5. การบริหารจัดการเศรษฐกิจในปี 2551:
ในปี 2551 การบริหารจัดการเศรษฐกิจภายใต้รัฐบาลใหม่ จะต้องดำเนินการทั้งในด้านการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจภายใต้ภาวะ
ราคาน้ำมันแพงและเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และการเตรียมปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่จะรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้มีความยั่งยืนได้ใน
ระยะยาวบนแนวทางหลักที่สำคัญอันประกอบด้วย การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การสร้างและเพิ่มคุณค่าของสินค้าเพื่อการแข่งขัน การเพิ่มประสิทธิภาพ
การใช้พลังงาน การสร้างฐานเศรษฐกิจในประเทศ (domestic economy) และการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและการส่งเสริมการอยู่ดีมีสุขของ
ประชาชน โดยแนวทางการบริหารจัดการดังนี้
5.1 สร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคการลงทุน โดยเฉพาะเร่งรัดการแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของการลงทุนของภาคเอกชน
และการสานต่อนโยบายด้านการลงทุนภาครัฐให้มีความต่อเนื่องเพื่อสร้างพื้นฐานการขยายตัวและการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจในระยะยาว
ที่สำคัญคือ
5.1.1 เร่งรัดโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสให้เกิดการขยายตัวของธุรกิจเกี่ยวเนื่อง เช่น
การก่อสร้างและภาคอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้โดยเร่งรัดโครงการรถไฟและรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้สามารถเปิดประมูลได้ทั้ง 5 สายทางภายในสิ้นปี 2551
5.1.2 เร่งรัดกระบวนการของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของภาคเอกชนเพื่อให้โครงการลงทุนสามารถเริ่มดำเนินการได้ภายในปีนี้
ที่สำคัญได้แก่ โครงการที่รอการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และติดตามเร่งรัดโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการส่งเสริม
การลงทุนแล้วให้เปิดดำเนินการได้ตามกำหนด เป็นต้น รวมทั้งการกำหนดแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้เพื่อรองรับการเจริญเติบโตด้าน
อุตสาหกรรม
5.2 เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2551 ของภาครัฐให้สามารถเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 94 สำหรับ
งบประมาณรัฐบาล และร้อยละ 90 สำหรับงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ โดยใช้กลไกการกำกับดูแลภายใต้คณะกรรมการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรัฐบาล ที่มี
การกำหนดกรอบการรายงานผลความคืบหน้าของการดำเนินงานและการลงทุนที่ชัดเจนและเป็นระบบ โดยเฉพาะในโครงการ ดังนี้
- การดำเนินงานภายใต้กรอบการเสริมสร้างประสิทธิภาพแห่งชาติให้มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการผลักดันแผนแม่บทการพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา วงเงิน 3,272.47 ล้านบาท
- การดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขวงเงิน 15,000 ล้านบาท
- แผนงานงบประมาณเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และการพัฒนาพลังงานทดแทน
- แผนแม่บทการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศระยะเร่งด่วน
- แผนปฏิบัติการสร้างธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมบริเวณมาบตาพุด วงเงิน 613.7 ล้านบาท
- แผนงานงบประมาณในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างบูรณาการ
5.3 ส่งเสริมการส่งออกในตลาดใหม่โดยเฉพาะในตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก รวมทั้งการดูแลมาตรฐานสินค้าโดย
เฉพาะสินค้าอาหารอย่างเข้มงวดโดยเฉพาะในปี 2551 กฎเกณฑ์คุณภาพสินค้าในตลาดต่างประเทศมีความเข้มงวดมากขึ้น อาทิ กฎหมายอาหารปลอดภัย
ของสหรัฐฯ กฎระเบียบ REACH ของสหภาพยุโรปซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2550 มาตรการ IRA ของออสเตรเลียในการนำเข้ากุ้ง
และผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
5.4 ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ฟื้นตัวจากภาวะการชะลอตัวในปี 2550 โดยเฉพาะการรักษาความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยวการดำเนินงาน
ตามแผนงานเพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การตลาด บุคลากรด้านการท่องเที่ยว และการสร้างกระแสกิจกรรมหลัก ประเภทกิจกรรมส่ง
เสริมและเผยแพร่กิจกรรมเที่ยวในประเทศ กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และกิจกรรมการท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต รวมทั้งการจัดทำนโยบาย
เชิงรุกการท่องเที่ยววิถีไทยต้านภัยโลกร้อน
5.5 ผลักดันมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและรณรงค์การใช้พลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องรวมทั้งการกำหนด
กรอบนโยบายด้านพลังงานในภาพรวมของประเทศให้มีความชัดเจน เช่น แผนการใช้ E10/95 E10/91 E20/95 B2 และ B5 เป็นต้น
5.6 กำหนดกลไกในการดูแลและสนับสนุนการปรับตัวของภาคธุรกิจรายสาขาและวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม ที่ได้รับผลกระทบจากการ
เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตในตลาดโลก อาทิ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องหนัง เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2550 - 2551
ข้อมูลจริง ประมาณการ
ปี 2550_f ปี 2551_f
2548 2549_p 3 ก.ย.50 3 ธ.ค.50 3 ธ.ค.50
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท) 7,095.6 7,830.3 8,417.6 8,386.3 8,433.2
รายได้ต่อหัว (บาทต่อคนต่อปี) 109,440.9 120,763.4 128,152.6 127,064.0 127,800
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 176.2 206.6 240.5 243.1 255.6
รายได้ต่อหัว (ดอลลาร์ สรอ. ต่อหัวต่อปี) 2,715 3,186.4 3,672.6 3,683.0 3,872.7
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่, %) 4.5 5.1 4.0-4.5 4.5 4.0-5.0
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่, %) 10.6 3.8 1.5 1.3 5.8
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 10.6 3.7 1.0 0.3 5.0
ภาครัฐ (ณ ราคาคงที่, %) 10.8 3.9 3.0 4.5 8.0
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่, %) 5.3 3.0 2.6 3.1 4.5
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 4.5 3.2 1.7 1.9 3.5
ภาครัฐบาล (ณ ราคาคงที่, %) 10.8 2.3 7.8 10.2 10.0
ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 3.9 8.5 7.3 6.7 4.1
มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 109.2 127.9 144.5 148.4 163.9
อัตราการขยายตัว (%) 15.0 17.1 13.0 16.0 10.0
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 4.3 9.0 8.5 7.4 4.0
ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 8.7 2.6 3.4 2.8 4.4
มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 117.7 126.0 135.4 138.6 155.9
อัตราการขยายตัว (%) 25.9 7.0 7.5 10.0 12.5
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 8.9 -0.8 3.0 2.0 4.0
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) -8.5 1.9 9.1 9.8 7.3
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 1/ -7.9 3.2 9.8 12.0 9.3
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) -4.4 1.5 4.1 4.9 3.6
เงินเฟ้อ (%)
ดัชนีราคาผู้บริโภค 4.5 4.7 2.0-2.5 2.3 3.0-3.5
GDP Deflator 4.5 5.0 3.3 2.6 3.0-3.5
อัตราการว่างงาน 1.8 1.5 1.5-2.0 1.5 1.5
ที่มา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 3 ธันวาคม 2550
หมายเหตุ 1/ Reinvested earnings has been recorded as part of FDI in Financial account, and its
contra entry recorded as income on equity in current account.
