นายพรชัย รุจิประภา รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยผลการประชุมสัมมนาเรื่อง"ทิศทางและความเป็นไปได้เชิงธุรกิจในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลในจังหวัดชายแดนภาคใต้"โดยสำนักพัฒนาพื้นที่เชื่อมโยงทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านและพื้นที่ชายแดน(สพช.)สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)ร่วมมือกับศูนย์อำนวนการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2544 ณ โรงแรม เจ.บี.อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นนับตั้งแต่ที่ประชุมไตรภาคี ตามโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ระดับรัฐมนตรีและระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสครั้งที่ 7 เมื่อปลายปี 2540 ซึ่งได้เห็นชอบให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ และประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม นอกจากนี้ ยังเป็นโครงการที่บรรจุอยู่ในกรอบแผนงานตามแผนแม่บทการพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
สำหรับผลการสัมมนา ทิศทางและความเป็นไปได้เชิงธุรกิจในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
แนวทางการส่งเสริมการส่งออกอาหารฮาลาล เช่น การพัฒนาให้ตราฮาลาลของไทยเป็นที่ยอมรับโดยสากล รวมทั้งองค์กรมุสลิมระดับโลก(Codex) และภูมิภาค (Asean Codex) การใช้ตราฮาลาลเป็นมาตรฐานสำหรับสินค้าทั่วไป เพื่อทำการตลาดทั่วไปด้วย ซึ่งจะทำให้ได้ตลาดทั้งโลก (6,000 ล้านคน) ไม่ใช่เพียงตลาดประเทศมุสลิม (1,500 ล้านคน)
แนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล เช่น การพัฒนาด้านการตลาดโดยศึกษาข้อมูลถึงรสนิยมลักษณะการบริโภค รัฐสนับสนุนด้านการเงินทุนหมุนเวียน ใช้ความได้เปรียบของพื้นที่จังหวัดชายแดนจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเกษตรครบวงจร โดยสร้างแรงจูงใจต่อผู้ประกอบการที่เข้ามาในเขตอุตสาหกรรมด้านความสะดวกในการขอตรารับรองฮาลาล สนับสนุนการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างแเรงจูงใจผู้บริโภค พัฒนาสนับสนุนนักลงทุนรายใหม่ ยกระดับขีดความสามารถในเทคโนโลยีและการจัดการ สร้างอุตสาหกรรมชุมชนที่ยั่งยืนยกระดับขีดความสามารถอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรและสามารถขององค์กร
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สำหรับการผลิตสินค้าด้านปศุสัตว์เพื่ออุตสาหกรรมอาหารฮาลาลนั้น กรมปศุสัตว์ได้มีโครงการที่ดำเนินการในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาอุตสหากรรมอาหารฮาลาล ได้แก่ โครงการพัฒนาส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อพันธุ์ดีโครงการอนุรักษ์และพัฒนาโคพื้นเมือง โครงการส่งเสริมและปรับปรุงพันธุ์แพะ และโครงการส่งเสริมการเลี้ยงเป็ดเทศ อย่างไรก็ตาม หากประเทศไทยมีเป้าหมายส่งออกสินค้าอาหารฮาลาลควรมีการศึกษารายละเอียดและแนวทางดำเนินการด้านปศุสัตว์ ดังนี้
1. ความต้องการสินค้า รูปแบบ และชนิดของผลิตภัณฑ์ ตลอดจนเงื่อนไขต่างๆ เช่น ประเทศซาอุดิอาระเบีย ยังคิดอัตรภาษีเนื้อไก่ร้อยละ 20 ในขณะที่ประเทศบรูไนไม่ยินยอมนำเข้า โดยอ้างว่าการเชือดไก่ของไทยร้อยละ 20 ในขณะที่ประเทศบรูไนไม่ยินยอมนำเข้า โดยอ้างว่าการเชือดไก่ของไทยไม่ถูกต้องตามหลักศาสนา
2. การวางแผนการผลิตต้องมีการเตรียมฐานการผลิตให้พอเพียงโดยควรให้พอเพียงโดยควรให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการวางแผนการผลิตอย่างครบวงจรและมีเวลาเพียงพอในการเตรียมการ
3.ควรมีการประชาสัมพันธ์การบริโภคเนื้อสัตว์ภายในประเทศอย่างน้อย 30-50% ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่ผลิตได้และส่งเสริมการผลิตปศุสัตว์อย่างจริงจัง
