ประเด็นเศรษฐกิจไตรมาสแรก และแนวโน้มปี 2548
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้รายงานว่าจากเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจรายเดือนในไตรมาสแรก ปี 2548 แสดงว่าเศรษฐกิจยังมีการขยายตัว โดยที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัว การใช้จ่ายครัวเรือนเพิ่มขึ้น มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในเกณฑ์ดี แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติรวมทั้งไตรมาสจะลดลง แต่การเปลี่ยนแปลงรายเดือนแสดงว่าสถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัวจากผลกระทบสึนามิ
นอกจากนี้ยังมีการใช้จ่ายของภาครัฐ ทั้งงบกลางปี 2548 จำนวน 50,000 ล้านบาท และงบค้างจ่ายของปีงบประมาณ 2546-2548 อีกจำนวน 48,781 ล้านบาท เป็นแรงสนับสนุนเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม มีข้อจำกัดต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นมากและดุลการค้าขาดดุล ราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงและมีแรงกดดันต่อเงินเฟ้อมากขึ้น และอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น
ในด้านเสถียรภาพ มีแรงกดดันด้านราคา การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และการลด NPLs ที่ยังช้ากว่าเป้าหมาย แต่อัตราแลกเปลี่ยนยังคงมีเสถียรภาพและสำรองเงินตราต่างประเทศมีจำนวนเพียงพอ
ทั้งนี้ องค์กรต่างๆ เช่น ธปท. World Bank และ Lehman Brothers ประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2548 อยู่ในช่วงร้อยละ 5.0-5.5 โดยมีการลงทุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเป็นแรงสนับสนุนที่สำคัญ
สำหรับเรื่องที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญเร่งรัดในช่วง 7 เดือนหลัง ประกอบด้วย
1. เร่งการขยายการส่งออกโดยเฉพาะสินค้าเกษตร (ไก่ กุ้ง และยางพารา)
2. เร่งสนับสนุนการท่องเที่ยว
3. เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลให้เป็นไปตามเป้าหมายและกิจกรรม/โครงการที่กำหนด
4. การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
5. เร่งฟื้นฟูความเสียหายจากผลกระทบสึนามิ
6. สร้างความเชื่อมั่นและความเข้าใจของภาคธุรกิจเอกชนในเรื่องการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
ประเด็นนายกรัฐมนตรี
1. เป้าหมายเศรษฐกิจปี 2548 รัฐบาลจะรักษาการขยายตัวให้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 โดยมีงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมกลางปี 2548 มาสนับสนุน และในปีงบประมาณ 2549 จะมีวงเงินงบประมาณรายจ่าย 1.36 ล้านล้านบาท ซึ่งจัดทำเป็นงบประมาณแบบสมดุล
2. เรื่องที่รัฐบาลจะดำเนินการ ได้แก่
2.1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
2.1.1 โครงสร้างพื้นฐานที่เป็น Mega projects เช่น ระบบการขนส่ง เป็นต้น เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องลงทุน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
2.1.2 การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ได้แก่
- น้ำ เพื่อฟื้นฟูธรรมชาติและเพิ่มผลผลิตการเกษตร (งบประมาณ 200,000 ล้านบาทในช่วง 5 ปี)
- รถไฟฟ้า ถ้าประชาชนประหยัดเวลาเดินทางได้ 1.5 ชม.ต่อคนต่อวัน จะเพิ่มประสิทธิภาพและเวลาทำงานได้มากขึ้น และประหยัดน้ำมันได้อีกเป็นแสนล้าน
- บ้านอยู่อาศัย สนับสนุนตลาดบ้านมือสอง ให้ประชาชนสามารถหาบ้านได้หลายรูปแบบ เช่น Prefabrication แบบบ้าน Tsunami (ถ้าประชาชนผ่อนส่วนหนึ่งและรัฐบาลอุดหนุนส่วนหนึ่ง 1 ล้านหลัง เป็นเงินอุดหนุน 35,000 ล้านบาท) ซึ่งจะนำไปสู่การใช้จ่ายของภาคประชาชนในสินค้าต่างๆ อีกมาก
- ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางการด้านการศึกษา โดยจัดให้มีระบบ internet ครบทุกโรงเรียน
2.2 การปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจในอนาคต ต้องมุ่งเน้นการสร้างมูลค่าผลผลิตจากความรู้ (Value Creation from Knowledge Applications) สร้าง Brand ของประเทศไทย เพื่อสนับสนุน SMEs ที่ไม่สามารถสร้าง Brand เองได้ และพัฒนาภาคบริการ โดยพัฒนาศักยภาพของ Thai Hospitality เป็นตัวนำ
2.3 การเตรียมการรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ใน 4 เรื่อง
2.3.1 Free flow of human capital (การเคลื่อนย้ายแรงงาน) ต้องเลือกสรรประเภทและคุณภาพแรงงานที่ประเทศไทยควรนำเข้าให้เหมาะสม และต้องมีการปรับกฎระเบียบเพื่อรองรับ (มอบหมายรองฯ สุรเกียรติ์)
2.3.2 Free flow of goods and services (การเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ) ต้องดูแลเรื่องการเจรจาการค้า FTA ต่างๆ โดยที่ FTA จะดำเนินการต่อเนื่องต่อไปอย่างเป็น Phasing และมี Safeguard ที่เหมาะสม ทั้งนี้ภาคเอกชนจะต้องปรับตัวให้เป็นสากลและแข่งขันได้ และต้องมี Efficiency & Productivity สำหรับกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค รัฐบาลจะแก้ไข
2.3.3 Free flow of capital (การเคลื่อนย้ายเงินทุน) ต้องมีการปรับเปลี่ยนระเบียบกติกา กฏหมายต่างๆ เพื่อดูแลด้านเสถียรภาพ (มอบหมายรองฯ สมคิด)
2.3.4 Free flow of information and knowledge (การเคลื่อนย้ายข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้) ต้องปรับเปลี่ยนระเบียบกติกา กฏหมายต่างๆ เพื่อให้ราคาของบริการ ICT ลดลง
2.4 รัฐบาลจะส่งเสริมการสร้างความโปร่งใส และการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น โดยให้ใช้
E-Auction
2.5 รัฐบาลส่งเสริม Corporate Governance ในภาคเอกชน โดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน
2.6 การขจัดปัญหาความยากจน ต้องวิเคราะห์ปัญหาและดำเนินการตั้งแต่ระดับครอบครัว หมู่บ้าน และประเทศ โดยการร้างงาน สร้างเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรสำคัญ เช่น ยางดิบ ข้าว กุ้ง สร้างเศรษฐกิจในชุมชน จัดให้มีที่ดิน บ้าน/ที่อยู่อาศัย ปัจจัยการผลิต ปรับปรุงระบบการผลิต ขยายการตลาดอย่างเต็มที่ การใช้แนวทางการทำ Barter trade และจัด Supplier credits กับต่างประเทศ
2.7 การท่องเที่ยว ต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อาทิ การเปิด Open-sky เพื่อเพิ่มศักยภาพของการท่องเที่ยวของประเทศ รวมทั้งสร้าง Man-made tourism attraction เช่นเส้นทางการท่องเที่ยวในเชียงใหม่จะมี Night Safari เชื่อมด้วย Cable car เป็นต้น
2.8 การพัฒนาตลาดทุน รัฐบาลสนับสนุนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทมหาชน เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และตรวจสอบได้ ถึงผลการดำเนินงาน ซึ่งจะทำให้กิจการมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
2.9 ด้านพลังงาน
- ภาคเอกชนต้องช่วยกันประหยัดการใช้พลังงาน เช่น ผู้บริหารระดับสูงของเอกชนควรดูแลเรื่องนี้เอง เพื่อให้เกิดความจริงจังในการดำเนินการ เช่น ห้างซุปเปอร์สโตร์ (Tesco-Lotus) สามารถร่วมรณรงค์ประหยัดพลังงานได้ และรัฐบาลจะใช้กลไกทางภาษีเป็นแรงจูงใจ
- รัฐบาลจะเร่งพัฒนาพลังงานทดแทน โดยขณะนี้ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำ Roadmap การพัฒนาพลังงานทดแทน
2.10 การนำเข้าสินค้าต่างๆ ทั้งสินค้าวัตถุดิบ และสินค้าทุน
