เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2548 คณะรัฐมนตรีมีมติแต่งตั้ง ดร.พนัส สิมะเสถียร เป็นประธานกรรมการ สศช. พร้อมกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิชุดใหม่แทนกรรมการชุดเก่าที่หมดวาระโดยมีผลตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2548
สำหรับกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีจำนวน 9 ท่าน ได้แก่ นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ นางจุรี วิจิตรวาทการ นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ท่านผู้หญิงสุธาวัลย์ เสถียรไทย นายศักรินทร์ ภูมิรัตน นายอาชว์ เตาลานนท์ นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล และนายวิบูลย์ เข็มเฉลิม อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตผู้ใหญ่บ้านห้วยหิน อ.สนามไชยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งนับเป็นผู้แทนจากภาคประชาชนท่านแรกที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการ สศช.
นอกจากนี้ยังมีกรรมการโดยตำแหน่งอีก 5 ท่าน ซึ่ง พ.ร.บ.พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2521 กำหนดไว้ ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขานุการ
คณะกรรมการ สศช. ชุดใหม่ดังกล่าวได้ประชุมเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2548 ซึ่งได้มีการระดมความเห็นบทบาทและแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ โดยที่ประชุมได้เสนอให้คณะกรรมการ สศช. มีบทบาทหน้าที่ในประเด็นที่นอกเหนือจากบทบาทหน้าที่ตาม พ.ร.บ.พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2521 คือ
- พิจารณายุทธศาสตร์ในภาพรวม (Strategic Issues) เช่น ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจในภาพรวมและรายสาขา ยุทธศาสตร์โลจิสติกส์ ยุทธศาสตร์การพัฒนานวตกรรม ฯลฯ
- เสนอและมอบหมายให้ สศช. ศึกษาวิเคราะห์ประเด็นนโยบาย (Policy Initiatives) ทั้งที่เป็นประเด็นปัจจุบัน (Current Issues) และประเด็นการพัฒนาระยะยาว (Long-term Issues)
- พิจารณางบลงทุนประจำปีของรัฐวิสาหกิจ (ยังคงทำหน้าที่เหมือนเดิม)
- ประเมินผลการพัฒนาประเทศ
สำหรับบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ สศช. ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว ที่สำคัญ ได้แก่ การเสนอแนะและให้ความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อคณะรัฐมนตรี พิจารณาแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับข้อเสนออื่น ๆ ของ สศช. แล้วนำความเห็นเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และการเสนอความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีในเรื่องที่เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามที่นายกรัฐมนตรีขอให้พิจารณา ตลอดจนจัดให้มีการประสานงานระหว่าง สศช. กับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านการจัดทำแผนงาน โครงการพัฒนา และการปฏิบัติตามแผนงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
สำหรับกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีจำนวน 9 ท่าน ได้แก่ นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ นางจุรี วิจิตรวาทการ นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ท่านผู้หญิงสุธาวัลย์ เสถียรไทย นายศักรินทร์ ภูมิรัตน นายอาชว์ เตาลานนท์ นายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล และนายวิบูลย์ เข็มเฉลิม อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตผู้ใหญ่บ้านห้วยหิน อ.สนามไชยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งนับเป็นผู้แทนจากภาคประชาชนท่านแรกที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการ สศช.
นอกจากนี้ยังมีกรรมการโดยตำแหน่งอีก 5 ท่าน ซึ่ง พ.ร.บ.พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2521 กำหนดไว้ ได้แก่ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขานุการ
คณะกรรมการ สศช. ชุดใหม่ดังกล่าวได้ประชุมเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2548 ซึ่งได้มีการระดมความเห็นบทบาทและแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ โดยที่ประชุมได้เสนอให้คณะกรรมการ สศช. มีบทบาทหน้าที่ในประเด็นที่นอกเหนือจากบทบาทหน้าที่ตาม พ.ร.บ.พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2521 คือ
- พิจารณายุทธศาสตร์ในภาพรวม (Strategic Issues) เช่น ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจในภาพรวมและรายสาขา ยุทธศาสตร์โลจิสติกส์ ยุทธศาสตร์การพัฒนานวตกรรม ฯลฯ
- เสนอและมอบหมายให้ สศช. ศึกษาวิเคราะห์ประเด็นนโยบาย (Policy Initiatives) ทั้งที่เป็นประเด็นปัจจุบัน (Current Issues) และประเด็นการพัฒนาระยะยาว (Long-term Issues)
- พิจารณางบลงทุนประจำปีของรัฐวิสาหกิจ (ยังคงทำหน้าที่เหมือนเดิม)
- ประเมินผลการพัฒนาประเทศ
สำหรับบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ สศช. ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว ที่สำคัญ ได้แก่ การเสนอแนะและให้ความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อคณะรัฐมนตรี พิจารณาแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับข้อเสนออื่น ๆ ของ สศช. แล้วนำความเห็นเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และการเสนอความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีในเรื่องที่เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามที่นายกรัฐมนตรีขอให้พิจารณา ตลอดจนจัดให้มีการประสานงานระหว่าง สศช. กับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านการจัดทำแผนงาน โครงการพัฒนา และการปฏิบัติตามแผนงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-