4. เชิญชวนนักลงทุนจากตะวันออกกลางเข้ามาลงทุนในพื้นที่
5. ศึกษาความสอดคล้องและผลกระทบต่อการผลิตอาหารฮาลาลจากการเปิดตลาดเสรีตามกรอบขององค์การการค้าโลก
นายพรชัย รุจิประภา ยังได้กล่าวถึงมุมมองของภาคเอกชนเกี่ยวกับความเป็นไปได้เชิงธุรกิจของอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลว่า ในขณะที่ธุรกิจหลายประเภทประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจแต่ธุรกิจอาหารกลับเติบโตได้ดี โดยเฉพาะการมีตราฮาลาลจะช่วยขยายโอกาสทางธุรกิจได้เพิ่มมากขึ้น กล่าวคือประชากรมุสลิมมีจำนวนถึงร้อยละ 20.7 ของประชากรโลก จึงเป็นตลาดที่ใหญ่สำหรับนักลงทุน สินค้าที่ส่งออกจึงควรเริ่มจากสินค้าแปรรูปต่างๆ เช่นไส้กรอก ไก่ทอด และเนื้อแพะ สเต็ก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียง แล้วพัฒนาการผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อจำหน่าย และประการสำคัญจะต้องมีความซื่อสัตย์ต่อกิจการการผลิตอาหารฮาลาลตามหลักศาสนาอย่างเคร่งครัดด้วย
ดังนั้น กระบวนการผลิตอาหารฮาลาลจึงควรมีการกำหนดมาตรฐานการผลิตและการตรวจสอบ เพื่อให้ผู้ซื้อเกิดความมั่นใจว่าอาหารได้รับการผลิตอย่างถูกต้องตามบัญญัติของศาสนาอิสลาม และจะช่วยทำให้ตราฮาลาลของประเทศได้รับความเชื่อถือซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศต่อไป
สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีโลก
เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2544 สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ ได้จัดสัมมนาเรื่อง สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีโลก พ.ศ. 2543 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ทราบถึงศักยภาพด้านการศึกษาของประเทศไทยเปรียบเทียบกับนานาประเทศ และระดมสมองเพื่อนำไปสู่ยุทธศาสตร์และความร่วมมือในการปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จ อันจะช่วยส่งผลให้การแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมบรรลุตามเป้าหมาย
สำหรับสาระสำคัญของรายงานเรื่องสมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีโลก พ.ศ. 2543 สรุปได้ดังนี้
1. ด้านการศึกษา จากการศึกษาพบว่าในปี 2541 ประเทศไทยมีประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไปที่รู้หนังสือร้อยละ 95 ของประชากรในกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าประเทศส่วนใหญ่ในเอเซีย อย่างไรก็ตามจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2542 พบว่าประชากรไทยอายุ 15 ปี ขึ้นไปเกือบร้อยละ 70 มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า สำหรับประชากรที่จบการศึกษาระดับมัธยมปลายขึ้นไปเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ทั้งในภูมิภาคเอเชีย และภูมิภาคอื่นๆ พบว่า ประเทศไทยมีประชากรที่จบการศึกษาในระดับมัธยมปลายขึ้นไปต่ำกว่าประเทศอื่นๆ
ส่วนการศึกษาของเด็กและเยาวชนไทยในกลุ่มอายุ 15-19 ปี เมื่อเปรียบเทียบจากอัตราการเข้าเรียนกับประเทศอื่นๆ พบว่า มีอัตราต่ำกว่าอีกหลายประเทศ นอกจากนี้ จากรายงานผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ IMD (International Institute for Management Development) ปรากฏว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 47 ซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย
2. ภาระการสอนของครู ประเทศไทยมีอัตราส่วนนักเรียนต่อครูเท่ากับ 25:1 สำหรับค่าตอบแทนครูในภาครัฐ จำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศเกาหลี ครูมีเงินเดือนมากกว่า 20,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อปี ในขณะที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย ครูมีเงินเดือนต่ำกว่า 10,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อปี
