นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พร้อมด้วยผู้บริหารของสำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่เกี่ยวข้องได้แถลงข่าว เรื่อง สรุปภาวะเศรษฐกิจจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาสที่
3/2543 และคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจ ปี 2544 แก่สื่อมวลชน เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2543 ณ ห้องประชุมเดชสนิทวงศ์ สศช.
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่มกล่าวว่า เมื่อพิจารณาจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP พบว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ของปี
2543 นี้ ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง โดยขยายตัวเพียงร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ต่ำกว่าอัตราการขยายตัวร้อยละ
6.3 ในไตรมาสที่แล้ว โดยเป็นผลมาจากความต้องการในประเทศที่ชะลอตัวลง และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน
ในขณะที่การขยายตัวของการส่งออกยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญในการผลักดันให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ ทั้งนี้ โดยภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วงระยะ
9 เดือนแรกของปี 2543 ขยายตัวจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 4.7
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า ด้านการผลิต ขยายตัวชะลอลง โดยเป็นผลมาจากการชะลอตัวของการผลิตทั้งภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร
กล่าวคือ การผลิตในภาคเกษตรในหมวดพืชผลชะลอตัวมาก ในขณะที่การผลิตนอกภาคเกษตรขยายตัวชะลอลงเกือบทุกสาขา โดยเฉพาะสาขาก่อสร้าง
และสาขาการเงินการธนาคารที่ยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมา
ด้านการใช้จ่าย ปรับตัวชะลอลงเช่นเดียวกับด้านการผลิต โดยการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคทั้งภาครัฐและเอกชนขยายตัวในอัตรา
ที่ชะลอลง ส่วนการลงทุนลดลงเนื่องมาจากการลงทุนด้านการก่อสร้างภาครัฐลดลง ในขณะที่การลงทุนและบริการก็ยังขยายตัวเพิ่มขึ้นจึงส่งผลให้ดุล
การค้าและบริการเกินดุลลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว อย่างไรก็ดี การสะสมสินค้าคงคลังในไตรมาสนี้มีแนวโน้มลดลงตามการ
ชะลอตัวของภาคการผลิตทั้งในสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม
สำหรับการผลิตที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ในไตรมาสนี้ ได้แก่
สาขาเกษตรกรรม ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว โดยขยายตัวเพียงร้อยละ 0.3
- หมวดพืชผล ยังคงขยายตัวร้อยละ 2.5 ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของพืชหลัก อันเนื่องจากแรงจูงใจด้านราคาส่งออก
ปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2543 ส่วนพืชที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ถั่วต่างๆ และปาล์มน้ำมัน ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม
- หมวดปศุสัตว์ ปริมาณการผลิตลดลงร้ยละ 8.9 โดยปศุสัตว์เกือบทุกชนิดลดลง ยกเว้น สุกร และไข่ไก่ที่ยังคงขยายตัวในอัตราร้อยละ
1.7 และ 2.6 ตามลำดับ
- หมวดประมง ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.3 ตามปริมาณการผลิตปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ ที่ยังคงลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว ทั้งนี้
ระดับราคาเฉลี่ยของหมวดประมงในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.8 ตามราคาส่งออกกุ้งที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.0 เมื่อเทียบกับในไตรมาสเดียวกันของ
ปีที่แล้ว
สาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว โดยขยายตัวร้อยละ 3.3 โดยหมวดอุตสาหกรรม
สำคัญที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ หมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ขยายตัวร้อยละ 35.4 หมวดเครื่องจักรและเครื่องใช้
สำนักงาน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ขยายตัวร้อยละ 20.4 เนื่องจากการส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์ ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 24.9
เนื่องจากการส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 69 หมวดยานยนต์ ชะลอตัวลงค่อนข้างสูงแม้ว่าจะยังมีอัตราการขยายตัวเป็นบวก
ร้อยละ 5.9 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่แล้วที่มีการขยายตัวร้อยละ 32.3 หมวดอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อัญมณี มีอัตราการขยายตัวสูงร้อยละ 18.3
สาขาการผลิตอื่นที่มีการขยายตัวดีขึ้น ได้แก่ สาขาเหมืองแร่และย่อยหิน ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่มีอัตราชะลอลงเล็กน้อย โดยขยายตัว
ร้อยละ 9.2 เป็นผลมาจากการชะลอตัวลงของการผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ สาขาไฟฟ้า ประปาและโรงแยกก๊าซ ขยายตัวร้อยละ 8.8 ชะลอ
ตัวลงเมื่อเทียบกับอัตราการขยายตัวร้อยละ 12.3 ในไตรมาสที่แล้ว สาขาดรงแรมและภัตตาคารขยายตัวในอัตราชะลอลงร้อยละ 4.1 เป็นผลมา
จากภัตตาคารซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 69.0 ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.8 และโรงแรมที่มีสัดส่วนร้อยละ 31.0 ขยายตัวร้อยละ 11.2 ตามจำนวนนักท่องเที่ยว
สาขาการค้าส่งค้าปลีก ขยายตัวในอัตราชะลอลงร้อยละ 2.0 ตามภาวะการผลิตสาขาอุตสาหกรรมและสาขาเกษตรกรรมที่มีอัตราการขยายตัวชะลอลง
สาขาคมนาคมและขนส่ง ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 โดยปัจจัยหลักมาจากการขยายตัวด้านการคมนาคม ส่วนด้านการขนส่งยังขยายตัวชะลอลง
ในทิศทางที่สัมพันธ์กับการขยายตัวของการผลิตในสาขาเกษตรและอุตสาหกรรมซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น
สาขาการผลิตที่ลดลง ในไตรมาสนี้ ได้แก่
สาขาอุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ หมวดอาหารและเครื่องดื่ม การผลิตหดตัวร้อยละ 21.2 เนื่องจากการผลิตสุราลดลงถึงร้อยละ
96.5 ซึ่งเป็นผลมาจากสินค้าคงคลังที่มีอยู่สูงตั้งแต่ปีก่อนหน้า หมวดปิโตรเลียม การผลิตลดลงร้อยละ 0.3 เป็นผลมาจากความต้องการในการ
อุปโภคน้ำมันที่ชะลอลงและมีการใช้น้ำมันทดแทนมากขึ้น หมวดอโลหะ ที่สำคัญคือ ปูนซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 9.5 เป็นผลมาจากสภาวะการก่อสร้าง
โดยรวมยังไม่ดีขึ้น และการส่งออกเริ่มหดตัว
สาขาก่อสร้าง มูลค่าเพิ่มสาขาก่อสร้างในไตรมาสนี้ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 14.9 เป็นผลมาจากการก่อสร้างภาครัฐ
ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 72.5 ลดลงร้อยละ 23.1 ในขณะที่การก่อสร้างภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยขยายตัวร้อยละ 15.5
สาขาการเงินการธนาคาร ลดลงร้อยละ 7.9 เนื่องจากรายรับสุทธิของธนาคารแห่งประเทศไทยลดลงค่อนข้างมาก ประกอบกับบริการ
ของธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นรายการที่สำคัญยังคงมีแนวโน้มลดลงด้วย ทั้งนี้เนื่องจากยังคงมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ
ภาคการใช้จ่าย
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนและภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 3.9 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว โดยไตรมาสนี้
การอุปโภคบริโภคสะท้อนภาพของการชะลอตัวลงเนื่องจากยังคงมีปัญหาว่างงานอยุ่ และระดับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวสูงขึ้นตามการเพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่องของราคาน้ำมัน ประชาชนจึงระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคภาคเอกชนยังคงมีการขยายตัว
ในทุกหมวด
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาครัฐบาล ในไตรมาสนี้มีมูลค่า 157,463 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2542 ในมูลค่า
ที่แม้จริงร้อยละ 6.9 โดยจำแนกเป็นค่าใช้จ่ายหมวดเงินเดือนค่าจ้างและค่าตอบแทน ขยายตัวร้อยละ 4.8 และค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ
สุทธิขยายตัวร้อยละ 9.9 ทั้งนี้มีปัจจัยสำคัญมาจากการดำเนินนโยบายขาดดุลทางการคลังและมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
รวมทั้งการใช้จ่ายจากเงินกู้ต่างๆ
การสะสมทุนถาวรเบื้องต้น ลดลงร้อยละ 2.4 เทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากการลงทุนภาครัฐซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 47.0
ลดลงร้อยละ 14.4 ซึ่งเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับไตรมาสที่แล้วที่หดตัวลงเช่นกัน ส่วนการลงทุนภาคเอกชนซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 53.0 ขยายตัวร้อยละ
11.3 โดยเป็นการลงทุนด้านเครื่องมือ เครื่องจักร สำหรับการลงทุนด้านก่อสร้างที่มีสัดส่วนร้อยละ 26.8 ของการลงทุนภาคเอกชนนั้น ปรับตัวดีขึ้น
จากระยะเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว โดยขยายตัวร้อยละ 14.6
มูลค่าส่วนที่เปลี่ยนสินค้าคงเหลือ ในไตรมาสนี้สินค้าคงเหลือปลายไตรมาสลดต่ำกว่าต้นไตรมาส ส่งผลให้มูลค่าส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ
ที่แท้จริงมีมูลค่าลดลง โดยสินค้าที่ระดับการสะสมสินค้าคงเหลือลดลงส่วนใหญ่เป็นหมวดสินค้าเกษตรซึ่งเป็นไปตามฤดูกาลที่ไตรมาสนี้มีผลผลิตออกมาน้อย
สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมนั้นเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ทั้งนี้เนื่องจากมีการสะสมสต๊อกสินค้าอุตสาหกรรมบางประเภทเพิ่มขึ้นที่สำคัญคือ ปูนซีเมนต์ และรถยนต์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมซึ่งนอกจากมีปริมาณสต๊อกเพิ่มขึ้นแล้วในด้านราคายังเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากด้วย
ด้านต่างประเทศ
การส่งออกสินค้าและบริการ ขยายตัวร้อยละ 18.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว โดยการส่งออกสินค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ
24.7 ซึ่งมีสินค้าอุตสาหกรรมเป็นสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูงโดยมีสัดส่วนร้อยละ 58.9 ของมูลค่าการส่งออกรวม อย่างไรก็ตาม รายรับจากการบริการลดลง
ร้อยละ 4.8 เทียบกัยไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว เนื่องจากการขนส่งลดลงในขณะที่รายรับจากนักท่องเที่ยวขยายตัวเล็กน้อย
การนำเข้าสินค้าและบริการ มีมูลค่าการนำเข้าในราคาปีฐานขยายตัวร้อยละ 20.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้วจำแนเป็น
การนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 โดยการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศยังคงเป็นสินค้าทุนซึ่งมูลค่าตามราคาตลาดขยายตัวร้อยละ 23.3 และ
มีสัดส่วนร้อยละ 49.5 ของการนำเข้าสินค้าทั้งหมดและค่าใช้จ่ายในการซื้อบริการจากต่างประเทศขยายตัวร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีที่แล้ว
ดุลการค้าและบริการ ในไตรมาสนี้เกินดุล 61,750 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้วที่เกินดุล 90,419 ล้านบาทถึงแม้ว่า
การส่งออกในไตรมาสนี้ยังคงขยายตัว แต่สินค้าส่งออกยังเป็นสินค้าที่พึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ทำให้มูลค่าการนำเข้าสินค้าในไตรมาสนี้ยังคง
ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และราคาสินค้านำเข้าในไตรมาสนี้ขยายตัวสูงกว่าราคาสินค้าส่งออก จึงเป็นผลให้ไตรมาสนี้เกินดุลลดลง ด้านดุลบริการ
ในไตรมาสนี้เกินดุล 40,067 ล้านบาท ลดลงจากที่เกินดุล 49,996 ล้านบาทในปีที่แล้ว เมื่อรวมดุลการค้าและดุลบริการพบว่า ยังคงเกินดุลอยู่
101,817 ล้านบาท ลดลงจากที่เกินดุล 140,415 ล้านบาทในไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว
เลขาธิการฯ สศช.กล่าวต่อไปว่า ดัชนีราคาผลิตภัณพ์มวลรวมในประเทศไตรมาสที่ 3 ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีที่แล้ว และมีทิศทางสอดคล้องกับดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 2.2 และ 5.5 ตามลำดับ
สำหรับแนวโน้มสถานการณ์ในไตรมาสที่ 4/2543 เมื่อพิจารณาจากเครื่องชี้เศรษฐกิจทั้งด้านการผลิตและการใช้จ่ายเดือนตุลาคมแสดงว่า
ยังคงขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว แต่เป็นแนวโน้มการขยายตัวที่ชะลออย่างต่อเนื่องจะเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนให้มีความต้องการ
การลงทุนเอกชนเพิ่มขึ้น ในขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนจะยังคงเปราะบาง
ทั้งนี้ คาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจตลอดปี 2543 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจะขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 4.5 ซึ่งเป็นการปรับลด
ประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจ จากร้อยละ 5.0 ที่คาดไว้เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2543 เนื่องจากมีการปรับตัวเลขการขยายตัวของผลิตภัณฑ์
มวลรวมในประเทศในครึ่งปีแรกจากร้อยละ 5.9 เป็นร้อยละ 5.7 รวมทั้งราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและภาวะการชะงักงันของการดำเนินธุรกิจอันเนื่องจาก
ภาวะน้ำท่วมในภาคใต้ และในขณะที่การส่งออกขยายตัวได้สูงกว่าประมาณการเดิม แต่การนำเข้านั้นเพิ่มขึ้นรวดเร็วกว่าการส่งออก
สำหรับการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภครวมคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.8 โดยเป็นการขยายตัวของการบริโภคอุปโภคภาคเอกชน
ร้อยละ 4.1 และภาครัฐบาลขยายตัวร้อยละ 9.0 การลงทุนรวมคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.0 โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 10.0
ส่วนการส่งออกสินค้าทั้งปีมีมูลค่า 68.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 การนำเข้าคาดว่ามีมูลค่า 63.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.8 จากปี 2542 เมื่อรวมกับการเกินดุลบริการและบริจาค ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงเกินดุล 8.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็น
สัดส่วนร้อยละ 6.7 ของจีดีพี
ส่วนเศรษฐกิจไทยปี 2543 คาดว่า จะขยายตัวได้ในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 4-4.5 ชะลอลงกว่าปี 2543 โดยจะเป็นการขยายตัวที่มี
ลักษณะของการพึ่งพาอุปสงค์ภายในประเทศมากขึ้น ในขณะที่อุปสงค์จากภายนอกประเทศมีข้อจำกัดทางด้านภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
แรงกดดันของราคาน้ำมันต่อต้นทุนการผลิตจะปรากฎชัดเจนยิ่งขึ้น และอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ในระดับร้อยละ 2.6 ในขณะที่การลงทุนเอกชน
ยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 9.4 และการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่องมาตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2542 จะยังมีส่วนช่วยกระตุ้น
การลงทุนภาคเอกชน แต่การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวได้ช้าลงกว่าในปี 2543 เนื่องจากผลการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก คาดว่าตลอดทั้งปี
2544 มูลค่าการส่งออกจะเท่ากับ 74.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2543 ร้อยละ 9.0 การนำเข้าจะมีมูลค่า 70.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 การนำเข้าที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่าการส่งออกอย่างต่อเนื่องนี้จะทำให้ดุลการค้าเกินดุลลดลง โดยการเกินดุลการค้าจะเท่ากับ 3.4
พันล้านดอลลาร์สหรัฐลดลงจากการเกินดุลการค้าจำนวน 5.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2543
GDP และ GNP ไตรมาสที่ 3/2543
2541 2542 2542 2543 2542 2543
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 ม.ค.-ก.ย. ม.ค.-ก.ย.