ตลาดน้ำมันโลกตึงตัวในปี 2550-2551
ความต้องการในตลาดโลกเพิ่มขึ้น และเพิ่มขึ้นเร็วในประเทศกำลังพัฒนาที่เศรษฐกิจขยายตัวเร็ว เช่น จีน อินเดีย และตะวันออก
กลางเอง
Annual Consumption (Million barrels)
China U.S. Other World
1999 4.364 19.519 51.781 75.665
2000 4.797 19.701 52.164 76.661
2001 4.918 19.649 52.836 77.402
2002 5.162 19.762 53.116 78.041
2003 5.580 20.034 54.003 79.617
2004 6.438 20.731 55.165 82.334
2005 6.721 20.802 56.132 83.655
2006 7.273 20.687 56.700 84.661
2007 7.679 20.791 57.332 85.801
2008 8.148 20.995 58.118 87.260
....แต่ปริมาณการผลิตน้ำมันในปี 2550 เพิ่มขึ้นไม่ทันกับความต้องการ เพราะ OPEC อังกฤษ และนอร์เวย์ ลดปริมาณการผลิต
Annual Production (Million barrels)
Region / Country 2005 2006 2007 2008
World Total 84.631 84.603 84.798 87.345
OPEC Countries 35.560 35.295 34.887 36.524
North America 15.198 15.326 15.409 15.589
Canada 3.092 3.288 3.416 3.598
Mexico 3.784 3.707 3.530 3.316
United States 8.322 8.331 8.463 8.675
Russia and Caspian Sea 11.489 11.890 12.369 12.788
Russia 9.513 9.677 9.887 10.064
Kazakhstan 1.338 1.388 1.445 1.535
Latin America 4.410 4.559 4.635 4.979
Brazil 2.038 2.166 2.321 2.712
Other Latin America 0.499 0.510 0.475 0.476
North Sea 5.177 4.780 4.574 4.330
Norway 2.978 2.786 2.607 2.539
United Kingdom 1.771 1.602 1.594 1.428
Other Non-OPEC 12.798 12.755 12.923 13.135
...และปริมาณสต็อกน้ำมันของประเทศสหรัฐฯ และกลุ่มประเทศ OECD ลดลงต่ำกว่าระดับเฉลี่ยปกติ และกำลังการผลิตส่วนเกินของ
OPEC อยู่ในระดับต่ำกว่าระดับเฉลี่ย 2.84 ล้านบาร์เรลต่อวันตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา
OPEC Surplus Crude Oil Production Capacity
Surplus Capacity
1996 2.36
1997 2.12
1998 3.21
1999 5.02
2000 3.11
2001 4.10
2002 5.64
2003 1.92
2004 1.27
2005 1.02
2006 1.47
2007 2.22
2008 2.37
Avg.1996-2008 2.84
.....ประกอบกับปัจจัยอื่น ๆ ทั้งผลกระทบภัยธรรมชาติต่อฐานการผลิต ความไม่สงบในประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ความกังวลเรื่องความขัดแย้ง
ระหว่างประเทศ และการเก็งกำไรบนจุดอ่อนโครงสร้างตลาดน้ำมันตึงตัวและค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวต่อเนื่อง
ปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อราคาน้ำมันดิบ
- แรงกดดันจากเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง ที่ทำให้ OPEC ซึ่งมีอัตราแลกเปลี่ยนผูกกับเงินดอลลาร์ สรอ. คงราคาน้ำมันไว้ที่ระดับสูง
- ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศผู้ผลิตน้ำมันเช่น อิรัก เวเนซูเอล่า และไนจีเรีย ทำให้ไม่สามารถผลิตน้ำมันได้เต็ม
กำลัง
- ภาวะอากาศที่แปรปรวน อาทิ พายุเฮอร์ริเคนที่มีความรุนแรงขึ้นทุกปีและส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำมันในอ่าวเม็กซิโก
- การเก็งกำไรของ Trader and Hedge Fund ในตลาดน้ำมัน
..........ค่าเงินที่แข็งขึ้นลดผลกระทบราคาน้ำมันในประเทศที่ค่าเงินแข็งขึ้น.........