3. ค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของรัฐ นับตั้งแต่ปี 2541-2543 ประเทศไทยมีการลงทุนทางการศึกษาในภาครัฐประมาณร้อยละ 25 ของงบประมาณทั้งหมด และหากพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของรัฐต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP)ในปี 2538-2540 พบว่าประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของรัฐต่อ GNP ร้อยละ 4.8 ซึ่งมากกว่าประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม จีน และอินโดนีเซีย ซึ่งมีค่าใช้จ่ายฯไม่ถึงร้อยละ 4 ของ GNP
4.โครงสร้างพื้นฐานทางด้านสารสนเทศ ในปี 2542 ประเทศไทยมีคอมพิวเตอร์จำนวน 40 เครื่องต่อประชาชนพันคน ในขณะที่มาเลเซียมีถึง 95 เครื่องต่อประชากรพันคน และหากเปรียบเทียบกันประเทศอื่นๆ แล้ว ประเทศไทยมีคอมพิวเตอร์น้อยกว่าประมาณ 4-13 เท่าตัว และเมื่อพิจารณาถึงความสามารถในการเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแล้ว พบว่าในปี 2543 มีประชากรเพียงร้อยละ 2 ของ ประชากรทั้งหมดเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแล้ว พบว่าในปี 2543 มีประชากรเพียงร้อยละ 2 ของ ประชากรทั้งหมดเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ในการสัมมนาดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติมีข้อสังเกตว่า ในขณะที่ทรัพยากรของประเทศไทยมีค่าดัชนีอยู่ในเกณฑ์ดีกว่าหลายประเทศ (สัดส่วนประชากรวัยแรงงานต่อประชากร ทั้งหมด อัตราการรู้หนังสือของผู้ใหญ่ อัตราส่วนนักเรียนต่อครูสัดส่วนการลงทุนทางการศึกษาของรัฐ) แต่เมื่อพิจารณาในแง่ผลสัมฤทธิ์กลับมีค่าอยู่ในเกณฑ์ ต่ำมากเมื่อเปรียบเทียบกับหลายประเทศ ดังนั้น ปัญหาหลักจึงไม่น่าจะอยู่ที่ข้อจำกัดด้านทรัพยากร แต่น่าจะอยู่ที่ปัญหาด้านประสิทธิ์ภาพของการบริหารจัดการ นอกจากนี้ ประเด็นปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่จำเป็นต้องเร่งแก้ไขควบคู่กับปัญหาทางการศึกษาเนื่องจากเป็นปัญหาที่เชื่อมโยงกันคือ ปัญหาความยากจนของประชากรเนื่องจากปัญหาความยากจนทำให้เด็กและเยาวชนจำนวนไม่น้อยต้องเสียโอกาสในการเข้ารับการศึกษา
อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะซึ่งเป็นประเด็นที่น่าสนใจ ได้แก่ ตัวชี้วัดด้านการศึกษา เช่น อัตราการรู้หนังสือ ที่คำนวณจากข้อมูลการอ่านออกเขียนได้ อาจเป็นตัวชี้วัดที่ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบระหว่างประเทศได้ เนื่องจากเกณฑ์ในการอ่านออกเขียนได้ของแต่ละประเทศไม่เท่ากัน เช่นประเทศสหรัฐอเมริกา การอ่านออกเขียนได้จะหมายถึงคนที่จบหรือมีความสามารถเทียบเท่ากับเกรด 8 หรือ อัตรานักเรียนต่อครู อาจไม่ใช่ตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษาที่ดี เพราะเมื่อนำไปพิจารณาควบคู่กับปัจจัยด้านทรัพยากรแล้วพบว่า หากครูรับผิดชอบต่อนักเรียนในจำนวนน้อยจะทำให้เกิดปัญหาด้านการใช้ทรัพยากรไม่คุ้มค่า
ส่วนนโยบายด้านการศึกษา ผู้เข้าร่วมสัมมนาเห็นควรให้เร่งผลักดันให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาในทางปฏิบัติโดยเร็ว รวมทั้งต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาระดับก่อนวัยเรียนด้วย เนื่องจากผลการศึกษาวิจัยพิสูจน์แล้วว่า วัยเด็ก(ทารก 0-3 ปี) เป็นวัยที่มีพัฒนาการทางสมองอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันต้องเน้นการพัฒนาเด็กทั้งด้าน IQ และ EQ ไปพร้อมๆกัน ตลอดจนพัฒนาด้านการศึกษาในเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ รวมทั้งควรมีหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลเรื่องการจัดการศึกษาเพียงหน่วยงานเดียว ไม่ควรทำแบบแยกส่วน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 5 พฤษภาคม 2544--