GDP ราคาประจำปี 4,628 4,615 1,162 1,096 1,144 1,213 1,229 1,198 1,226 3,402 3,653
(พันล้านบาท)
GDP ราคาปีฐาน 2531 2,743 2,859 718 661 657 707 756 721 727 2,036 2,204
(พันล้านบาท)
อัตราเพิ่ม GDP -10.8 4.2 0.1 2.7 7.8 6.5 5.1 6.3 2.6 3.4 4.7
(% เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน)
GNP ราคาประจำปี 4,468 4,489 1,115 1,063 1,115 1,195 1,215 1,179 1,210 3,293 3,604
(พันล้านบาท)
GNP ราคาปีฐาน 2531 1,954 2,802 696 664 696 747 753 716 724 2,056 2,193
(พันล้านบาท)
อัตราเพิ่ม GDP -11.3 4.9 -1.0 4.1 9.0 7.9 8.3 7.9 4.0 3.9 6.7
(% เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน)
คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจปี 2543-2544
ตัวเลขเบื้องต้น ประมาณการ ประมาณการ ประมาณการ
(18 ก.ย.) (18 ธ.ค.) (18 ธ.ค.)
2542 2543 2543 2544
GDP (ณ ราคาประจำปี : พันล้านบาท) 4,710 5,040 5,016 5,362
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่,%) 4.2 5.0 4.5 4.0-4.5
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่,%) -4.8 3.3 4.0 5.6
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่,%) 2.9 5.4 4.8 4.0
มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 56.8 64.8 68.2 74.3-75.7
อัตราการขยายตัว (%) 7.4 14.3 20.0 9.0-11.0
มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 47.8 58.8 63.0 70.9-72.5
อัตราการขยายตัว (%) 17.7 23.0 31.8 12.5-15.0
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) 9.1 6.4 6.7 4.2
เงินเฟ้อ (%)
ดัชนีราคาผู้บริโภค 0.3 2.0 1.7 2.6
GDP Deflator -2.6 2.0 2.0 3.0
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 กับการประสานสู่การปฏิบัติ
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2543 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดสัมมนาระดมความคิดเรื่อง
"แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 กับการประสานสู่การปฏิบัติ" ขึ้น ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 450 คน
ประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวง อธิบดี หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และผู้แทนหน่วยงานวางแผนของส่วนราชการต่างๆ
นายสมเจตน์ เตรคุพ รองเลขาธิการฯ กล่าวรายงานว่า สศช. ในฐานะหน่วยงานหลักรับผิดชอบจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้ดำเนินการ
ระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในสังคมตั้งแต่ระดับจังหวัด ระดับอนุภาค และระดับชาติ ซึ่งขณะนี้ สำนักงานฯ ได้ยกร่างรายละเอียดของแผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ 9 ในเบื้องต้นเสร็จแล้ว และจะนำเสนอร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อขออนุมัติประกาศใช้ให้ทันต่อการจัดสรรงบประมาณในปี
2545 ซึ่งเป็นปีแรกของแผนฯ
สำหรับการสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และจะนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้จากการสัมมนา
ไปปรับปรุงร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น รวมทั้งเพื่อสนับสนุนกระบวนการประสานแผนสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบ โดยหน่วยงานปฏิบัติ
สามารถจัดทำแผนปฏิบัติการได้สอดคล้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
จากนั้น ศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวเปิดการสัมมนาว่าการ
ระดมความคิดในวันนี้นับเป็นเวทีแรกที่มีการประสานนำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ไปสู่การปฏิบัติระหว่างหน่วยราชการด้วยกันเอง ทั้งหน่าวยงานกลาง
และหน่วยงานปฏิบัติ ก่อนที่จะพัฒนาขยายความร่วมมือไปสู่ภาคีการพัฒนาอื่นๆ ในวงกว้างต่อไป
ศาสตราจารย์ ดร.สิปปนท์ เกตุทัต ได้ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 สี่ประการ ได้แก่ ประการแรก กระบวนการ
จัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในสังคม ทำให้คนในสังคมเกิดความรู้สึกร่วมในการเป็นเจ้าของแผนและเป็นพลังสร้างสรรค์
ขับเคลื่อนแผนให้ได้รับการนำไปปฏิบัติอย่างแท้จริง ประการที่ 2 การอัญเชิญปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการนำแนวคิดการพัฒนาโดยให้ "คน"
เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาต่อเนื่องจากแผนฯ 8 มาเป็นปรัชญานำทางในการกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาในด้านต่างๆ นั้น จะต้องมีความ
ระมัดระวังและพิจารณาถึงความเหมาะสมในการนำไปปฏิบัติ
ประการที่ 3 ปัญหาสำหรับที่ต้องเร่งแก้ไขในการทำงานระยะต่อไป คือ ปัญหาความยากจน ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ปัญหายาเสพย์ติดและ
ปัญหาความขัดแย้งของคนในสังคม และประการสุดท้าย การประสานแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ไปสู่การปฏิบัติจะบรรลุผลได้ต้องมีการสร้างเครือข่าย
ความร่วมมืออย่างจริงจังจากคนและองค์กรทุกระดับโดยทุกพื้นที่จะต้องปรับกระบวนทรรศน์และวิธีการทำงานให้เกื้อหนุนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 รวมทั้ง
จะต้องส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ชุมชน และประชาชนให้มากขึ้น ตลอดจนมีระบบติดตามและประเมินผลการพัฒนาตามแผนอย่างต่อ
เนื่องและจริงจัง โดยให้ทุกฝ่ายสามารถตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส เพื่อเป็นเสมือนการสร้างพันธะร่วมกันของคนในชาติที่จะช่วยกันขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ 9 ให้สัมฤทธิ์ผลอย่างแท้จริงต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 12/ธันวาคม
2543--
-สส-
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่เกี่ยวข้องได้แถลงข่าว เรื่อง สรุปภาวะเศรษฐกิจจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาสที่
3/2543 และคาดการณ์แนวโน้มเศรษฐกิจ ปี 2544 แก่สื่อมวลชน เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2543 ณ ห้องประชุมเดชสนิทวงศ์ สศช.