- ต้องมียุทธศาสตร์และ Roadmap เพื่อลดการนำเข้า รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขระบบการคืนภาษี VAT ในอนาคตเรื่อง FTA จะมีเรื่อง Rule of Origin ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการผลิตในประเทศ และใช้วัตถุดิบในประเทศ โดยที่รัฐบาลจะใช้ระบบภาษีในการส่งเสริม
2.11 การปรับเงินเดือนข้าราชการ จะปรับทีอย่างเป็นขั้นตอนโดยเริ่มในปี 2549 และ อีกครั้งหนึ่งในปี 2551 เพื่อให้เหมาะสมกับความสามารถและสถานภาพของข้าราชการ
สรุป นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การพัฒนาด้านต่าง ๆ ในระยะยาว เป็นเรื่องที่รัฐบาลจะทำอย่างต่อเนื่อง โดยที่ในวันนี้เป็นการหารือประเด็นการพัฒนาในระยะสั้นและตามกรอบการบริหารราชการแผ่นดิน 4 ปี ไปก่อน ซึ่งรัฐบาลเองก็ตระหนักถึงเรื่องต่างๆ ที่ต้องพัฒนาอยู่แล้ว และได้จัดทีมดูแลแต่ละเรื่องโดยเฉพาะอยู่แล้ว ทั้งนี้จะต้องได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน และขอให้มั่นใจว่าการทำงานของรัฐบาลนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของการวิเคราะห์จากข้อมูลเศรษฐกิจทุกตัว
ความเห็นของภาคเอกชน
1. ประเด็นเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
- ปัจจุบันเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศยังดี ทุนสำรองระหว่างประเทศก็ยังอยู่ในระดับที่เพียงพอ แต่มีความเลี่ยงจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ที่จะกระทบต่อการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้
- อย่างไรก็ตาม การขาดดุลจากการนำเข้าเทคโนโลยีและเครื่องจักร เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมก็เป็นเรื่องจำเป็น ดังนั้นการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับที่ไม่สูงมากก็ไม่น่าเป็นห่วงและวิตกกังวลจนเกินไป
- และรัฐบาลต้องติดตามทั้งฐานะดุลบัญชีเดินสะพัด การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ และเงินสำรองระหว่างประเทศ
2. ด้านการลงทุน
- เอกชนเสนอให้มีการลดภาษีรายได้นิติบุคคล เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน
- รัฐบาลต้องสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจในเรื่องการลงทุน Mega Projects และแนวทางการจัดหาเงินลงทุน
3. การปรับโครงสร้างภาคการผลิตและบริการ
3.1 ภาคเอกชนเห็นด้วยกับนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของรัฐบาล และขอให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับ การพัฒนา Cluster อย่างจริงจัง โดยเฉพาะในกลุ่ม SMEs
3.2 ด้านการท่องเที่ยว
- ต้องพัฒนาคุณภาพของการท่องเที่ยวมากขึ้น โดยให้ความสำคัญในการสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพ ทั้งนี้ต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการการท่องเที่ยวควบคู่กัน โดยต้อง (1) สร้าง Brand (2) สร้างระบบ (3) สร้างคน
- รัฐบาลต้องควบคุมแรงงานต่างชาติที่ทำธุรกิจท่องเที่ยวอย่างผิดกฎหมาย เช่น มัคคุเทศก์ และบริษัทการท่องเที่ยว ซึ่งสร้างปัญหาต่อมาตรฐานการท่องเที่ยวมาก
3.3 อสังหาริมทรัพย์
- ในปี 2546 ได้มีการทำในเรื่อง (1) จัดตั้งศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ แห่งชาติ (2) มีการจัดทำ Property price index โดย ธปท. ธอส. และ (3) เรื่อง Escrow account ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาที่กระทรวงการคลัง
- เอกชนขอให้รัฐบาลสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ (1) การสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ โดยการเปิดเผยข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานเพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้บริโภคและนักลงทุน (2) ดูแลระบบสินเชื่อภาคเอกชนและคุณภาพสินเชื่อ (3) ดูแลเรื่องคุณภาพของบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และ (4) ดูแลเรื่องการอนุญาตด้านสิ่งแวดล้อมและผังเมือง
