การยึดรูปแบบการทำการเกษตรแบบยั่งยืนเพียง 5 รูปแบบ ซึ่งได้แก่ เกษตรทฤษฎีใหม่นั้น อาจไม่เพียงพอต่อการกำหนดกรอบการพัฒนา จึงควรยึดเอาวัตถุประสงค์ของการพัฒนาเป็นเกณฑ์แทน
ในด้านทิศทางการดำเนินการต่อไป จำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักของเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ภาครัฐตามแนวคิดการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน โดยเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ต้องปรับกระบวนทรรศน์ ปรับบทบาทการทำงานให้ภาครัฐเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวก และให้เกษตรกรเป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนา
ในเรื่องของความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ที่ยึดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาหลักในการกำหนดยุทธศาสตร์ฯ จำเป็นต้องมีการกำหนดแผนหลักและแผนปฏิบัติการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานในทางปฏิบัติมีความชัดเจน และสามารถดำเนินการตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ยังควรมีมติในการผลักดันในเชิงของการแข่งขันหรือการอยู่รอดของการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน กล่าวคือ การให้ความสำคัญกับผลผลิตที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะสินค้าเพื่อสุขภาพ ที่ต้องอาศัยการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ สร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างตลาดรองรับผลผลิตและสร้างเสถียรภาพด้านราคาให้กับเกษตรกรอย่างยั่งยืนต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 9/กันยายน 2544--
-สส-