เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ที่ผ่านมา นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่มเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพร้อมด้วยผู้บริหารของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ที่เกี่ยวข้อง ได้แถลงข่าว เรื่อง "ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไตรมาสที่ 1 ของปี 2543 (QGDP)" แก่สื่อมวลชน ณ ห้องประชุมเดช สนิทวงศ์ สศช.
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2543 เมื่อพิจารณาจากค่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 5.2 น้อยกว่า ร้อยละ 6.5 ในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้วเพียงเล็กน้อย
โดยในด้านการผลิต เป็นผลมาจากการขยายตัวของการผลิตนอกภาคเกษตร คือสาขาอุตสาหกรรมและสาขาบริการ ซึ่งเพิ่มขึ้นตามความต้องการภายในประเทศและการส่งออก ส่วนสาขาที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ สาขาการเงินและการธนาคารและสาขาเกษตร
ด้านการใช้จ่าย ส่วนใหญ่ทีทิศทางการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการใช้จ่ายภาครัฐบาลและการใช้จ่ายด้านการสะสมทุน ซึ่งนับว่าสูงขึ้นมากทั้งในส่วนเครื่องจักร เครื่องมือ และยานพาหนะขณะเดียวกันการสะสมทุนสิ่งก่อสร้างก็ได้ส่งสัญญาณการขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในไตรมาสนี้ สำหรับค่าใช้จ่ายของครัวเรือนยังคงขยายตัว แม้ว่าจะน้อยกว่าในไตรมาสที่แล้วเพียงเล็กน้อยก็ตามส่วนการส่งออกยังคงขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง และในขณะเดียวกันการนำเข้าก็เพิ่มสูงขึ้นในอัตราที่ใกล้เคียงกัน
สำหรับสาขาการผลิตที่มีการขยายตัวในไตรมาสนี้ ได้แก่
สาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 9.5 โดยมีอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 9.5 โดยมีอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออกเป็นปัจจัยนำ เช่น การผลิตเครื่องปรับ อากาศ ตู้เย็น และคอมเพรสเซอร์ การผลิตวิทยุ โทรทัศน์ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ส่วนอุตสาหกรรมที่ขยายตัวตามตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศที่สำคัญได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อุตสาหกรรมยานยนต์ ส่งผลต่าเนื่องไปยังการผลิตโลหะพื้นฐานที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
สาขาก่อสร้าง ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ซึ่งเป็นผลมาจากการก่อสร้างของภาคเอกชนที่ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 3.7 ส่วนการก่อสร้างภาครัฐเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 เนื่องจากการจัดสรรงบประมาณเพื่อการลงทุนมีแนวโน้มลดลง
สาขาการค้า ขยายตัวร้อยละ 3.2 ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของภาคการผลิต ทั้งสาขาอุตสาหกรรมเหมืองแร่และการย่อยหินและการนำเข้าสินค้า
สาขาคมนาคมและขนส่ง ขยายตัวร้อยละ 5.6 โดยการขนส่งสินค้าทางบกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 บริการการบินขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างต่ำเพียงร้อยละ 1.0 ซึ่งเป็นผลมาจากการชุลอตัวลงของจำนวนนักท่องเที่ยนวต่งประเทส ส่านในด้านโทรคมนาคมและการสื่อสารขยายตัวร้อยละ 10.0 โดยเป็นผลมาจากการใช้บริการภายในประเทศ
สาขาไฟฟ้า ประปาและโรงแยกก๊าซ ขยายตัวร้อยละ 9.9 ซี่งเป็นไปตามภาวะการผลิตและการจำหน่ายำไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งเป็นผลมาจากการขยายตัวของการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ
ส่วนสาขาการผลิตที่ชะลอตัวลงในไตรมาสนี้ ได้แก่
สาขาเกษตรกรรม มีผลผลิตลดลงร้อยละ 1.6 โดย ผลผลิตหมวดเกษตรโดยรวม ลดลงร้อยละ 0.3 เป็นผลอันเนื่องมาจากการผลิตพืชผลลดลงร้อยละ 0.3 เป็นผลอันเนื่องมาจากการผลิตพืชผลลดลงร้อยละ 2.2 อย่างไรก็ตามในหมวดปศุสัตว์มีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 ซึ่งเป็นการผลบิตเพิ่มขึ้นของ โค กระบือ สะกร ไก่ ไข่ไก่ และน้ำนมดิบ
ผลผลิตหมวดประมง ลดลง คือลดลงร้อยละ 8.0 ต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากผลผลิตกุ้งเสียหายและผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นทำให้การทำการประมงลดลงด้วยเช่นกัน
สาขาการเงิน ลดลงร้ยอละ 4.3 เป็นการปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว ที่ลดลงถึงร้อยละ 21.4 เนื่องจากสถาบันการเงินส่วนใหญ่ที่รายได้จากดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะค่าใช้จ่าดอกเบี้ยจ่ายลดลงมาก