3.4 ระบบโลจิสติกส์
- Logistics ของเอกชนยังอ่อนแอ แต่ได้มีการรวมตัวกันเป็นสมาพันธ์ Logistics โดยจะขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาลในโอกาสต่อไป
- เพิ่ม Trade facilitation และ Custom clearance ให้เสร็จภายใน 1 วัน
- พัฒนา Logistics ของอุตสาหกรรมเกษตร
4. FTA
- ภาคเอกชนพร้อมร่วมมือในการเจรจา แต่ยังขาดการประสานงานที่ดีระหว่างภาครัฐและเอกชนในการหารือร่วมกันเกี่ยวกับการได้ประโยชน์และการเสียประโยชน์ โดยจะต้องแก้ไขและมีมาตรการรองรับในเรื่องผลกระทบ
การมอบหมายงาน
1. มอบหมายให้ สศช. จัดประชุมนายกรัฐมนตรีพบกับภาคเอกชนเป็นรายอุตสาหกรรม เพื่อหารือเกี่ยวกับแผนการปรับโครงสร้างรายอุตสาหกรรมที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อพิจารณาว่าอุตสาหกรรมใดที่แข่งขันได้ อุตสาหกรรมใดที่อ่อนแอและต้องพัฒนาให้แข่งขันได้ และแนวทางในการดำเนินงานต่อไป
2. ให้กรมส่งเสริมการส่งออก BOI ททท. เร่งรัดการหารายได้จากการส่งออก เพื่อจะได้ช่วยชดเชยการขาดดุลจากการนำเข้าน้ำมัน โดยตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้
3. ให้ภาคเอกชนให้ความร่วมมือในการรณรงค์และส่งเสริมการประหยัดพลังงาน
4. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง และ สศช. จัดทำรายละเอียดและจัดลำดับความสำคัญของโครงการลงทุน Mega Project ต่างๆ รวมทั้งแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งคาดว่ารายละเอียดดังกล่าวจะแล้วเสร็จและสามารถนำเสนอคณะรัฐมนตรีได้ในเดือนมิถุนายน 2548
5. มอบให้ รนม. สมคิด หารือกับภาคเอกชนในประเด็นข้อกังวลต่างๆ เกี่ยวกับ FTA
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้รายงานว่าจากเครื่องชี้ทางเศรษฐกิจรายเดือนในไตรมาสแรก ปี 2548 แสดงว่าเศรษฐกิจยังมีการขยายตัว โดยที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัว การใช้จ่ายครัวเรือนเพิ่มขึ้น มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นในเกณฑ์ดี แม้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติรวมทั้งไตรมาสจะลดลง แต่การเปลี่ยนแปลงรายเดือนแสดงว่าสถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัวจากผลกระทบสึนามิ
นอกจากนี้ยังมีการใช้จ่ายของภาครัฐ ทั้งงบกลางปี 2548 จำนวน 50,000 ล้านบาท และงบค้างจ่ายของปีงบประมาณ 2546-2548 อีกจำนวน 48,781 ล้านบาท เป็นแรงสนับสนุนเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม มีข้อจำกัดต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจจากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นมากและดุลการค้าขาดดุล ราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงและมีแรงกดดันต่อเงินเฟ้อมากขึ้น และอัตราดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้น
ในด้านเสถียรภาพ มีแรงกดดันด้านราคา การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และการลด NPLs ที่ยังช้ากว่าเป้าหมาย แต่อัตราแลกเปลี่ยนยังคงมีเสถียรภาพและสำรองเงินตราต่างประเทศมีจำนวนเพียงพอ
ทั้งนี้ องค์กรต่างๆ เช่น ธปท. World Bank และ Lehman Brothers ประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2548 อยู่ในช่วงร้อยละ 5.0-5.5 โดยมีการลงทุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเป็นแรงสนับสนุนที่สำคัญ
สำหรับเรื่องที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญเร่งรัดในช่วง 7 เดือนหลัง ประกอบด้วย
1. เร่งการขยายการส่งออกโดยเฉพาะสินค้าเกษตร (ไก่ กุ้ง และยางพารา)
