(ต่อ4)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สาม และแนวโน้มปี 2550 - 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Friday December 7, 2007 14:46 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

                    4.2.2 ปัจจัยเสี่ยง/ข้อจำกัด
(1) ราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงและผันผวนได้ง่ายเนื่องจากตลาดตึงตัว ซึ่งจะเป็นแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น รวมทั้งจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกให้ชะลอมากกว่าที่คาดไว้ได้คาดว่าราคาน้ำมันดิบดูไบโดยเฉลี่ยในปี 2550 เท่ากับบาร์เรลละ 68.70 ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 จากราคาบาร์เรลละ 61.52 ดอลลาร์ ในปี 2549 ทั้งนี้โดยที่ใน 10 เดือนแรกราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย
เท่ากับ 64.78 ดอลลาร์เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 4 ในเดือนพฤศจิกายนราคาเฉลี่ยเท่ากับ 87 ดอลลาร์ สรอ. และคาดว่าจะยังทรงตัวในระดับสูงในเดือนธันวาคมเนื่องจากอุณหภูมิในช่วงหน้าหนาวในปีนี้จะต่ำกว่าในปีที่ผ่านมา และตลาดน้ำมันยังตึงตัว แม้ว่าจะมีการเพิ่มปริมาณการผลิตในเดือนพฤศจิกายน และOPEC มีท่าทีพร้อมเพิ่มปริมาณการผลิตอีกก็ตาม
ในปี 2551 ราคาน้ำมันดิบโดยเฉลี่ยจะยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงครึ่งแรกของปี และลดลงในครึ่งหลังตามภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและการเพิ่มปริมาณการผลิต โดยคาดว่าราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบดูไบจะอยู่ในช่วง 75 - 80 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล(C)
หมายเหตุ (C) 8 ราคา WTI เท่ากับ 71.36 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ในปี 2550 เทียบกับ 66.02 ดอลลาร์ ในปี 2549 สำหรับในปี 2551 นั้น EIA คาดว่าราคาน้ำมันดิบ WTI จะเพิ่มขึ้นเป็นบาร์เรลละ 80 ดอลลาร์ สรอ. สำหรับน้ำมันดิบเบรนท์นั้น ราคาเฉลี่ยเท่ากับ 72 ดอลลาร์ สรอ. ในปี 2550 สูงกว่าบาร์เรลละ 66.2 ดอลลาร์ ในปี 2549 และในปี 2551 นั้นเป็นที่คาดกันว่าราคาน้ำมันดิบเบรนท์โดยเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นเป็นบาร์เรลละ 84 ดอลลาร์ สรอ.
ปัจจัยที่ทำให้คาดว่าราคาน้ำมันดิบโดยเฉลี่ยจะยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงกว่าในปี 2550 ประกอบด้วยตลาดน้ำมันจะยังตึงตัว เนื่องจากความต้องการในตลาดโลกยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเร็วกว่าปริมาณการผลิตในประเทศผู้ส่งออกน้ำมันนอกกลุ่มโอเปก จึงทำให้เป็นแรงกดดันต่อการผลิตโดยกลุ่มประเทศโอเปก ในขณะที่กำ ลังการผลิตที่พร้อมดำ เนินการได้ทันที (Spare capacity) ของกลุ่มโอเปกมีจำนวนจำกัด และการผลิต
ของกลุ่มโอเปกที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 วันละ 5 แสนบาร์เรลนั้นเป็นปริมาณที่ใกล้เคียงกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มโอเปกเอง
