เมื่อ 10 มิ.ย. 48 สศช. ธนาคารโลก และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ได้ร่วมกันจัดการสัมมนาเพื่อนำเสนอผลการวิเคราะห์เบื้องต้น เรื่อง “โครงการสำรวจระดับการเพิ่มผลผลิต และบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทย” ซึ่งจัดทำโดยธนาคารโลก ณ โรงแรม อินเตอร์คอนติเนนทัล
รศช.อาคม เติมพิทยาไพสิฐ ในฐานะประธานการสัมมนา กล่าวว่าการสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลตามโครงการการสำรวจระดับการเพิ่มผลผลิตและบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทย (Thailand: PICS 2003) ซึ่ง สศช. ได้มอบให้สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติรับดำเนินการ โดยมีธนาคารโลกเป็นที่ปรึกษาด้านเทคนิคในการจัดทำแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำรายงาน มีระยะเวลาดำเนินงานระหว่าง ม.ค.47- ส.ค.48 สำรวจข้อมูลจากผู้ประกอบการ 1,500 รายทั่วประเทศ
ธนาคารโลกได้วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ โดยผลการวิเคราะห์มีสาระสำคัญ ดังนี้
- บรรยากาศการลงทุนของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี และดีกว่าประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศยกเว้นประเทศมาเลเซีย ด้านกฎ ระเบียบของทางราชการที่ประเทศไทยดำเนินการได้ดี ได้แก่ กระบวนการศุลกากรของสินค้าส่งออกใช้ระยะเวลาสั้นที่สุดเมื่อเทียบกับต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เข้มงวดเข้าไปตรวจสอบสถานประกอบการบ่อยครั้งมากนักซึ่งเป็นข้อดี สำหรับโครงสร้างพื้นฐานและบริการสนับสนุนของประเทศไทยที่ยังเป็นอุปสรรค เช่น จำนวนวันที่กระแสไฟฟ้าที่ดับถือว่าบ่อยมาก แต่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการผลิต/ผลผลิตในระดับที่ต่ำกว่าประเทศอื่นๆ
- บรรยากาศการลงทุนของประเทศไทยและผลการดำเนินงานของกิจการ เมื่อกลับมามองภายในประเทศ พบว่า กฎ ระเบียบราชการ บางเรื่องยังไม่เอื้ออำนวยต่อการประกอบธุรกิจ การขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ ทำให้ค่าตอบแทนต่อผู้จบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยสูงมากกว่าที่ควรจะเป็น และขาดแคลนแรงงานที่จำเป็น ได้แก่ แรงงานที่มีทักษะด้านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนี้ ยังพบว่าสถานประกอบการขนาดใหญ่มีประสิทธิภาพการผลิตดีกว่ากิจการขนาดเล็กกว่า ส่วนสถานประกอบการที่ผลิตเพื่อการส่งออกและมีชาวต่างชาติเป็นเจ้าของมีประสิทธิภาพการผลิตที่สูง
- อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาวและประสิทธิภาพการผลิตของประเทศไทย การขยายตัวส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการใช้ปัจจัยการผลิตไม่ใช่ประสิทธิภาพการผลิตรวม ในระยะต่อไปจึงควรให้ความสำคัญอย่างจริงจังต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า การสัมมนาในครั้งนี้ จะช่วยให้ไทยมีระบบข้อมูลที่วัดระดับการเพิ่มผลผลิตของประเทศและของอุตสาหกรรมหลัก ตลอดจนข้อมูลบรรยากาศการลงทุนที่สามารถเทียบเคียงกับประเทศคู่แข่ง/คู่ค้าได้ ซึ่งจะทำให้สามารถกำหนดตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาของประเทศได้ถูกต้อง และสามารถใช้ข้อมูลนี้ประกอบการพิจารณาถึงกลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เพื่อหากลุ่มอุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพในการผลิตสูงกว่า และยังสามารถใช้ประกอบในการวางแผนสนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มจากฐานความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการอีกด้วย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
รศช.อาคม เติมพิทยาไพสิฐ ในฐานะประธานการสัมมนา กล่าวว่าการสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลตามโครงการการสำรวจระดับการเพิ่มผลผลิตและบรรยากาศการลงทุนในประเทศไทย (Thailand: PICS 2003) ซึ่ง สศช. ได้มอบให้สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติรับดำเนินการ โดยมีธนาคารโลกเป็นที่ปรึกษาด้านเทคนิคในการจัดทำแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล และจัดทำรายงาน มีระยะเวลาดำเนินงานระหว่าง ม.ค.47- ส.ค.48 สำรวจข้อมูลจากผู้ประกอบการ 1,500 รายทั่วประเทศ
ธนาคารโลกได้วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ โดยผลการวิเคราะห์มีสาระสำคัญ ดังนี้
- บรรยากาศการลงทุนของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี และดีกว่าประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศยกเว้นประเทศมาเลเซีย ด้านกฎ ระเบียบของทางราชการที่ประเทศไทยดำเนินการได้ดี ได้แก่ กระบวนการศุลกากรของสินค้าส่งออกใช้ระยะเวลาสั้นที่สุดเมื่อเทียบกับต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เข้มงวดเข้าไปตรวจสอบสถานประกอบการบ่อยครั้งมากนักซึ่งเป็นข้อดี สำหรับโครงสร้างพื้นฐานและบริการสนับสนุนของประเทศไทยที่ยังเป็นอุปสรรค เช่น จำนวนวันที่กระแสไฟฟ้าที่ดับถือว่าบ่อยมาก แต่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการผลิต/ผลผลิตในระดับที่ต่ำกว่าประเทศอื่นๆ
- บรรยากาศการลงทุนของประเทศไทยและผลการดำเนินงานของกิจการ เมื่อกลับมามองภายในประเทศ พบว่า กฎ ระเบียบราชการ บางเรื่องยังไม่เอื้ออำนวยต่อการประกอบธุรกิจ การขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ ทำให้ค่าตอบแทนต่อผู้จบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยสูงมากกว่าที่ควรจะเป็น และขาดแคลนแรงงานที่จำเป็น ได้แก่ แรงงานที่มีทักษะด้านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนี้ ยังพบว่าสถานประกอบการขนาดใหญ่มีประสิทธิภาพการผลิตดีกว่ากิจการขนาดเล็กกว่า ส่วนสถานประกอบการที่ผลิตเพื่อการส่งออกและมีชาวต่างชาติเป็นเจ้าของมีประสิทธิภาพการผลิตที่สูง
- อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาวและประสิทธิภาพการผลิตของประเทศไทย การขยายตัวส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการใช้ปัจจัยการผลิตไม่ใช่ประสิทธิภาพการผลิตรวม ในระยะต่อไปจึงควรให้ความสำคัญอย่างจริงจังต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า การสัมมนาในครั้งนี้ จะช่วยให้ไทยมีระบบข้อมูลที่วัดระดับการเพิ่มผลผลิตของประเทศและของอุตสาหกรรมหลัก ตลอดจนข้อมูลบรรยากาศการลงทุนที่สามารถเทียบเคียงกับประเทศคู่แข่ง/คู่ค้าได้ ซึ่งจะทำให้สามารถกำหนดตำแหน่งทางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาของประเทศได้ถูกต้อง และสามารถใช้ข้อมูลนี้ประกอบการพิจารณาถึงกลุ่มอุตสาหกรรมหลักที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เพื่อหากลุ่มอุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพในการผลิตสูงกว่า และยังสามารถใช้ประกอบในการวางแผนสนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มจากฐานความรู้ให้แก่ผู้ประกอบการอีกด้วย
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-