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่มกล่าวว่า เมื่อพิจารณาจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP พบว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ของปี
2543 นี้ ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลง โดยขยายตัวเพียงร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ต่ำกว่าอัตราการขยายตัวร้อยละ
6.3 ในไตรมาสที่แล้ว โดยเป็นผลมาจากความต้องการในประเทศที่ชะลอตัวลง และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน
ในขณะที่การขยายตัวของการส่งออกยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญในการผลักดันให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ ทั้งนี้ โดยภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วงระยะ
9 เดือนแรกของปี 2543 ขยายตัวจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 4.7
เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า ด้านการผลิต ขยายตัวชะลอลง โดยเป็นผลมาจากการชะลอตัวของการผลิตทั้งภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร
กล่าวคือ การผลิตในภาคเกษตรในหมวดพืชผลชะลอตัวมาก ในขณะที่การผลิตนอกภาคเกษตรขยายตัวชะลอลงเกือบทุกสาขา โดยเฉพาะสาขาก่อสร้าง
และสาขาการเงินการธนาคารที่ยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมา
ด้านการใช้จ่าย ปรับตัวชะลอลงเช่นเดียวกับด้านการผลิต โดยการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคทั้งภาครัฐและเอกชนขยายตัวในอัตรา
ที่ชะลอลง ส่วนการลงทุนลดลงเนื่องมาจากการลงทุนด้านการก่อสร้างภาครัฐลดลง ในขณะที่การลงทุนและบริการก็ยังขยายตัวเพิ่มขึ้นจึงส่งผลให้ดุล
การค้าและบริการเกินดุลลดลง เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว อย่างไรก็ดี การสะสมสินค้าคงคลังในไตรมาสนี้มีแนวโน้มลดลงตามการ
ชะลอตัวของภาคการผลิตทั้งในสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม
สำหรับการผลิตที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ในไตรมาสนี้ ได้แก่
สาขาเกษตรกรรม ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว โดยขยายตัวเพียงร้อยละ 0.3
- หมวดพืชผล ยังคงขยายตัวร้อยละ 2.5 ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของพืชหลัก อันเนื่องจากแรงจูงใจด้านราคาส่งออก
ปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2543 ส่วนพืชที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ถั่วต่างๆ และปาล์มน้ำมัน ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม
- หมวดปศุสัตว์ ปริมาณการผลิตลดลงร้ยละ 8.9 โดยปศุสัตว์เกือบทุกชนิดลดลง ยกเว้น สุกร และไข่ไก่ที่ยังคงขยายตัวในอัตราร้อยละ
1.7 และ 2.6 ตามลำดับ
- หมวดประมง ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.3 ตามปริมาณการผลิตปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ ที่ยังคงลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว ทั้งนี้
ระดับราคาเฉลี่ยของหมวดประมงในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.8 ตามราคาส่งออกกุ้งที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.0 เมื่อเทียบกับในไตรมาสเดียวกันของ
ปีที่แล้ว
สาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว โดยขยายตัวร้อยละ 3.3 โดยหมวดอุตสาหกรรม
สำคัญที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ หมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น ขยายตัวร้อยละ 35.4 หมวดเครื่องจักรและเครื่องใช้
สำนักงาน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ขยายตัวร้อยละ 20.4 เนื่องจากการส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์ ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 24.9
เนื่องจากการส่งออกเครื่องรับโทรทัศน์ที่มีการขยายตัวสูงถึงร้อยละ 69 หมวดยานยนต์ ชะลอตัวลงค่อนข้างสูงแม้ว่าจะยังมีอัตราการขยายตัวเป็นบวก
ร้อยละ 5.9 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่แล้วที่มีการขยายตัวร้อยละ 32.3 หมวดอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น อัญมณี มีอัตราการขยายตัวสูงร้อยละ 18.3
สาขาการผลิตอื่นที่มีการขยายตัวดีขึ้น ได้แก่ สาขาเหมืองแร่และย่อยหิน ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่มีอัตราชะลอลงเล็กน้อย โดยขยายตัว
ร้อยละ 9.2 เป็นผลมาจากการชะลอตัวลงของการผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ สาขาไฟฟ้า ประปาและโรงแยกก๊าซ ขยายตัวร้อยละ 8.8 ชะลอ
ตัวลงเมื่อเทียบกับอัตราการขยายตัวร้อยละ 12.3 ในไตรมาสที่แล้ว สาขาดรงแรมและภัตตาคารขยายตัวในอัตราชะลอลงร้อยละ 4.1 เป็นผลมา
จากภัตตาคารซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 69.0 ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.8 และโรงแรมที่มีสัดส่วนร้อยละ 31.0 ขยายตัวร้อยละ 11.2 ตามจำนวนนักท่องเที่ยว
สาขาการค้าส่งค้าปลีก ขยายตัวในอัตราชะลอลงร้อยละ 2.0 ตามภาวะการผลิตสาขาอุตสาหกรรมและสาขาเกษตรกรรมที่มีอัตราการขยายตัวชะลอลง
