- ธนาคารพาณิชย์มีการนำสภาพคล่องส่วนเกินมาลงทุนระยะสั้นเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 7 วัน ปิดตลาดลดลงจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้าเล็กน้อย
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นหลังจากมีความชัดเจนเรื่องอัตราดอกเบี้ย อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงเล็กน้อย สำหรับอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯสหรัฐ ปรับเพิ่มขึ้น ตอบรับการคาดการณ์การปรับขึ้น Fed Fund Rate ในสัปดาห์นี้
- ค่าเงินบาทและค่าเงินในภูมิภาคเอเชียส่วนใหญ่เคลื่อนไหวผันผวนตามแนวโน้มการปรับขึ้นค่าเงินหยวนของจีน โดยในช่วงกลางสัปดาห์เจ้าที่ระดับสูงของจีนกล่าวเป็นนัยว่าจีนยังไม่พร้อมที่จะปรับขึ้นค่าเงินหยวนในระยะนี้
- การประชุม G-7 ที่จะมีขึ้นในช่วงต้นเดือน ก.พ. คาดว่าจะมีการหารือเรื่องค่าเงินหยวนของจีน ปัญหา Twin deficits ของ สหรัฐฯ และเสถียรภาพของค่าเงินดอลลาร์ สรอ.
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวอยู่ในระดับสูง เนื่องจากมีสภาพคล่อง จากภาครัฐเพื่อเตรียมจ่ายเงินเดือนในช่วงสิ้นเดือนเข้าสู่ระบบธนาคาร พาณิชย์เป็นจำนวนมาก ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีการสำรอง สภาพคล่องล่วงหน้าไว้เพียงพอกับความต้องการเบิกถอนเงินสดของลูกค้า ในช่วงสิ้นเดือน และเป็นช่วงเริ่มต้นปักษ์ใหม่ที่ธนาคารพาณิชย์ยังไม่เร่งดำรง เงินสดสำรอง ธนาคารพาณิชย์จึงมีความต้องการลงทุนระยะสั้นเพิ่มขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วันจึงปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 1.875 และ 2 ต่อปี ในช่วงปลาย สัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 1.84375 - 1.875 และ 1.875 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วันปิดตลาดคงที่ที่ระดับร้อยละ 2.0 ต่อปีตลอดสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหว เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.85 - 2.0 และอัตรา กลาง (Mode) ปิดตลาดลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 1.88 - 1.9 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 24,000 ล้านบาท โดย เป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 8,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 28 และ 364 วัน วงเงินรวม 12,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 5 10 และ 15 ปี วงเงินรวม 4,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนตราสารทุก ประเภทลดลงจากกับสัปดาห์ก่อน เนื่องจากมีความต้องการเสนอประมูลเข้ามา มากในตราสารเกือบทุกรุ่น
มูลค่าซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 72,285 ล้านบาท คิด เป็นมูลค่าซื้อขายเฉลี่ย 14,457 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อย ละ 15.5 โดยเป็นธุรกรรม Outright 54,501 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 75 โดยมีแรงซื้อเข้ามามากในช่วงต้นสัปดาห์ก่อนที่จะลดลงในช่วงกลางถึงปลาย สัปดาห์ ตราสารหนี้ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงสุดได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมา เป็นพันธบัตร ธปท. เช่นเดียวกับสัปดาห์ก่อน ส่วนอัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่มีทิศทางปรับลดลง ยกเว้นพันธบัตรฯ อายุ 10 ปี ที่อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 2 basis points โดยพันธบัตรฯ อายุ 1 ปี อัตราผลตอบแทนลดลง 8 basis points อายุ 2-7 ปี อัตราผลตอบแทนลดลง 0-1 basis points และพันธบัตรฯ อายุ 12 ปีขึ้นไป อัตราผลตอบแทนลดลง 1-2 basis points ทั้งนี้ พันธบัตรอายุคงเหลือ 1 ปี มีอัตราผลตอบแทนลดลง มากที่สุด 8 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรฯ เกือบไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนดัชนีราคาหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 8 basis points สำหรับ US Treasury Yield ในสัปดาห์นี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ตาม การคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ โดย US Treasury ที่อายุต่ำกว่า 7 ปี มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 1-10 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ระหว่าง 38.40 - 38.52 บาทต่อ ดอลลาร์ สรอ. และมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.46 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.07 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาท ในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งเป็นไปตาม ค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยนที่มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับหลังจากเจ้าหน้าที่ ระดับสูงของยุโรปเรียกร้องให้ค่าเงินสกุลเอเชียโดยเฉพาะเงินหยวนรับภาระ การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น ในขณะที่เงินดอลลาร์ถูกกดดันจาก แรงเทขายเพื่อทำกำไรของนักลงทุน และตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่ ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด สำหรับช่วงกลางสัปดาห์ เงินบาทและ เงินในภูมิภาคเอเชียมีทิศทางอ่อนค่าลง หลังจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีน กล่าวว่าจีนยังต้องการเวลาในการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินให้มีความยืด หยุนมากขึ้น ซึ่งแสดงนัยว่าจีนยังไม่พร้อมที่จะปรับขึ้นค่าเงินหยวนเทียบกับ ดอลลาร์ สรอ. ในระยะนี้ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้งเป็น ปัจจัยลบส่วนหนึ่งที่กดดันเงินบาทและเงินในภูมิภาคให้อ่อนค่าลง อย่างไรก็ ตาม เงินบาทและเงินในภูมิภาคเอเชียเริ่มปรับแข็งค่าขึ้นอีกครั้งในช่วงปลาย สัปดาห์ เนื่องจากจีนได้ตกลงที่จะเข้าร่วมในการประชุมรัฐมนตรีคลังของกลุ่ม G-7 ซึ่งแสดงถึงท่าทีที่ผ่อนคลายมากขึ้นของจีนต่อข้อเรียกร้องการปรับค่าเงิน หยวน ทั้งนี้ การประชุม G-7 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 4 - 5 กุมภาพันธ์ ณ กรุง ลอนดอน มีประเด็นสำคัญที่จะร่วมหารือ ได้แก่ ข้อเรียกร้องให้จีนยกเลิกการ ตรึงค่าเงินหยวนกับเงินดอลลาร์ สรอ. และปล่อยให้เงินหยวนเคลื่อนไหวตาม กลไกตลาดมากขึ้น ประเด็นปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและการขาดดุล การคลังของสหรัฐฯ ตลอดจนประเด็นเสถียรภาพของค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ซึ่ง ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อค่าเงินสกุลอื่นๆ และนโยบายการเงินของหลาย ประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองเพิ่มขึ้นหลังจากมีความชัดเจนเรื่องอัตราดอกเบี้ย อัตราผลตอบแทน (Yield ) ของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงเล็กน้อย สำหรับอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯสหรัฐ ปรับเพิ่มขึ้น ตอบรับการคาดการณ์การปรับขึ้น Fed Fund Rate ในสัปดาห์นี้
- ค่าเงินบาทและค่าเงินในภูมิภาคเอเชียส่วนใหญ่เคลื่อนไหวผันผวนตามแนวโน้มการปรับขึ้นค่าเงินหยวนของจีน โดยในช่วงกลางสัปดาห์เจ้าที่ระดับสูงของจีนกล่าวเป็นนัยว่าจีนยังไม่พร้อมที่จะปรับขึ้นค่าเงินหยวนในระยะนี้
- การประชุม G-7 ที่จะมีขึ้นในช่วงต้นเดือน ก.พ. คาดว่าจะมีการหารือเรื่องค่าเงินหยวนของจีน ปัญหา Twin deficits ของ สหรัฐฯ และเสถียรภาพของค่าเงินดอลลาร์ สรอ.
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นทรงตัวอยู่ในระดับสูง เนื่องจากมีสภาพคล่อง จากภาครัฐเพื่อเตรียมจ่ายเงินเดือนในช่วงสิ้นเดือนเข้าสู่ระบบธนาคาร พาณิชย์เป็นจำนวนมาก ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีการสำรอง สภาพคล่องล่วงหน้าไว้เพียงพอกับความต้องการเบิกถอนเงินสดของลูกค้า ในช่วงสิ้นเดือน และเป็นช่วงเริ่มต้นปักษ์ใหม่ที่ธนาคารพาณิชย์ยังไม่เร่งดำรง เงินสดสำรอง ธนาคารพาณิชย์จึงมีความต้องการลงทุนระยะสั้นเพิ่มขึ้น หนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 และ 7 วัน อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 7 วันจึงปิดตลาดลดลงจากร้อยละ 1.875 และ 2 ต่อปี ในช่วงปลาย สัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 1.84375 - 1.875 และ 1.875 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 14 วันปิดตลาดคงที่ที่ระดับร้อยละ 2.0 ต่อปีตลอดสัปดาห์ สำหรับอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหว เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อยมาอยู่ระหว่างร้อยละ 1.85 - 2.0 และอัตรา กลาง (Mode) ปิดตลาดลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 1.88 - 1.9 ต่อปี
