(ต่อ5)ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สาม และแนวโน้มปี 2550 - 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Friday December 7, 2007 14:57 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          4.3 ข้อสมมุติฐานการประมาณการเศรษฐกิจปี 2551
4.3.1 เศรษฐกิจโลกในปี 2551 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.5 ชะลอลงจากร้อยละ 4.8 ในปี 2550 ซึ่งเป็นการ
ชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศพัฒนาแล้วเป็นสำคัญโดยคาดว่าเศรษฐกิจโลกยังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ผลกระทบต่อเนื่องของปัญหา
sub-prime ที่ยืดเยื้อไปในปี 2551 การเปลี่ยนแปลงในค่าเงินสกุลหลัก การดำเนินนโยบายเพื่อลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจของประเทศเศรษฐกิจใหม่ (emerging economies) รวมทั้งปัญหาเงินเฟ้อจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
4.3.2 ราคาน้ำ มันดิบดูไบเฉลี่ยจะเท่ากับ 75 - 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งยังเป็นระดับที่สูงเนื่องจากตลาดน้ำมันจะยังตึงตัว คาดว่าราคาน้ำมันดิบจะชะลอลงเล็กน้อยในครึ่งหลังตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ที่คาดว่าจะเริ่มทรงตัวได้ดี
ขึ้นในครึ่งหลังของปี รวมทั้งการปรับเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มประเทศโอเปก
4.4 ประมาณการเศรษฐกิจปี 2551: เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 4.0-5.0 และอัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 3.0-3.5
- ในปี 2551 อุปสงค์ภายในประเทศโดยเฉพาะการลงทุนภาครัฐและภาคเอกชนจะขยายตัวได้ดีขึ้นโดยเฉพาะในครึ่งหลังของปี ประกอบด้วยการลงทุนในระบบรถไฟขนส่งมวลชน การลงทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ได้รับแรงสนับสนุนจากกรอบภาษีรถยนต์ประหยัดพลังงาน (ECO car) และรถยนต์ที่ใช้แก๊สโซฮอล์ (E20) การขยายการลงทุนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตเอทานอล และโครงการผลิตไฟฟ้า IPP เป็นต้น ทั้งนี้โครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนในช่วง 10 เดือนของปี 2550 มีวงเงินลงทุนรวม 538,100 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 213.7 และมีการกระจายตัวไปในกลุ่ม SMEs มากขึ้น เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารเอทานอล และผลิตภัณฑ์พลาสติก เป็นต้น
- การฟื้นตัวของการใช้จ่ายและการลงทุนในประเทศจะช่วยชดเชยผลกระทบจากการส่งออกที่มีแนวโน้มชะลอตัว และการนำเข้าจะเร่งตัวมากขึ้นจากการฟื้นตัวของการลงทุน แรงกดดันจากต้นทุนราคาน้ำมันจะทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 3.0-3.5 อัตรา
การว่างงานจะยังต่ำที่ระดับร้อยละ 1.5-2.0 และดุลบัญชีเดินสะพัดจะยังเกินดุลประมาณ 8,000-10,000 ล้านดอลลาร์ สรอ.