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
ในปี 2551 การบริหารจัดการเศรษฐกิจภายใต้รัฐบาลใหม่ จะต้องดำเนินการทั้งในด้านการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจภายใต้ภาวะ
ราคาน้ำมันแพงและเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และการเตรียมปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่จะรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้มีความยั่งยืนได้ใน
ระยะยาวบนแนวทางหลักที่สำคัญอันประกอบด้วย การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การสร้างและเพิ่มคุณค่าของสินค้าเพื่อการแข่งขัน การเพิ่มประสิทธิภาพ
การใช้พลังงาน การสร้างฐานเศรษฐกิจในประเทศ (domestic economy) และการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนและการส่งเสริมการอยู่ดีมีสุขของ
ประชาชน โดยแนวทางการบริหารจัดการดังนี้
5.1 สร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคการลงทุน โดยเฉพาะเร่งรัดการแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของการลงทุนของภาคเอกชน
และการสานต่อนโยบายด้านการลงทุนภาครัฐให้มีความต่อเนื่องเพื่อสร้างพื้นฐานการขยายตัวและการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจในระยะยาว
ที่สำคัญคือ
5.1.1 เร่งรัดโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสให้เกิดการขยายตัวของธุรกิจเกี่ยวเนื่อง เช่น
การก่อสร้างและภาคอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้โดยเร่งรัดโครงการรถไฟและรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้สามารถเปิดประมูลได้ทั้ง 5 สายทางภายในสิ้นปี 2551
5.1.2 เร่งรัดกระบวนการของภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของภาคเอกชนเพื่อให้โครงการลงทุนสามารถเริ่มดำเนินการได้ภายในปีนี้
ที่สำคัญได้แก่ โครงการที่รอการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และติดตามเร่งรัดโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการส่งเสริม
การลงทุนแล้วให้เปิดดำเนินการได้ตามกำหนด เป็นต้น รวมทั้งการกำหนดแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งภาคใต้เพื่อรองรับการเจริญเติบโตด้าน
อุตสาหกรรม
5.2 เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2551 ของภาครัฐให้สามารถเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมายอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 94 สำหรับ
งบประมาณรัฐบาล และร้อยละ 90 สำหรับงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ โดยใช้กลไกการกำกับดูแลภายใต้คณะกรรมการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรัฐบาล ที่มี
การกำหนดกรอบการรายงานผลความคืบหน้าของการดำเนินงานและการลงทุนที่ชัดเจนและเป็นระบบ โดยเฉพาะในโครงการ ดังนี้
- การดำเนินงานภายใต้กรอบการเสริมสร้างประสิทธิภาพแห่งชาติให้มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการผลักดันแผนแม่บทการพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา วงเงิน 3,272.47 ล้านบาท
- การดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขวงเงิน 15,000 ล้านบาท
- แผนงานงบประมาณเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และการพัฒนาพลังงานทดแทน
- แผนแม่บทการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศระยะเร่งด่วน
- แผนปฏิบัติการสร้างธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมบริเวณมาบตาพุด วงเงิน 613.7 ล้านบาท
- แผนงานงบประมาณในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างบูรณาการ
5.3 ส่งเสริมการส่งออกในตลาดใหม่โดยเฉพาะในตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก รวมทั้งการดูแลมาตรฐานสินค้าโดย
เฉพาะสินค้าอาหารอย่างเข้มงวดโดยเฉพาะในปี 2551 กฎเกณฑ์คุณภาพสินค้าในตลาดต่างประเทศมีความเข้มงวดมากขึ้น อาทิ กฎหมายอาหารปลอดภัย
