ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสสี่ ปี 2547 และแนวโน้มปี 2548

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 8, 2005 14:54 —สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

                         ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสสี่ ปี 2547 และแนวโน้มปี 2548
- ในไตรมาสสุดท้ายปี 2547 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 5.1 ช้าลงกว่าการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 6.4 ในสามไตรมาสแรก เนื่องจากผลกระทบราคาน้ำมัน ภัยแล้ง อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และที่สำคัญเป็นผลจากการสะสมสต็อคที่ลดลงมาก และทั้งปี 2547 เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 6.1
- แรงกดดันด้านราคาเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง อัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 3.1 ในไตรมาสสุดท้าย และทั้งปีเท่ากับร้อยละ 2.7 จากราคาสินค้าหมวดอาหารและพาหนะขนส่งสื่อสารที่เพิ่มขึ้นมาก อย่างไรก็ตามเสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศและด้านต่างประเทศยังมีความมั่นคง
- ในปี 2548 คาดว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 5.5-6.5 โดยมีข้อจำกัดจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ราคาน้ำมันดิบที่ยังอยู่ในระดับสูง การลดการอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซล รวมทั้งการระบาดต่อเนื่องของไข้หวัดนก อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากภัยแล้งและธรณีพิบัติภัยไม่รุนแรงมาก นอกจากนั้น มีปัจจัยกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ได้แก่ การเพิ่มงบประมาณของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจและการเร่งรัดการลงทุนในโครงการพื้นฐานขนาดใหญ่
ภาพรวม ภาพรวมเศรษฐกิจไตรมาสที่สี่ ปี 2547
และแนวโน้มปี 2548
ในไตรมาสสุดท้ายปี 2547 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 5.1 ชะลอตัวจากร้อยละ 6.4 ใน 3 ไตรมาสแรก ภาคเกษตรยังคงหด ตัวต่อเนื่อง แต่ราคาสินค้าเกษตรที่ยังอยู่ในระดับสูงช่วยให้ราย ได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้น ภาคอุตสาหกรรมทรงตัวต่อเนื่องตั้งแต่ ไตรมาสที่สาม และโดยรวมทั้งปีภาคอุตสาหกรรมขยายตัวได้ ร้อยละ 8.3 ต่ำกว่าร้อยละ 10.4 ในปี 2546 ค่อนข้างชัดเจน ภาคการเงินมีการขยายตัวร้อยละ 15.7 เร่งตัวกว่าในไตรมาสที่ สาม เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นและยอดคง ค้างหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ลดลง และทั้งปีขยายตัวร้อยละ 14.2 ในด้านอุปสงค์ การบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน ขยายตัวในอัตราชะลอลงเมื่อเทียบกับการขยายตัวในปี 2546 เนื่องจากผลกระทบราคาน้ำมัน ภาวะภัยแล้ง และอัตราดอกเบี้ย ขาขึ้น
ราคาสินค้าเกษตรและราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นส่งผลให้อัตราเงิน เฟ้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นร้อยละ 3.1 ในไตรมาสสุดท้าย เนื่องจากราคาทั้งในหมวดอาหารและมิใช่อาหารเพิ่มขึ้นมาก และอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 2.7 สำหรับทั้งปี อย่างไรก็ ตาม เสถียรภาพด้านอื่นๆ เช่น ดุลบัญชีเดินสะพัด ทุนสำรอง ระหว่างประเทศ อัตราแลกเปลี่ยนและหนี้สาธารณะยังมีความ มั่นคง