4.5 การประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจในกรณีสูงและกรณีต่ำ
4.5.1 การขยายตัวทางเศรษฐกิจในกรณีสูงร้อยละ 5.0 เศรษฐกิจทั้งปี 2551 จะสามารถขยายตัวในอัตราร้อยละ 5.0 หรือสูงกว่าได้ภายใต้เงื่อนไข (i) เศรษฐกิจโลกขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 4.0 และการส่งออกของไทยเองสามารถปรับตัวและแข่งขันได้ภายใต้ข้อจำกัดที่
มากขึ้นและขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 10.0-12.0 และรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6 - 7 (ii) การเบิกจ่ายภาครัฐเฉลี่ยรวมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 85 ของวงเงินงบประมาณและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ โดยให้ความสำคัญในการเร่งรัดการเบิกจ่ายสำหรับการดำเนินโครงการเพื่อสนับสนุนประชาชนผู้มีรายได้น้อยในการพัฒนาอาชีพ และโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุขและการแก้ปัญหาสังคม และ (iii) ประชาชนและภาค
ธุรกิจมีความเชื่อมั่นมากขึ้นภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลใหม่และกระตุ้นให้การใช้จ่ายครัวเรือนฟื้นตัวกลับสู่แนวโน้มปกติ และภาคธุรกิจขยายการลงทุนโดยเฉพาะในกลุ่มที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแล้ว (iv) ราคาน้ำมันดิบลดลงในครึ่งหลังของปีเนื่องจากมีการปรับ
เพิ่มปริมาณการผลิตของกลุ่มโอเปก และราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีไม่เกินบาร์เรลละ 80 ดอลลาร์สรอ.
4.5.2 การขยายตัวทางเศรษฐกิจในกรณีต่ำร้อยละ 4.0 หรือต่ำกว่า เศรษฐกิจทั้งปี 2550 อาจจะขยายตัวได้ในระดับต่ำร้อยละ 4.0 ในกรณีที่ (i) เศรษฐกิจโลกชะลอตัวแรงกว่าที่คาดและขยายตัวได้ต่ำกว่าร้อยละ 4.0 จากปัญหาราคาน้ำมันและปัญหาหนี้ด้อยคุณภาพที่รุนแรงและยืดเยื้อ ซึ่งจะทำให้การส่งออกและการท่องเที่ยวของไทยขยายตัวได้น้อย (ii) การเบิกจ่ายงบประมาณรัฐบาลและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจต่ำกว่าร้อย
ละ 80 และ (iii) ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีสูงกว่า 80 ดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากความเสี่ยงด้านภัยธรรมชาติและปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ และการสะสมสต็อกของกลุ่มประเทศ OECD ลดต่ำ
4.5.3 คาดว่าโอกาสความน่าจะเป็นที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2551 จะอยู่ในด้านสูงของช่วงการประมาณการมีมากกว่าในด้านต่ำ เนื่องจาก (i) ข้อสมมุติฐานการขยายตัวเศรษฐกิจโลกนั้นได้คำนึงถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และจีน อย่างชัดเจนไว้แล้ว ในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ นั้นเป็นการทรงตัวในระดับที่ได้มีการชะลอตัวไปมากแล้วในปี 2550 (ii) ข้อสมมุติฐานราคาน้ำมันดิบอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับการคาดการณ์โดยสถาบันต่าง ๆ และเมื่อประกอบกับปัจจัยการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกกับท่าทีของกลุ่มโอเปกที่จะเพิ่มปริมาณการผลิต จึงคาดว่าโอกาสที่ราคาน้ำมันดิบดูไบจะสูงกว่าราคาที่คาดการณ์นั้นมีน้อย และ (iii) โอกาสที่การลงทุนจะฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดมีมากกว่าโอกาสที่การลงทุน
จะซบเซา โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากการลงทุนที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมแล้วจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่เพิ่มขึ้นมาก
4.6 องค์ประกอบของการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2551
4.6.1 ด้านอุปสงค์: องค์ประกอบการขยายตัวด้านอุปสงค์มีความสมดุลมากขึ้น โดยที่อุปสงค์ภายในประเทศสนับสนุนการขยายตัวได้มากขึ้นกว่าในปี 2550 ในขณะที่ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการสุทธิสนับสนุนเศรษฐกิจได้น้อยลง โดยมีองค์ประกอบการขยายตัว ดังนี้