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 24,000 ล้านบาท โดย เป็นตั๋วเงินคลัง อายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 8,000 ล้านบาท พันธบัตร ธปท. อายุ 28 และ 364 วัน วงเงินรวม 12,000 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล อายุ 5 10 และ 15 ปี วงเงินรวม 4,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนตราสารทุก ประเภทลดลงจากกับสัปดาห์ก่อน เนื่องจากมีความต้องการเสนอประมูลเข้ามา มากในตราสารเกือบทุกรุ่น
มูลค่าซื้อขายรวมของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 72,285 ล้านบาท คิด เป็นมูลค่าซื้อขายเฉลี่ย 14,457 ล้านบาทต่อวัน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อย ละ 15.5 โดยเป็นธุรกรรม Outright 54,501 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 75 โดยมีแรงซื้อเข้ามามากในช่วงต้นสัปดาห์ก่อนที่จะลดลงในช่วงกลางถึงปลาย สัปดาห์ ตราสารหนี้ที่มีปริมาณการซื้อขายสูงสุดได้แก่ ตั๋วเงินคลัง รองลงมา เป็นพันธบัตร ธปท. เช่นเดียวกับสัปดาห์ก่อน ส่วนอัตราผลตอบแทนโดยรวม (yield) ของพันธบัตรฯ ส่วนใหญ่มีทิศทางปรับลดลง ยกเว้นพันธบัตรฯ อายุ 10 ปี ที่อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 2 basis points โดยพันธบัตรฯ อายุ 1 ปี อัตราผลตอบแทนลดลง 8 basis points อายุ 2-7 ปี อัตราผลตอบแทนลดลง 0-1 basis points และพันธบัตรฯ อายุ 12 ปีขึ้นไป อัตราผลตอบแทนลดลง 1-2 basis points ทั้งนี้ พันธบัตรอายุคงเหลือ 1 ปี มีอัตราผลตอบแทนลดลง มากที่สุด 8 basis points ดัชนีราคา (Clean price index) ของพันธบัตรฯ เกือบไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนดัชนีราคาหุ้นกู้เอกชนเพิ่มขึ้น 8 basis points สำหรับ US Treasury Yield ในสัปดาห์นี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นส่วนใหญ่ ตาม การคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ โดย US Treasury ที่อายุต่ำกว่า 7 ปี มีอัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 1-10 basis points
อัตราแลกเปลี่ยน
ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ระหว่าง 38.40 - 38.52 บาทต่อ ดอลลาร์ สรอ. และมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 38.46 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.07 จากค่าเฉลี่ยในสัปดาห์ก่อน โดยเงินบาท ในช่วงต้นสัปดาห์แข็งค่าต่อเนื่องจากปลายสัปดาห์ก่อนหน้า ซึ่งเป็นไปตาม ค่าเงินในภูมิภาคและเงินเยนที่มีทิศทางแข็งค่าขึ้นเป็นลำดับหลังจากเจ้าหน้าที่ ระดับสูงของยุโรปเรียกร้องให้ค่าเงินสกุลเอเชียโดยเฉพาะเงินหยวนรับภาระ การอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้น ในขณะที่เงินดอลลาร์ถูกกดดันจาก แรงเทขายเพื่อทำกำไรของนักลงทุน และตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่ ออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด สำหรับช่วงกลางสัปดาห์ เงินบาทและ เงินในภูมิภาคเอเชียมีทิศทางอ่อนค่าลง หลังจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีน กล่าวว่าจีนยังต้องการเวลาในการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินให้มีความยืด หยุนมากขึ้น ซึ่งแสดงนัยว่าจีนยังไม่พร้อมที่จะปรับขึ้นค่าเงินหยวนเทียบกับ ดอลลาร์ สรอ. ในระยะนี้ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้งเป็น ปัจจัยลบส่วนหนึ่งที่กดดันเงินบาทและเงินในภูมิภาคให้อ่อนค่าลง อย่างไรก็ ตาม เงินบาทและเงินในภูมิภาคเอเชียเริ่มปรับแข็งค่าขึ้นอีกครั้งในช่วงปลาย สัปดาห์ เนื่องจากจีนได้ตกลงที่จะเข้าร่วมในการประชุมรัฐมนตรีคลังของกลุ่ม G-7 ซึ่งแสดงถึงท่าทีที่ผ่อนคลายมากขึ้นของจีนต่อข้อเรียกร้องการปรับค่าเงิน หยวน ทั้งนี้ การประชุม G-7 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 4 - 5 กุมภาพันธ์ ณ กรุง ลอนดอน มีประเด็นสำคัญที่จะร่วมหารือ ได้แก่ ข้อเรียกร้องให้จีนยกเลิกการ ตรึงค่าเงินหยวนกับเงินดอลลาร์ สรอ. และปล่อยให้เงินหยวนเคลื่อนไหวตาม กลไกตลาดมากขึ้น ประเด็นปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและการขาดดุล การคลังของสหรัฐฯ ตลอดจนประเด็นเสถียรภาพของค่าเงินดอลลาร์ สรอ. ซึ่ง ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อค่าเงินสกุลอื่นๆ และนโยบายการเงินของหลาย ประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-