การส่งออกสินค้าเกษตรชะลอตัวลงมาก โดยขยายตัวร้อยละ 2.6 เทียบกับร้อยละ 16.0 ในช่วงครึ่งแรกของปี โดยที่ปริมาณการส่งออกลดลงมาก สินค้าส่งออกที่ลดลงได้แก่ ยางพารา ซึ่งฝนที่ตกชุกทำให้มีน้ำยางออกสู่ตลาดลดลง และมันสำปะหลังส่งออกลดลงจากฐานปริมาณการส่งออกไปยังประเทศจีนที่สูงมากในช่วงเดียวกันปีที่แล้วเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเอทานอล สำหรับสินค้าส่งออกที่ชะลอตัวลง คือ ข้าว ตามภาวะราคาที่อ่อนตัวลง
- การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ขยายตัวได้ดียังเป็นสินค้ากลุ่มเดิมที่ขยายตัวดีในช่วงก่อนหน้า การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 13.8 เทียบกับร้อยละ 19.6 ในช่วงครึ่งแรกของปี โดยสินค้าที่ยังขยายตัวได้ดียังเป็นกลุ่มสินค้าเดิมที่ขยายตัวดีในช่วงก่อนหน้า ได้แก่ คอมพิวเตอร์ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น พัดลม อัญมณีและเครื่องประดับ พลาสติกและผลิตภัณฑ์ รถยนต์นั่งและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์กระดาษ เป็นต้น แต่มีกลุ่มสินค้าที่ชะลอตัวลงเร็ว ได้แก่ เตาไมโครเวฟ เครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์โลหะ รถจักรยานยนต์ วิทยุ ผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น และกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมที่เริ่มลดลงได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และอุปกรณ์สื่อสารเป็นต้น สำหรับการส่งออกโทรทัศน์สี ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ สับปะรดกระป๋อง และเฟอร์นิเจอร์ยังลดลงต่อเนื่อง
- การส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้า ได้รับผลดีจากอุณหภูมิ โลกที่เปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภททำความเย็น อาทิ เครื่องปรับ-อากาศ ตู้เย็นและตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ และพัดลม ขยายตัวได้สูงต่อเนื่อง โดยมีความต้องการเครื่องปรับ-อากาศเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในประเทศแถบยุโรปเนื่องจากภาวะอุณหภูมิโลกที่เปลี่ยนแปลงและทำให้เกิดคลื่นความร้อนในหลายปีที่ผ่านมา และความต้องการตู้เย็นและตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ และพัดลมจากตลาดในเอเชียที่เพิ่มขึ้นมาก อย่างไรก็ตามการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทโทรทัศน์และเครื่องรับวิทยุและส่วนประกอบยังลดลงเนื่องจากการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดหลักลดลงมาก เพราะถูกตัดสิทธิ GSP ที่ให้กับการนำเข้าโทรทัศน์สีจากไทย โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นมาประกอบกับการแข่งขันจากประเทศเกาหลีใต้ที่มีเทคโนโลยีสูงในด้านนี้
- การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ยังขยายตัวดีแม้ว่าการค้าอิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคชะลอตัวลง และภาวะการค้าเซมิคอนดักส์เตอร์โลกชะลอตัวลงมากทั้งนี้เนื่องจากการประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ที่สำคัญและมีสัดส่วนการส่งออกประมาณร้อยละ 40 ของตลาดโลก ประกอบกับการพัฒนาสินค้าประเภทต่างๆ ไปสู่การเป็นสินค้าดิจิตอลมากขึ้น อาทิ เครื่องเสียงกล้องถ่ายรูป โทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรทัศน์ เป็นต้น ทำให้ความต้องการฮาร ดดิสก์ไดรฟ ยังเพิ่มขึ้น
- การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการส่งออกสินค้าสำคัญจากที่เคยพึ่งพิงตลาดหลักไปสู่ตลาดใหม่ช่วยชดเชยการส่งออกไปตลาดหลักที่ชะลอตัวลง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการส่งออกสินค้าสำ คัญ ๆ อาทิอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก รถยนต์ เป็นต้น จากที่เคยพึ่งพิงตลาดหลักไปสู่กลุ่มตลาดใหม่มากขึ้น อาทิ จีน อินเดีย ยุโรปตะวันออก และตะวันออกกลางทำให้สามารถชดเชยการส่งออกไปยังตลาดหลักชะลอตัวลงมาได้
- การนำเข้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในไตรมาสที่สามมูลค่าการนำเข้ารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 โดยทั้งปริมาณและราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 โดยปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นทุกรายการ ยกเว้นปริมาณการนำเข้าน้ำมันที่ลดลง การนำเข้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.4 เป็นการเพิ่มขึ้นตามการส่งออกที่ยังขยายตัวได้และความต้องการภายในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะสินค้าประเภทเหล็กผลิตภัณฑ์โลหะอัญมณีและเครื่องประดับ เคมีภัณฑ์ และชิ้นส่วนแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น สำหรับการนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 โดยปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 ตามการลงทุนในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะสินค้าประเภทเครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องกลการเกษตร ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ทั้งนี้ในเดือนกันยายน มีการนำเข้าเครื่องบินเชิงพาณิชย์ของบริษัทการบินไทย จำนวน 1 ลำ การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคยังคงขยายตัวสูง ซึ่งเป็นผลมาจากค่าเงินบาทที่แข็ง โดยสินค้าในหมวดนี้ที่เพิ่มขึ้นได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์นม เลนซ์แว่นตาและส่วนประกอบ และเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เป็นต้น ส่วนมูลค่าการนำเข้าหมวดเชื้อเพลิงซึ่งประกอบด้วยน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปลดลงร้อยละ 3.3 โดยที่มูลค่านำเข้าน้ำมันดิบลดลงร้อยละ 6.4 แต่มูลค่านำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ทั้งนี้การเปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทนในประเทศทั้ง การใช้แก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซลรวมทั้งเอ็นจีวีเพิ่มขึ้นมีส่วนทำให้ปริมาณการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงรวมลดลงร้อยละ 5.8 และปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบลดลงร้อยละ 3.6 ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 ปริมาณและราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 และ 3.6 ตามลำดับ เป็นการนำเข้าสินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป และสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 13.6 และ 9.1 ตามลำดับ แต่มูลค่านำเข้าเชื้อเพลิงลดลงร้อยละ 3.4 โดยที่การนำเข้าน้ำมันดิบลดลงร้อยละ 8.1 และนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปลดลงร้อยละ 0.1
- ดุลการค้าเกินดุลสูง ไตรมาสที่สามดุลการค้าเกินดุล 2,942 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือประมาณ 100,567 ล้านบาท สำหรับช่วง 9 เดือนแรกของปี ดุลการค้าเกินดุล 8,023 ล้านดอลลาร์สรอ. หรือ 278,914 ล้านบาท
- ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2,928 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือ 99,927 ล้านบาทในไตรมาสที่สามของปี และ 9 เดือนแรกของปีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 9,262 ล้านดอลลาร์ สรอ. คิดเป็นเงิน 323,375 ล้านบาท
- ด้านการผลิต สาขาการผลิตที่ขยายตัวได้ดีขึ้นกว่าในไตรมาสที่สอง ได้แก่ สาขาอุตสาหกรรมที่ขยายตัวร้อยละ 5.8 เทียบกับขยายตัวร้อยละ 4.6 และ 4.5 ในไตรมาสแรกและสองตามลำดับ โดยเป็นการขยายตัวของอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก เช่น การผลิตอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตหัวอ่านข้อมูลเครื่องปรับอากาศ การผลิตรถยนต์นั่งและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และถุงมือยาง เป็นต้น ส่วนอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่ผลิตเพื่อใช้ในประเทศส่วนใหญ่ยังหดตัว เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ ปูนซิเมนต์ เหล็กและผลิตภัณฑ์ และมอเตอร์ไซต์ เป็นต้น สาขาการเงินขยายตัวร้อยละ 8.5 ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 0.6 และ 4.7 ในไตรมาสแรกและสอง สำหรับสาขาการ
ก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 1.4 ชะลอจากไตรมาสที่แล้ว เป็นผลมาจากการชะลอการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐส่วนการก่อสร้างภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นจากที่หดตัวต่อเนื่องในไตรมาสแรกและสอง
สำหรับสาขาเกษตรขยายตัวร้อยละ 4.0 ชะลอตัวจากร้อยละ 7.5 เนื่องจากมีการเร่งเก็บเกี่ยวข้าวในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วเพื่อลดความเสียหายจากภาวะน้ำท่วม และผลผลิตยางที่ลดลงเนื่องจากเกิดฝนตกชุกในแหล่งผลิต 9 เดือนแรก ภาคเกษตร อุตสาหกรรม ก่อสร้าง และบริการและอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 5.0 5.0 1.2 และ 4.1 ตามลำดับ
ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ: เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ อัตราการว่างงานต่ำ และมีเสถียรภาพด้านต่างประเทศ
- เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ ไตรมาสที่สามของปี 2550 เงินเฟ้อทั่วไปเท่ากับร้อยละ 1.6 ลดลงจากเฉลี่ยร้อยละ 2.2 ในช่วงครึ่งแรกของปี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเงินบาทที่แข็งค่าทำให้ต้นทุนนำเข้าสินค้าลดลง โดยเฉพาะราคาสินค้าหมวดขนส่งและสื่อสารลดลง ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ
