เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2542 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "กรอบความคิดการพัฒนาประเทศ ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549)" ณ โรงแรมปริ้นซ์พาเลซ กรุงเทพฯ
ในพิธีเปิดการประชุม นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวรายงานว่า เนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จะสิ้นสุดลงในปี 2544 สำนักงานฯ ในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการจัดทำแผน จึงได้เตรียมการจัดทำแผนฯ 9 โดยมีกำหนดเวลาให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2543 เพื่อให้ทันต่อกระบวนการพิจารณาจัดสรรงบประมาณของภาครัฐ โดย สศช. ได้กำหนดกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ไว้ 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่
ขั้นตอนที่หนึ่ง เป็นการกำหนดวิสัยทัศน์และกรอบการพัฒนาหลักของแผน โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมเสนอข้อคิดเห็นจากพหุภาคีตั้งแต่ระดับจังหวัดระดับอนุภาคและระดับชาติ เพื่อนำไปสู่การกำหนดร่างกรอบยุทธศาสตร์และจัดลำดับความสำคัญสำหรับเสนอขอความเห็นจากคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี ซึ่งขณะนี้สำนักงานฯ ได้เริ่มดำเนินงานในขั้นตอนนี้แล้ว และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2543
ขั้นตอนที่สอง เป็นการยกร่างรายละเอียดของแผนยุทธศาสตร์เฉพาะเรื่องของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 โดยคำนึงถึงความเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ภายใต้กลไกการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกันจะมีการประสานงานกับหน่วยงานปฏิบัติเพื่อการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี 2545 ด้วย โดยกำหนดให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2543
ขั้นตอนสุดท้าย เป็นกระบวนการนำเสนอร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อขออนุมัติและประกาศใช้ภายในเดือนธันวาคม 2543
เลขาธิการณ์ กล่าวต่อไปว่า การประชุมครั้งนี้เป็นกระบวนการเริ่มต้นของการระดมความคิดและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมไทย เพื่อจัดทำวิสัยทัศน์และกรอบการพัฒนาหลักของแผนฯ 9 ซึ่งสาระที่ได้จากการประชุมจะใช้เป็นแนวทางในการระดมความคิดเห็นจากประชาชนในระดับจังหวัด ระดับอนุภาค และระดับชาติต่อไป โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 150 คน ประกอบด้วยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้นำในกลุ่มต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชนองค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรชุมชน โดยการประชุมในภาคเช้าเป็นการเสนอภาพรวมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยในช่วงที่ผ่านมา ตลอดจนการประเมินสถานการณ์และแนวโน้มการพัฒนาประเทศในอนาคต ส่วนภาคบ่ายเป็นการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็นร่วมกันสร้างกรอบควาามคิดแผนฯ 9 ให้ชัดเจนขึ้น
ต่อจากนั้น ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวเปิดประชุมว่า การจัดทำแผนฯ 9 ซึ่งเน้นการระดมความคิดเห็นจากประชาชนทุกกลุ่มสาขาอาชีพทั่วประเทศ เป็นมิติใหม่ของกระบวนการจัดทำแผนที่มีความสอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่ให้ควาามสำคัญกับพลังของชุมชนและประชาชน ทั้งยังเป็นการตอบสนองเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ที่มุ่งเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาประเทศในทุกขั้นตอนอีกด้วย โดยสำนักงานฯ ได้เริ่มกระบวนการมีส่วนร่วมมานับตั้งแต่การจัดทำแผนฯ 8 และจะขยายให้กว้างขวางและมีประสิทธิภาพยิ่งในการจัดทำแผนฯ 9 ครั้งนี้
ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ยังได้ฝากข้อคิดเห็นต่อที่ประชุมว่าปรัชญาการพัฒนาที่เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนายังคงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นที่จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ส่วนการกำหนดกรอบทิศทางการพัฒนา นอกจากจะพิจารณากระแสการเปลี่ยนแปลงภายนอกแล้ว ยังควรคำนึงถึงสภาวการณ์และเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในสังคมไทยด้วย และที่สำคัญควรพิจารณาว่าจะทำอย่างไรที่จะน้อมนำพระราชดำรัส เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศหลักควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อหาความพอดีระหว่างการแข่งขันกับการร่วมมือให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน สำหรับกระบวนการจัดเตรียมแผนจนถึงการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ จะบรรลุผลได้ต้องมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมืออย่างจริงจัง จากกลุ่มคนทุกระดับและทุกพื้นที่ รวมทั้งต้องมีการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่องด้วย
ต่อมา ในเวลา 15.00 น. ณ ห้องปริ้นซ์บอลรูม 3 โรงแรมปริ้นซ์พาเลซ นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการฯ พร้อมด้วยผู้ที่เกี่ยวข้องได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เพื่อสรุปผลการประชุมดังกว่าว ดังนี้
สรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการกรอบความคิดการพัฒนาประเทศในแผนฯ 9
1. ผลการพัฒนาในระยะครึ่งแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
1.1 การพัฒนาคนและสังคมไทย
- ศักยภาพคนไทยสูงขึ้น ทั้งด้านการศึกษาสุขภาพอนามัย และได้รับการคุ้มครองจากระบบทางสังคมเพิ่มขึ้น เช่น การสงเคราะห์บุตร คนชรา การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส
- ได้มีการวางรากฐานการพัฒนาศักยภาพคนไทยในระยะยาว โดยเฉพาะด้านการศึกษา มี พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ 2542 เป็นการขยายโอกาส/ยกระดับคุณภาพการศึกษา/ปรับการบริหารจัดการศึกษา มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
- มีการเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนและประชาสังคม โดยสร้างกระบวนการขยายเครือข่ายประชาสังคม จัดตั้งประชาคมจังหวัด/ประชาคมอำเภอ/ประชาคมตำบล รวมทั้งมีกิจกรรมสนับสนุนความเข้มแข็งชุมชนอย่างหลากหลาย เช่น เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง โครงการนำร่องไทย-สหประชาชาติ
- ในช่วงที่เหลือของแผนฯ 8 จะได้เตรียมความพร้อมคนไทยและระบบสังคมรองรับการเปลี่ยนแปลงให้ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะจัดทำข้อมูลผู้ด้อยโอกาสให้ชัดเจน และนำวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ดีงามมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนและสังคม
1.2 ด้านเศรษฐกิจ
- เสถียรภาพทางเศรษฐกิจดีขึ้น อัตราเงินเฟ้อต่ำ อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลดลง ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวการส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง การผลิตการลงทุนปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ฐานะการคลังมีข้อจำกัดมากขึ้น เนื่องจากขาดดุลงบประมาณมากขึ้น ภาระหนี้ต่างประเทศภาครัฐมีสัดส่วนสูงขึ้น ขีดความสามารถการแข่งขันลดลง โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีต่ำมาก
- มีการรักษาเสถียรภาพและกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งการดำเนินนโยบายการเงินการคลังอย่างเป็นระบบ มีการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว ส่วนการแก้ปัญหาสถาบันการเงินยังล่าช้า
- ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ มีแผนปรับโครงสร้างการเกษตรและอุตสาหกรรม แต่การดำเนินการยังไม่ชัดเจน
