- สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นค่อนข้างตึงตัวในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย R/P 7 วัน ปิดตลาดเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่อัตราดอกเบี้ย R/P 1 และ 14 วันยังคงปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องในตลาดเงินเริ่มปรับสูงขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากมีการนำฝากเงินภาษีมูลค่าเพิ่มเข้ามาในระบบ
- มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ลดลงเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield ) ระยะสั้นปรับตัวลดลงในขณะที่ระยะยาวปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ดัชนีราคาปรับตัวลดลง
- เงินบาทยังคงอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าค่อนข้างมาก โดยมีปัจจัยกดดันจากการปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซินและดีเซล และแรงเทขายเงินบาททั้งในตลาดต่างประเทศและตลาดในประเทศ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากตัวเลขขาดดุลการค้าออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด ตลอดจนการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในช่วงปลายเดือนนี้
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นค่อนข้างตึงตัวในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมหนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.46875 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี ในวันพุธ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 2.46875 และ 2.5 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องในตลาดเงินเริ่มปรับสูงขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากมีการนำฝากเงินภาษีมูลค่าเพิ่มเข้ามาในระบบ ส่งผลให้สถาบัน
การเงินมีความต้องการลงทุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยทุกระยะยังคงปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ ยังมีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 เดือน ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.53125 ต่อปี ในช่วง 2 วันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 2.43 - 2.55 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดสูงขึ้นเป็นลำดับตลอดสัปดาห์จากร้อยละ 2.45 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 2.48 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 41,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 6,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 63 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารทุกรุ่นปรับตัวลดลงมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอุปสงค์ที่มีเข้ามามากขึ้น นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย อายุ 10 12 และ 15 ปี วงเงินรวม 3,000 ล้าน
บาท และพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ อายุ 7 และ 10 ปี วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท มูลค่าซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 81.652 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 16,330 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5 โดยมีการซื้อขายที่เป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 76 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ระยะสั้นอายุต่ำกว่า 1 ปี ปรับตัวลดลง 2-13 basis points เช่นเดียวกับในตลาดแรก ในขณะที่พันธบัตรฯ ระยะยาวอายุ 1 ปี ขึ้นไปปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-10 basis points หลังจากมีการประกาศกำหนดการประมูลพันธบัตรรัฐบาลวงเงินกว่า 69,000 ล้านบาท ในช่วงเดือน ก.ค. - ต.ค. ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) พันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับลดลง 21 และ 5 basis points ตามลำดับ
US Treasury Yield สัปดาห์นี้ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุ 1-3 เดือน ปรับตัวลดลง 1-3 basis points ในขณะที่พันธบัตรฯ อายุ 6 เดือนขึ้นไป อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 1-9 basis
points
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 40.87 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าถึงร้อยละ 0.7 โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงค่อนข้างมากจากปลายสัปดาห์ก่อน ตามค่าเงินในภูมิภาคและเงิน
เยน หลังจากการประชุมกลุ่ม G-8 ในวันศุกร์ที่ 11 มิ.ย. ไม่ได้มีการพูดถึงนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของจีน ส่งผลให้ตลาดลดการคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าเงินหยวนในระยะนี้ลง ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากตัวเลขดุลการค้าในเดือน เม.ย. ขาดดุลต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดเป็นจำนวนมาก
สำหรับในช่วงวันทำการที่เหลือของสัปดาห์ เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ และปรับอ่อนค่าที่สุดในรอบกว่า 7 เดือนที่ระดับ 40.97 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แม้ว่าค่าเงินในภูมิภาคเอเชียส่วนใหญ่จะเริ่มฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย โดยเงินบาทถูกกดดันจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่ การปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลในประเทศ แรงเทขายเงินบาททั้งในตลาดต่างประเทศและตลาดในประเทศโดยเฉพาะจากบริษัทน้ำมันและรัฐวิสาหกิจเพื่อชำระหนี้และป้องกันความเสี่ยง ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับปัจจัยบวกจากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในการประชุมในช่วงปลายเดือนนี้ ซึ่งจะส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไทยและสหรัฐฯ กว้างขึ้นและอาจนำไปสู่การไหลออกของเงินทุนได้ อย่างไรก็ตาม การอ่อนค่าของเงินบาทถูกจำกัดด้วยการคาดการณ์ของนักลงทุนว่า ธปท. อาจมีการแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อไม่ให้เงินบาทอ่อนค่าจนเกินไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-
- มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยของตราสารหนี้ลดลงเล็กน้อย อัตราผลตอบแทน (Yield ) ระยะสั้นปรับตัวลดลงในขณะที่ระยะยาวปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ดัชนีราคาปรับตัวลดลง
- เงินบาทยังคงอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าค่อนข้างมาก โดยมีปัจจัยกดดันจากการปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซินและดีเซล และแรงเทขายเงินบาททั้งในตลาดต่างประเทศและตลาดในประเทศ ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก หลังจากตัวเลขขาดดุลการค้าออกมาต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาด ตลอดจนการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในช่วงปลายเดือนนี้
สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นค่อนข้างตึงตัวในช่วงต้นถึงกลางสัปดาห์ โดยธนาคารพาณิชย์มีความต้องการกู้ยืมหนาแน่นในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 7 วัน ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะดังกล่าวปิดตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2.46875 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี ในวันพุธ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยระยะ 1 และ 14 วัน ยังปิดตลาดในอัตราเดิมที่ร้อยละ 2.46875 และ 2.5 ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สภาพคล่องในตลาดเงินเริ่มปรับสูงขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากมีการนำฝากเงินภาษีมูลค่าเพิ่มเข้ามาในระบบ ส่งผลให้สถาบัน
การเงินมีความต้องการลงทุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดซื้อคืนระยะ 1 วัน แต่อัตราดอกเบี้ยทุกระยะยังคงปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ ยังมีการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 เดือน ที่อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.53125 ต่อปี ในช่วง 2 วันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ ส่วนอัตราดอกเบี้ย Interbank มีช่วงเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นมาอยู่ระหว่างร้อยละ 2.43 - 2.55 และอัตรากลาง (Mode) ปิดตลาดสูงขึ้นเป็นลำดับตลอดสัปดาห์จากร้อยละ 2.45 ต่อปี ในช่วงต้นสัปดาห์ มาอยู่ที่ร้อยละ 2.48 ต่อปี ในช่วงปลายสัปดาห์
ตลาดตราสารหนี้
ในรอบสัปดาห์มีการเปิดประมูลตราสารหนี้ภาครัฐรวม 41,000 ล้านบาท โดยเป็นตั๋วเงินคลังอายุ 91 และ 182 วัน วงเงินรวม 6,000 ล้านบาท และพันธบัตร ธปท. อายุ 28 63 364 วัน และ 2 ปี วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนของตราสารทุกรุ่นปรับตัวลดลงมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอุปสงค์ที่มีเข้ามามากขึ้น นอกจากนี้มีการประมูลพันธบัตรการทางพิเศษแห่งประเทศไทย อายุ 10 12 และ 15 ปี วงเงินรวม 3,000 ล้าน
บาท และพันธบัตรธนาคารอาคารสงเคราะห์ อายุ 7 และ 10 ปี วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท มูลค่าซื้อขายของตราสารหนี้ในตลาดรองเท่ากับ 81.652 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 16,330 ล้านบาทต่อวัน ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5 โดยมีการซื้อขายที่เป็นธุรกรรม Outright ร้อยละ 76 ตราสารหนี้ที่มีมูลค่าซื้อขายมากที่สุด ได้แก่ พันธบัตร ธปท. รองลงมาได้แก่ ตั๋วเงินคลัง อัตราผลตอบแทน (yield) ของพันธบัตรฯ ระยะสั้นอายุต่ำกว่า 1 ปี ปรับตัวลดลง 2-13 basis points เช่นเดียวกับในตลาดแรก ในขณะที่พันธบัตรฯ ระยะยาวอายุ 1 ปี ขึ้นไปปรับตัวเพิ่มขึ้น 0-10 basis points หลังจากมีการประกาศกำหนดการประมูลพันธบัตรรัฐบาลวงเงินกว่า 69,000 ล้านบาท ในช่วงเดือน ก.ค. - ต.ค. ส่งผลให้ดัชนีราคา (Clean price index) พันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนปรับลดลง 21 และ 5 basis points ตามลำดับ
US Treasury Yield สัปดาห์นี้ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรฯ อายุ 1-3 เดือน ปรับตัวลดลง 1-3 basis points ในขณะที่พันธบัตรฯ อายุ 6 เดือนขึ้นไป อัตราผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 1-9 basis
points
อัตราแลกเปลี่ยน
เงินบาทมีค่าเฉลี่ยตลอดสัปดาห์ที่ 40.87 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. อ่อนค่าลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าถึงร้อยละ 0.7 โดยเงินบาทในช่วงต้นสัปดาห์อ่อนค่าลงค่อนข้างมากจากปลายสัปดาห์ก่อน ตามค่าเงินในภูมิภาคและเงิน
เยน หลังจากการประชุมกลุ่ม G-8 ในวันศุกร์ที่ 11 มิ.ย. ไม่ได้มีการพูดถึงนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของจีน ส่งผลให้ตลาดลดการคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าเงินหยวนในระยะนี้ลง ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก เนื่องจากตัวเลขดุลการค้าในเดือน เม.ย. ขาดดุลต่ำกว่าการคาดการณ์ของตลาดเป็นจำนวนมาก
สำหรับในช่วงวันทำการที่เหลือของสัปดาห์ เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลงเป็นส่วนใหญ่ และปรับอ่อนค่าที่สุดในรอบกว่า 7 เดือนที่ระดับ 40.97 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. แม้ว่าค่าเงินในภูมิภาคเอเชียส่วนใหญ่จะเริ่มฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย โดยเงินบาทถูกกดดันจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่ การปรับขึ้นราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลในประเทศ แรงเทขายเงินบาททั้งในตลาดต่างประเทศและตลาดในประเทศโดยเฉพาะจากบริษัทน้ำมันและรัฐวิสาหกิจเพื่อชำระหนี้และป้องกันความเสี่ยง ขณะที่เงินดอลลาร์ สรอ. ได้รับปัจจัยบวกจากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย Fed Fund Rate ในการประชุมในช่วงปลายเดือนนี้ ซึ่งจะส่งผลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไทยและสหรัฐฯ กว้างขึ้นและอาจนำไปสู่การไหลออกของเงินทุนได้ อย่างไรก็ตาม การอ่อนค่าของเงินบาทถูกจำกัดด้วยการคาดการณ์ของนักลงทุนว่า ธปท. อาจมีการแทรกแซงตลาดอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อไม่ให้เงินบาทอ่อนค่าจนเกินไป
--สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--
-พห-