-สส-
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นนับตั้งแต่ที่ประชุมไตรภาคี ตามโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ระดับรัฐมนตรีและระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสครั้งที่ 7 เมื่อปลายปี 2540 ซึ่งได้เห็นชอบให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ และประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม นอกจากนี้ ยังเป็นโครงการที่บรรจุอยู่ในกรอบแผนงานตามแผนแม่บทการพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
สำหรับผลการสัมมนา ทิศทางและความเป็นไปได้เชิงธุรกิจในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
แนวทางการส่งเสริมการส่งออกอาหารฮาลาล เช่น การพัฒนาให้ตราฮาลาลของไทยเป็นที่ยอมรับโดยสากล รวมทั้งองค์กรมุสลิมระดับโลก(Codex) และภูมิภาค (Asean Codex) การใช้ตราฮาลาลเป็นมาตรฐานสำหรับสินค้าทั่วไป เพื่อทำการตลาดทั่วไปด้วย ซึ่งจะทำให้ได้ตลาดทั้งโลก (6,000 ล้านคน) ไม่ใช่เพียงตลาดประเทศมุสลิม (1,500 ล้านคน)
แนวทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล เช่น การพัฒนาด้านการตลาดโดยศึกษาข้อมูลถึงรสนิยมลักษณะการบริโภค รัฐสนับสนุนด้านการเงินทุนหมุนเวียน ใช้ความได้เปรียบของพื้นที่จังหวัดชายแดนจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเกษตรครบวงจร โดยสร้างแรงจูงใจต่อผู้ประกอบการที่เข้ามาในเขตอุตสาหกรรมด้านความสะดวกในการขอตรารับรองฮาลาล สนับสนุนการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างแเรงจูงใจผู้บริโภค พัฒนาสนับสนุนนักลงทุนรายใหม่ ยกระดับขีดความสามารถในเทคโนโลยีและการจัดการ สร้างอุตสาหกรรมชุมชนที่ยั่งยืนยกระดับขีดความสามารถอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตรและสามารถขององค์กร
รองเลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สำหรับการผลิตสินค้าด้านปศุสัตว์เพื่ออุตสาหกรรมอาหารฮาลาลนั้น กรมปศุสัตว์ได้มีโครงการที่ดำเนินการในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาอุตสหากรรมอาหารฮาลาล ได้แก่ โครงการพัฒนาส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อพันธุ์ดีโครงการอนุรักษ์และพัฒนาโคพื้นเมือง โครงการส่งเสริมและปรับปรุงพันธุ์แพะ และโครงการส่งเสริมการเลี้ยงเป็ดเทศ อย่างไรก็ตาม หากประเทศไทยมีเป้าหมายส่งออกสินค้าอาหารฮาลาลควรมีการศึกษารายละเอียดและแนวทางดำเนินการด้านปศุสัตว์ ดังนี้
1. ความต้องการสินค้า รูปแบบ และชนิดของผลิตภัณฑ์ ตลอดจนเงื่อนไขต่างๆ เช่น ประเทศซาอุดิอาระเบีย ยังคิดอัตรภาษีเนื้อไก่ร้อยละ 20 ในขณะที่ประเทศบรูไนไม่ยินยอมนำเข้า โดยอ้างว่าการเชือดไก่ของไทยร้อยละ 20 ในขณะที่ประเทศบรูไนไม่ยินยอมนำเข้า โดยอ้างว่าการเชือดไก่ของไทยไม่ถูกต้องตามหลักศาสนา
2. การวางแผนการผลิตต้องมีการเตรียมฐานการผลิตให้พอเพียงโดยควรให้พอเพียงโดยควรให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการวางแผนการผลิตอย่างครบวงจรและมีเวลาเพียงพอในการเตรียมการ
3.ควรมีการประชาสัมพันธ์การบริโภคเนื้อสัตว์ภายในประเทศอย่างน้อย 30-50% ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่ผลิตได้และส่งเสริมการผลิตปศุสัตว์อย่างจริงจัง
4. เชิญชวนนักลงทุนจากตะวันออกกลางเข้ามาลงทุนในพื้นที่
5. ศึกษาความสอดคล้องและผลกระทบต่อการผลิตอาหารฮาลาลจากการเปิดตลาดเสรีตามกรอบขององค์การการค้าโลก