สาขาคมนาคมและขนส่ง ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 โดยปัจจัยหลักมาจากการขยายตัวด้านการคมนาคม ส่วนด้านการขนส่งยังขยายตัวชะลอลง
ในทิศทางที่สัมพันธ์กับการขยายตัวของการผลิตในสาขาเกษตรและอุตสาหกรรมซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น
สาขาการผลิตที่ลดลง ในไตรมาสนี้ ได้แก่
สาขาอุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ หมวดอาหารและเครื่องดื่ม การผลิตหดตัวร้อยละ 21.2 เนื่องจากการผลิตสุราลดลงถึงร้อยละ
96.5 ซึ่งเป็นผลมาจากสินค้าคงคลังที่มีอยู่สูงตั้งแต่ปีก่อนหน้า หมวดปิโตรเลียม การผลิตลดลงร้อยละ 0.3 เป็นผลมาจากความต้องการในการ
อุปโภคน้ำมันที่ชะลอลงและมีการใช้น้ำมันทดแทนมากขึ้น หมวดอโลหะ ที่สำคัญคือ ปูนซีเมนต์ ลดลงร้อยละ 9.5 เป็นผลมาจากสภาวะการก่อสร้าง
โดยรวมยังไม่ดีขึ้น และการส่งออกเริ่มหดตัว
สาขาก่อสร้าง มูลค่าเพิ่มสาขาก่อสร้างในไตรมาสนี้ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 14.9 เป็นผลมาจากการก่อสร้างภาครัฐ
ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 72.5 ลดลงร้อยละ 23.1 ในขณะที่การก่อสร้างภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยขยายตัวร้อยละ 15.5
สาขาการเงินการธนาคาร ลดลงร้อยละ 7.9 เนื่องจากรายรับสุทธิของธนาคารแห่งประเทศไทยลดลงค่อนข้างมาก ประกอบกับบริการ
ของธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นรายการที่สำคัญยังคงมีแนวโน้มลดลงด้วย ทั้งนี้เนื่องจากยังคงมีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ
ภาคการใช้จ่าย
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนและภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 3.9 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว โดยไตรมาสนี้
การอุปโภคบริโภคสะท้อนภาพของการชะลอตัวลงเนื่องจากยังคงมีปัญหาว่างงานอยุ่ และระดับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวสูงขึ้นตามการเพิ่มขึ้น
อย่างต่อเนื่องของราคาน้ำมัน ประชาชนจึงระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคภาคเอกชนยังคงมีการขยายตัว
ในทุกหมวด
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาครัฐบาล ในไตรมาสนี้มีมูลค่า 157,463 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปี 2542 ในมูลค่า
ที่แม้จริงร้อยละ 6.9 โดยจำแนกเป็นค่าใช้จ่ายหมวดเงินเดือนค่าจ้างและค่าตอบแทน ขยายตัวร้อยละ 4.8 และค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ
สุทธิขยายตัวร้อยละ 9.9 ทั้งนี้มีปัจจัยสำคัญมาจากการดำเนินนโยบายขาดดุลทางการคลังและมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
รวมทั้งการใช้จ่ายจากเงินกู้ต่างๆ
การสะสมทุนถาวรเบื้องต้น ลดลงร้อยละ 2.4 เทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากการลงทุนภาครัฐซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 47.0
ลดลงร้อยละ 14.4 ซึ่งเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับไตรมาสที่แล้วที่หดตัวลงเช่นกัน ส่วนการลงทุนภาคเอกชนซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 53.0 ขยายตัวร้อยละ
11.3 โดยเป็นการลงทุนด้านเครื่องมือ เครื่องจักร สำหรับการลงทุนด้านก่อสร้างที่มีสัดส่วนร้อยละ 26.8 ของการลงทุนภาคเอกชนนั้น ปรับตัวดีขึ้น
จากระยะเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว โดยขยายตัวร้อยละ 14.6
มูลค่าส่วนที่เปลี่ยนสินค้าคงเหลือ ในไตรมาสนี้สินค้าคงเหลือปลายไตรมาสลดต่ำกว่าต้นไตรมาส ส่งผลให้มูลค่าส่วนเปลี่ยนสินค้าคงเหลือ
ที่แท้จริงมีมูลค่าลดลง โดยสินค้าที่ระดับการสะสมสินค้าคงเหลือลดลงส่วนใหญ่เป็นหมวดสินค้าเกษตรซึ่งเป็นไปตามฤดูกาลที่ไตรมาสนี้มีผลผลิตออกมาน้อย
สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมนั้นเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ทั้งนี้เนื่องจากมีการสะสมสต๊อกสินค้าอุตสาหกรรมบางประเภทเพิ่มขึ้นที่สำคัญคือ ปูนซีเมนต์ และรถยนต์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมซึ่งนอกจากมีปริมาณสต๊อกเพิ่มขึ้นแล้วในด้านราคายังเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากด้วย
ด้านต่างประเทศ
การส่งออกสินค้าและบริการ ขยายตัวร้อยละ 18.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว โดยการส่งออกสินค้าขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ
24.7 ซึ่งมีสินค้าอุตสาหกรรมเป็นสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูงโดยมีสัดส่วนร้อยละ 58.9 ของมูลค่าการส่งออกรวม อย่างไรก็ตาม รายรับจากการบริการลดลง
ร้อยละ 4.8 เทียบกัยไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว เนื่องจากการขนส่งลดลงในขณะที่รายรับจากนักท่องเที่ยวขยายตัวเล็กน้อย
การนำเข้าสินค้าและบริการ มีมูลค่าการนำเข้าในราคาปีฐานขยายตัวร้อยละ 20.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้วจำแนเป็น
การนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 โดยการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศยังคงเป็นสินค้าทุนซึ่งมูลค่าตามราคาตลาดขยายตัวร้อยละ 23.3 และ
