แท็ก
อัตราดอกเบี้ย
- สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นค่อนข้างตึงตัวในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นส่วนใหญ่จึงปิดตลาดสูงขึ้นอย่างไรก็ตาม สภาพคล่องในตลาดเงินปรับสูงขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากมีรายจ่ายเงินเดือนของภาครัฐเข้ามาใน ระบบ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 7 วัน และอัตราดอกเบี้ย Interbank ปิดตลาดลดลง
- มูลค่าการซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทน (Yield ) ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับพันธบัตรฯ สหรัฐฯ
- เงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้นและปลายสัปดาห์ และปรับอ่อนค่าที่สุดในรอบ 8 เดือนที่ระดับ 41.13 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันอังคาร โดยมีปัจจัยกดดันจากการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาคและเงินเยน หลังจากการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องของราคาน้ำมัน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ และการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในกลุ่มยูโร ซึ่งส่งให้เงินยูโรอ่อนค่าลงโดยเปรียบเทียบ
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นค่อนข้างตึงตัวในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีการสำรองสภาพคล่องเพื่อการชำระดุลในระบบบาทเนต เพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้า และเพื่อการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันพุธ ธนาคารพาณิชย์จึงมีความต้องการลงทุนลดลงและมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซี้อคืนระยะ 1 วัน 7 วัน และ 1 เดือน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.46875 - 2.5 2.5 - 2.5625 และ 2.53125 - 2.5625 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน เคลื่อนไหวระหว่างวันในช่วงแคบๆ แต่ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี
อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องในตลาดเงินเริ่มปรับสูงขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้สถาบันการเงินมีความต้องการลงทุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน จึงปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.46875 - 2.5 และ 2.5 - 2.53125 ตามลำดับ แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน และ 1 เดือน ยังคงปิดตลาดในอัตราเดิม ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวลดลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 2.25 - 2.53 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 2.47 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 31,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 6,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 63 และ364 วัน วงเงินรวม 25,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารทุกรุ่นปรับตัวลดลง สอดคล้องกับทิศทางการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนในตลาดรอง มูลค่าซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 89,934 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 17,987 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10 โดยมีการซื้อขายที่เป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 84 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 0-7 basis points ส่วนหนึ่งเป็นการปรับตัวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ สหรัฐ ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) พันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับเพิ่มขึ้น 18 และ 14 basis points ตามลำดับ US Treasury Yield ปรับเพิ่มขึ้นในต้นสัปดาห์ ก่อนจะปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป ลดลง 1-19 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.07 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคงอ่อนค่าลงค่อนข้างมากร้อยละ 0.5 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงค่อนข้างมากจากปลายสัปดาห์ และปรับอ่อนค่าที่สุดตั้งแต่ช่วงปลายเดือนตุลาคม 2547 ที่ระดับ 41.13 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันอังคาร โดยมีปัจจัยกดดันจากการปรับอ่อนค่าของเงินในภูมิภาคและเงินเยน หลังจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นมาก ประกอบกับมีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. เป็นจำนวนมากในตลาดต่างประเทศ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของกลุ่มยูโรเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจภายในกลุ่ม ซึ่งส่งผลให้เงินยูโรปรับอ่อนค่าลง อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ตามการแข็งค่าของเงินเยน ก่อนจะปรับอ่อนลงอีกครั้งในวันศุกร์ เนื่องจากราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ยังคงปรับแข็งค่าขึ้นจากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในการประชุมวันที่ 29 - 30 มิ.ย. นี้ ทั้งนี้ ผู้ว่า ธปท. กล่าวยืนยันว่าค่าเงินบาทในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ จึงไม่มีความจำเป็นต้องแทรกแซงค่าเงินบาทในระยะนี้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าการซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้น อัตราผลตอบแทน (Yield ) ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับพันธบัตรฯ สหรัฐฯ
- เงินบาทอ่อนค่าลงในช่วงต้นและปลายสัปดาห์ และปรับอ่อนค่าที่สุดในรอบ 8 เดือนที่ระดับ 41.13 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันอังคาร โดยมีปัจจัยกดดันจากการอ่อนค่าของเงินในภูมิภาคและเงินเยน หลังจากการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องของราคาน้ำมัน ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ และการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในกลุ่มยูโร ซึ่งส่งให้เงินยูโรอ่อนค่าลงโดยเปรียบเทียบ
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นค่อนข้างตึงตัวในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีการสำรองสภาพคล่องเพื่อการชำระดุลในระบบบาทเนต เพื่อรองรับการเบิกถอนเงินสดของลูกค้า และเพื่อการปิดสำรองสภาพคล่องรายปักษ์ในวันพุธ ธนาคารพาณิชย์จึงมีความต้องการลงทุนลดลงและมีความต้องการกู้ยืมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซี้อคืนระยะ 1 วัน 7 วัน และ 1 เดือน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.46875 - 2.5 2.5 - 2.5625 และ 2.53125 - 2.5625 ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน เคลื่อนไหวระหว่างวันในช่วงแคบๆ แต่ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลงที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี
อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องในตลาดเงินเริ่มปรับสูงขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ ส่งผลให้สถาบันการเงินมีความต้องการลงทุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วัน จึงปิดตลาดลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.46875 - 2.5 และ 2.5 - 2.53125 ตามลำดับ แต่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วัน และ 1 เดือน ยังคงปิดตลาดในอัตราเดิม ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวลดลงมาอยู่ระหว่างร้อยละ 2.25 - 2.53 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 2.47 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 31,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 6,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 63 และ364 วัน วงเงินรวม 25,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารทุกรุ่นปรับตัวลดลง สอดคล้องกับทิศทางการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนในตลาดรอง มูลค่าซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 89,934 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 17,987 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10 โดยมีการซื้อขายที่เป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 84 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ทุกช่วงอายุปรับตัวลดลง 0-7 basis points ส่วนหนึ่งเป็นการปรับตัวตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรฯ สหรัฐ ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) พันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับเพิ่มขึ้น 18 และ 14 basis points ตามลำดับ US Treasury Yield ปรับเพิ่มขึ้นในต้นสัปดาห์ ก่อนจะปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากความกังวลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและระดับราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ ณ สิ้นสัปดาห์อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป ลดลง 1-19 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 41.07 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ยังคงอ่อนค่าลงค่อนข้างมากร้อยละ 0.5 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงค่อนข้างมากจากปลายสัปดาห์ และปรับอ่อนค่าที่สุดตั้งแต่ช่วงปลายเดือนตุลาคม 2547 ที่ระดับ 41.13 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันอังคาร โดยมีปัจจัยกดดันจากการปรับอ่อนค่าของเงินในภูมิภาคและเงินเยน หลังจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นมาก ประกอบกับมีความต้องการซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. เป็นจำนวนมากในตลาดต่างประเทศ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการคาดการณ์การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของกลุ่มยูโรเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจภายในกลุ่ม ซึ่งส่งผลให้เงินยูโรปรับอ่อนค่าลง อย่างไรก็ตาม เงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงกลางสัปดาห์ตามการแข็งค่าของเงินเยน ก่อนจะปรับอ่อนลงอีกครั้งในวันศุกร์ เนื่องจากราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ยังคงปรับแข็งค่าขึ้นจากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในการประชุมวันที่ 29 - 30 มิ.ย. นี้ ทั้งนี้ ผู้ว่า ธปท. กล่าวยืนยันว่าค่าเงินบาทในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ จึงไม่มีความจำเป็นต้องแทรกแซงค่าเงินบาทในระยะนี้
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-