นอกจากนั้นสต็อกของน้ำมันดิบยังอยู่ในระดับต่ำและคาดว่าความต้องการเพื่อสะสมสต็อกจะเพิ่มขึ้นภายใต้เงื่อนไขตลาดน้ำมันที่ตึงตัว รวมทั้งปัญหาการเมืองระหว่างประเทศจะยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะกดดันราคาน้ำมันให้สูงขึ้น นอกจากนี้ค่าเงินดอลลาร์ที่ยังมีแนวโน้มอ่อนลงยังเป็นแรงจูงใจให้กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรักษาระดับราคาน้ำมันไว้ในระดับสูงเนื่องจากประเทศส่งออกน้ำมันหลายประเทศใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ผูกไว้กับค่าเงินดอลลาร์ สรอ. โดยเฉพาะซาอุดิอาระเบียดังนั้นค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนลงจึงกระทบรายรับจากการส่งออกน้ำมัน และภายใต้เงื่อนไขตลาดดังกล่าวการเก็งกำไรน้ำมันจึงยังมีมากและมีส่วนในการสร้างแรงกดดันต่อราคาน้ำมันอีกด้วย
(1.1) ความต้องการใช้ยังเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวมที่ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ในเกณฑ์ดีแม้จะชะลอลงบ้างจากปี 2550 และโดยเฉพาะความต้องการของจีน อินเดีย สหรัฐอเมริกา(D) และรัสเซีย รวมทั้งความต้องการน้ำมันของประเทศในตะวันออกกลางเองจะทำให้ความต้องการใช้น้ำมันดิบ
หมายเหตุ (D) ความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในปี 2550 และจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1.0 ในปี 2551
โดยรวมเพิ่มขึ้น ทั้งนี้กรมสารนิเทศพลังงานของสหรัฐฯ คาดว่าในไตรมาสสุดท้ายของปี 2550ปริมาณความต้องการน้ำมันดิบในตลาดโลกจะสูงกว่าความต้องการในช่วงเดียวกันของปี 2549 ถึง 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน สำหรับในปี 2551 ปริมาณความต้องการน้ำมันในตลาดโลกจะอยู่ที่ระดับ 87.26 ล้านบาร์เรลต่อวันซึ่งเพิ่มขึ้นจากความต้องการในปี 2550 วันละ 1.5 ล้านบาร์เรล ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นวันละ 2.6 ล้านบาร์เรลในปี 2550 และหากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวรุนแรงกว่าที่คาดไว้ อันเนื่องมาจากปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพในตลาดอสังหาริมทรัพย์ในตลาดสหรัฐฯ และผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่ได้เพิ่มขึ้นสูงมากในช่วงปี 2550 ก็อาจจะทำให้ความต้องการเพิ่มขึ้นช้ากว่าที่คาดไว้และช่วยลดแรงกดดันด้านราคาให้ลดลงในครึ่งหลังของปี 2551
(1.2) สถานการณ์ทางด้านการผลิตยังมีข้อจำกัดทั้งในด้านการขุดเจาะซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำและการกลั่นที่เป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำ ในปัจจุบันนับว่ายังเป็นช่วงของการขยายการลงทุนเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตทั้งด้านการขุดเจาะและโรงกลั่นที่คาดว่าจะเริ่มดำเนินการผลิตได้จริงในช่วงปี 2553 - 2555 ดังนั้นกำลังการผลิตส่วนที่เหลืออยู่และพร้อมจะดำเนินการผลิตได้ทันทีภายในระยะเวลา 3 เดือน จึงมีอยู่เพียงประมาณวันละ 2-3 ล้านบาร์เรล(E) ซึ่งเป็นระดับที่ทำให้สถานการณ์ด้านการผลิตยังมีความเสี่ยงจากผลกระทบจากภัยธรรมชาติและปัญหาความไม่สงบอันเกิดจากความขัดแย้งระหว่างประเทศได้ง่าย คาดว่าในไตรมาสสุดท้ายปี 2550 ปริมาณการผลิตของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันนอกกลุ่มโอเปกจะเพิ่มขึ้น 6 แสนบาร์เรลต่อวัน และสำหรับกลุ่มโอเปกที่รวมทั้งประเทศแองโกลาและอิรักจะเพิ่มขึ้น 5.8 แสนบาร์เรลต่อวัน ซึ่งจะมีผลให้ปริมาณการผลิตน้ำมันในตลาดโลกในไตรมาสสุดท้ายปี 2550 เท่ากับ 85.88 ล้านบาร์เรล สูงกว่าระดับ 84.68 ล้านบาร์เรลในช่วงเดียวกันของปี 2549 ประมาณ 1.3 ล้านบาร์เรล สำหรับในปี 2551 คาดว่าปริมาณการผลิตน้ำมันรวมในตลาดโลกจะเท่ากับระดับเฉลี่ย 87.35 ล้านบาร์เรล สูงกว่าปริมาณการผลิตเฉลี่ย 84.80 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2550 ประมาณวันละ 2.55 ล้านบาร์เรล โดยที่ปริมาณการผลิตในครึ่งหลังจะสูงกว่าในครึ่งแรกตามฤดูกาล โดยที่กลุ่มโอเปกที่รวมการผลิตของประเทศแองโกลาและอิรักด้วยจะมีปริมาณการผลิตประมาณวันละ 36.52 ล้านบาร์เรล(E)เพิ่มขึ้นวันละ 1.63 ล้านบาร์เรล และนอกกลุ่มโอเปกมีปริมาณการผลิตวันละ 50.82 ล้านบาร์เรล เพิ่มขึ้นวันละ 9.1 แสนบาร์เรล
