1. เหตุผลและความจำเป็น
1.1 การก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 ที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อการส่งออก ระดับราคาน้ำมัน และอัตราแลกเปลี่ยน การท่องเที่ยวและบริการต่อเนื่อง เช่น ธุรกิจการบินและโรงแรม และการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศทั้งในด้านเงินลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ (Portfolio Investment) และเงินลงทุนโดยตรง (Foreign Direct Investment) นอกจากนี้ยังสามารถส่งกระทบต่อภาวะการเมือง การทหาร สังคม และการดำเนินชีวิตของประชาชนทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย
1.2 เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมทำให้ภาวะการชะลอของเศรษฐกิจสหรัฐฯ รุนแรงกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งส่งผลกระทบทางลบต่อประเทศที่พึ่งพาการส่งออกอย่างมีนัยสำคัญ ประเทศที่พึ่งพาเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นหลัก และมีความยืดหยุ่นของเศรษฐกิจในประเทศมากกว่า เช่น จีน และออสเตรเลีย คาดการณ์ว่าจะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกน้อยกว่า ซึ่งอาจเป็นตลาดส่งออกใหม่ที่สำคัญของประเทศไทยในอนาคต
1.3 ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีความจำเป็นต้องประเมินผลกระทบจากการก่อการร้ายที่มีต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจภายในประเทศไทย เพื่อหาวิธีการรองรับและเตรียมรับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะหกเดือนถึงหนึ่งปีข้างหน้านี้ และใช้เป็นแนวทางปฏิบัติเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นต่อไป
2. การคาดการณ์ผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจโลก
2.1 การโจมตีศูนย์กลางทางการเงินของสหรัฐฯ ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed Funds Rate) ลงอีกร้อยละ 0.5 จากเดิมอยู่ที่ร้อยละ 3.5 มาเป็นร้อยละ 3.0 เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศให้ดีขึ้น ธนาคารกลางสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น แคนาดา และธนาคารกลางในเอเชียหลายแห่งได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดี แม้อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้รับการปรับลดมาแล้วแปดครั้งนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา แต่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกก่อนสิ้นปีนี้หากภาวะการลงทุน การบริโภคภายในประเทศ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับความเชื่อมั่นของนักลงทุนและประชาชนยังไม่ดีขึ้น
* สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.), 24 กันยายน 2544, ปรับปรุงแก้ไขจากที่ประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการฟื้นฟูเศรษฐกิจ
2.2 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาสสามและสี่ของปีนี้ คาดว่าจะลดลงอย่างมาก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นซึ่งอยู่ในช่วงของการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และจะชะลออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปลงพอสมควร นอกจากนี้ คาดว่าค่าเงินดอลลาร์ สรอ. จะอ่อนตัวลง ขณะที่ค่าเงินเยนและเงินยูโรจะแข็งตัวขึ้นเนื่องจากเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ
2.3 ระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะต่ำลงอีกหลังจากเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่ส่งออกสินค้าเทคโนโลยีชั้นสูง (Hi-tech Product) เช่น สิงคโปร์และมาเลเซีย ส่วนประเทศที่ส่งออกสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้น (Labour-intensive Product) หรือประเทศที่พึ่งพาเศรษฐกิจภายในประเทศ (Domestic Market) และมีความยืดหยุ่นของเศรษฐกิจในประเทศสูง เช่น จีน และออสเตรเลีย คาดว่าจะได้รับผลกระทบน้อยกว่า