และราคาสินค้าในหมวดหมวดเคหสถานที่ลดลงจากราคาไฟฟ้าที่ลดลงที่ลดลง เนื่องจากมีการปรับค่า Ft ในช่วงเดือนมิถุนายน — กันยายนลดลง 5 สตางค์ต่อหน่วยอย่างไรก็ตามเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนตุลาคมได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.5 รวมในช่วง 10 เดือนแรกของปีเงินเฟ้อทั่วไปเท่ากับร้อยละ 2.1 เงินเฟ้อพื้นฐาน ในไตรมาสที่สามเท่ากับร้อยละ 0.7 ลดลงจากเฉลี่ยร้อยละ 1.2 ในครึ่งแรกของปี เงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนตุลาคมเท่ากับร้อยละ 1.0 รวมในช่วง 10 เดือนแรกของปีเงินเฟ้อฟื้นฐานเท่ากับร้อยละ 1.0 ดัชนีราคาผู้ผลิต ในไตรมาสที่สามเท่ากับร้อยละ 1.5 และ
ได้เริ่มเพิ่มขึ้นสูงในเดือนสุดท้ายของไตรมาส ดัชนีผู้ผลิตในเดือนตุลาคมเท่ากับร้อยละ 4.4 และในช่วง 10 เดือนแรกของปีเท่ากับร้อยละ 2.2
- การจ้างงานเฉลี่ยในไตรมาสที่ 3 มีจำนวน 37.12 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว โดยผู้มีงานทำภาคเกษตร 15.08 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว เนื่องจากปีนี้ฝนตกตามฤดูกาล และผู้มีงานทำนอกภาคเกษตร 21.63 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 โดยสาขาที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ทั้งนี้อุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นสูง อาทิ การผลิตอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งผลิตภัณฑ์ยาง ซึ่งการส่งออกขยายตัวสูง สาขาโรงแรมและภัตตาคาร และอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจให้เช่าฯ ขยายตัวร้อยละ 4.0 และ 8.8 ตามลำดับสำหรับผู้ประกันตนนั้น ณ สิ้นไตรมาสสามปี 2550 มี จำนวนสถานประกอบการ 380,313 แห่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ
1.9 เทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว และผู้ประกันตน8.79 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 โดยที่สัดส่วนผู้ประกันตนสาขาการค้าและสาขาการผลิตผลิตภัณฑ์จากโลหะคิดเป็นร้อยละ 15.8 และ 12.9 ตามลำดับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 และ 2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
สำหรับอัตราการว่างงานไตรมาสที่สามอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.2 อย่างไรก็ตาม สัดส่วนผู้ว่างงานที่จบปริญญาตรีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 20.6 ของผู้ว่างงานรวม ขณะที่สัดส่วนผู้ว่างงานที่จบอาชีวศึกษาและวิชาชีพชั้นสูงคิดเป็นเพียงร้อยละ 6.3 และ 7.5 ของผู้ว่างงานรวมตามลำดับ แสดงถึงความไม่สอดคล้องระหว่างจำนวนและคุณวุฒิของผู้จบปริญญาตรีกับตำแหน่งงานว่างในตลาดแรงงาน รวมการจ้างงานเฉลี่ย 9 เดือนแรกของปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 และมีอัตราการว่างงานเฉลี่ยร้อยละ 1.5
- การใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมมีการเปลี่ยนไปใช้แก๊สโซฮอล์ ไบโอดีเซล และก๊าซแอลพีจี เพิ่มขึ้น ในไตรมาสที่สามของปีการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ต่อเนื่องจากการเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ในครึ่งแรกของปี โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในหมวดที่สำ คัญ คือปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เทียบกับร้อยละ 0.4 ในช่วงครึ่งแรกของปี โดยที่ปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วและหมุนช้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 และ
การใช้ไบโอดีเซล (บี 5) เพิ่มสูงต่อเนื่องร้อยละ 1,768.3 สำหรับปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 จากปริมาณการใช้แก๊สโซฮอล์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.2 แต่การใช้เบนซิน 91 และ 95 ยังลดลงร้อยละ 4.7 สำหรับการใช้ก๊าซแอลพีจี เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.2 ในขณะที่
การใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 113.29 รวมเก้าเดือนแรกของปีปริมาณการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วและหมุนช้าลดลงร้อยละ 0.08 แต่การใช้ไบโอดีเซล (บี 5) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,335.7 ปริมาณการใช้น้ำมันเบนซิน 91 และ 95 ลดลงร้อยละ 1.7 แต่การใช้แก๊สโซฮอล์ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.0 สำหรับการใช้ก๊าซแอลพีจีและก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6
และ 107.04 ตามลำดับ