สำหรับด้านการใช้จ่าย นั้น มีทิศทางขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 5.0 ซึ่งการปรับตัวเพิ่มขึ้นนี้มีปัจจัยสนับสนุนมาจกาภาวะรายได้ของประเทศโดยรวมที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ราคาสินต้าอุปโภคบริโภคอยู่ในอัตราต่ำและอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระพับต่ำเข่นเดียวกันโดยหมวดรายจ่ายหลักที่ขยายตัวคือ หมวดสินค้าเกษตร หมวดอาหารและเครื่องดื่มประเภทเบียร์และเครื่องนุ่งห่ม หมวดเครื่องเรือนและของใช้ในครัวเรือน ตลอดจนหมวดยานพาหนะก็ขยายตัวต่เนื่องในอัตราที่สูง โดยมีอัตรากรขยายตัวถึงร้อยละ 54.4
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาครัฐบาล ในไตรมาสแรกนี้มีมูลค่า 130,347 ล้านบาท มูลค่าที่แท้จริงขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้นโยบายขาดดุลทางการคลังและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
การสะสมทุนถาวรเบื้องต้น ขยายตัวร้อยละ 17.7 โดยในภาคเอกชนเพิ่มขึ้นโดยในภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 และภาครัฐบาบเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 ทั้งนี้ในส่วนจองภาคเอกชนนั้นเป็นการลงทุนด้านเครื่งออมือเครื่องจัก ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 77.6 ของการลงุทนภาคเอกชนรวมขยายตัวร้อยละ 18.3 โดยมีสินค้าทุนสำคัญๆ ที่ขยายตัว ได้แก่ ยานพาหนะเครื่องใช้สำกนักงานและเครื่องมือเครื่องจักรอื่นๆ เป็นต้นส่วนการก่อน้างซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 22.4 ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกร้อยละ 3.5 หลักจากหดตัวอย่างต่อเนื่องมาตังแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ สำหรับการลงทุนภาครัฐบาล ขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่ค่อนข้างสูง ประมาณร้อยละ 22.0
การส่งออกสินค้าและบริการ การส่งออกสินค้าและบริการที่วัดในราคาปีฐาน 2531 ยังคงขยายตัวในอัตราสูงมากอย่างต่อเนื่องในไตรมาสนี้ โดยขยายตัวร้อยละ 25.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว ประกอบด้วยสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.1 ที่สำคัญคือ สินค้าในหมวดอุตสาหกรรม ส่วนรายรับจากการบริการในไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากรายรับจากบริการอื่นๆ ก็ปรับตัวลดลง
การนำเข้าสินค้าและบริการ มูลค้าที่นำเข้าที่แท้จริงเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.8 คิดเป็นมูลค่าการนำเช้าสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.3 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 สินค้านำเข้าที่สำคัญ และขยายตัวสูง คือ สินค้าทุน รองลงมาคือสินค้าวัตถุดิบ สินค้าเพื่อการอุปโภค บริโภค ส่วนด้านบริการนั้น ค่าใช้จ่ายในการซื้อบริการจากต่างประเทศในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งเพิ่มสูงขึ้นมาก ส่วนค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศของคนไทยปรับชะลอตัวลง
ส่วนดุลการค้าและดุลบริการ เกินดุลรวม 136,159 ล้านบาท ลดลงจากไดตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วเกินดุล 473,895 ล้านบาท การเกินดุลในไตรมาสนี้คิดเป็นดุลการค้าเกินดุล 80,352 ล้านบาทและดุลบริการเกินดุล 55,807 ล้านบาท
เลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า สำหรับดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในไตรมาสนี้ปรับตัวสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในอัตราร้อยละ 0.2 ภายหลังจากที่ลดลงอย่างต่อเนื่องมาตลอดปี 2542 ในขณะเดียวกัน ดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาขานส่งขยายตัวร้อยละ 0.8 และ 2.0 ตามลำดับ
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการที่ไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชขิกโครงการเผยแพร่ข้อมูลทางเศรษฐกิจและการเงินตามมาตรฐานระดับสูง (Special DAta Dissemination Standard : SDDS) ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) เมื่อเดือนสิงหาคม 2539 ซึ่งในจำนวนสมาชิกทั้ง 182 ประเทศ มีสมาชิกที่ขอเข้าร่วมโครงการ SDDS จำนวน 47 ประเทศ โดยมีข้อกำหนดในการเผยแพร่ข้อมูล 5 ประเภท คือข้อมูลเศรษฐกิจภาคการผลิต การคลัง การเงิน ข้อมูลด้านต่างประเทศ และข้อมูลประชากร รวม 17 รายการซึ่งการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวจะต้องครอบคลุมหลักเกณฑ์ที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศกำหนด
ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทราวงพาณิชย์ และกระทรวงการคลัง เพื่อร่วมกันพัฒนาจัดทำข้อมูลและเพิ่มความรวดเร็วในการเผยแพร่ข้อมูลให้ได้มาตรฐานภายในระยะเวลาที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศกำหนดซึ่งไทยสามารถเผยแพร่ข้อมูลได้ครบทุกรายการเมื่อกลางปี 2542 และทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ตรวจสอบการทำงานของไทยมาโดยตลอด และได้ประกาศไประเทศไทยผ่านเงื่อนไขที่กำหนดอย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2543 นี้ นับเป็นประเทศที่ 21 จากจำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 47 ประเทศ
การพัฒนาสิ่งแวดล้อมในแผนฯ 9
นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการคระกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวในการเสวนาเรื่อง "สิ่งแวดล้อมในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 : จะทำเพื่อใคร จะทำอย่างไร ทำแล้วใครได้ประโยชน?" ซึ่งจัดโดยองค์การสหประชาชาติเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environemnt DAy) เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2543 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ว่า ในช่วงแผนฯ 9 ต้องอนุรักษ์และพื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิงแวดล้อม รวมทั้งการสร้างจิตสำนึกและเน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมกาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ให้ความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมมาเป้นเวลานาน โดยกำหนดยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหลายแผนฯแต่อย่างไรก็ตาม การพัฒนาที่ผ่านมานั้นมุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ซึ่งถือเป็นการพัฒนาที่ไม่สมดุลเพราะไม่ได้คำนึงถึงประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งๆ ที่มีการพัฒนาและการอนุรักษ์สามารถไปด้วยกันได้ หากมีระบบการบริหารจัดการที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศด้อยพัฒนานั้นไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมนัก เพราะเป็นเรื่องที่เห็นผลในระยะยาว ในการผลิตจึงไม่บวกต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไปด้วยเพื่อสินค้าจะได้มีต้นทุนต่ำ
ดังนั้น ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) จึงต้องให้ความสำคัญกับสิงแวดล้อมมากขึ้น โดยเร่งสร้างคุณภาพและความสมดุลในการพัฒนา เน้นการสร้างประสิทธิภาพในระยะยาว สร้างจิตสำนึกให้คนส่วนใหญ่ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและเฝ้าระวังปัญหาที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นของตนเอง มีการบังคับใช้กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้จากดำเนินโครงการพัฒนาของรัฐต้องนำต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมมาพิจารณาด้วย
โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังท้องถิ่น
เมื่อเร็วๆ นี้ นายอุทิศ ขาวเธียร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวถึงโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังท้องถิ่นในการเสวนาเรื่อง "การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังท้องถิ่น" ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค ว่า เพื่อสนับสนุนให้การกระจายอำนาจสู้ท้องถิ่นดำเนินไปอย่างราบรื่น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง และกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการ "โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังท้องถิ่น" โดยใช้งบประมาณจากโครงการมิยาซาวา แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 กระทรวงมหาดไทย จะจัดฝึกอบรมพนักงานส่วนท้องถิ่นด้านการเงินการคลัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเงินการคลังท้องถิ่น และส่วนที่ 2 ให้สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัย และศูนย์บริการวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จัดทำระบบบ้อมูลการเงินการคลังท้องถิ่น และการวิจัยนโยบาย ซึ่งขอบข่ายในการดำเนินการมี 3 ส่วน ได้แก่
1. การพัฒนาข้อมูลสนเทศและสร้างฐานข้อมูลทางด้านการเงินการคลัง
2. การศึกษาวิจัยเชิงนโยบายในด้านต่างๆ เพื่อสนับสนุนการกระจายอำนาจในท้องถิ่น
3. ทำการศึกษาเฉพาะเรื่องที่หน่วยงานราชการในความสนใจเป็นพิเศษ