มีสัดส่วนร้อยละ 49.5 ของการนำเข้าสินค้าทั้งหมดและค่าใช้จ่ายในการซื้อบริการจากต่างประเทศขยายตัวร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีที่แล้ว
ดุลการค้าและบริการ ในไตรมาสนี้เกินดุล 61,750 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้วที่เกินดุล 90,419 ล้านบาทถึงแม้ว่า
การส่งออกในไตรมาสนี้ยังคงขยายตัว แต่สินค้าส่งออกยังเป็นสินค้าที่พึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ทำให้มูลค่าการนำเข้าสินค้าในไตรมาสนี้ยังคง
ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และราคาสินค้านำเข้าในไตรมาสนี้ขยายตัวสูงกว่าราคาสินค้าส่งออก จึงเป็นผลให้ไตรมาสนี้เกินดุลลดลง ด้านดุลบริการ
ในไตรมาสนี้เกินดุล 40,067 ล้านบาท ลดลงจากที่เกินดุล 49,996 ล้านบาทในปีที่แล้ว เมื่อรวมดุลการค้าและดุลบริการพบว่า ยังคงเกินดุลอยู่
101,817 ล้านบาท ลดลงจากที่เกินดุล 140,415 ล้านบาทในไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว
เลขาธิการฯ สศช.กล่าวต่อไปว่า ดัชนีราคาผลิตภัณพ์มวลรวมในประเทศไตรมาสที่ 3 ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับไตรมาส
เดียวกันของปีที่แล้ว และมีทิศทางสอดคล้องกับดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 2.2 และ 5.5 ตามลำดับ
สำหรับแนวโน้มสถานการณ์ในไตรมาสที่ 4/2543 เมื่อพิจารณาจากเครื่องชี้เศรษฐกิจทั้งด้านการผลิตและการใช้จ่ายเดือนตุลาคมแสดงว่า
ยังคงขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว แต่เป็นแนวโน้มการขยายตัวที่ชะลออย่างต่อเนื่องจะเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนให้มีความต้องการ
การลงทุนเอกชนเพิ่มขึ้น ในขณะที่การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนจะยังคงเปราะบาง
ทั้งนี้ คาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจตลอดปี 2543 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจะขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 4.5 ซึ่งเป็นการปรับลด
ประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจ จากร้อยละ 5.0 ที่คาดไว้เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2543 เนื่องจากมีการปรับตัวเลขการขยายตัวของผลิตภัณฑ์
มวลรวมในประเทศในครึ่งปีแรกจากร้อยละ 5.9 เป็นร้อยละ 5.7 รวมทั้งราคาน้ำมันที่สูงขึ้นและภาวะการชะงักงันของการดำเนินธุรกิจอันเนื่องจาก
ภาวะน้ำท่วมในภาคใต้ และในขณะที่การส่งออกขยายตัวได้สูงกว่าประมาณการเดิม แต่การนำเข้านั้นเพิ่มขึ้นรวดเร็วกว่าการส่งออก
สำหรับการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภครวมคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.8 โดยเป็นการขยายตัวของการบริโภคอุปโภคภาคเอกชน
ร้อยละ 4.1 และภาครัฐบาลขยายตัวร้อยละ 9.0 การลงทุนรวมคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.0 โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 10.0
ส่วนการส่งออกสินค้าทั้งปีมีมูลค่า 68.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.0 การนำเข้าคาดว่ามีมูลค่า 63.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.8 จากปี 2542 เมื่อรวมกับการเกินดุลบริการและบริจาค ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงเกินดุล 8.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็น
สัดส่วนร้อยละ 6.7 ของจีดีพี
ส่วนเศรษฐกิจไทยปี 2543 คาดว่า จะขยายตัวได้ในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 4-4.5 ชะลอลงกว่าปี 2543 โดยจะเป็นการขยายตัวที่มี
ลักษณะของการพึ่งพาอุปสงค์ภายในประเทศมากขึ้น ในขณะที่อุปสงค์จากภายนอกประเทศมีข้อจำกัดทางด้านภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก
แรงกดดันของราคาน้ำมันต่อต้นทุนการผลิตจะปรากฎชัดเจนยิ่งขึ้น และอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ในระดับร้อยละ 2.6 ในขณะที่การลงทุนเอกชน
ยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 9.4 และการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่องมาตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2542 จะยังมีส่วนช่วยกระตุ้น
การลงทุนภาคเอกชน แต่การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวได้ช้าลงกว่าในปี 2543 เนื่องจากผลการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก คาดว่าตลอดทั้งปี
2544 มูลค่าการส่งออกจะเท่ากับ 74.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2543 ร้อยละ 9.0 การนำเข้าจะมีมูลค่า 70.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 การนำเข้าที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่าการส่งออกอย่างต่อเนื่องนี้จะทำให้ดุลการค้าเกินดุลลดลง โดยการเกินดุลการค้าจะเท่ากับ 3.4
พันล้านดอลลาร์สหรัฐลดลงจากการเกินดุลการค้าจำนวน 5.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2543
GDP และ GNP ไตรมาสที่ 3/2543
2541 2542 2542 2543 2542 2543
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 ม.ค.-ก.ย. ม.ค.-ก.ย.