2.4 เงินลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ (Portfolio Investment) ในภูมิภาคเอเชียและสหภาพยุโรป คาดว่าจะเพิ่มขึ้นชั่วระยะหนึ่ง เนื่องจากเอเชียและยุโรปได้รับการมองว่าเป็นแหล่งสะสมทุนที่ปลอดภัยกว่าสหรัฐฯ แต่การลงทุนโดยตรง (Foreign Direct Investment) คาดว่าจะลดลง เนื่องจากนักลงทุนขาดความมั่นใจในสภาพเศรษฐกิจและความปลอดภัยในทรัพย์สิน ทำให้นักลงทุนชะลอการตัดสินใจลงทุนลง อย่างไรก็ดี อัตราแลกเปลี่ยนในภูมิภาคเอเชียอาจจะไม่แข็งขึ้นมากนัก เนื่องจากการแข็งขึ้นของค่าเงินจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการส่งสินค้าออกต่างประเทศ และคาดได้ว่าประเทศในเอเชียจะบริหารอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น
2.5 การผ่องถ่ายวิกฤตจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง (Contagion Effect) ในภูมิภาคเอเชีย คาดว่าจะไม่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ความไม่สงบครั้งนี้เนื่องจากหลังเกิดวิกฤตการเงินในปี 2540 ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียได้เสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากขึ้น อาทิ สัดส่วนหนี้ต่างประเทศระยะสั้นต่อหนี้ต่างประเทศทั้งหมดลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับก่อนเกิดวิกฤตการณ์ปี 2540 และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมีจำนวนมากพอที่จะชำระหนี้ต่างประเทศ นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่มาเป็นอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ช่วยลดความเสี่ยงที่มาจากความผันผวนของเศรษฐกิจต่างประเทศได้ระดับหนึ่ง แต่ประเทศในแถบลาตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา บราซิล และโคลัมเบีย มีโอกาสสูงที่จะเกิดการผ่องถ่าย ปัญหาระหว่างประเทศจากวิกฤตครั้งใหม่เนื่องจากเศรษฐกิจมีความเปราะบางและสัดส่วนหนี้ต่างประเทศระยะสั้นยังอยู่ในระดับสูง
3. การคาดการณ์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยภายใต้สมมติฐานการต่อต้านการก่อการร้ายมีความยืดเยื้อ เหตุการณ์การต่อต้านการก่อการร้ายมีความยืดเยื้อและเกิดความไม่สงบทั่วไป มีระเบียบกฎเกณฑ์ด้านความปลอดภัยมากขึ้น และมีการลงโทษ (Sanction) ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมแก่ประเทศที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ก่อการร้าย แต่แหล่งผลิตและอุปทานของน้ำมันเชื้อเพลิงยังคงมีอยู่ ผลกระทบที่คาดว่าอาจจะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยมีดังนี้
3.1 ราคาน้ำมันคาดการณ์ว่าระดับราคาน้ำมันจะปรับตัวลดลงหลังจากที่ได้ปรับขึ้นเมื่อเกิดเหตุวินาศกรรมใหม่ ๆ เนื่องจากแหล่งผลิตและอุปทานของน้ำมันเชื้อเพลิงยังคงมีอยู่ นอกจากนี้ ประเทศที่ถูกลงโทษทางเศรษฐกิจและสังคมซึ่งส่วนใหญ่คาดว่าจะเป็นประเทศทางตะวันออกกลางจะต้องผลิตน้ำมันเพื่อแลกกับอาหารและสิ่งของจำเป็นต่าง ๆ ทำให้อุปทานของน้ำมันในโลกไม่ขาดแคลน
3.2 การหาเงินตราต่างประเทศ
(1) การส่งออก สภาพการส่งออกในอนาคตขึ้นอยู่กับระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่างประเทศ ผู้บริโภคต่างประเทศมีแนวโน้มที่จะบริโภคน้อยลงและออมมากขึ้นถ้าเกิดความไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลทำให้ความต้องการสินค้านำเข้าจากไทยลดลง อย่างไรก็ดี ประเทศไทยอาจจะได้รับประโยชน์จากการส่งออกสินค้าเกษตรซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการเกิดสงคราม ทำให้ราคาสินค้าเกษตรในประเทศสูงขึ้น
ประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะพึ่งพาสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกได้น้อยลง ดังนั้น ไทยจำเป็นต้องหาตลาดใหม่ ๆ รองรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น การเข้าสู่องค์การการค้าโลก (WTO) ของจีนในช่วงปลายปีนี้ทำให้จีนต้องลดภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรจากไทยจำนวนมาก และธุรกิจบริการจะได้รับผลประโยชน์จากนักท่องเที่ยวจีนมากขึ้น ทำให้จีนมีศักยภาพที่จะเป็นตลาดส่งออกใหม่ที่สำคัญของไทยในอนาคต นอกจากนี้ ประเทศออสเตรเลียและอินเดียอาจเป็นตลาดส่งออกที่น่าสนใจเช่นกันเนื่องจากทั้งสองประเทศมีเศรษฐกิจภายในประเทศที่เข้มแข็งและได้รับผลกระทบจากการเกิดวิกฤตครั้งใหม่น้อยกว่าประเทศอื่น ซึ่งจะเห็นได้ว่าการค้าภายในภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้มที่ดี
(2) การท่องเที่ยวและบริการต่อเนื่อง ผลทางด้านจิตวิทยาทำให้นักท่องเที่ยวลดหรืองดการเดินทางลง โดยนักท่องเที่ยวในตลาดสหรัฐฯ จะงดการเดินทางท่องเที่ยวหมดหรือเกือบทั้งหมด กลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพอื่น ๆ เช่น ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป ลดลงเช่นกัน ซึ่งจะทำให้รายได้เงินตราต่างประเทศที่ไทยจะได้รับลดลง ส่งผลให้มูลค่าการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดน้อยลงด้วย
จำนวนนักท่องเที่ยวที่น้อยลงส่งผลให้รายได้ของบริษัทการบิน เช่น การบินไทย ลดลง ประกอบกับต้นทุนราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่อาจเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ธุรกิจการบินมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้น้อยลงในอนาคต ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการ
ส่งออกสินค้าที่อาศัยการขนส่งทางอากาศ เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ชั้นสูงหรือสินค้าเครื่องประดับ นอกจากนี้ ธุรกิจโรงแรมยังได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง ปัญหาการว่างงานในภาคเศรษฐกิจนี้จะตามมา
3.3 การเงินการคลัง
(1) รายได้จากภาษี มีแนวโน้มที่จะลดลงเนื่องจากประชาชนมีแนวโน้มที่จะออมมากขึ้นและใช้จ่ายน้อยลง ในขณะที่การใช้จ่ายรัฐบาลจะไม่ลดลงมากนักเนื่องจากรัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในบางโอกาส นอกจากนี้ ทำให้ความเป็นไปได้ในการตั้งงบประมาณสมดุลในปี 2549 ลดลง
(2) อัตราแลกเปลี่ยน อัตราแลกเปลี่ยนของไทยอาจมีความผันผวนเนื่องมาจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพเพื่อรักษาความสามารถในการส่งออกและเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
3.4 กิจกรรมทางเศรษฐกิจ
(1) ภาคการผลิต การต่อต้านการก่อการร้ายมีความยืดเยื้อและเหตุการณ์ความไม่สงบส่งผลให้นักลงทุนเกิดความไม่มั่นใจในความปลอดภัยของทรัพย์สินและสภาพเศรษฐกิจโลก ทำให้นักลงทุนชะลอการตัดสินใจลงทุน (และประชาชนออมมากขึ้นและใช้จ่ายน้อยลง) การลงทุนของโลกโดยรวมจึงลดลง ภาวะดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการผลิตของไทย และส่งผลต่อเนื่องทำให้การลงทุนและการบริโภคภายในประเทศลดลงด้วย โดยการผลิตที่จะได้รับผลกระทบทางลบอย่างชัดเจน ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรมบริการ (เช่น ท่องเที่ยว ธุรกิจการบิน และโรงแรม)
(2) การว่างงาน เป็นปัญหาสำคัญจากการเกิดวิกฤตครั้งนี้เนื่องจากผลจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายสาขาชะลอตัว เช่น ภาคการส่งออก การบริการ และภาคอุตสาหกรรม ซึ่งรัฐบาลต้องเข้าช่วยเหลือและลดผลกระทบที่เกิดแก่ผู้ว่างงาน เพื่อป้องกันและลดปัญหาสังคมที่จะเกิดขึ้นตามมาจากจำนวนผู้ว่างงานที่เพิ่มขึ้น