ในปี 2548 เศรษฐกิจหลักของโลกทั้งเศรษฐกิจสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และจีนจะยังมีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องจากครึ่งหลังของปี 2547 นอกจากนั้น ยังมีข้อจำกัดภายในประเทศ เช่น แนวโน้ม การปรับอัตราดอกเบี้ยเมื่ออัตราดอกเบี้ยในต่างประเทศปรับสูง ขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น และการทยอยปรับเพดานราคา น้ำมันดีเซลขายปลีกเพื่อลดภาระของรัฐในการชดเชยราคาน้ำ มัน ท่ามกลางแรงกดดันจากราคาน้ำมันดิบที่มีแนวโน้มทรงตัว อยู่ในระดับสูงและผันผวน อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยบวกที่ช่วย รักษาการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ ทั้งมาตรการภาษี ที่ผ่อนคลายมากขึ้น ฐานเงินเดือนและค่าจ้างที่ปรับสูงขึ้น ประกอบกับการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนของภาครัฐฯ ที่มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น รวมทั้งการดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อฟื้นฟูผลกระทบ ธรณีพิบัติภัย ก็จะทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ใน ขณะที่รัฐบาลยังคงเร่งส่งเสริมการส่งออกทั้งในตลาดหลักและ การสร้างตลาดใหม่อยู่อย่างต่อเนื่อง ภายใต้ข้อจำกัดและปัจจัย บวกดังกล่าวคาดว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวในอัตราร้อยละ 5.5-6.5 และอัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 3.0-3.2 ในปี 2548 อัตราว่างงานเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 2.0 หรือเท่ากับผู้ว่างงาน จำนวน 708,000 คน
1. เศรษฐกิจ ปี 2547
1.1 เศรษฐกิจโลก ปี 2547
เศรษฐกิจโลกขยายตัวมากในครึ่งแรกของปี แต่เริ่มชะลอตัวในครึ่งหลังในทุกกลุ่มเศรษฐกิจหลัก ทั้งเศรษฐกิจสหรัฐฯ สหภาพ ยุโรป ญี่ปุ่น จีน และประเทศเอเชียอื่น ๆ เนื่องจากราคาน้ำมันที่ สูงขึ้น และการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยรวมทั้งการใช้นโยบายการคลังที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อลดแรงกดดันด้านราคาและรักษาการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้อยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม เป็นการชะลอตัวที่ไม่รุนแรงและโดยรวมทั้งปีเศรษฐกิจโลกขยายตัวถึงร้อยละ 4.6 สูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 3.9 ในปี 2546 โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป มาเลเชีย สิงคโปร์และฮ่องกง ขยายตัวได้ดีกว่าในปี 2546 อย่างชัดเจน เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 4.4 เปรียบเทียบกับร้อยละ 3.0 ในปี 2546 จากผลการดำเนินนโยบายดอกเบี้ยต่ำตั้งแต่ปี 2545 ที่กระตุ้นให้การใช้จ่ายภาคเอกชนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวต่อเนื่องจากพื้น ฐานความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่ดีขึ้น อัตราดอกเบี้ยต่ำ การฟื้นตัวของวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์ในสหรัฐฯ และการขยายการลงทุนในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อตอบสนองความต้องการด้านที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม แรงกดดันต่อเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น มาก รวมทั้งหนี้สินครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นทำให้ธนาคารกลาง สหรัฐฯ ได้ปรับเพิ่มดอกเบี้ย Fed fund rate รวม 5 ครั้ง ในปี 2547 และ ณ สิ้นปี 2547 Fed fund rate เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.25 อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทำให้การใช้จ่ายครัวเรือนและการ ลงทุนในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยชะลอลง อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย ในปี 2547 เท่ากับร้อยละ 2.7 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.3 ในปี 2546 สถานการณ์การขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับการ ขาดดุลงบประมาณรัฐบาลกลาง อัตราการว่างงานลดลงเล็ก น้อยจากร้อยละ 6.0 ในปี 2546 เหลือร้อยละ 5.5 ในปี 2547