- การพัฒนาพื้นที่และโครงสร้างพื้นฐาน มีการปรับลดชะลอการลงทุนแต่ไม่ส่งผลกระทบต่อการบริการในระยะสั้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัวทุกพื้นที่แต่กระจุกตัวในฐานเศรษฐกิจหลัก โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลและพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก การเพิ่มบทบาทภาคเอกชนเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ด้านการกระจายอำนาจไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่นมีเป้าหมายชัดเจนขึ้น ขณะเดียวกันปัญหาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมเมืองยังมีความรุนแรง
- ในช่วงที่เหลือของแผนฯ 8 ยังคงมุ่งรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างขีดควาามสามารถในการแข่งขัน และการจัดการด้านการพัฒนาพื้นที่และโครงสร้างพื้นฐาน
1.3 ด้านการบริหารจัดการ
- มีการริเริ่มการปฏิรูประบบต่าง ๆ ที่ชัดเจน ทั้งด้านการปฏิรูประบบราชการ ปรับระบบบริหารงบประมาณ และการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นที่สำคัญคือกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนก้าวหน้าไปมาก มีกลไกต่าง ๆ เกิดขึ้น ภายใต้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน เช่น สภาที่ปรึกษาฯ ศาลรัฐธรรมนูญฯ ศาลปกครอง
- ในช่วงเหลือของแผนฯ 8 ต้องเริ่มเพิ่มประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการภาครัฐ รวมทั้งการสร้างจิตสำนึกและความเข้าใจแก่ทุกฝ่าย นอกจากนี้ต้องเร่งรัดในเรื่องของการดำเนินงานเพื่อการกระจายอำนาจอย่างต่อเนื่อง
2. แนวคิดในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
2.1 แผนฯ 9 ควรเป็นแผนชี้นำ มีความกระทัดรัดชัดเจน ง่ายต่อการแปรสู่การปฏิบัติ
2.2 แผนฯ 9 ควรเน้นการมีส่วนร่วม จากทุกภาคส่วนของสังคมให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
2.3 มียุทธศาสตร์ที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาทุกมิติ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
2.4 นำปรัชญาที่สำคัญมาปรับใช้ในกรอบของแผน เช่น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นเรื่องควาามพอประมาณ และการเดินสายกลาง รวมทั้งความมีเหตุผล
2.5 เป็นแผนฯ ที่เน้นการพัฒนาทุกมิติอย่างมีคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้น
2.6 เป็นแผนที่มุ่งเน้นแผนการจัดการที่ดี เพื่อความอยู่ดีมีสุขในสังคม ทั้งนี้จำเป็นต้องสร้างกระบวนการที่ดีให้เกิดขึ้น ทั้งการสร้างค่านิยมที่ดี และสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้เกิดการพัฒนาในทุกระดับ
3. ประเด็นสำคัญของแผนฯ 9
3.1 เป็นแผนที่เน้นการพัฒนาทุกมิติ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการวางแผนต้องทบทวนต้นทุนที่มีอยู่ อาทิ ต้นทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติ (น้ำ ป่าไม้) ต้นทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ต้นทุนด้านสังคม และต้นทุนทางเศรษฐกิจ
3.2 ให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยและพัฒนา
3.3 ปรับกระบวนทรรศน์ใหม่ในการวางแผน เป็นแบบบูรณาการมากขึ้น โดยเฉพาะการปฏิรูประบบเกษตรและอาชีพคนในชนบท ปฏิรูประบบสุขภาพ ปฏิรูประบบบริหารจัดการ การปฏิรูปค่านิยมสังคมไทย ปฏิรูปกระบวนการงบประมาณ
3.4 ต้องมีการประสานรายสาขาต่าง ๆ ให้สอดคล้องกันมากขึ้น เพื่อหน่วยงานทำแผนปฏิบัติรายสาขาได้ชัดเจน
3.5 เน้นเรื่องที่ต้องทำต่อเนื่องจากแผนฯ 8 อาทิ
- การจัดการในระดับพื้นที่ ภารกิจ และการมีส่วนร่วมตามหลักการ AFP
- การสร้างดัชนีชี้วัดให้ชัดเจน รวมทั้งให้มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามแผนอย่างต่อเนื่อง
เลขาธิการฯ กล่าวตอนท้ายว่า สำหรับประชาชนที่มีข้อคิดเห็นเสนอแนะเพิ่มเติมในการจัดทำแผนพัฒนาฉบับที่ 9 โปรดส่งมาได้ที่ www.nesdb.go.th หรือ ตู้ ปณ.49 ปทฝ. หลานหลวง กรุงเทพฯ 10102