ของสหรัฐฯ กฎระเบียบ REACH ของสหภาพยุโรปซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2550 มาตรการ IRA ของออสเตรเลียในการนำเข้ากุ้ง
และผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
5.4 ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ฟื้นตัวจากภาวะการชะลอตัวในปี 2550 โดยเฉพาะการรักษาความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยวการดำเนินงาน
ตามแผนงานเพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การตลาด บุคลากรด้านการท่องเที่ยว และการสร้างกระแสกิจกรรมหลัก ประเภทกิจกรรมส่ง
เสริมและเผยแพร่กิจกรรมเที่ยวในประเทศ กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และกิจกรรมการท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต รวมทั้งการจัดทำนโยบาย
เชิงรุกการท่องเที่ยววิถีไทยต้านภัยโลกร้อน
5.5 ผลักดันมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและรณรงค์การใช้พลังงานทางเลือกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องรวมทั้งการกำหนด
กรอบนโยบายด้านพลังงานในภาพรวมของประเทศให้มีความชัดเจน เช่น แผนการใช้ E10/95 E10/91 E20/95 B2 และ B5 เป็นต้น
5.6 กำหนดกลไกในการดูแลและสนับสนุนการปรับตัวของภาคธุรกิจรายสาขาและวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม ที่ได้รับผลกระทบจากการ
เปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตในตลาดโลก อาทิ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องหนัง เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
ประมาณการเศรษฐกิจปี 2550 - 2551
ข้อมูลจริง ประมาณการ
ปี 2550_f ปี 2551_f
2548 2549_p 3 ก.ย.50 3 ธ.ค.50 3 ธ.ค.50
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านบาท) 7,095.6 7,830.3 8,417.6 8,386.3 8,433.2
รายได้ต่อหัว (บาทต่อคนต่อปี) 109,440.9 120,763.4 128,152.6 127,064.0 127,800
GDP (ณ ราคาประจำปี: พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 176.2 206.6 240.5 243.1 255.6
รายได้ต่อหัว (ดอลลาร์ สรอ. ต่อหัวต่อปี) 2,715 3,186.4 3,672.6 3,683.0 3,872.7
อัตราการขยายตัวของ GDP (ณ ราคาคงที่, %) 4.5 5.1 4.0-4.5 4.5 4.0-5.0
การลงทุนรวม (ณ ราคาคงที่, %) 10.6 3.8 1.5 1.3 5.8
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 10.6 3.7 1.0 0.3 5.0
ภาครัฐ (ณ ราคาคงที่, %) 10.8 3.9 3.0 4.5 8.0
การบริโภครวม (ณ ราคาคงที่, %) 5.3 3.0 2.6 3.1 4.5
ภาคเอกชน (ณ ราคาคงที่, %) 4.5 3.2 1.7 1.9 3.5
ภาครัฐบาล (ณ ราคาคงที่, %) 10.8 2.3 7.8 10.2 10.0
ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 3.9 8.5 7.3 6.7 4.1
มูลค่าการส่งออกสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 109.2 127.9 144.5 148.4 163.9
อัตราการขยายตัว (%) 15.0 17.1 13.0 16.0 10.0
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 4.3 9.0 8.5 7.4 4.0
ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการ (ปริมาณ, %) 8.7 2.6 3.4 2.8 4.4
มูลค่าการนำเข้าสินค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 117.7 126.0 135.4 138.6 155.9
อัตราการขยายตัว (%) 25.9 7.0 7.5 10.0 12.5
อัตราการขยายตัว (ปริมาณ, %) 8.9 -0.8 3.0 2.0 4.0
ดุลการค้า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) -8.5 1.9 9.1 9.8 7.3
ดุลบัญชีเดินสะพัด (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) 1/ -7.9 3.2 9.8 12.0 9.3
ดุลบัญชีเดินสะพัดต่อ GDP (%) -4.4 1.5 4.1 4.9 3.6
เงินเฟ้อ (%)
ดัชนีราคาผู้บริโภค 4.5 4.7 2.0-2.5 2.3 3.0-3.5
GDP Deflator 4.5 5.0 3.3 2.6 3.0-3.5
อัตราการว่างงาน 1.8 1.5 1.5-2.0 1.5 1.5
ที่มา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 3 ธันวาคม 2550
หมายเหตุ 1/ Reinvested earnings has been recorded as part of FDI in Financial account, and its
contra entry recorded as income on equity in current account.
