นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยถึงแนวทางการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตของประเทศว่าสมควรผลักดันให้การเพิ่มผลผลิตเป็นนโยบายแห่งชาติ
เลขาธิการฯ กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดทำเอกสารการศึกษาเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตของประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ข้อเสนอแนวทางในการสร้างขบวนการเพิ่มผลผลิต และการปรับปรุงบทบาทภาครัฐ เพื่อสนับสนุนขบวนการเพิ่มผลผลิตเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ สศช. เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2542 โดยกรรมการ สศช. ได้ให้ความเห็นชอบในหลักการที่จะกำหนดให้การเพิ่มผลผลิตเป็น "วาระแห่งชาติ" และต่อมา สศช. ได้ร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติจัดการสัมมนาระดมความคิดรวม 2 ครั้ง โดยผลการระดมความคิดทั้ง 2 ครั้ง สรุปสาระสำคัญได้ว่าการเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement) จะต้องอยู่บนพื้นฐานของการสร้างจิตสำนึกมุ่งแสวงหาทางปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้น
นอกจากนี้ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์จะต้องคำนึงถึงแนวทางดังต่อไปนี้
1) การทำงานร่วมกันของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลง มีกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน รวมทั้ง ควรมีการทำเกณฑ์วัด (Benchmark) เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ เพื่อใช้เป็นเป้าหมายในการเพิ่มผลผลิตและมีการจัดลำดับความสำคัญของภารกิจ
2) สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิต รวมทั้ง มีการศึกษากลยุทธและแนวทางของประเทศที่ประสบความสำเร็จ เพื่อมาปรับใช้เป็นแนวทางการเพิ่มผลผลิตของประเทศ
3) การวางแผนยุทธศาสตร์ควรให้ความสำคัญเรื่องการพิจารณากำหนดเป้าหมายในแต่ละภาคเศรษฐกิจและการกำหนดยุทธศาสตร์รายสาขา โดยใช้ดัชนีชี้วัด (Productivity Index) ในการกำหนดเป้าหมายและการวัดผล
4) กำหนดให้การเพิ่มผลผลิตเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่สำคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กล่าวต่อไปว่า ผลของการสัมมนาระดมความคิดในการสร้างขบวนการเพิ่มผลผลิตดังกล่าวยังได้สรุปถึงปัจจัยที่จะทำให้การเพิ่มผลผลิตประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย
1) การสร้างจิตสำนึกให้คนในสังคมเข้าใจและยอมรับว่าการเพิ่มผลผลิตเป็นเรื่องสำคัญและเป็นความจำเป็นของประเทศ
2) การสร้างพื้นฐานและความเข้าใจในระบบการศึกษาเพื่อให้เกิดทัศนคติ ความมุ่งมั่น ความรู้และทักษะ
3) การสนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับเงื่อนไขและสภาพของสังคม
4) การปรับโครงสร้างภาคการผลิตไปสู่ขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน
5) การปรับบทบาทของภาครัฐที่จะนำไปสู่การลดอุปสรรคที่ก่อให้เกิดต้นเหตุที่ไม่จำเป็น
6) การมีกลไกระดับชาติที่เป็นแกนหลักในการว่างงานเพื่อเพิ่มผลผลิตของประเทศ
เลขาธิการฯ กล่าวเพิ่มเติมในตอนท้ายว่า คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ให้ความเห็นชอบต่อการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตว่า เห็นควรมอบหมายให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มผลผลิตให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในกระบวนการเพิ่มผลผลิต โดยการให้ความสนับสนุนในเรื่องข้อมูลและบุคลากรในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ รวมทั้งมอบหมายให้ สศช. ร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตของประเทศโดยพิจารณาคัดเลือกสาขาการผลิตเฉพาะที่มีความพร้อมสูงคือ จากภาคอุตสาหกรรมเพื่อจัดทำโครงการนำร่องการเพิ่มผลผลิตต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 9/กันยายน 2542--