นายพรชัย รุจิประภา ยังได้กล่าวถึงมุมมองของภาคเอกชนเกี่ยวกับความเป็นไปได้เชิงธุรกิจของอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลว่า ในขณะที่ธุรกิจหลายประเภทประสบกับวิกฤตเศรษฐกิจแต่ธุรกิจอาหารกลับเติบโตได้ดี โดยเฉพาะการมีตราฮาลาลจะช่วยขยายโอกาสทางธุรกิจได้เพิ่มมากขึ้น กล่าวคือประชากรมุสลิมมีจำนวนถึงร้อยละ 20.7 ของประชากรโลก จึงเป็นตลาดที่ใหญ่สำหรับนักลงทุน สินค้าที่ส่งออกจึงควรเริ่มจากสินค้าแปรรูปต่างๆ เช่นไส้กรอก ไก่ทอด และเนื้อแพะ สเต็ก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียง แล้วพัฒนาการผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อจำหน่าย และประการสำคัญจะต้องมีความซื่อสัตย์ต่อกิจการการผลิตอาหารฮาลาลตามหลักศาสนาอย่างเคร่งครัดด้วย
ดังนั้น กระบวนการผลิตอาหารฮาลาลจึงควรมีการกำหนดมาตรฐานการผลิตและการตรวจสอบ เพื่อให้ผู้ซื้อเกิดความมั่นใจว่าอาหารได้รับการผลิตอย่างถูกต้องตามบัญญัติของศาสนาอิสลาม และจะช่วยทำให้ตราฮาลาลของประเทศได้รับความเชื่อถือซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศต่อไป
สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีโลก
เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2544 สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ ได้จัดสัมมนาเรื่อง สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีโลก พ.ศ. 2543 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ทราบถึงศักยภาพด้านการศึกษาของประเทศไทยเปรียบเทียบกับนานาประเทศ และระดมสมองเพื่อนำไปสู่ยุทธศาสตร์และความร่วมมือในการปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จ อันจะช่วยส่งผลให้การแก้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมบรรลุตามเป้าหมาย
สำหรับสาระสำคัญของรายงานเรื่องสมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีโลก พ.ศ. 2543 สรุปได้ดังนี้
1. ด้านการศึกษา จากการศึกษาพบว่าในปี 2541 ประเทศไทยมีประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไปที่รู้หนังสือร้อยละ 95 ของประชากรในกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าประเทศส่วนใหญ่ในเอเซีย อย่างไรก็ตามจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2542 พบว่าประชากรไทยอายุ 15 ปี ขึ้นไปเกือบร้อยละ 70 มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า สำหรับประชากรที่จบการศึกษาระดับมัธยมปลายขึ้นไปเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ ทั้งในภูมิภาคเอเชีย และภูมิภาคอื่นๆ พบว่า ประเทศไทยมีประชากรที่จบการศึกษาในระดับมัธยมปลายขึ้นไปต่ำกว่าประเทศอื่นๆ
ส่วนการศึกษาของเด็กและเยาวชนไทยในกลุ่มอายุ 15-19 ปี เมื่อเปรียบเทียบจากอัตราการเข้าเรียนกับประเทศอื่นๆ พบว่า มีอัตราต่ำกว่าอีกหลายประเทศ นอกจากนี้ จากรายงานผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ IMD (International Institute for Management Development) ปรากฏว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 47 ซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย
2. ภาระการสอนของครู ประเทศไทยมีอัตราส่วนนักเรียนต่อครูเท่ากับ 25:1 สำหรับค่าตอบแทนครูในภาครัฐ จำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศเกาหลี ครูมีเงินเดือนมากกว่า 20,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อปี ในขณะที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทย ครูมีเงินเดือนต่ำกว่า 10,000 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อปี