3.5 ราคาสินค้าเกษตร มีทิศทางไม่แน่นอนในอนาคต กล่าวคือ อาจจะลดลงตามภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก หรืออาจเพิ่มขึ้นเนื่องจากเป็นสินค้ายุทธปัจจัยที่ทุกประเทศต้องการในกรณีที่เกิดการสงคราม อย่างไรก็ดี รัฐบาลควรเร่งเพิ่มพูนศักยภาพในการหารายได้แก่เกษตรกร โดยใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ และส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจใหม่ ๆ ที่สร้างรายได้สูงในพื้นที่ที่เหมาะสม
3.6 การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การเร่งรัดการนำรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์ในปีนี้ เช่น บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และบริษัท อินเทอร์เน็ตไทยแลนด์ จำกัด อาจได้รับผลกระทบเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวยการกระจายหุ้นสู่สาธารณะ (Public Offering) รัฐวิสาหกิจดังกล่าวจึงควรใช้โอกาสนี้เร่งรัดการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของรัฐวิสาหกิจให้มีความพร้อมก่อนการกระจายหุ้นสู่สาธารณะในโอกาสที่เอื้ออำนวยต่อไป
3.7 การสร้างขวัญและกำลังใจให้ประชาชน เป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากความเชื่อมั่นของประชาชนและนักลงทุนทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ถ้าขาดความเชื่อมั่นจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวและเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ นอกจากนี้ รัฐบาลต้องสร้างความสามัคคีให้กับประชาชนในประเทศเพื่อไม่ให้ผู้ก่อการร้ายใช้เป็นช่องทางก่อเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้น
--สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-
1.1 การก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 ที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อการส่งออก ระดับราคาน้ำมัน และอัตราแลกเปลี่ยน การท่องเที่ยวและบริการต่อเนื่อง เช่น ธุรกิจการบินและโรงแรม และการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศทั้งในด้านเงินลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ (Portfolio Investment) และเงินลงทุนโดยตรง (Foreign Direct Investment) นอกจากนี้ยังสามารถส่งกระทบต่อภาวะการเมือง การทหาร สังคม และการดำเนินชีวิตของประชาชนทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย
1.2 เหตุการณ์การก่อวินาศกรรมทำให้ภาวะการชะลอของเศรษฐกิจสหรัฐฯ รุนแรงกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งส่งผลกระทบทางลบต่อประเทศที่พึ่งพาการส่งออกอย่างมีนัยสำคัญ ประเทศที่พึ่งพาเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นหลัก และมีความยืดหยุ่นของเศรษฐกิจในประเทศมากกว่า เช่น จีน และออสเตรเลีย คาดการณ์ว่าจะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกน้อยกว่า ซึ่งอาจเป็นตลาดส่งออกใหม่ที่สำคัญของประเทศไทยในอนาคต
1.3 ดังนั้น ประเทศไทยจึงมีความจำเป็นต้องประเมินผลกระทบจากการก่อการร้ายที่มีต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจภายในประเทศไทย เพื่อหาวิธีการรองรับและเตรียมรับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะหกเดือนถึงหนึ่งปีข้างหน้านี้ และใช้เป็นแนวทางปฏิบัติเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นต่อไป
2. การคาดการณ์ผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจโลก
2.1 การโจมตีศูนย์กลางทางการเงินของสหรัฐฯ ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed Funds Rate) ลงอีกร้อยละ 0.5 จากเดิมอยู่ที่ร้อยละ 3.5 มาเป็นร้อยละ 3.0 เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศให้ดีขึ้น ธนาคารกลางสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น แคนาดา และธนาคารกลางในเอเชียหลายแห่งได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดี แม้อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้รับการปรับลดมาแล้วแปดครั้งนับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา แต่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังมีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกก่อนสิ้นปีนี้หากภาวะการลงทุน การบริโภคภายในประเทศ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับความเชื่อมั่นของนักลงทุนและประชาชนยังไม่ดีขึ้น
* สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.), 24 กันยายน 2544, ปรับปรุงแก้ไขจากที่ประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการฟื้นฟูเศรษฐกิจ
2.2 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาสสามและสี่ของปีนี้ คาดว่าจะลดลงอย่างมาก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่นซึ่งอยู่ในช่วงของการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และจะชะลออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปลงพอสมควร นอกจากนี้ คาดว่าค่าเงินดอลลาร์ สรอ. จะอ่อนตัวลง ขณะที่ค่าเงินเยนและเงินยูโรจะแข็งตัวขึ้นเนื่องจากเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ
2.3 ระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะต่ำลงอีกหลังจากเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่ส่งออกสินค้าเทคโนโลยีชั้นสูง (Hi-tech Product) เช่น สิงคโปร์และมาเลเซีย ส่วนประเทศที่ส่งออกสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้น (Labour-intensive Product) หรือประเทศที่พึ่งพาเศรษฐกิจภายในประเทศ (Domestic Market) และมีความยืดหยุ่นของเศรษฐกิจในประเทศสูง เช่น จีน และออสเตรเลีย คาดว่าจะได้รับผลกระทบน้อยกว่า
2.4 เงินลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ (Portfolio Investment) ในภูมิภาคเอเชียและสหภาพยุโรป คาดว่าจะเพิ่มขึ้นชั่วระยะหนึ่ง เนื่องจากเอเชียและยุโรปได้รับการมองว่าเป็นแหล่งสะสมทุนที่ปลอดภัยกว่าสหรัฐฯ แต่การลงทุนโดยตรง (Foreign Direct Investment) คาดว่าจะลดลง เนื่องจากนักลงทุนขาดความมั่นใจในสภาพเศรษฐกิจและความปลอดภัยในทรัพย์สิน ทำให้นักลงทุนชะลอการตัดสินใจลงทุนลง อย่างไรก็ดี อัตราแลกเปลี่ยนในภูมิภาคเอเชียอาจจะไม่แข็งขึ้นมากนัก เนื่องจากการแข็งขึ้นของค่าเงินจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการส่งสินค้าออกต่างประเทศ และคาดได้ว่าประเทศในเอเชียจะบริหารอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น
2.5 การผ่องถ่ายวิกฤตจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง (Contagion Effect) ในภูมิภาคเอเชีย คาดว่าจะไม่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ความไม่สงบครั้งนี้เนื่องจากหลังเกิดวิกฤตการเงินในปี 2540 ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียได้เสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากขึ้น อาทิ สัดส่วนหนี้ต่างประเทศระยะสั้นต่อหนี้ต่างประเทศทั้งหมดลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับก่อนเกิดวิกฤตการณ์ปี 2540 และเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมีจำนวนมากพอที่จะชำระหนี้ต่างประเทศ นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่มาเป็นอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ช่วยลดความเสี่ยงที่มาจากความผันผวนของเศรษฐกิจต่างประเทศได้ระดับหนึ่ง แต่ประเทศในแถบลาตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา บราซิล และโคลัมเบีย มีโอกาสสูงที่จะเกิดการผ่องถ่าย ปัญหาระหว่างประเทศจากวิกฤตครั้งใหม่เนื่องจากเศรษฐกิจมีความเปราะบางและสัดส่วนหนี้ต่างประเทศระยะสั้นยังอยู่ในระดับสูง