เลขาธิการฯ กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดทำเอกสารการศึกษาเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตของประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ข้อเสนอแนวทางในการสร้างขบวนการเพิ่มผลผลิต และการปรับปรุงบทบาทภาครัฐ เพื่อสนับสนุนขบวนการเพิ่มผลผลิตเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ สศช. เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2542 โดยกรรมการ สศช. ได้ให้ความเห็นชอบในหลักการที่จะกำหนดให้การเพิ่มผลผลิตเป็น "วาระแห่งชาติ" และต่อมา สศช. ได้ร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติจัดการสัมมนาระดมความคิดรวม 2 ครั้ง โดยผลการระดมความคิดทั้ง 2 ครั้ง สรุปสาระสำคัญได้ว่าการเพิ่มผลผลิต (Productivity Improvement) จะต้องอยู่บนพื้นฐานของการสร้างจิตสำนึกมุ่งแสวงหาทางปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้น
นอกจากนี้ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์จะต้องคำนึงถึงแนวทางดังต่อไปนี้
1) การทำงานร่วมกันของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลง มีกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน รวมทั้ง ควรมีการทำเกณฑ์วัด (Benchmark) เปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ เพื่อใช้เป็นเป้าหมายในการเพิ่มผลผลิตและมีการจัดลำดับความสำคัญของภารกิจ
2) สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเพิ่มผลผลิต รวมทั้ง มีการศึกษากลยุทธและแนวทางของประเทศที่ประสบความสำเร็จ เพื่อมาปรับใช้เป็นแนวทางการเพิ่มผลผลิตของประเทศ
3) การวางแผนยุทธศาสตร์ควรให้ความสำคัญเรื่องการพิจารณากำหนดเป้าหมายในแต่ละภาคเศรษฐกิจและการกำหนดยุทธศาสตร์รายสาขา โดยใช้ดัชนีชี้วัด (Productivity Index) ในการกำหนดเป้าหมายและการวัดผล
4) กำหนดให้การเพิ่มผลผลิตเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่สำคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
นายสรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม กล่าวต่อไปว่า ผลของการสัมมนาระดมความคิดในการสร้างขบวนการเพิ่มผลผลิตดังกล่าวยังได้สรุปถึงปัจจัยที่จะทำให้การเพิ่มผลผลิตประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย
1) การสร้างจิตสำนึกให้คนในสังคมเข้าใจและยอมรับว่าการเพิ่มผลผลิตเป็นเรื่องสำคัญและเป็นความจำเป็นของประเทศ
2) การสร้างพื้นฐานและความเข้าใจในระบบการศึกษาเพื่อให้เกิดทัศนคติ ความมุ่งมั่น ความรู้และทักษะ
3) การสนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับเงื่อนไขและสภาพของสังคม
4) การปรับโครงสร้างภาคการผลิตไปสู่ขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน
5) การปรับบทบาทของภาครัฐที่จะนำไปสู่การลดอุปสรรคที่ก่อให้เกิดต้นเหตุที่ไม่จำเป็น
6) การมีกลไกระดับชาติที่เป็นแกนหลักในการว่างงานเพื่อเพิ่มผลผลิตของประเทศ
เลขาธิการฯ กล่าวเพิ่มเติมในตอนท้ายว่า คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ให้ความเห็นชอบต่อการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตว่า เห็นควรมอบหมายให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มผลผลิตให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในกระบวนการเพิ่มผลผลิต โดยการให้ความสนับสนุนในเรื่องข้อมูลและบุคลากรในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ รวมทั้งมอบหมายให้ สศช. ร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตของประเทศโดยพิจารณาคัดเลือกสาขาการผลิตเฉพาะที่มีความพร้อมสูงคือ จากภาคอุตสาหกรรมเพื่อจัดทำโครงการนำร่องการเพิ่มผลผลิตต่อไป
--ข่าวการพัฒนา กองศึกษาและเผยแพร่การพัฒนา สนง.คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปีที่ 16 ฉบับที่ 9/กันยายน 2542--