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 12/ธันวาคม 2542--
ในพิธีเปิดการประชุม นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวรายงานว่า เนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จะสิ้นสุดลงในปี 2544 สำนักงานฯ ในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการจัดทำแผน จึงได้เตรียมการจัดทำแผนฯ 9 โดยมีกำหนดเวลาให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2543 เพื่อให้ทันต่อกระบวนการพิจารณาจัดสรรงบประมาณของภาครัฐ โดย สศช. ได้กำหนดกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ไว้ 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่
ขั้นตอนที่หนึ่ง เป็นการกำหนดวิสัยทัศน์และกรอบการพัฒนาหลักของแผน โดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมเสนอข้อคิดเห็นจากพหุภาคีตั้งแต่ระดับจังหวัดระดับอนุภาคและระดับชาติ เพื่อนำไปสู่การกำหนดร่างกรอบยุทธศาสตร์และจัดลำดับความสำคัญสำหรับเสนอขอความเห็นจากคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี ซึ่งขณะนี้สำนักงานฯ ได้เริ่มดำเนินงานในขั้นตอนนี้แล้ว และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2543
ขั้นตอนที่สอง เป็นการยกร่างรายละเอียดของแผนยุทธศาสตร์เฉพาะเรื่องของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 โดยคำนึงถึงความเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ภายใต้กลไกการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกันจะมีการประสานงานกับหน่วยงานปฏิบัติเพื่อการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี 2545 ด้วย โดยกำหนดให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2543
ขั้นตอนสุดท้าย เป็นกระบวนการนำเสนอร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อขออนุมัติและประกาศใช้ภายในเดือนธันวาคม 2543
เลขาธิการณ์ กล่าวต่อไปว่า การประชุมครั้งนี้เป็นกระบวนการเริ่มต้นของการระดมความคิดและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคมไทย เพื่อจัดทำวิสัยทัศน์และกรอบการพัฒนาหลักของแผนฯ 9 ซึ่งสาระที่ได้จากการประชุมจะใช้เป็นแนวทางในการระดมความคิดเห็นจากประชาชนในระดับจังหวัด ระดับอนุภาค และระดับชาติต่อไป โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 150 คน ประกอบด้วยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้นำในกลุ่มต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชนองค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรชุมชน โดยการประชุมในภาคเช้าเป็นการเสนอภาพรวมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยในช่วงที่ผ่านมา ตลอดจนการประเมินสถานการณ์และแนวโน้มการพัฒนาประเทศในอนาคต ส่วนภาคบ่ายเป็นการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็นร่วมกันสร้างกรอบควาามคิดแผนฯ 9 ให้ชัดเจนขึ้น
ต่อจากนั้น ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวเปิดประชุมว่า การจัดทำแผนฯ 9 ซึ่งเน้นการระดมความคิดเห็นจากประชาชนทุกกลุ่มสาขาอาชีพทั่วประเทศ เป็นมิติใหม่ของกระบวนการจัดทำแผนที่มีความสอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่ให้ควาามสำคัญกับพลังของชุมชนและประชาชน ทั้งยังเป็นการตอบสนองเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ที่มุ่งเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาประเทศในทุกขั้นตอนอีกด้วย โดยสำนักงานฯ ได้เริ่มกระบวนการมีส่วนร่วมมานับตั้งแต่การจัดทำแผนฯ 8 และจะขยายให้กว้างขวางและมีประสิทธิภาพยิ่งในการจัดทำแผนฯ 9 ครั้งนี้
ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ยังได้ฝากข้อคิดเห็นต่อที่ประชุมว่าปรัชญาการพัฒนาที่เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนายังคงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นที่จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ส่วนการกำหนดกรอบทิศทางการพัฒนา นอกจากจะพิจารณากระแสการเปลี่ยนแปลงภายนอกแล้ว ยังควรคำนึงถึงสภาวการณ์และเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในสังคมไทยด้วย และที่สำคัญควรพิจารณาว่าจะทำอย่างไรที่จะน้อมนำพระราชดำรัส เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศหลักควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อหาความพอดีระหว่างการแข่งขันกับการร่วมมือให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน สำหรับกระบวนการจัดเตรียมแผนจนถึงการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ จะบรรลุผลได้ต้องมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมืออย่างจริงจัง จากกลุ่มคนทุกระดับและทุกพื้นที่ รวมทั้งต้องมีการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่องด้วย
ต่อมา ในเวลา 15.00 น. ณ ห้องปริ้นซ์บอลรูม 3 โรงแรมปริ้นซ์พาเลซ นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการฯ พร้อมด้วยผู้ที่เกี่ยวข้องได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน เพื่อสรุปผลการประชุมดังกว่าว ดังนี้
สรุปผลการประชุมเชิงปฏิบัติการกรอบความคิดการพัฒนาประเทศในแผนฯ 9
1. ผลการพัฒนาในระยะครึ่งแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
1.1 การพัฒนาคนและสังคมไทย
- ศักยภาพคนไทยสูงขึ้น ทั้งด้านการศึกษาสุขภาพอนามัย และได้รับการคุ้มครองจากระบบทางสังคมเพิ่มขึ้น เช่น การสงเคราะห์บุตร คนชรา การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส
- ได้มีการวางรากฐานการพัฒนาศักยภาพคนไทยในระยะยาว โดยเฉพาะด้านการศึกษา มี พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ 2542 เป็นการขยายโอกาส/ยกระดับคุณภาพการศึกษา/ปรับการบริหารจัดการศึกษา มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
- มีการเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชนและประชาสังคม โดยสร้างกระบวนการขยายเครือข่ายประชาสังคม จัดตั้งประชาคมจังหวัด/ประชาคมอำเภอ/ประชาคมตำบล รวมทั้งมีกิจกรรมสนับสนุนความเข้มแข็งชุมชนอย่างหลากหลาย เช่น เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง โครงการนำร่องไทย-สหประชาชาติ
- ในช่วงที่เหลือของแผนฯ 8 จะได้เตรียมความพร้อมคนไทยและระบบสังคมรองรับการเปลี่ยนแปลงให้ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะจัดทำข้อมูลผู้ด้อยโอกาสให้ชัดเจน และนำวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ดีงามมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนและสังคม
1.2 ด้านเศรษฐกิจ
- เสถียรภาพทางเศรษฐกิจดีขึ้น อัตราเงินเฟ้อต่ำ อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลดลง ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวการส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง การผลิตการลงทุนปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ฐานะการคลังมีข้อจำกัดมากขึ้น เนื่องจากขาดดุลงบประมาณมากขึ้น ภาระหนี้ต่างประเทศภาครัฐมีสัดส่วนสูงขึ้น ขีดความสามารถการแข่งขันลดลง โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีต่ำมาก
- มีการรักษาเสถียรภาพและกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งการดำเนินนโยบายการเงินการคลังอย่างเป็นระบบ มีการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว ส่วนการแก้ปัญหาสถาบันการเงินยังล่าช้า
- ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ มีแผนปรับโครงสร้างการเกษตรและอุตสาหกรรม แต่การดำเนินการยังไม่ชัดเจน