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 7/กรกฎาคม 2543--
-สส-
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2543 เมื่อพิจารณาจากค่าของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 5.2 น้อยกว่า ร้อยละ 6.5 ในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้วเพียงเล็กน้อย
โดยในด้านการผลิต เป็นผลมาจากการขยายตัวของการผลิตนอกภาคเกษตร คือสาขาอุตสาหกรรมและสาขาบริการ ซึ่งเพิ่มขึ้นตามความต้องการภายในประเทศและการส่งออก ส่วนสาขาที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ สาขาการเงินและการธนาคารและสาขาเกษตร
ด้านการใช้จ่าย ส่วนใหญ่ทีทิศทางการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการใช้จ่ายภาครัฐบาลและการใช้จ่ายด้านการสะสมทุน ซึ่งนับว่าสูงขึ้นมากทั้งในส่วนเครื่องจักร เครื่องมือ และยานพาหนะขณะเดียวกันการสะสมทุนสิ่งก่อสร้างก็ได้ส่งสัญญาณการขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในไตรมาสนี้ สำหรับค่าใช้จ่ายของครัวเรือนยังคงขยายตัว แม้ว่าจะน้อยกว่าในไตรมาสที่แล้วเพียงเล็กน้อยก็ตามส่วนการส่งออกยังคงขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง และในขณะเดียวกันการนำเข้าก็เพิ่มสูงขึ้นในอัตราที่ใกล้เคียงกัน
สำหรับสาขาการผลิตที่มีการขยายตัวในไตรมาสนี้ ได้แก่
สาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 9.5 โดยมีอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 9.5 โดยมีอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออกเป็นปัจจัยนำ เช่น การผลิตเครื่องปรับ อากาศ ตู้เย็น และคอมเพรสเซอร์ การผลิตวิทยุ โทรทัศน์ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ส่วนอุตสาหกรรมที่ขยายตัวตามตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศที่สำคัญได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อุตสาหกรรมยานยนต์ ส่งผลต่าเนื่องไปยังการผลิตโลหะพื้นฐานที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
สาขาก่อสร้าง ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 ซึ่งเป็นผลมาจากการก่อสร้างของภาคเอกชนที่ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 3.7 ส่วนการก่อสร้างภาครัฐเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 เนื่องจากการจัดสรรงบประมาณเพื่อการลงทุนมีแนวโน้มลดลง
สาขาการค้า ขยายตัวร้อยละ 3.2 ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของภาคการผลิต ทั้งสาขาอุตสาหกรรมเหมืองแร่และการย่อยหินและการนำเข้าสินค้า
สาขาคมนาคมและขนส่ง ขยายตัวร้อยละ 5.6 โดยการขนส่งสินค้าทางบกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 บริการการบินขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างต่ำเพียงร้อยละ 1.0 ซึ่งเป็นผลมาจากการชุลอตัวลงของจำนวนนักท่องเที่ยนวต่งประเทส ส่านในด้านโทรคมนาคมและการสื่อสารขยายตัวร้อยละ 10.0 โดยเป็นผลมาจากการใช้บริการภายในประเทศ
สาขาไฟฟ้า ประปาและโรงแยกก๊าซ ขยายตัวร้อยละ 9.9 ซี่งเป็นไปตามภาวะการผลิตและการจำหน่ายำไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งเป็นผลมาจากการขยายตัวของการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ
ส่วนสาขาการผลิตที่ชะลอตัวลงในไตรมาสนี้ ได้แก่
สาขาเกษตรกรรม มีผลผลิตลดลงร้อยละ 1.6 โดย ผลผลิตหมวดเกษตรโดยรวม ลดลงร้อยละ 0.3 เป็นผลอันเนื่องมาจากการผลิตพืชผลลดลงร้อยละ 0.3 เป็นผลอันเนื่องมาจากการผลิตพืชผลลดลงร้อยละ 2.2 อย่างไรก็ตามในหมวดปศุสัตว์มีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 ซึ่งเป็นการผลบิตเพิ่มขึ้นของ โค กระบือ สะกร ไก่ ไข่ไก่ และน้ำนมดิบ
ผลผลิตหมวดประมง ลดลง คือลดลงร้อยละ 8.0 ต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากผลผลิตกุ้งเสียหายและผลจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นทำให้การทำการประมงลดลงด้วยเช่นกัน
สาขาการเงิน ลดลงร้ยอละ 4.3 เป็นการปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่แล้ว ที่ลดลงถึงร้อยละ 21.4 เนื่องจากสถาบันการเงินส่วนใหญ่ที่รายได้จากดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เพราะค่าใช้จ่าดอกเบี้ยจ่ายลดลงมาก