(1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภครวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ปรับตัวดีขึ้นจากที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ในปี 2550 โดยที่การใช้จ่ายครัวเรือนขยายตัวร้อยละ 3.5 และการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0
(2) การลงทุนรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 ปรับตัวดีขึ้นเช่นกันจากร้อยละ1.3 ในปี 2550 โดยที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 5.0 และการลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 8.0
(3) มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ชะลอลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 16.0 ในปี 2550 โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 แต่การนำเข้าจะเร่งตัวขึ้นตามภาวะการลงทุนและการใช้จ่ายภายในประเทศโดยจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ10.0 ในปี 2550
(4) คาดว่าดุลการค้าจะเกินดุล 7.3 พันล้านดอลลาร์สรอ. และเมื่อรวมกับดุลบริการที่คาดว่าจะเกินดุลจะส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณ 9.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 3.6 ของ GDP
(5) อัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นในปี 2551 เป็นเฉลี่ยร้อยละ 3.0-3.5 จากแรงกดดันด้านต้นทุนราคาน้ำมัน ราคาวัตถุดิบ และการปรับเพิ่มค่าจ้าง ประกอบกับ ความต้องการสินค้าและบริการในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ในเดือนตุลาคม อัตราเงินเฟ้อได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.5 จากอัตราร้อยละ 2.0 ใน 9 เดือนแรก นอกจากนี้ดัชนีราคาผู้ผลิตกลับมาเพิ่มขึ้นซึ่งจะกลายเป็นแรงกดดันต่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในช่วงต่อไป ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้มีการอนุมัติให้มีการทยอยปรับราคาสินค้าขึ้นไปในหลายรายการโดยที่จะเริ่มมีผลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550 อาทิ ผลิตภัณฑ์นม กาแฟผงสำเร็จรูป น้ำมันพืชน้ำปลา ปลากระป๋อง น้ำอัดลม รถยนต์นั่ง และรถจักรยานยนต์ ในขณะที่ยังมีสินค้าที่กำลังรอปรับราคาเพิ่มเติมอีก เช่น ก๊าซแอลพีจี ผงซักฟอกปุ๋ยเคมี ยางรถยนต์ เป็นต้น
4.6.2 แนวโน้มสถานการณ์ด้านการผลิต: การผลิตภาคเกษตร และอุตสาหกรรมยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ใกล้เคียงกับในปี 2550 สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวและอสังหาริมทรัพย์จะขยายตัวได้ดีกว่าในปี 2550 สำ หรับภาคการเงินคาดว่าสินเชื่อจะขยายตัวได้มากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามสถาบันการเงินต่าง ๆ จะอยู่ในช่วงของการปรับตัวภายใต้บริบทใหม่ของภาคการเงิน ทั้งการนำ BASEL II มาใช้และการใช้พระราชบัญญัติสถาบันประกันเงินฝากเป็นต้น สถานการณ์ด้านการผลิตมีแนวโน้ม ดังนี้
(1) สาขาเกษตรกรรม มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะสินค้าที่สำคัญ เช่น
(1.1) ข้าว การผลิตข้าวของไทยมีแนวโน้มที่ดีเนื่องจากปริมาณน้ำมีเพียงพอ และราคามีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากผลผลิตข้าวในฤดูกาล
ใหม่ของโลกที่กำลังจะออกมีน้อย เป็นผลมาจากประเทศคู่แข่งทางการค้าอย่างเวียดนามลดเป้าส่งออกเพื่อความมั่นคงด้านอาหารของประเทศ ประกอบเกิดภัยพิบัติในเขตพื้นที่เพาะปลูกข้าวของอินเดีย บังคลาเทศ รวมทั้งปัจจัยสนับสนุนจากภาครัฐที่อนุมัติยุทธศาสตร์ข้าวไทย ในปีงบประมาณปี 2551 โดยกำ หนดให้ไทยเป็นผู้นำ คุณภาพข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวเป็นที่หนึ่งของโลก เพื่อเกษตรกรมีรายได้มั่นคง และผู้บริโภคมั่นใจ