3. การคาดการณ์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยภายใต้สมมติฐานการต่อต้านการก่อการร้ายมีความยืดเยื้อ เหตุการณ์การต่อต้านการก่อการร้ายมีความยืดเยื้อและเกิดความไม่สงบทั่วไป มีระเบียบกฎเกณฑ์ด้านความปลอดภัยมากขึ้น และมีการลงโทษ (Sanction) ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมแก่ประเทศที่ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ก่อการร้าย แต่แหล่งผลิตและอุปทานของน้ำมันเชื้อเพลิงยังคงมีอยู่ ผลกระทบที่คาดว่าอาจจะส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยมีดังนี้
3.1 ราคาน้ำมันคาดการณ์ว่าระดับราคาน้ำมันจะปรับตัวลดลงหลังจากที่ได้ปรับขึ้นเมื่อเกิดเหตุวินาศกรรมใหม่ ๆ เนื่องจากแหล่งผลิตและอุปทานของน้ำมันเชื้อเพลิงยังคงมีอยู่ นอกจากนี้ ประเทศที่ถูกลงโทษทางเศรษฐกิจและสังคมซึ่งส่วนใหญ่คาดว่าจะเป็นประเทศทางตะวันออกกลางจะต้องผลิตน้ำมันเพื่อแลกกับอาหารและสิ่งของจำเป็นต่าง ๆ ทำให้อุปทานของน้ำมันในโลกไม่ขาดแคลน
3.2 การหาเงินตราต่างประเทศ
(1) การส่งออก สภาพการส่งออกในอนาคตขึ้นอยู่กับระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่างประเทศ ผู้บริโภคต่างประเทศมีแนวโน้มที่จะบริโภคน้อยลงและออมมากขึ้นถ้าเกิดความไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลทำให้ความต้องการสินค้านำเข้าจากไทยลดลง อย่างไรก็ดี ประเทศไทยอาจจะได้รับประโยชน์จากการส่งออกสินค้าเกษตรซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการเกิดสงคราม ทำให้ราคาสินค้าเกษตรในประเทศสูงขึ้น
ประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะพึ่งพาสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกได้น้อยลง ดังนั้น ไทยจำเป็นต้องหาตลาดใหม่ ๆ รองรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น การเข้าสู่องค์การการค้าโลก (WTO) ของจีนในช่วงปลายปีนี้ทำให้จีนต้องลดภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรจากไทยจำนวนมาก และธุรกิจบริการจะได้รับผลประโยชน์จากนักท่องเที่ยวจีนมากขึ้น ทำให้จีนมีศักยภาพที่จะเป็นตลาดส่งออกใหม่ที่สำคัญของไทยในอนาคต นอกจากนี้ ประเทศออสเตรเลียและอินเดียอาจเป็นตลาดส่งออกที่น่าสนใจเช่นกันเนื่องจากทั้งสองประเทศมีเศรษฐกิจภายในประเทศที่เข้มแข็งและได้รับผลกระทบจากการเกิดวิกฤตครั้งใหม่น้อยกว่าประเทศอื่น ซึ่งจะเห็นได้ว่าการค้าภายในภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้มที่ดี
(2) การท่องเที่ยวและบริการต่อเนื่อง ผลทางด้านจิตวิทยาทำให้นักท่องเที่ยวลดหรืองดการเดินทางลง โดยนักท่องเที่ยวในตลาดสหรัฐฯ จะงดการเดินทางท่องเที่ยวหมดหรือเกือบทั้งหมด กลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพอื่น ๆ เช่น ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป ลดลงเช่นกัน ซึ่งจะทำให้รายได้เงินตราต่างประเทศที่ไทยจะได้รับลดลง ส่งผลให้มูลค่าการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดน้อยลงด้วย
จำนวนนักท่องเที่ยวที่น้อยลงส่งผลให้รายได้ของบริษัทการบิน เช่น การบินไทย ลดลง ประกอบกับต้นทุนราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่อาจเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ธุรกิจการบินมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้น้อยลงในอนาคต ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการ
ส่งออกสินค้าที่อาศัยการขนส่งทางอากาศ เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ชั้นสูงหรือสินค้าเครื่องประดับ นอกจากนี้ ธุรกิจโรงแรมยังได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง ปัญหาการว่างงานในภาคเศรษฐกิจนี้จะตามมา
3.3 การเงินการคลัง
(1) รายได้จากภาษี มีแนวโน้มที่จะลดลงเนื่องจากประชาชนมีแนวโน้มที่จะออมมากขึ้นและใช้จ่ายน้อยลง ในขณะที่การใช้จ่ายรัฐบาลจะไม่ลดลงมากนักเนื่องจากรัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในบางโอกาส นอกจากนี้ ทำให้ความเป็นไปได้ในการตั้งงบประมาณสมดุลในปี 2549 ลดลง
(2) อัตราแลกเปลี่ยน อัตราแลกเปลี่ยนของไทยอาจมีความผันผวนเนื่องมาจากการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพเพื่อรักษาความสามารถในการส่งออกและเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
3.4 กิจกรรมทางเศรษฐกิจ
(1) ภาคการผลิต การต่อต้านการก่อการร้ายมีความยืดเยื้อและเหตุการณ์ความไม่สงบส่งผลให้นักลงทุนเกิดความไม่มั่นใจในความปลอดภัยของทรัพย์สินและสภาพเศรษฐกิจโลก ทำให้นักลงทุนชะลอการตัดสินใจลงทุน (และประชาชนออมมากขึ้นและใช้จ่ายน้อยลง) การลงทุนของโลกโดยรวมจึงลดลง ภาวะดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการผลิตของไทย และส่งผลต่อเนื่องทำให้การลงทุนและการบริโภคภายในประเทศลดลงด้วย โดยการผลิตที่จะได้รับผลกระทบทางลบอย่างชัดเจน ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรมบริการ (เช่น ท่องเที่ยว ธุรกิจการบิน และโรงแรม)
(2) การว่างงาน เป็นปัญหาสำคัญจากการเกิดวิกฤตครั้งนี้เนื่องจากผลจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายสาขาชะลอตัว เช่น ภาคการส่งออก การบริการ และภาคอุตสาหกรรม ซึ่งรัฐบาลต้องเข้าช่วยเหลือและลดผลกระทบที่เกิดแก่ผู้ว่างงาน เพื่อป้องกันและลดปัญหาสังคมที่จะเกิดขึ้นตามมาจากจำนวนผู้ว่างงานที่เพิ่มขึ้น
3.5 ราคาสินค้าเกษตร มีทิศทางไม่แน่นอนในอนาคต กล่าวคือ อาจจะลดลงตามภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก หรืออาจเพิ่มขึ้นเนื่องจากเป็นสินค้ายุทธปัจจัยที่ทุกประเทศต้องการในกรณีที่เกิดการสงคราม อย่างไรก็ดี รัฐบาลควรเร่งเพิ่มพูนศักยภาพในการหารายได้แก่เกษตรกร โดยใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ และส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจใหม่ ๆ ที่สร้างรายได้สูงในพื้นที่ที่เหมาะสม
3.6 การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การเร่งรัดการนำรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์ในปีนี้ เช่น บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และบริษัท อินเทอร์เน็ตไทยแลนด์ จำกัด อาจได้รับผลกระทบเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวยการกระจายหุ้นสู่สาธารณะ (Public Offering) รัฐวิสาหกิจดังกล่าวจึงควรใช้โอกาสนี้เร่งรัดการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของรัฐวิสาหกิจให้มีความพร้อมก่อนการกระจายหุ้นสู่สาธารณะในโอกาสที่เอื้ออำนวยต่อไป
3.7 การสร้างขวัญและกำลังใจให้ประชาชน เป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากความเชื่อมั่นของประชาชนและนักลงทุนทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ถ้าขาดความเชื่อมั่นจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวและเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ นอกจากนี้ รัฐบาลต้องสร้างความสามัคคีให้กับประชาชนในประเทศเพื่อไม่ให้ผู้ก่อการร้ายใช้เป็นช่องทางก่อเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้น
--สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-สส-