2. เร่งสนับสนุนการท่องเที่ยว
3. เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลให้เป็นไปตามเป้าหมายและกิจกรรม/โครงการที่กำหนด
4. การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
5. เร่งฟื้นฟูความเสียหายจากผลกระทบสึนามิ
6. สร้างความเชื่อมั่นและความเข้าใจของภาคธุรกิจเอกชนในเรื่องการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
ประเด็นนายกรัฐมนตรี
1. เป้าหมายเศรษฐกิจปี 2548 รัฐบาลจะรักษาการขยายตัวให้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 โดยมีงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมกลางปี 2548 มาสนับสนุน และในปีงบประมาณ 2549 จะมีวงเงินงบประมาณรายจ่าย 1.36 ล้านล้านบาท ซึ่งจัดทำเป็นงบประมาณแบบสมดุล
2. เรื่องที่รัฐบาลจะดำเนินการ ได้แก่
2.1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
2.1.1 โครงสร้างพื้นฐานที่เป็น Mega projects เช่น ระบบการขนส่ง เป็นต้น เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องลงทุน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
2.1.2 การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ได้แก่
- น้ำ เพื่อฟื้นฟูธรรมชาติและเพิ่มผลผลิตการเกษตร (งบประมาณ 200,000 ล้านบาทในช่วง 5 ปี)
- รถไฟฟ้า ถ้าประชาชนประหยัดเวลาเดินทางได้ 1.5 ชม.ต่อคนต่อวัน จะเพิ่มประสิทธิภาพและเวลาทำงานได้มากขึ้น และประหยัดน้ำมันได้อีกเป็นแสนล้าน
- บ้านอยู่อาศัย สนับสนุนตลาดบ้านมือสอง ให้ประชาชนสามารถหาบ้านได้หลายรูปแบบ เช่น Prefabrication แบบบ้าน Tsunami (ถ้าประชาชนผ่อนส่วนหนึ่งและรัฐบาลอุดหนุนส่วนหนึ่ง 1 ล้านหลัง เป็นเงินอุดหนุน 35,000 ล้านบาท) ซึ่งจะนำไปสู่การใช้จ่ายของภาคประชาชนในสินค้าต่างๆ อีกมาก
- ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางการด้านการศึกษา โดยจัดให้มีระบบ internet ครบทุกโรงเรียน
2.2 การปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจในอนาคต ต้องมุ่งเน้นการสร้างมูลค่าผลผลิตจากความรู้ (Value Creation from Knowledge Applications) สร้าง Brand ของประเทศไทย เพื่อสนับสนุน SMEs ที่ไม่สามารถสร้าง Brand เองได้ และพัฒนาภาคบริการ โดยพัฒนาศักยภาพของ Thai Hospitality เป็นตัวนำ
2.3 การเตรียมการรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์ใน 4 เรื่อง
2.3.1 Free flow of human capital (การเคลื่อนย้ายแรงงาน) ต้องเลือกสรรประเภทและคุณภาพแรงงานที่ประเทศไทยควรนำเข้าให้เหมาะสม และต้องมีการปรับกฎระเบียบเพื่อรองรับ (มอบหมายรองฯ สุรเกียรติ์)
2.3.2 Free flow of goods and services (การเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ) ต้องดูแลเรื่องการเจรจาการค้า FTA ต่างๆ โดยที่ FTA จะดำเนินการต่อเนื่องต่อไปอย่างเป็น Phasing และมี Safeguard ที่เหมาะสม ทั้งนี้ภาคเอกชนจะต้องปรับตัวให้เป็นสากลและแข่งขันได้ และต้องมี Efficiency & Productivity สำหรับกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค รัฐบาลจะแก้ไข
2.3.3 Free flow of capital (การเคลื่อนย้ายเงินทุน) ต้องมีการปรับเปลี่ยนระเบียบกติกา กฏหมายต่างๆ เพื่อดูแลด้านเสถียรภาพ (มอบหมายรองฯ สมคิด)
2.3.4 Free flow of information and knowledge (การเคลื่อนย้ายข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้) ต้องปรับเปลี่ยนระเบียบกติกา กฏหมายต่างๆ เพื่อให้ราคาของบริการ ICT ลดลง
2.4 รัฐบาลจะส่งเสริมการสร้างความโปร่งใส และการแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น โดยให้ใช้
E-Auction