(1.2) มันสำ ปะหลัง ทิศทางของผลผลิตมันสำ ปะหลังจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณความต้องการใช้มันสำปะหลังเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะเพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอล อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ประกอบกับความต้องการใช้มันสำปะหลังมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ จึงคาดว่าราคามันสำปะหลังจะยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูงต่อไป
(1.3) ยางพารา ทิศทางปริมาณการผลิตและระดับราคามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณความต้องการการใช้ยางของโลก และการเก็งกำ ไรในตลาดล่วงหน้า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นประกอบกับราคายางสังเคราะห์มีแนวโน้มสูงดังนั้นผู้ประกอบการได้หันมาใช้ยางธรรมชาติมากขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการผลิตถุงมือยาง ยางยืดรัดของ การผลิตยางล้อรถยนต์ซึ่งมีความสอดคล้องกับการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งในประเทศและ
ต่างประเทศ
(1.4) ประมง สถานการณ์การผลิตในปี 2551 จะเน้นการผลิตกุ้งที่มีขนาดใหญ่ หรือประมาณร้อยละ 20 ของการผลิตกุ้งทั้งหมด ซึ่งปัจจัยบวกในปี 2551 คือ การส่งเสริมการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าระหว่างเกษตรกรและห้องเย็น หรือโรงงานผู้ผลิตกุ้งเพื่อการส่งออก ปัจจัยลบต่อการส่งออก เช่น ออสเตรเลีย ได้ประกาศมาตรการวิเคราะห์ความเสี่ยงการนำเข้ากุ้งหรือ IRA โดยกำหนดให้สินค้ากุ้งดิบต้องปลอดโรค เป็นต้น
(2) ภาคอุตสาหกรรม การผลิตเพื่อการส่งออกจะมีแนวโน้มชะลอตัวตามภาวะการส่งออกเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญมีแนวโน้มชะลอตัว แต่การผลิตเพื่อการบริโภคภายในประเทศปรับตัวดีขึ้นตาม การบริโภ คแ ละการลงทุนภายในประเทศ อุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มขยายตัวดีเช่นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ ปิโตรเคมีเคมีภัณฑ์ และกระดาษ สำหรับในปี 2551 ปัจจัยที่ต้องดูแล คือ การปรับตัวของวิสาหกิจขนาดเล็กขนาดย่อมในเรื่องมาตรฐานคุณภาพสินค้า และการปรับตัวภายใต้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตของโลกอย่างต่อเนื่องที่ทำให้มีการแข่งขันจากผู้ผลิตที่ต้นทุนต่ำ เช่น จีน อินเดีย และเวียดนาม เป็นต้นและผลกระทบราคาน้ำ มันที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นรวมทั้งจะต้องเร่งดำเนินการเรื่องการพัฒนาทักษะ
ฝีมือแรงงานเนื่องจากการขาดแคลนแรงงานมีฝีมือในหลายอุตสาหกรรม
(3) สาขาการก่อสร้าง แนวโน้มปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะการก่อสร้างที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เนื่องจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคต่อการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันทำให้อุปสงค์ต่อโครงการที่อยู่อาศัยใกล้ ๆ แนวเส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น และการก่อสร้างอาคารสำนักงานและอาคารโรงงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวอยู่
(4) สาขาบริการท่องเที่ยว ในปี 2551 ได้กำหนดเป้าหมายนักท่องเที่ยว 15.7 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก14.8 ล้านคนในปี 2550 มีการคาดการณ์รายได้ 600,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 547,500 ล้านบาทในปี 2550 ซึ่งแนวทางการดำเนินงาน คือ เน้นส่งเสริมตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพ มุ่งเน้นรายได้มากกว่าจำนวนนักท่องเที่ยว โดย ใช้ระบบ EMarketing ควบคู่กับการทำตลาดในลักษณะดั้งเดิมขยายตลาดสู่กลุ่มเป้าหมายที่มีคุณภาพ และรักษาฐานตลาดเดิม
(ยังมีต่อ).../5. การบริหาร..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