GDP ราคาประจำปี 4,628 4,615 1,162 1,096 1,144 1,213 1,229 1,198 1,226 3,402 3,653
(พันล้านบาท)
GDP ราคาปีฐาน 2531 2,743 2,859 718 661 657 707 756 721 727 2,036 2,204
(พันล้านบาท)
อัตราเพิ่ม GDP -10.8 4.2 0.1 2.7 7.8 6.5 5.1 6.3 2.6 3.4 4.7
(% เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน)
GNP ราคาประจำปี 4,468 4,489 1,115 1,063 1,115 1,195 1,215 1,179 1,210 3,293 3,604
(พันล้านบาท)
GNP ราคาปีฐาน 2531 1,954 2,802 696 664 696 747 753 716 724 2,056 2,193
(พันล้านบาท)
อัตราเพิ่ม GDP -11.3 4.9 -1.0 4.1 9.0 7.9 8.3 7.9 4.0 3.9 6.7
(% เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน)
คาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจปี 2543-2544
ตัวเลขเบื้องต้น ประมาณการ ประมาณการ ประมาณการ
(18 ก.ย.) (18 ธ.ค.) (18 ธ.ค.)
2542 2543 2543 2544
GDP (ณ ราคาประจำปี : พันล้านบาท) 4,710 5,040 5,016 5,362
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่,%) 4.2 5.0 4.5 4.0-4.5
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่,%) -4.8 3.3 4.0 5.6
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่,%) 2.9 5.4 4.8 4.0
มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 56.8 64.8 68.2 74.3-75.7
อัตราการขยายตัว (%) 7.4 14.3 20.0 9.0-11.0
มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 47.8 58.8 63.0 70.9-72.5
อัตราการขยายตัว (%) 17.7 23.0 31.8 12.5-15.0
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) 9.1 6.4 6.7 4.2
เงินเฟ้อ (%)
ดัชนีราคาผู้บริโภค 0.3 2.0 1.7 2.6
GDP Deflator -2.6 2.0 2.0 3.0
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 กับการประสานสู่การปฏิบัติ
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2543 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดสัมมนาระดมความคิดเรื่อง
"แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 กับการประสานสู่การปฏิบัติ" ขึ้น ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 450 คน
ประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวง อธิบดี หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และผู้แทนหน่วยงานวางแผนของส่วนราชการต่างๆ
นายสมเจตน์ เตรคุพ รองเลขาธิการฯ กล่าวรายงานว่า สศช. ในฐานะหน่วยงานหลักรับผิดชอบจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้ดำเนินการ
ระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนในสังคมตั้งแต่ระดับจังหวัด ระดับอนุภาค และระดับชาติ ซึ่งขณะนี้ สำนักงานฯ ได้ยกร่างรายละเอียดของแผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ 9 ในเบื้องต้นเสร็จแล้ว และจะนำเสนอร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อขออนุมัติประกาศใช้ให้ทันต่อการจัดสรรงบประมาณในปี
2545 ซึ่งเป็นปีแรกของแผนฯ
สำหรับการสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และจะนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้จากการสัมมนา
ไปปรับปรุงร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น รวมทั้งเพื่อสนับสนุนกระบวนการประสานแผนสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบ โดยหน่วยงานปฏิบัติ
สามารถจัดทำแผนปฏิบัติการได้สอดคล้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
จากนั้น ศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต ประธานกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวเปิดการสัมมนาว่าการ
ระดมความคิดในวันนี้นับเป็นเวทีแรกที่มีการประสานนำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ไปสู่การปฏิบัติระหว่างหน่วยราชการด้วยกันเอง ทั้งหน่าวยงานกลาง
และหน่วยงานปฏิบัติ ก่อนที่จะพัฒนาขยายความร่วมมือไปสู่ภาคีการพัฒนาอื่นๆ ในวงกว้างต่อไป
ศาสตราจารย์ ดร.สิปปนท์ เกตุทัต ได้ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 สี่ประการ ได้แก่ ประการแรก กระบวนการ
จัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในสังคม ทำให้คนในสังคมเกิดความรู้สึกร่วมในการเป็นเจ้าของแผนและเป็นพลังสร้างสรรค์
ขับเคลื่อนแผนให้ได้รับการนำไปปฏิบัติอย่างแท้จริง ประการที่ 2 การอัญเชิญปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการนำแนวคิดการพัฒนาโดยให้ "คน"
เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาต่อเนื่องจากแผนฯ 8 มาเป็นปรัชญานำทางในการกำหนดยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาในด้านต่างๆ นั้น จะต้องมีความ
ระมัดระวังและพิจารณาถึงความเหมาะสมในการนำไปปฏิบัติ
ประการที่ 3 ปัญหาสำหรับที่ต้องเร่งแก้ไขในการทำงานระยะต่อไป คือ ปัญหาความยากจน ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ปัญหายาเสพย์ติดและ
ปัญหาความขัดแย้งของคนในสังคม และประการสุดท้าย การประสานแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ไปสู่การปฏิบัติจะบรรลุผลได้ต้องมีการสร้างเครือข่าย
ความร่วมมืออย่างจริงจังจากคนและองค์กรทุกระดับโดยทุกพื้นที่จะต้องปรับกระบวนทรรศน์และวิธีการทำงานให้เกื้อหนุนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 รวมทั้ง
จะต้องส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ชุมชน และประชาชนให้มากขึ้น ตลอดจนมีระบบติดตามและประเมินผลการพัฒนาตามแผนอย่างต่อ
เนื่องและจริงจัง โดยให้ทุกฝ่ายสามารถตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส เพื่อเป็นเสมือนการสร้างพันธะร่วมกันของคนในชาติที่จะช่วยกันขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ 9 ให้สัมฤทธิ์ผลอย่างแท้จริงต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 17 ฉบับที่ 12/ธันวาคม
2543--
-สส-