2.5 รัฐบาลส่งเสริม Corporate Governance ในภาคเอกชน โดยความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน
2.6 การขจัดปัญหาความยากจน ต้องวิเคราะห์ปัญหาและดำเนินการตั้งแต่ระดับครอบครัว หมู่บ้าน และประเทศ โดยการร้างงาน สร้างเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรสำคัญ เช่น ยางดิบ ข้าว กุ้ง สร้างเศรษฐกิจในชุมชน จัดให้มีที่ดิน บ้าน/ที่อยู่อาศัย ปัจจัยการผลิต ปรับปรุงระบบการผลิต ขยายการตลาดอย่างเต็มที่ การใช้แนวทางการทำ Barter trade และจัด Supplier credits กับต่างประเทศ
2.7 การท่องเที่ยว ต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อาทิ การเปิด Open-sky เพื่อเพิ่มศักยภาพของการท่องเที่ยวของประเทศ รวมทั้งสร้าง Man-made tourism attraction เช่นเส้นทางการท่องเที่ยวในเชียงใหม่จะมี Night Safari เชื่อมด้วย Cable car เป็นต้น
2.8 การพัฒนาตลาดทุน รัฐบาลสนับสนุนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นบริษัทมหาชน เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และตรวจสอบได้ ถึงผลการดำเนินงาน ซึ่งจะทำให้กิจการมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
2.9 ด้านพลังงาน
- ภาคเอกชนต้องช่วยกันประหยัดการใช้พลังงาน เช่น ผู้บริหารระดับสูงของเอกชนควรดูแลเรื่องนี้เอง เพื่อให้เกิดความจริงจังในการดำเนินการ เช่น ห้างซุปเปอร์สโตร์ (Tesco-Lotus) สามารถร่วมรณรงค์ประหยัดพลังงานได้ และรัฐบาลจะใช้กลไกทางภาษีเป็นแรงจูงใจ
- รัฐบาลจะเร่งพัฒนาพลังงานทดแทน โดยขณะนี้ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำ Roadmap การพัฒนาพลังงานทดแทน
2.10 การนำเข้าสินค้าต่างๆ ทั้งสินค้าวัตถุดิบ และสินค้าทุน
- ต้องมียุทธศาสตร์และ Roadmap เพื่อลดการนำเข้า รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขระบบการคืนภาษี VAT ในอนาคตเรื่อง FTA จะมีเรื่อง Rule of Origin ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมการผลิตในประเทศ และใช้วัตถุดิบในประเทศ โดยที่รัฐบาลจะใช้ระบบภาษีในการส่งเสริม
2.11 การปรับเงินเดือนข้าราชการ จะปรับทีอย่างเป็นขั้นตอนโดยเริ่มในปี 2549 และ อีกครั้งหนึ่งในปี 2551 เพื่อให้เหมาะสมกับความสามารถและสถานภาพของข้าราชการ
สรุป นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การพัฒนาด้านต่าง ๆ ในระยะยาว เป็นเรื่องที่รัฐบาลจะทำอย่างต่อเนื่อง โดยที่ในวันนี้เป็นการหารือประเด็นการพัฒนาในระยะสั้นและตามกรอบการบริหารราชการแผ่นดิน 4 ปี ไปก่อน ซึ่งรัฐบาลเองก็ตระหนักถึงเรื่องต่างๆ ที่ต้องพัฒนาอยู่แล้ว และได้จัดทีมดูแลแต่ละเรื่องโดยเฉพาะอยู่แล้ว ทั้งนี้จะต้องได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน และขอให้มั่นใจว่าการทำงานของรัฐบาลนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของการวิเคราะห์จากข้อมูลเศรษฐกิจทุกตัว
ความเห็นของภาคเอกชน
1. ประเด็นเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
- ปัจจุบันเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศยังดี ทุนสำรองระหว่างประเทศก็ยังอยู่ในระดับที่เพียงพอ แต่มีความเลี่ยงจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ที่จะกระทบต่อการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้
- อย่างไรก็ตาม การขาดดุลจากการนำเข้าเทคโนโลยีและเครื่องจักร เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมก็เป็นเรื่องจำเป็น ดังนั้นการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับที่ไม่สูงมากก็ไม่น่าเป็นห่วงและวิตกกังวลจนเกินไป
- และรัฐบาลต้องติดตามทั้งฐานะดุลบัญชีเดินสะพัด การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ และเงินสำรองระหว่างประเทศ