ตลาดน้ำมันโลกตึงตัวในปี 2550-2551
ความต้องการในตลาดโลกเพิ่มขึ้น และเพิ่มขึ้นเร็วในประเทศกำลังพัฒนาที่เศรษฐกิจขยายตัวเร็ว เช่น จีน อินเดีย และตะวันออก
กลางเอง
Annual Consumption (Million barrels)
China U.S. Other World
1999 4.364 19.519 51.781 75.665
2000 4.797 19.701 52.164 76.661
2001 4.918 19.649 52.836 77.402
2002 5.162 19.762 53.116 78.041
2003 5.580 20.034 54.003 79.617
2004 6.438 20.731 55.165 82.334
2005 6.721 20.802 56.132 83.655
2006 7.273 20.687 56.700 84.661
2007 7.679 20.791 57.332 85.801
2008 8.148 20.995 58.118 87.260
....แต่ปริมาณการผลิตน้ำมันในปี 2550 เพิ่มขึ้นไม่ทันกับความต้องการ เพราะ OPEC อังกฤษ และนอร์เวย์ ลดปริมาณการผลิต
Annual Production (Million barrels)
Region / Country 2005 2006 2007 2008
World Total 84.631 84.603 84.798 87.345
OPEC Countries 35.560 35.295 34.887 36.524
North America 15.198 15.326 15.409 15.589
Canada 3.092 3.288 3.416 3.598
Mexico 3.784 3.707 3.530 3.316
United States 8.322 8.331 8.463 8.675
Russia and Caspian Sea 11.489 11.890 12.369 12.788
Russia 9.513 9.677 9.887 10.064
Kazakhstan 1.338 1.388 1.445 1.535
Latin America 4.410 4.559 4.635 4.979
Brazil 2.038 2.166 2.321 2.712
Other Latin America 0.499 0.510 0.475 0.476
North Sea 5.177 4.780 4.574 4.330
Norway 2.978 2.786 2.607 2.539
United Kingdom 1.771 1.602 1.594 1.428
Other Non-OPEC 12.798 12.755 12.923 13.135
...และปริมาณสต็อกน้ำมันของประเทศสหรัฐฯ และกลุ่มประเทศ OECD ลดลงต่ำกว่าระดับเฉลี่ยปกติ และกำลังการผลิตส่วนเกินของ
OPEC อยู่ในระดับต่ำกว่าระดับเฉลี่ย 2.84 ล้านบาร์เรลต่อวันตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา
OPEC Surplus Crude Oil Production Capacity
Surplus Capacity
1996 2.36
1997 2.12
1998 3.21
1999 5.02
2000 3.11
2001 4.10
2002 5.64
2003 1.92
2004 1.27
2005 1.02
2006 1.47
2007 2.22
2008 2.37
Avg.1996-2008 2.84
.....ประกอบกับปัจจัยอื่น ๆ ทั้งผลกระทบภัยธรรมชาติต่อฐานการผลิต ความไม่สงบในประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ความกังวลเรื่องความขัดแย้ง
ระหว่างประเทศ และการเก็งกำไรบนจุดอ่อนโครงสร้างตลาดน้ำมันตึงตัวและค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวต่อเนื่อง
ปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อราคาน้ำมันดิบ
- แรงกดดันจากเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง ที่ทำให้ OPEC ซึ่งมีอัตราแลกเปลี่ยนผูกกับเงินดอลลาร์ สรอ. คงราคาน้ำมันไว้ที่ระดับสูง
- ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศผู้ผลิตน้ำมันเช่น อิรัก เวเนซูเอล่า และไนจีเรีย ทำให้ไม่สามารถผลิตน้ำมันได้เต็ม
กำลัง
- ภาวะอากาศที่แปรปรวน อาทิ พายุเฮอร์ริเคนที่มีความรุนแรงขึ้นทุกปีและส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำมันในอ่าวเม็กซิโก
- การเก็งกำไรของ Trader and Hedge Fund ในตลาดน้ำมัน
..........ค่าเงินที่แข็งขึ้นลดผลกระทบราคาน้ำมันในประเทศที่ค่าเงินแข็งขึ้น.........
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-