(1.3) สต็อกน้ำมันดิบในกลุ่มประเทศ OECD จะยังอยู่ในระดับต่ำกว่าแนวโน้มปกติ คาดว่าปริมาณการสะสมสต็อกของน้ำมันดิบ ณ สิ้นปี 2550 จะอยู่ที่ระดับ 2,550 ล้านบาร์เรล ซึ่งต่ำกว่าระดับ 2,678 ล้านบาร์เรล ณ สิ้นปี 2549 และระดับ 2,638 ล้านบาร์เรล ณ สิ้นไตรมาสสามปี 2550 นี้ โดยที่สถาบันต่าง ๆ คาดการณ์ว่าการสะสมสต็อกจะยังลดลงต่อเนื่องในไตรมาสแรกของปี 2551 ก่อนที่ทยอยเพิ่มขึ้นในไตรมาสสองและสาม ก่อนที่จะลดลงเล็กน้อยตามฤดูกาลในไตรมาสสุดท้ายและอยู่ที่ระดับ 2,556 ล้านบาร์เรล ณ สิ้นปี
หมายเหตุ (E) 10 กำลังการผลิตส่วนเกินที่มีตั้งแต่ปี 2523 เป็นต้นมาทำให้ขาดการลงทุนในด้านโรงกลั่นในช่วงระยะเวลา 25 ปีจนถึงปี 2550 นี้
(1.4) ความเสี่ยงที่มาจากความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ อิหร่าน ความไม่สงบในไนจีเรีย อิรักและเวเนซูเอลา จะกดดันราคาน้ำมันให้สูงขึ้นได้
(1.5) ค่าเงินดอลลาร์ที่ยังมีแนวโน้มอ่อนค่า ทำให้เป็นแรงจูงใจให้ประเทศผู้ผลิตน้ำมันคงราคาน้ำมันไว้ที่ระดับสูงเพื่อชดเชยผลกระทบที่เกิดจากค่าเงินดอลลาร์อ่อนนอกจากนี้ยังเป็นจูงใจให้นักลงทุนหันมาลงทุนและเก็งกำ ไรในตลาดน้ำ มันล่วงหน้ามากขึ้น จึงสร้างแรงกดดันต่อราคาน้ำมันให้ปรับสูงขึ้นได้ง่าย
(2) การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกยังมีความเสี่ยงที่สำคัญที่อาจจะทำให้ชะลอตัวแรงกว่าที่คาดไว้ได้ประกอบด้วย
(2.1) ราคาน้ำมันที่สูงและผันผวนได้ง่าย
(2.2) การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจจะรุนแรงกว่าที่คาดไว้หากผลกระทบจากปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพในภาคอสังหาริมทรัพย์มีความ
ยืดเยื้อตลอดปี 2551 และหากยังมีความเสียหายที่เกิดกับภาคการเงินทั้งในสหรัฐฯ เองและในยุโรปเพิ่มเติม จะทำให้ตลาดการเงินโลกมีความผันผวนได้ง่าย และค่าเงินดอลลาร์ สรอ.อ่อนค่าต่อเนื่อง
(2.3) ความเสี่ยงด้านการเมืองระหว่างประเทศโดยเฉพาะในกรณีสหรัฐฯ และอิหร่าน ที่จะส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมัน และผลกระทบทางจิตวิทยา
ภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯ
ยังคงอยู่ในช่วงการปรับตัวจากผลกระทบจากปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพปริมาณการจำหน่ายบ้านมือสองยังลดต่อเนื่องโดยเฉพาะในประเภทคอนโดเนื่องจากมีข้อจำกัดด้านสินเชื่อมากขึ้น จึงกดดันให้ราคาที่อยู่อาศัยต่ำลง และราคาที่ยังคงลดลงต่อเนื่อง ทำให้ผู้บริโภคยังรอจังหวะเวลาที่คาดว่าราคาจะต่ำลงอีกก่อนที่ตัดสินใจซื้อ จึงทำให้สต็อกบ้านยังอยู่ในระดับสูง ความไม่สมดุลที่มีมากขึ้นระหว่างความต้องการกับอุปทานที่อยู่อาศัยที่มีอยู่ทำให้คาดว่าการปรับตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากผลกระทบหนี้ด้อยคุณภาพจะยังต่อเนื่องไปในปี 2551
(ยังมีต่อ).../4.3 ข้อสมมุติฐาน..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