2. ด้านการลงทุน
- เอกชนเสนอให้มีการลดภาษีรายได้นิติบุคคล เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน
- รัฐบาลต้องสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจในเรื่องการลงทุน Mega Projects และแนวทางการจัดหาเงินลงทุน
3. การปรับโครงสร้างภาคการผลิตและบริการ
3.1 ภาคเอกชนเห็นด้วยกับนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของรัฐบาล และขอให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับ การพัฒนา Cluster อย่างจริงจัง โดยเฉพาะในกลุ่ม SMEs
3.2 ด้านการท่องเที่ยว
- ต้องพัฒนาคุณภาพของการท่องเที่ยวมากขึ้น โดยให้ความสำคัญในการสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพ ทั้งนี้ต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการการท่องเที่ยวควบคู่กัน โดยต้อง (1) สร้าง Brand (2) สร้างระบบ (3) สร้างคน
- รัฐบาลต้องควบคุมแรงงานต่างชาติที่ทำธุรกิจท่องเที่ยวอย่างผิดกฎหมาย เช่น มัคคุเทศก์ และบริษัทการท่องเที่ยว ซึ่งสร้างปัญหาต่อมาตรฐานการท่องเที่ยวมาก
3.3 อสังหาริมทรัพย์
- ในปี 2546 ได้มีการทำในเรื่อง (1) จัดตั้งศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ แห่งชาติ (2) มีการจัดทำ Property price index โดย ธปท. ธอส. และ (3) เรื่อง Escrow account ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาที่กระทรวงการคลัง
- เอกชนขอให้รัฐบาลสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ (1) การสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ โดยการเปิดเผยข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานเพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้บริโภคและนักลงทุน (2) ดูแลระบบสินเชื่อภาคเอกชนและคุณภาพสินเชื่อ (3) ดูแลเรื่องคุณภาพของบริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และ (4) ดูแลเรื่องการอนุญาตด้านสิ่งแวดล้อมและผังเมือง
3.4 ระบบโลจิสติกส์
- Logistics ของเอกชนยังอ่อนแอ แต่ได้มีการรวมตัวกันเป็นสมาพันธ์ Logistics โดยจะขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาลในโอกาสต่อไป
- เพิ่ม Trade facilitation และ Custom clearance ให้เสร็จภายใน 1 วัน
- พัฒนา Logistics ของอุตสาหกรรมเกษตร
4. FTA
- ภาคเอกชนพร้อมร่วมมือในการเจรจา แต่ยังขาดการประสานงานที่ดีระหว่างภาครัฐและเอกชนในการหารือร่วมกันเกี่ยวกับการได้ประโยชน์และการเสียประโยชน์ โดยจะต้องแก้ไขและมีมาตรการรองรับในเรื่องผลกระทบ
การมอบหมายงาน
1. มอบหมายให้ สศช. จัดประชุมนายกรัฐมนตรีพบกับภาคเอกชนเป็นรายอุตสาหกรรม เพื่อหารือเกี่ยวกับแผนการปรับโครงสร้างรายอุตสาหกรรมที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อพิจารณาว่าอุตสาหกรรมใดที่แข่งขันได้ อุตสาหกรรมใดที่อ่อนแอและต้องพัฒนาให้แข่งขันได้ และแนวทางในการดำเนินงานต่อไป
2. ให้กรมส่งเสริมการส่งออก BOI ททท. เร่งรัดการหารายได้จากการส่งออก เพื่อจะได้ช่วยชดเชยการขาดดุลจากการนำเข้าน้ำมัน โดยตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้
3. ให้ภาคเอกชนให้ความร่วมมือในการรณรงค์และส่งเสริมการประหยัดพลังงาน
4. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง และ สศช. จัดทำรายละเอียดและจัดลำดับความสำคัญของโครงการลงทุน Mega Project ต่างๆ รวมทั้งแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งคาดว่ารายละเอียดดังกล่าวจะแล้วเสร็จและสามารถนำเสนอคณะรัฐมนตรีได้ในเดือนมิถุนายน 2548
5. มอบให้ รนม. สมคิด หารือกับภาคเอกชนในประเด็นข้อกังวลต่างๆ เกี่ยวกับ FTA
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-