สำหรับด้านการใช้จ่าย นั้น มีทิศทางขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน ขยายตัวร้อยละ 5.0 ซึ่งการปรับตัวเพิ่มขึ้นนี้มีปัจจัยสนับสนุนมาจกาภาวะรายได้ของประเทศโดยรวมที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ราคาสินต้าอุปโภคบริโภคอยู่ในอัตราต่ำและอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระพับต่ำเข่นเดียวกันโดยหมวดรายจ่ายหลักที่ขยายตัวคือ หมวดสินค้าเกษตร หมวดอาหารและเครื่องดื่มประเภทเบียร์และเครื่องนุ่งห่ม หมวดเครื่องเรือนและของใช้ในครัวเรือน ตลอดจนหมวดยานพาหนะก็ขยายตัวต่เนื่องในอัตราที่สูง โดยมีอัตรากรขยายตัวถึงร้อยละ 54.4
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาครัฐบาล ในไตรมาสแรกนี้มีมูลค่า 130,347 ล้านบาท มูลค่าที่แท้จริงขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้นโยบายขาดดุลทางการคลังและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล
การสะสมทุนถาวรเบื้องต้น ขยายตัวร้อยละ 17.7 โดยในภาคเอกชนเพิ่มขึ้นโดยในภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 และภาครัฐบาบเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 ทั้งนี้ในส่วนจองภาคเอกชนนั้นเป็นการลงทุนด้านเครื่งออมือเครื่องจัก ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 77.6 ของการลงุทนภาคเอกชนรวมขยายตัวร้อยละ 18.3 โดยมีสินค้าทุนสำคัญๆ ที่ขยายตัว ได้แก่ ยานพาหนะเครื่องใช้สำกนักงานและเครื่องมือเครื่องจักรอื่นๆ เป็นต้นส่วนการก่อน้างซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 22.4 ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกร้อยละ 3.5 หลักจากหดตัวอย่างต่อเนื่องมาตังแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ สำหรับการลงทุนภาครัฐบาล ขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราที่ค่อนข้างสูง ประมาณร้อยละ 22.0
การส่งออกสินค้าและบริการ การส่งออกสินค้าและบริการที่วัดในราคาปีฐาน 2531 ยังคงขยายตัวในอัตราสูงมากอย่างต่อเนื่องในไตรมาสนี้ โดยขยายตัวร้อยละ 25.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว ประกอบด้วยสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.1 ที่สำคัญคือ สินค้าในหมวดอุตสาหกรรม ส่วนรายรับจากการบริการในไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากรายรับจากบริการอื่นๆ ก็ปรับตัวลดลง
การนำเข้าสินค้าและบริการ มูลค้าที่นำเข้าที่แท้จริงเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.8 คิดเป็นมูลค่าการนำเช้าสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.3 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 สินค้านำเข้าที่สำคัญ และขยายตัวสูง คือ สินค้าทุน รองลงมาคือสินค้าวัตถุดิบ สินค้าเพื่อการอุปโภค บริโภค ส่วนด้านบริการนั้น ค่าใช้จ่ายในการซื้อบริการจากต่างประเทศในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.8 โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งเพิ่มสูงขึ้นมาก ส่วนค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศของคนไทยปรับชะลอตัวลง
ส่วนดุลการค้าและดุลบริการ เกินดุลรวม 136,159 ล้านบาท ลดลงจากไดตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วเกินดุล 473,895 ล้านบาท การเกินดุลในไตรมาสนี้คิดเป็นดุลการค้าเกินดุล 80,352 ล้านบาทและดุลบริการเกินดุล 55,807 ล้านบาท
เลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า สำหรับดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศในไตรมาสนี้ปรับตัวสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในอัตราร้อยละ 0.2 ภายหลังจากที่ลดลงอย่างต่อเนื่องมาตลอดปี 2542 ในขณะเดียวกัน ดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาขานส่งขยายตัวร้อยละ 0.8 และ 2.0 ตามลำดับ
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการที่ไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชขิกโครงการเผยแพร่ข้อมูลทางเศรษฐกิจและการเงินตามมาตรฐานระดับสูง (Special DAta Dissemination Standard : SDDS) ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) เมื่อเดือนสิงหาคม 2539 ซึ่งในจำนวนสมาชิกทั้ง 182 ประเทศ มีสมาชิกที่ขอเข้าร่วมโครงการ SDDS จำนวน 47 ประเทศ โดยมีข้อกำหนดในการเผยแพร่ข้อมูล 5 ประเภท คือข้อมูลเศรษฐกิจภาคการผลิต การคลัง การเงิน ข้อมูลด้านต่างประเทศ และข้อมูลประชากร รวม 17 รายการซึ่งการเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวจะต้องครอบคลุมหลักเกณฑ์ที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศกำหนด
ดังนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทราวงพาณิชย์ และกระทรวงการคลัง เพื่อร่วมกันพัฒนาจัดทำข้อมูลและเพิ่มความรวดเร็วในการเผยแพร่ข้อมูลให้ได้มาตรฐานภายในระยะเวลาที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศกำหนดซึ่งไทยสามารถเผยแพร่ข้อมูลได้ครบทุกรายการเมื่อกลางปี 2542 และทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ตรวจสอบการทำงานของไทยมาโดยตลอด และได้ประกาศไประเทศไทยผ่านเงื่อนไขที่กำหนดอย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2543 นี้ นับเป็นประเทศที่ 21 จากจำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 47 ประเทศ
การพัฒนาสิ่งแวดล้อมในแผนฯ 9
นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการคระกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวในการเสวนาเรื่อง "สิ่งแวดล้อมในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 : จะทำเพื่อใคร จะทำอย่างไร ทำแล้วใครได้ประโยชน?" ซึ่งจัดโดยองค์การสหประชาชาติเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environemnt DAy) เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2543 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ว่า ในช่วงแผนฯ 9 ต้องอนุรักษ์และพื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิงแวดล้อม รวมทั้งการสร้างจิตสำนึกและเน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
รองเลขาธิการฯ กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมกาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ให้ความสนใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมมาเป้นเวลานาน โดยกำหนดยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหลายแผนฯแต่อย่างไรก็ตาม การพัฒนาที่ผ่านมานั้นมุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ซึ่งถือเป็นการพัฒนาที่ไม่สมดุลเพราะไม่ได้คำนึงถึงประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งๆ ที่มีการพัฒนาและการอนุรักษ์สามารถไปด้วยกันได้ หากมีระบบการบริหารจัดการที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศด้อยพัฒนานั้นไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมนัก เพราะเป็นเรื่องที่เห็นผลในระยะยาว ในการผลิตจึงไม่บวกต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมเข้าไปด้วยเพื่อสินค้าจะได้มีต้นทุนต่ำ
ดังนั้น ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) จึงต้องให้ความสำคัญกับสิงแวดล้อมมากขึ้น โดยเร่งสร้างคุณภาพและความสมดุลในการพัฒนา เน้นการสร้างประสิทธิภาพในระยะยาว สร้างจิตสำนึกให้คนส่วนใหญ่ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและเฝ้าระวังปัญหาที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นของตนเอง มีการบังคับใช้กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้จากดำเนินโครงการพัฒนาของรัฐต้องนำต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมมาพิจารณาด้วย
โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังท้องถิ่น
เมื่อเร็วๆ นี้ นายอุทิศ ขาวเธียร ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวถึงโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังท้องถิ่นในการเสวนาเรื่อง "การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังท้องถิ่น" ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ มหานาค ว่า เพื่อสนับสนุนให้การกระจายอำนาจสู้ท้องถิ่นดำเนินไปอย่างราบรื่น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ (สศช.) ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง และกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการ "โครงการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังท้องถิ่น" โดยใช้งบประมาณจากโครงการมิยาซาวา แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 กระทรวงมหาดไทย จะจัดฝึกอบรมพนักงานส่วนท้องถิ่นด้านการเงินการคลัง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเงินการคลังท้องถิ่น และส่วนที่ 2 ให้สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัย และศูนย์บริการวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ จัดทำระบบบ้อมูลการเงินการคลังท้องถิ่น และการวิจัยนโยบาย ซึ่งขอบข่ายในการดำเนินการมี 3 ส่วน ได้แก่
1. การพัฒนาข้อมูลสนเทศและสร้างฐานข้อมูลทางด้านการเงินการคลัง
2. การศึกษาวิจัยเชิงนโยบายในด้านต่างๆ เพื่อสนับสนุนการกระจายอำนาจในท้องถิ่น
3. ทำการศึกษาเฉพาะเรื่องที่หน่วยงานราชการในความสนใจเป็นพิเศษ
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 7/กรกฎาคม 2543--
-สส-