เศรษฐกิจญี่ปุ่น ขยายตัวร้อยละ 2.6 สูงกว่าร้อยละ 1.4 ในปี 2546 อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ไตรมาสต่อไตรมาสเศรษฐกิจหดตัว 3 ไตรมาสติดต่อกันแสดง ถึงแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวอย่างชัดเจน จากการชะลอตัว ของการบริโภคภาคเอกชน ขณะที่การลงทุนขยายตัวได้ดีตาม ผลประกอบการบริษัทเอกชนที่เพิ่มขึ้น อัตราเงินเฟ้อในไตร มาสสี่ปี 2547 เทียบกับไตรมาสสี่ปี 2546 เป็นบวกเป็นครั้ง แรกที่อัตราร้อยละ 0.5 หลังจากติดลบมาตั้งแต่ต้นปี 2542 การเพิ่มขึ้นของระดับราคานี้มีสาเหตุจากราคาอาหารสดที่เพิ่ม ขึ้นมากซึ่งเป็นผลกระทบจากการเกิดพายุไต้ฝุ่นหลายครั้ง ส่วนอัตราเงินเฟ้อที่ไม่รวมอาหารสดยังคงติดลบอยู่ โดยลดลง ร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสสี่ ปี 2546 อย่างไรก็ตาม แรงกดดันด้านเงินฝืดเริ่มผ่อนคลายมากขึ้นเห็นได้จาก GDP Deflator ที่ลดลงเพียงร้อยละ 0.3 ในไตรมาสที่สี่ จากที่ลดลง ร้อยละ 1.3 และ 1.7 ในสองไตรมาสก่อน อัตราเงินเฟ้อต่ำ กอปรกับภาวะเศรษฐกิจที่ยังอ่อนไหวแม้ว่าสถานการณ์การ จ้างงานจะปรับดีขึ้นบ้างแล้ว ทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่นตัดสิน ใจคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.0 เศรษฐกิจสหภาพยุ โรปในปี 2547 ขยายตัวร้อยละ 1.9 และสำหรับกลุ่มยูโรโซน นั้นขยายตัวร้อยละ 1.6 เศรษฐกิจสหภาพยุโรปขยายตัวได้ดี ในครึ่งแรก แต่ชะลอลงมากในครึ่งหลังเนื่องจากค่าเงินที่แข็ง ขึ้นทำให้การส่งออกสุทธิลดลงในครึ่งหลัง ในขณะที่การใช้จ่าย และการลงทุนภาคเอกชนยังเปราะบาง และโดยรวมรัฐบาลใน กลุ่มนี้ระมัดระวังเรื่องการใช้จ่ายรัฐบาลมากขึ้น เศรษฐกิจที่ยัง เปราะบางทำให้ธนาคารกลางสหภาพยุโรปคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.0 เศรษฐกิจจีน ขยายตัวในอัตราร้อยละ 9.5 แม้ว่าในภาพรวมของการขยายตัวทางเศรษฐกิจดูเหมือนจะไม่ปรากฏสัญญาณของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในปี 2547 แต่เมื่อพิจารณาจากองค์ประกอบของอุปสงค์ จะเห็นว่า การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรขยายตัวในอัตราที่ช้าลง โดยขยายตัวในอัตราร้อยละ 13.5 เทียบกับร้อยละ 27.7 ในปี 2546 โดยเฉพาะในส่วนของอุตสาหกรรมเหล็ก ยานยนต์และการก่อสร้างซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาลจีนที่จะชะลอความร้อนแรง อย่างไรก็ตามการลงทุนยังนับว่าเป็นปัจจัยผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจที่สำคัญ แรงกดดันต่อเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นทำให้ธนาคารกลางปรับเพิ่มดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบเก้าปี
เศรษฐกิจของประเทศเอเชีย โดยรวมในปี 2547 ขยายตัว ได้ดี การบริโภคภายในประเทศ การลงทุน และการส่งออกยัง คงเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปี 2547 อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงในแต่ละไตรมาสของปี 2547 แสดงสัญญาณการชะลอตัวชัดเจนขึ้นในครึ่งหลังของปี 2547 ในเกือบทุกประเทศ แต่การขยายตัวที่สูงมากในครึ่งแรกทำให้ เศรษฐกิจของหลายประเทศในเอเชียขยายตัวได้สูงกว่าในปี 2546 ได้แก่ เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงค์โปร์ ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ อินโดนีเชีย และมาเลเชีย แต่ในขณะเดียวกันหลายประเทศ ก็ ประสบปัญหากับแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจาก ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ต้นทุนทางด้านสุขภาพและการรักษา พยาบาล และค่าขนส่งที่สูงขึ้น ในขณะที่ความต้องการสินค้า และบริการยังสูงอยู่ ดังนั้นหลายประเทศจึงเริ่มปรับเพิ่มอัตรา ดอกเบี้ยขึ้นตามลำดับ
(ยังมีต่อ).../1.2 เศรษฐกิจไทยปี 2547..

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