3. ค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของรัฐ นับตั้งแต่ปี 2541-2543 ประเทศไทยมีการลงทุนทางการศึกษาในภาครัฐประมาณร้อยละ 25 ของงบประมาณทั้งหมด และหากพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของรัฐต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GNP)ในปี 2538-2540 พบว่าประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของรัฐต่อ GNP ร้อยละ 4.8 ซึ่งมากกว่าประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม จีน และอินโดนีเซีย ซึ่งมีค่าใช้จ่ายฯไม่ถึงร้อยละ 4 ของ GNP
4.โครงสร้างพื้นฐานทางด้านสารสนเทศ ในปี 2542 ประเทศไทยมีคอมพิวเตอร์จำนวน 40 เครื่องต่อประชาชนพันคน ในขณะที่มาเลเซียมีถึง 95 เครื่องต่อประชากรพันคน และหากเปรียบเทียบกันประเทศอื่นๆ แล้ว ประเทศไทยมีคอมพิวเตอร์น้อยกว่าประมาณ 4-13 เท่าตัว และเมื่อพิจารณาถึงความสามารถในการเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแล้ว พบว่าในปี 2543 มีประชากรเพียงร้อยละ 2 ของ ประชากรทั้งหมดเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแล้ว พบว่าในปี 2543 มีประชากรเพียงร้อยละ 2 ของ ประชากรทั้งหมดเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ในการสัมมนาดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติมีข้อสังเกตว่า ในขณะที่ทรัพยากรของประเทศไทยมีค่าดัชนีอยู่ในเกณฑ์ดีกว่าหลายประเทศ (สัดส่วนประชากรวัยแรงงานต่อประชากร ทั้งหมด อัตราการรู้หนังสือของผู้ใหญ่ อัตราส่วนนักเรียนต่อครูสัดส่วนการลงทุนทางการศึกษาของรัฐ) แต่เมื่อพิจารณาในแง่ผลสัมฤทธิ์กลับมีค่าอยู่ในเกณฑ์ ต่ำมากเมื่อเปรียบเทียบกับหลายประเทศ ดังนั้น ปัญหาหลักจึงไม่น่าจะอยู่ที่ข้อจำกัดด้านทรัพยากร แต่น่าจะอยู่ที่ปัญหาด้านประสิทธิ์ภาพของการบริหารจัดการ นอกจากนี้ ประเด็นปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่จำเป็นต้องเร่งแก้ไขควบคู่กับปัญหาทางการศึกษาเนื่องจากเป็นปัญหาที่เชื่อมโยงกันคือ ปัญหาความยากจนของประชากรเนื่องจากปัญหาความยากจนทำให้เด็กและเยาวชนจำนวนไม่น้อยต้องเสียโอกาสในการเข้ารับการศึกษา
อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะซึ่งเป็นประเด็นที่น่าสนใจ ได้แก่ ตัวชี้วัดด้านการศึกษา เช่น อัตราการรู้หนังสือ ที่คำนวณจากข้อมูลการอ่านออกเขียนได้ อาจเป็นตัวชี้วัดที่ไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบระหว่างประเทศได้ เนื่องจากเกณฑ์ในการอ่านออกเขียนได้ของแต่ละประเทศไม่เท่ากัน เช่นประเทศสหรัฐอเมริกา การอ่านออกเขียนได้จะหมายถึงคนที่จบหรือมีความสามารถเทียบเท่ากับเกรด 8 หรือ อัตรานักเรียนต่อครู อาจไม่ใช่ตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษาที่ดี เพราะเมื่อนำไปพิจารณาควบคู่กับปัจจัยด้านทรัพยากรแล้วพบว่า หากครูรับผิดชอบต่อนักเรียนในจำนวนน้อยจะทำให้เกิดปัญหาด้านการใช้ทรัพยากรไม่คุ้มค่า
ส่วนนโยบายด้านการศึกษา ผู้เข้าร่วมสัมมนาเห็นควรให้เร่งผลักดันให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาในทางปฏิบัติโดยเร็ว รวมทั้งต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาระดับก่อนวัยเรียนด้วย เนื่องจากผลการศึกษาวิจัยพิสูจน์แล้วว่า วัยเด็ก(ทารก 0-3 ปี) เป็นวัยที่มีพัฒนาการทางสมองอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันต้องเน้นการพัฒนาเด็กทั้งด้าน IQ และ EQ ไปพร้อมๆกัน ตลอดจนพัฒนาด้านการศึกษาในเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ รวมทั้งควรมีหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลเรื่องการจัดการศึกษาเพียงหน่วยงานเดียว ไม่ควรทำแบบแยกส่วน
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 18 ฉบับที่ 5 พฤษภาคม 2544--
-สส-