- การพัฒนาพื้นที่และโครงสร้างพื้นฐาน มีการปรับลดชะลอการลงทุนแต่ไม่ส่งผลกระทบต่อการบริการในระยะสั้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัวทุกพื้นที่แต่กระจุกตัวในฐานเศรษฐกิจหลัก โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลและพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก การเพิ่มบทบาทภาคเอกชนเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ด้านการกระจายอำนาจไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่นมีเป้าหมายชัดเจนขึ้น ขณะเดียวกันปัญหาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมเมืองยังมีความรุนแรง
- ในช่วงที่เหลือของแผนฯ 8 ยังคงมุ่งรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างขีดควาามสามารถในการแข่งขัน และการจัดการด้านการพัฒนาพื้นที่และโครงสร้างพื้นฐาน
1.3 ด้านการบริหารจัดการ
- มีการริเริ่มการปฏิรูประบบต่าง ๆ ที่ชัดเจน ทั้งด้านการปฏิรูประบบราชการ ปรับระบบบริหารงบประมาณ และการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นที่สำคัญคือกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนก้าวหน้าไปมาก มีกลไกต่าง ๆ เกิดขึ้น ภายใต้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน เช่น สภาที่ปรึกษาฯ ศาลรัฐธรรมนูญฯ ศาลปกครอง
- ในช่วงเหลือของแผนฯ 8 ต้องเริ่มเพิ่มประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการภาครัฐ รวมทั้งการสร้างจิตสำนึกและความเข้าใจแก่ทุกฝ่าย นอกจากนี้ต้องเร่งรัดในเรื่องของการดำเนินงานเพื่อการกระจายอำนาจอย่างต่อเนื่อง
2. แนวคิดในการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
2.1 แผนฯ 9 ควรเป็นแผนชี้นำ มีความกระทัดรัดชัดเจน ง่ายต่อการแปรสู่การปฏิบัติ
2.2 แผนฯ 9 ควรเน้นการมีส่วนร่วม จากทุกภาคส่วนของสังคมให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
2.3 มียุทธศาสตร์ที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาทุกมิติ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
2.4 นำปรัชญาที่สำคัญมาปรับใช้ในกรอบของแผน เช่น ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่เน้นเรื่องควาามพอประมาณ และการเดินสายกลาง รวมทั้งความมีเหตุผล
2.5 เป็นแผนฯ ที่เน้นการพัฒนาทุกมิติอย่างมีคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้น
2.6 เป็นแผนที่มุ่งเน้นแผนการจัดการที่ดี เพื่อความอยู่ดีมีสุขในสังคม ทั้งนี้จำเป็นต้องสร้างกระบวนการที่ดีให้เกิดขึ้น ทั้งการสร้างค่านิยมที่ดี และสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้เกิดการพัฒนาในทุกระดับ
3. ประเด็นสำคัญของแผนฯ 9
3.1 เป็นแผนที่เน้นการพัฒนาทุกมิติ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการวางแผนต้องทบทวนต้นทุนที่มีอยู่ อาทิ ต้นทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติ (น้ำ ป่าไม้) ต้นทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ต้นทุนด้านสังคม และต้นทุนทางเศรษฐกิจ
3.2 ให้ความสำคัญกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยและพัฒนา
3.3 ปรับกระบวนทรรศน์ใหม่ในการวางแผน เป็นแบบบูรณาการมากขึ้น โดยเฉพาะการปฏิรูประบบเกษตรและอาชีพคนในชนบท ปฏิรูประบบสุขภาพ ปฏิรูประบบบริหารจัดการ การปฏิรูปค่านิยมสังคมไทย ปฏิรูปกระบวนการงบประมาณ
3.4 ต้องมีการประสานรายสาขาต่าง ๆ ให้สอดคล้องกันมากขึ้น เพื่อหน่วยงานทำแผนปฏิบัติรายสาขาได้ชัดเจน
3.5 เน้นเรื่องที่ต้องทำต่อเนื่องจากแผนฯ 8 อาทิ
- การจัดการในระดับพื้นที่ ภารกิจ และการมีส่วนร่วมตามหลักการ AFP
- การสร้างดัชนีชี้วัดให้ชัดเจน รวมทั้งให้มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามแผนอย่างต่อเนื่อง
เลขาธิการฯ กล่าวตอนท้ายว่า สำหรับประชาชนที่มีข้อคิดเห็นเสนอแนะเพิ่มเติมในการจัดทำแผนพัฒนาฉบับที่ 9 โปรดส่งมาได้ที่ www.nesdb.go.th หรือ ตู้ ปณ.49 ปทฝ. หลานหลวง กรุงเทพฯ 10102
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 12/ธันวาคม 2542--