-ภาคการเงินมีเงินฝากขยายตัวเร่งขึ้นตามอัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่สินเชื่อภาคเอกชนชลอตัวทำให้สภาพคล่องในรบบบสถาบันการเงินยังทรงตัวในระดับสูง
- เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 ตามการปรับตัวของอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ในขณะที่สินเชื่อภาคเอกชนชะลอตัวลง ทำให้สภาพคล่องในระบบสถาบันการเงินกลับมาทรงตัวในระดับสูง โดยสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากลดลงจากร้อยละ 95.5เมื่อสิ้นไตรมาสสองเป็นร้อยละ 94.4 เมื่อสิ้นไตรมาสสาม
- แม้ว่าสภาพคล่องในระบบธนาคารยังทรงตัวในระดับสูง แต่การส่งผ่านนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยจากการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปยังอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากของธนาคารพาณิชย์เริ่มมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 5 แห่ง ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเพิ่มขึ้น และปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากระยะ ยาวขึ้นมากกว่าเงินฝากระยะสั้น
- NPLs ณ สิ้นไตรมาสที่สาม มีมูลค่ารวม 576.5 พันล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 9.93 ของสินเชื่อรวม NPLs ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 10.33 ในไตรมาสที่ผ่านมา
- ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่สอง ทั้งมูลค่าการซื้อขายและดัชนีราคา โดยดัชนีราคา
ตลาดหลักทรัพย์ปิดตลาด ณ สิ้นไตรมาส ที่ 723.23 จุด เพิ่มขึ้นจาก 675.50 จุดในไตรมาสที่แล้ว
- อัตราแลกเปลี่ยนอ่อนค่าลงเล็กน้อยแต่ยังมีเสถียรภาพ เงินบาทมีค่าเฉลี่ยในไตรมาสามเท่ากับ 41.29 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากค่าเฉลี่ย 40.13 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ในไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 3.1 โดยเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นในช่วงปลายไตรมาสที่สามจากการที่ดุลบัญชีเดินสะพัดกลับมาเกินดุลและอัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
- แนวโน้มเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายปี 2548 คาดว่าเศรษฐกิจจะยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสที่สาม เนื่องจาก (1) การส่งออกที่มีแนวโน้มดีขึ้นโดยเฉพาะการส่งออกในกลุ่มอาหาร สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ยางพารา และสินค้ากลุ่มอื่น ๆ ประเภทของใช้ในบ้าน สบู่และเครื่องสำอาง (2) การบริหารการนำเข้าอย่างมีประสิทธิภาพส่งผลให้การนำเข้าชะลอตัว และ (3) การท่องเที่ยวฟื้นตัวมากขึ้นและทำให้ดุลบริการมีการเกินดุลต่อเนื่อง
- นอกจากนี้การดำเนินมาตรการเพื่อสร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปีจะยังคงช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้าย มาตรการที่สำคัญได้แก่ การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบรัฐบาล กองทุนเพื่อการพัฒนาศักยภาพระดับหมู่บ้าน (กองทุน SML) การเพิ่มค่าจ้างแรงงานและเงินเดือนข้าราชการ การสนับสนุนการใช้ NGV และจัดศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix IT Centers)
ซึ่งจะช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักร เครื่องมือ และอุปกรณ์ และทำให้ประหยัดรายจ่ายการนำเข้า และ นับ ว่าการใช้ จ่ายของรัฐ บา ลยั งมีลั กษณะ ที่เอื้ออำนวยต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งในด้านปริมาณการใช้จ่ายและการลงทุนที่เพิ่มขึ้น และมีองค์ประกอบของการใช้จ่ายที่มีลักษณะกระตุ้นเศรษฐกิจจากฐานราก ทั้งการปรับเพิ่มเงินเดือนและค่าจ้าง การใช้จ่ายในการดำเนินโครงการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด และการใช้จ่ายในการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านหรือชุมชน
(ยังมีต่อ).../1.การปรับ..