- เสถียรภาพต่างประเทศ เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2550 เท่ากับ 82.4 พันล้านดอลลาร์สรอ. หรือคิดเป็นประมาณ 3.8 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น และเท่ากับการนำเข้า 7.3 เดือน
- ฐานะการคลังเกินดุลเงินสด ในไตรมาสที่สี่ของปีงบประมาณ 2550 (ก.ค.- ก.ย. 2550) รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังจำ นวน 386,701.9 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนร้อยละ 11.4 และมีรายจ่ายจำนวน 407,027.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนร้อยละ 13.4 เป็นผลให้ขาดดุลเงินงบประมาณจำนวน 33,520.5 ล้านบาท ซึ่งขาดดุลเพิ่มขึ้น จากไตรมาสเดียวกันของปีงบประมาณก่อนจำ นวน 10,137.1 ล้านบาท และเมื่อรวมกับเกินดุลเงินนอกงบประมาณ 64,491.1 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลเกินดุลเงินสดก่อนกู้จำนวน 30,970.6 ล้านบาท ซึ่งเกินดุลลดลงจำนวน 5,641.7 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 15.4 จากไตรมาสเดียวกันของปีงบประมาณก่อน
เมื่อรวมทั้งปีงบประมาณ 2550 แล้ว รัฐบาลขาดดุลเงินงบประมาณจำนวน 131,238.6 ล้านบาท ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อน จำนวน 75,646.1 ล้านบาท แต่ต่ำกว่าประมาณการซึ่งคาดว่ารัฐบาลจะขาดดุลจำ นวน 146,200 ล้านบาท และเมื่อรวมกับขาดดุลเงินนอก
งบประมาณจำนวน 27,492.8 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดทั้งสิ้น 158,731.4 ล้านบาท ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อน ทั้งนี้ รัฐบาลได้ชดเชยการขาดดุลด้วยการใช้เงินคงคลัง 12,531 ล้านบาท การออกพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 97,115 ล้านบาท และการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 49,085 ล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามการดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2550
- หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2550 มีจำนวน 3.17 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37.84 ของ GDP เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 37.72 ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2550 และต่ำกว่าเมื่อเทียบกับร้อยละ 41.28 ณ สิ้นเดือน กันยายน 2549
ภาวะการเงิน : อัตราดอกเบี้ยลดลง เงินฝากชะลอตัวสินเชื่อขยายตัวดีขึ้น แต่โดยรวมสภาพคล่องยังอยู่ในระดับสูง ตลาดอัตราแลกเปลี่ยนและตลาดหลักทรัพย์มีความผันผวนตามตลาดการเงินโลก โดยเฉลี่ยค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ปรับเพิ่มขึ้น
- อัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับลดลง ในช่วงไตรมาสที่สามคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธปท. มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25 จุด ในเดือนกรกฎาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปี เนื่องจากการใช้จ่ายในประเทศที่ยังฟื้นตัวช้า และอัตราเงินเฟ้อลดต่ำลง แต่ได้คงอัตราดอกเบี้ย
ในเดือนสิงหาคม-ตุลาคม สำ หรับในตลาดการเงินต่างประเทศนั้นธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Fed fund rate เป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี โดยปรับลด 50 จุด จากร้อยละ 5.25 เหลือร้อยละ 4.75 ในเดือนกันยายน และปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25 จุดเหลือร้อยละ 4.50 ในเดือนตุลาคมสำหรับธนาคารกลางกลุ่มประเทศยูโรและญี่ปุ่นคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 4.0 และ 0.5 ตามลำดับ
- อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ระยะสั้นและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในไตรมาสที่สามปรับลดลงตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่เริ่มทรงตัวในเดือนตุลาคมอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนเฉลี่ยของ 5 ธนาคารใหญ่ ลดลงจากร้อยละ 2.38 มาอยู่ที่ร้อยละ 2.13 และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะยาว 12 เดือนปรับลดลงเป็นร้อยละ 2.32 ในเดือนตุลาคม อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ชั้นดีแบบมีระยะเวลา (MLR) ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ
6.99 ณ สิ้นเดือนตุลาคม และอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นในเดือนตุลาคมเทียบกับเดือนมิถุนายน ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะ 12 เดือนที่แท้จริง เป็นอัตราติดลบเท่ากับร้อยละ 0.19 และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่แท้จริงลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.5
(ยังมีต่อ).../เงินฝากของธนาคาร..