เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2542 นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น (กนภ.) ครั้งที่ 2/2542 ณ ห้องประชุมสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
ที่ประชุม กนภ.ได้มีมติให้ความเห็นชอบในกรอบแนวคิด ตลอดจนกลยุทธ์และแนวทาง เรื่อง "การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน : เมืองน่าอยู่" โดยพิจารณาเห็นว่าการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนเป็นการเน้นกระบวนการพัฒนาแบบองค์รวมที่ทุกฝ่ายในสังคมได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพของพื้นที่ในภูมิภาคให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจในระดับประเทศ โดยนำกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างเป็นขั้นตอนมาสนับสนุนในการดำเนินงาน ทั้งนี้โดยให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อทำหน้าที่ประสานและผลักดันการดำเนินงานร่วมกับทุกฝ่าย รวมทั้งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมบทบาทท้องถิ่นให้เป็นผู้ผลักดันการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และการรณรงค์สร้างจิตสำนึกในการพัฒนาชุมชนที่น่าอยู่อย่างต่อเนื่องต่อไป
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น ซึ่งได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ปรากฎผลการดำเนินงานทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ และได้มีการรายงานความก้าวหน้าต่อคณะกรรมการ กนภ.มาเป็นระยะ ๆ ทั้งนี้ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่
- การดำเนินโครงการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน ปี 2543 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบกลางประจำปี 2543 จำนวน 156 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานบริเวณจุดผ่านแดนที่สำคัญ ทั้ง 4 ภูมิภาค จำนวน 23 โครงการ และเป็นโครงการเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวในพื้นที่ชายแดน โดยขณะนี้หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ
- การดำเนินงานกองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2541 จนถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2542 ได้สนับสนุนโครงการที่เสนอโดยองค์กรท้องถิ่นไปแล้ว จำนวน 1,243 โครงการ วงเงินงบประมาณ 928 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและศักยภาพของชุมชนในการบริหารจัดการและดำเนินโครงการ โดยมีชุมชนได้รับประโยชน์จำนวน 1,981 ชุมชน
- การก่อตั้งประชาคมจังหวัด ซึ่ง กนภ. มีมติในปี 2539 สนับสนุนให้เกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นเวทีในการระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในแนวทางการพัฒนาจังหวัดและในปี 2542 นี้ ได้มีการขยายผลครอบคลุมแล้วทุกจังหวัด สศช. จึงได้อาศัยกลไกประชาคมจังหวัดมาสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 โดยจะได้จัดเวทีระดมความคิดเห็นแนวทางแผนฯ 9 ผ่านกลไกประชาคมจังหวัดทุกจังหวัด ในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2543
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 12/ธันวาคม 2542--
ที่ประชุม กนภ.ได้มีมติให้ความเห็นชอบในกรอบแนวคิด ตลอดจนกลยุทธ์และแนวทาง เรื่อง "การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน : เมืองน่าอยู่" โดยพิจารณาเห็นว่าการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนเป็นการเน้นกระบวนการพัฒนาแบบองค์รวมที่ทุกฝ่ายในสังคมได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดีควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพของพื้นที่ในภูมิภาคให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจในระดับประเทศ โดยนำกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างเป็นขั้นตอนมาสนับสนุนในการดำเนินงาน ทั้งนี้โดยให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อทำหน้าที่ประสานและผลักดันการดำเนินงานร่วมกับทุกฝ่าย รวมทั้งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมบทบาทท้องถิ่นให้เป็นผู้ผลักดันการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน และการรณรงค์สร้างจิตสำนึกในการพัฒนาชุมชนที่น่าอยู่อย่างต่อเนื่องต่อไป
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อนโยบายกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น ซึ่งได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ปรากฎผลการดำเนินงานทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ และได้มีการรายงานความก้าวหน้าต่อคณะกรรมการ กนภ.มาเป็นระยะ ๆ ทั้งนี้ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่
- การดำเนินโครงการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน ปี 2543 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบกลางประจำปี 2543 จำนวน 156 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานบริเวณจุดผ่านแดนที่สำคัญ ทั้ง 4 ภูมิภาค จำนวน 23 โครงการ และเป็นโครงการเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวในพื้นที่ชายแดน โดยขณะนี้หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ
- การดำเนินงานกองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2541 จนถึงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2542 ได้สนับสนุนโครงการที่เสนอโดยองค์กรท้องถิ่นไปแล้ว จำนวน 1,243 โครงการ วงเงินงบประมาณ 928 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมและศักยภาพของชุมชนในการบริหารจัดการและดำเนินโครงการ โดยมีชุมชนได้รับประโยชน์จำนวน 1,981 ชุมชน
- การก่อตั้งประชาคมจังหวัด ซึ่ง กนภ. มีมติในปี 2539 สนับสนุนให้เกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นเวทีในการระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในแนวทางการพัฒนาจังหวัดและในปี 2542 นี้ ได้มีการขยายผลครอบคลุมแล้วทุกจังหวัด สศช. จึงได้อาศัยกลไกประชาคมจังหวัดมาสนับสนุนการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 โดยจะได้จัดเวทีระดมความคิดเห็นแนวทางแผนฯ 9 ผ่านกลไกประชาคมจังหวัดทุกจังหวัด ในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2543
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 12/ธันวาคม 2542--